ผู้ว่ารัฐโอเรกอนเซ็นกฎหมาย Oregon’s Right to Repair Act (SB 1596) กฎหมายสนับสนุนให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ที่จะซ่อมอุปกรณ์ของตัวเองได้มากขึ้น จุดสำคัญของกฎหมายนี้คือห้ามไม่ให้ผู้ผลิตล็อกชิ้นส่วนไม่ให้ใช้ข้ามอุปกรณ์ (part pairing) จนร้านซ่อมอิสระไม่สามารถซ่อมกันเองได้
กฎหมายนี้เปิดช่องให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดเงื่อนไขว่าร้านซ่อมอิสระจะต้องได้รับใบรับรองตามที่ระบุ จึงสามารถซ่อมอุปกรณ์ได้ แต่ห้ามล็อกชิ้นส่วนที่จะมาซ่อม เช่น ไอโฟนที่ล็อกหมายเลขประจำตัวแบตเตอรี่ว่าต้องเป็นหมายเลขที่แอปเปิลรู้ว่ากำลังใช้งานกับโทรศัพท์เครื่องใด แม้ว่าแบตเตอรี่ที่นำมาเปลี่ยนจะเป็นแบตเตอรี่ของแอปเปิลเองที่นำมาจากไอโฟนเครื่องอื่นก็ตามที แนวทางนี้ทำให้แอปเปิลพยายามต่อสู้กับกฎหมายนี้อย่างหนัก
ผู้ผลิตบางส่วนสามารถล็อบบี้ขอยกเว้นได้สำเร็จ บางส่วนสมเหตุสมผลเช่นอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่บางส่วนก็เป็นการต่อสู้ทางธุรกิจ เช่น อุปกรณ์การเกษตร, เกมคอนโซล, และอุปกรณ์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน
กฎหมายมีผลบังคับจริงวันที่ 1 มกราคม 2025
ที่มา - iFixit
Comments
เชียร์สุดใจ
+1
ขยายทั่วสหรัฐเลยจะดีมาก
ไม่เป็นปัญหา เพราะเดี๋ยวเราเอาทุกอย่างเป็นชิ้นเดียวกับ mainboard ไมค์ ลำโพง แบทฝังไว้ด้วยกัน เพื่อให้อุปกรณ์เราขนาดเล็กและบาง อยากเปลี่ยนเราก็มีอะไหล่ขาย หรือใครจะทำมาขายแข่งเราก็ไม่ว่านะ ซึ่งมี 4 ชิ้น ฝาหน้า ฝาหลัง จอ และ mainboard 😂
ขอMacbookเปลี่ยน SSD ได้แค่ SSD ก็ยังดี
พูดถึงแอปเปิล เรื่องแบบนี้มันเอาความปลอดภัยมาอ้างไม่ได้อยู่แล้ว หนทางอื่นที่จะทำให้สามารถให้ความเชื่อถือ (Trust) อุปกรณ์/ชิ้นส่วนใหม่มันก็มี คลาวด์/เครื่องมือช่วยเหลือในการโยกย้ายข้อมูลเข้ารหัสก่อนเปลี่ยน/ซ่อมบำรุงก็มีอยู่แล้ว มันก็มองเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากอยากสร้างระบบปิดให้สามารถบังคับลูกค้าซื้อเครื่องใหม่ได้
หนทางที่จะสามารถให้ความเชื่อถือกับชิ้นส่วนที่ว่านี่ผมนึกเองไม่ออกครับ มีแหล่งข้อมูลที่พอจะนำทางไปหาคำตอบได้บ้างไหมครับ
บริการคล้ายๆ Find My แต่เป็นสำหรับชิ้นส่วนก็น่าจะได้อยู่ โดยให้มี 4 สถานะ คือ
Apple รู้อยู่แล้วว่าหมายเลข serial ไหนเป็นของจริงครับ กฎหมายระบุแค่ว่าห้ามล็อกชิ้น แบตเตอรี่แสดงตัวได้ถูกต้อง + หมายเลข serial valid ก็ควรปล่อยให้ใช้งานได้
lewcpe.com , @wasonliw
Hardware Security Module and Trusted System Module
แอปเปิล "เชื่อว่า" การใช้อุปกรณ์ที่ตัวเองบริหารจัดการทั้งหมดจะสามารถให้ความปลอดภัยกับระบบตัวเองได้สูงสุด ด้วยความที่ว่าแพลตฟอร์มของแอปเปิลบริหารด้วย Mentality แบบนี้ แทบทุกอย่างในระบบจึงรันแบบ Trusted โดยมีข้อยกเว้นแค่ข้อเดียวที่ผมนึกออกคือเว็บเบราว์เซอร์ ที่อยู่ใน Sandbox ที่แน่นหนา (?) มันจึงต้องมี Trusted Platform ขึ้นมาเพื่อยืนยันว่าอุปกรณ์ทุกอย่างเป็นของแอปเปิล และมั่นใจได้ว่าปราศจากการสอดไส้อุปกรณ์ดักฟัง (Sniffer) เพื่อความปลอดภัยสูงสุด (ตามที่ Apple เชื่อ)
Trusted Platform โดยปกติแล้วมักมีช่องว่างที่ออกแบบมาโดยเฉพาะที่ทำให้สามารถรียูสอุปกรณ์ หรือซ่อมบำรุงอุปกรณ์ใหม่ได้แบบมีเงื่อนไข ตั้งแต่ระดับง่าย ๆ อย่างการเชื่อถืออุปกรณ์เฉพาะบริษัทที่น่าเชื่อถือเท่านั้น ไปจนถึงการผูกอุปกรณ์กับทั้งระบบไว้ หากต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ก็ต้องล้างระบบทิ้งทั้งหมดเพื่อ Setup ระบบใหม่ แล้วแต่ว่าแต่ละเจ้าจะทำถึงขั้นไหน อุปกรณ์มือถือโดยทั่วไปมักทำแค่ถึงขั้นเข้ารหัสอุปกรณ์เก็บข้อมูลคู่กับ Trusted Platform Module แล้วก็จบเท่านั้น อย่างอื่น ๆ เปลี่ยนได้ปกติ แต่ก็ไม่รู้กับแอปเปิลเหมือนกันว่าไปทำระบบออกมายังไงถึงมีเหตุผลระดับกล้าคัดค้านหัวชนฝาแบบนี้
ในที่สุด ความเจริญ (ลง) ก็มาถึงเทคนิคการออกแบบใหม่ๆโดนจำกัด จะออกแบบก็ต้องคำนึงถึงแต่ให้มันรื้อได้ จบแล้ว มันจบแล้ว
แบบเดียวกับนวัตกรรมถุงพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่โดนบีบจนแทบห้ามใช้ครับ
เราปล่อยเสรีแล้วถึงจุดหนึ่งเราพบปัญหา (ขยะพลาสติก, ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ) เราก็ออกมาตรการแก้ไข
lewcpe.com , @wasonliw
กรี๊ดมันออกมาครับ ระบายมันออกมา
อยากได้อุปกรณ์บางมาก ๆ ก็ไปซื้อผ้าอนามัย /s
เอามาแปะเสริม ไม่เกี่ยวกับข่าว แต่ร้ายแรงพอกัน
Apple Remote Management Lock ที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อความปลอดภัย แต่กลับทำให้อุปกรณ์แอปเปิลสภาพดีที่ถูกปลดระวางจากองค์กรและสามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างถูกกฎหมาย ต้องกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์