รัฐสภายุโรปลงมติให้รับรองแนวทางสิทธิของลูกค้าในการซ่อมสินค้าหรือ right to repair ด้วยคะแนน 584-3-14 โดยมีประเด็นสำคัญคือ ผู้ผลิตสินค้าต้องมีแผนรองรับการซ่อมแซม และผลักดันให้ลูกค้าเลือกแนวทางซ่อมมากกว่าเปลี่ยนสินค้า
กฎระเบียบใหม่นี้กำหนดกรอบกว้าง ๆ สำหรับผู้ผลิตสินค้า ว่าต้องรองรับการซ่อมแซมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม มีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล และสินค้าที่ผ่านการซ่อมแซมแล้ว ต้องได้ขยายเวลารับประกันออกไป 1 ปีตามกฎหมาย ทั้งหมดเพื่อให้ลูกค้าเลือกซ่อมมากกว่าเปลี่ยนสินค้าใหม่
กฎระเบียบนี้ครอบคลุมถึงระดับที่ว่า หากสินค้าหมดระยะรับประกันแล้ว ผู้ผลิตต้องมีช่องทางให้ซ่อมแซมได้ มีผลกับสินค้าใช้งานทั่วไป เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น จนถึงสมาร์ทโฟน
อีกประเด็นที่กฎระเบียบนี้ระบุคือค่าใช้จ่ายการซ่อมต้องไม่สูง เพื่อให้ลูกค้าเลือกซ่อมมากกว่าซื้อใหม่ ผู้ผลิตสินค้าห้ามใช้เทคนิคกีดกันการซ่อมแซมผ่านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ชิ้นส่วนมือสอง หรือชิ้นส่วนที่ทำจากเครื่องพิมพ์สามมิติต้องใช้ทดแทนได้
ขั้นตอนถัดไปคือการรับรองกฎหมายนี้ และให้มีผลในอีก 24 เดือนข้างหน้า
อย่างไรก็ตามกลุ่มสนับสนุน Right to Repair ในยุโรปได้แสดงความเห็นว่าการที่กฎหมายผ่านการรับรอง ถือเป็นทิศทางที่ดี แต่รายละเอียดนั้นมีความคลุมเครืออยู่มาก เช่น คำว่าค่าใช้จ่ายการซ่อมที่สมเหตุสมผล ซึ่งอยู่ที่การตีความ รวมทั้งบริษัทอาจอ้างความปลอดภัยทำให้ไม่สามารถใช้ชิ้นส่วนข้ามเครื่องได้ กฎระเบียบนี้ก็ไม่ได้ระบุไว้ จึงเสนอให้รัฐสภายุโรปลงรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย
ที่มา: European Parliament และ The Verge
Comments
ขอห้ามล็อคซีเรียลผ่านก่อนก็ดีใจแล้ว
John Deere จะยอมต่อกฎหมายนี้มั้ยน้อ แต่อันนั้นไม่ใช่สินค้าทั่วไปนี่
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมใช้ทีวี สมมติว่ายี่ห้อ Low Grade (นามสมมุติ) ซื้อมาได้ 14 เดือน เสีย ศูนย์บอกไม่มีอ่ะไหล่ซ่อมแล้ว โยนทิ้งอย่างเดียว
ตอนนี้สินค้ายี่ห้อ Low Grade เป็นของอัปมงคล ไม่ซื้อเข้าบ้าน
ถ้ามีกฎหมายนี้จะบังคับยังไงล่ะ ก็มันบอกไม่มีอะไหล่แล้ว ทางเลือกที่เหลือคืออะไร ซื้อมาได้แค่ 14 เดือน บอกไม่มีอะไหล่แล้ว
อาจจะเปิดเผย schematic ก็ได้ครับ สุดท้ายคนจะหาทางซ่อมได้เอง
แบบพวก retro console ถ้าใม่นับพวก cpu กับชิป custom เฉพาะบางตัว ก็สามารถเปลี่ยนได้หมด ขนาดเปลี่ยนทั้ง mainboard ยังมีเลยครับ
แล้วพวกอุปกรณ์หลายตัวในตลาดผมว่า ไม่น่ามีชิ้นส่วนเฉพาะเท่าใหร่หรอก อย่างมากก็แค่โปรแกรมใน firmware
คิดว่าทำอะไรไม่ได้ครับเพราะเกิน 1 ปีแล้ว (ถ้าใช้เกณฑ์ 1 ปีนะ ไม่รู้ว่าระเบียบที่ว่ามันกี่ปี)แต่เอาจริงๆแล้วถ้ายังมีสินค้ารุ่นนั้นขายอยู่เค้าจะตอบแบบนี้ไม่ได้เพราะแสดงว่าต้องมีการรองรับการซ่อมได้อยู่ ซึ่งแปลว่าต้องมีอะไหล่เสมอครับถ้ายังขายรุ่นนั้นอยู่ หรือถึงแม้เลิกขายแล้วก็ต้องมีอะไหล่ให้ซื้อเป็นระยะเวลา 1 ปี
แนวทางกฏหมายนี้หมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทใช่หรือป่าว แล้วจะหมายถึงรถยนต์ไฟฟ้าด้วยป่าวครับ น่าสนใจ
ห้าม parts paring ด้วยก็ดีนะ...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
อยากให้ กม.นี้มาถึงประเทศไทยจริงๆ ของไทย ขนาดซ่อมศูนย์ยังประกันแค่ 3 เดือนเอง ... ถามต่อรองไม่ได้เลย
อยากฟังเหตุผลของ 3 คนที่โหวตไม่เห็นด้วย
โอ้ ว้าว