กระทรวงดิจิทัลฯ แถลงข่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กสทช., ธนาคารแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, และปปง. ว่าเมื่อวานนี้ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจธนาคารเพื่อระงับการทำธุรกรรมของบัญชีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไว้ได้ทันทีที่ผู้เสียหายแจ้งธนาคารและผู้เสียหายต้องแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมงโดยสามารถแจ้งความได้ทุกท้องที่ และเจ้าพนักงานแจ้งให้ระงับบัญชีต่อไป 7 วัน
ปัญหาใหญ่ของการบล็อคบัญชีม้าในการโอนเงินคือคนร้ายมักใช้บัญชีจำนวนมาก แล้วโอนต่อกันเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ กฎหมายนี้เปิดทางให้สามารถบล็อคบัญชีอื่นๆ ที่มีการโอนเป็นทอดๆ ด้วย อย่างไรก็ดีตอนนี้ระบบแชร์ข้อมูลบัญชียังไม่เรียบร้อยทำให้การบล็อคบัญชีที่โอนต่อเป็นทอดๆ ยังใช้เวลาสักระยะ ระบบแชร์ข้อมูลบัญชีน่าจะเปิดใช้งานได้ในไตรมาสที่สามของปีนี้
กฎหมายนี้ยังกำหนดให้การเปิดบัญชีม้า และซิมม้าที่เปิดเพื่อให้ผู้อื่นไปใช้งานนั้นเป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินสามแสนบาท ส่วนการโฆษณาบริการบัญชีม้าและซิมม้านั้นมีโทษจำคุก 2-5 ปี และปรับ 200,000-500,000 บาท
ที่มา - แถลงข่าวกระทรวงดิจิทัล
Comments
คนออกกฏลองไปขอ transaction แบบช่องทางปกติดูครับ(แจ้งความปกติเลย) ว่ากี่ชาติธนาคารถึงจะส่งให้
อันนี้เขาถึงสร้างช่องทางตามกฎหมายใหม่มานี่ล่ะครับ เพราะเขารู้ว่าของเดิมมันช้า ส่วนว่ากฎหมายใหม่นี่มันเร็วพอไหม หรือเร็วไปไหม มีเคสน่ากลัวแน่ๆ คือคนแกล้งกัน สามารถระงับบัญชีได้ 72 ชั่วโมงก่อนแจ้งความนี่ไประงับบัญชีบริษัทช่วงสิ้นเดือนนี่เรื่องใหญ่เลย
lewcpe.com , @wasonliw
น่าห่วงเรื่องกลั่นแกล้งทางธุรกิจ โดยเฉพาะพวกร้านออนไลน์คู่แข่งที่เห็นเลขบัญชีอีกฝ่ายได้ง่าย แต่คดีอาญาฯแจ้งความกลับข้อหาแจ้งความเท็จได้
ผมกลับนึกไปว่า อีกหน่อยน่าจะมีการขโมยหรือปล้น ซิม/บัตร ATM แบบเดียวกับโจรใต้ที่ใช้ซิม/รถที่ถูกปล้นไปทำ carbomb
กว่าคนโดนจี้จะไปแจ้งความเรื่องสมุดบัญชี/บัตรATM หายก็น่าจะใช้เวลา
ถ้ากลั่นแกล้งด้วยหลักฐานที่พิสูจน์ได้ยากล่ะครับ เช่น สร้างแชท LINE ปลอม หรือ Email ปลอมขึ้นมา
คนร้องเรียนก็อ้างว่าตัวเองโดนหลอกจริง ร้านค้าและตำรวจก็พิสูจน์ไม่ได้ว่าคนส่งข้อความนั้นคือใครกันแน่
แต่ความเสียหายที่ถูกกลั่นแกล้งมันเกิดขึ้นไปแล้ว
หรือว่าธนาคารจะมีมาตรการในการตรวจสอบข้อมูลการร้องเรียนแค่ไหนถ้าแค่แนบหลักฐานการโอนเงิน พร้อมภาพ screenshot จากแอพแชทง่อยๆไปก็ระงับบัญชีทันทีนี่ ผมว่ามีเกิดขึ้นแน่ๆ
รวมถึงอีกกรณีคือ "ทันทีที่ผู้เสียหายแจ้งธนาคารและผู้เสียหายต้องแจ้งความภายใน 72 ชั่วโมง"ถ้าร้องธนาคารแต่ไม่ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับไม่ได้แจ้งความเท็จหรือไม่
ถ้าจะไม่ให้มีผลกระทบมากเกินไป ควรเป็นแค่การ hold วงเงินตามจำนวนที่ผู้แจ้งโอนเข้าไป โดยไม่ต้องระงับบัญชีทั้งหมด
น่าจะลดความเสียหายจากการกลั่นแกล้งได้ระดับนึงอีกทั้งควรจะมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่แจ้งข้อมูลเท็จ(เช่นแจ้งธนาคารแล้ว ไม่ยอมไปแจ้งความ)
เคยมีคำตัดสินศาลมาแล้วว่าบัญชีม้า ซิมม้ามีความผิด แต่คนไม่ค่อยรู้กัน ขนาดในธนาคารหรือค่ายมือถือมีเขียนเตือนไม่อ่านกันเวลามีหมายเรียกทีก็อ้างว่าไม่รู้ว่ามีความผิด คราวนี้ออกเป็นกฏหมายดีแล้วจะได้ไม่มีข้ออ้างว่าไม่รู้เรื่อง
คิดว่าที่กฎหมายฉบับนี้สร้างขึ้นคือกำหนดโทษเฉพาะนะครับ ของเดิมนี่ไม่แน่ใจว่าความผิดอะไร น่าจะพวกพรบ.ฟอกเงิน (แต่มันผิดแน่ๆ) กับของใหม่ที่ใหม่ถอดด้ามคือความผิดตอนประกาศ รับเปิดบัญชีโดยไม่ต้องเปิดบัญชีจริงนี่มีความผิดทันที
lewcpe.com , @wasonliw
เผื่อมีคนไม่รู้ ความผิดบัญชีม้าปรับไม่เกินสามแสนในข่าวนี้เฉพาะส่วนของคดีอาญานะครับ สามารถไปฟ้องคดีแพ่งต่างหากแล้วต้องชดใช้เงินที่โดนหลอกไปทั้งหมดแทนมิจฉาชีพด้วย (จะเก็บได้จริงกี่บาทต้องผ่อนกันกี่ปีอีกเรื่องนึง) มีคนรู้จักเค้าสู้ถึงฎีกามาแล้ว
อันดี จัดการรวดเร็ว ระงับไปก่อนเลย จะได้ไม่เสียหายเยอะ
"ว่าเมื่อวานนี้พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี" ตกคำว่าประกาศใช้แล้วหรือเปล่าครับ
สงสัยว่าจะมีพ่อค้าแม่ค้ากลั่นแกล้งเกิดขึ้นไหมครับ
เช่น นาย A โอนเงิน 100 ให้ร้านค้า B แล้วสร้าง LINE สนทนาปลอมว่าร้านค้า B หลอกให้โอนเงิน
เพื่อให้ธนาคารระงับบัญชีดังกล่าวก่อน 72 ชั่วโมง
ทำให้ร้านค้าไม่สามารถทำธุรกรรมในการสั่งสินค้าหรือจ่ายค่าสินค้าใดๆได้
หรืออาจจะระงับการรับโอนเงินที่ทำให้ร้านค้าไม่สามารถขายสินค้าใดๆได้ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงนั้น
ซึ่งนาย A ก็อ้างว่ามีหลักฐานแชทไลน์จริง แต่ตำรวจจะพิสูจน์ก็ไม่ได้ว่าคนที่นาย A แชทด้วยคือใคร
ให้ร้านค้า B ทักแชทไปหานาย A ก็รู้แล้วว่า นาย A สร้าง LINE ปลอมมาคุยกับตัวเองจากนั้นร้านค้า B ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าเสียโอกาสจากนาย A
ปัญหาคือถ้านาย A ยืนยันว่าโดนร้านหลอกจริงๆล่ะครับ ร้านอาจจะมี 2 บัญชีก็ได้
จริง เคสโจรสามเส้า เป็นความเสี่ยง
คือ A โดนโจร B หลอกให้โอนเงินไปบัญชีของร้าน C แล้วให้ร้าน C ส่งของไปนอมินีอีกที่เช่น นาย D
นาย A ไปแจ้งความธนาคารขออายัดบัญชีร้าน C รวมถึงบัญชีลูกข่ายของร้าน C (ผมยังไม่ได้อ่านละเอียดว่าอำนาจอายัดของธนาคารในกฎหมายใหม่นี้รวมถึงเคสซื้อของแล้วไม่ได้ของทั่วไปหรือเปล่านะ)
ร้าน C เกิดความเสียหายทันทีกว่าจะเคลียร์ได้ อาจเสียโอกาสในการค้าจนเจ๊ง
โดยที่โจร B อาจจะไม่ได้อยากได้เงิน แต่ต้องการกลั่นแกล้งร้าน C เพราะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจกัน
พรก.ออกแล้วแต่ช่องทางการแจ้ง การแชร์ข้อมูล การขอข้อมูล ใดๆ ไม่มีรายละเอียดนะครับ(ตามพรก.คือต้องรอแบงค์ชาติ กสทช. กำหนดอะไรๆอีกที)
กระบวนการพิสูจน์ว่าแค่ไหนอย่างไรถึงเชื่อคำร้องเรียนได้ ก็ต้องรอระเบียบออกอีกมั้ง
เพราะธนาคารน่าจะกังวลเรื่องโดนฟ้อง เวลาเกิดความเสียหายจากการทำตามการร้องเรียนเหมือนกัน
น่าจะต้องดิ้นอีกยาวๆ
เป็นผมนี่รอฟ้องธนาคารเลยเพราะได้เงินได้ค่าเสียหายเต็มเม็ดเต็มหน่วยแน่ๆ ส่วนคนที่กลั่นแกล้งเราให้ธนาคารไปฟ้องไล่เบี้ยเอาเองและเสี่ยงหนี้ 0 เยอะมาก