ศาลแขวงใต้ของ New York ได้พิจารณาคดีที่รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาฟ้อง Apple ฐานละเมิดกฏหมายป้องกันการผูกขาดโดยการรวมหัวกับสำนักพิมพ์หนังสือเพื่อกำหนดราคาอีบุ๊ก และมีคำตัดสินแล้วว่า Apple ผิดจริงตามข้อกล่าวหา
จากการเปิดตัวของ iPad พร้อม iBookstore ร้านขายอีบุ๊กของ Apple ในปี 2010 มีผลให้ราคาเฉลี่ยของอีบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากแต่เดิมที่ Amazon เป็นผู้ขายอีบุ๊กรายใหญ่โดยเฉลี่ยเล่มละ 9.99 ดอลลาร์ ราคาก็ปรับสูงขึ้นไปอยู่ในช่วง 12.99-14.99 ดอลลาร์
สาเหตุที่ราคาอีบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะอำนาจการกำหนดราคาอีบุ๊กโดย Amazon ถูกลดลงเพราะ สำนักพิมพ์มีทางเลือกที่จะวางขายอีบุ๊กใน iBookstore และส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Apple ยื่นเงื่อนไขให้เหล่าสำนักพิมพ์กำหนดราคาขายอีบุ๊กได้เองตามใจชอบภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่มีการขายผ่านช่องทางอื่นที่ราคาถูกกว่าการขายบน iBookstore
ใจความส่วนหนึ่งของความเห็นจาก Denise Cote ผู้พิพากษาคดีนี้ระบุอีกว่า "หากไม่มี Apple เป็นตัวตั้งตัวตีในการสมคบคิดครั้งนี้ มันจะไม่มีทางสำเร็จอย่างที่ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างแน่นอน" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Cote มอง Apple เป็นตัวการหลักในเรื่องราวของคดีนี้ เนื่องจากผลการไต่สวนเปิดเผยว่า Apple ใช้วิธีการเปิดเผยราคาและเงื่อนไขข้อตกลงการขายอีบุ๊กที่สำนักพิมพ์แต่ละรายกำหนดไว้ให้รู้โดยทั่วกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดช่องให้เหล่าสำนักพิมพ์ร่วมกันกำหนดราคากลางของอีบุ๊กได้แบบอ้อมๆ จนยังผลให้ราคาอีบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการของผู้ขาย เพราะปราศจากการแข่งขันกันระหว่างสำนักพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายแต่ละราย
ทางด้าน Tom Neumayr ซึ่งเป็นโฆษกของ Apple ยืนยันว่าจะดำเนินการยื่นอุทธรณ์คดีนี้อย่างแน่นอน พร้อมทั้งกล่าวว่า "Apple ไม่ได้ทำอะไรผิดและจะเดินหน้าต่อสู้กับข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรมนี้ต่อไป" ทั้งยังให้เหตุผลด้วยว่า "การเปิดตัวของ iBookstore ในปี 2010 นั้นคือการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจ ทั้งยังเป็นการโค่นการผูกขาดตลาดธุรกิจสิ่งพิมพ์ของ Amazon ลงด้วย"
Comments
ผู้บริโภคซื้อหนังสือแพงขึ้น เพราะ Amazon ไม่ได้ผูกขาดกดราคาหนังสือทั้งตลาดอีกต่อไป เพื่อเอาประโยชน์เชิงการค้ารายเดียว
ค่ายหนังสือก็เชียร์แอปเปิ้ล เพราะช่วยปลดแอกให้ คนซื้อก็เชียร์ Amazon เพราะช่วยกดราคาให้
ผมคิดว่าคำถามของลูกค้าและศาลคือ ในเมื่อ demand ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงพรวดพราด, และนี่ไม่ใช่สินค้าที่เกิดภาวะขาดตลาดได้น่ะครับ
ก็ในเมื่อครั้งหนึ่งเคยขายได้ด้วยราคาที่ต่ำระดับหนึ่งและช่วงเวลานั้นได้พิสูจน์แล้วว่าธุรกิจยังคงดำเนินต่อกันไปได้กันทุกฝ่าย ไม่มีใครเจ๊ง... ทำไมจึงต้องเพิ่มราคาขาย???
ตัวอย่างเช่น อีบุ๊กเรื่อง A เคยขายในราคาเล่มละ 10 บาท แล้วจู่ๆ จะเพิ่มราคาเป็น 15 บาท... สาเหตุเป็นเพราะอะไร ทั้งที่ไม่มีต้นทุนในการผลิตใหม่เพราะไม่ใช่การพิมพ์ซ้ำแบบหนังสือเป็นเล่ม? ค่าลิขสิทธิ์แก่ผู้แต่งก็ไม่น่าจะส่งผลให้ต้องปรับราคาขายเพิ่มมากขึ้น เพราะสำนักพิมพ์ก็น่าจะจ่ายเงินก้อนเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ตรงนั้นไปแล้วนี่ครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ผมไม่คิดว่ามีแนวคิดคุ้มครองตลาดที่ไหนคุ้มครองให้เพิ่มราคานะครับ มีกรณีเดียวคือมีการขายขาดทุนเพื่อทำลายคู่แข่ง (ทุ่มตลาด)
ในกรณี Amazon ตัวอเมซอนก็ยังทำกำไรได้ แม้จะบางเฉียบแต่ก็เป็นปกติของธุรกิจค้าปลีก แอปเปิลเข้ามาทำตัวเป็นสมาคมให้รวมตัวกันขึ้นราคา และล็อกราคาว่ารายอื่นห้ามขายถูกกว่าแม้จะมีความสามารถในการบริหารต้นทุนได้ดีกว่า
lewcpe.com , @wasonliw
ฝั่งหนึ่งโก่ง ฝั่งหนึ่งกด
กำลังคิดว่า ผลจากคดีนี้จะนำมาใช้อ้างอิงในการขายเพลง หรือสื่ออื่นๆ ของ Apple ด้วยหรือเปล่า ;)
my blog
ตัดสินพิลึก ร่วมกำหนดกรอบราคาก็เพื่อประโยชน์ของผู้ประพันธ์ผู้ถือลิขสิทธ์และสำนักพิมพ์ ไปตัดสินว่าราคาเพิ่มเพราะสมคบคิด ??? หนังสือไม่ใช่ขนมปัง หรือปัจจัย 4 ไม่ใช่สาธารณูปโภคพื้นฐาณซะหน่อย
ประเด็นที่ต้องคิดคือรายได้ของ ebook ไปกินส่วนตลาดหนังสือเล่มเดียวกันที่ขายแบบพิมพ์ถ้าหากราคา ebook ไปคงที่ 9.99 สำนักพิมพ์ก็จะต้องรักษาประโยชน์ของตนเองด้วยการกั้กหนังสือที่จะไปลงใน e store เพื่อจูงใจให้ลูกค้าไปซื้อฉบับเล่มที่มีหลายราคาหลายเวอร์ชั่นก่อน ผลคือจำนวนหนังสือใน e store จะน้อยกว่าที่ควรเป็น ผลคือลูกค้าไม่มีสิ่งที่ตนอยากซื้อใน store ถ้าเป็นเช่นนั้น e-store ก็จะเป็นของไม่มีประโยชน์และไม่ส่งผลดีทั้งกับผู้บริโภคและสำนักพิมพ์
ในเมื่อ amazon ขายที่ราคา 9.99 ซึ่งเป็นการได้เปรียบด้านราคาต่อ 12.99 ถึง 25%ทำไม ebook ที่ขายใน ibookstore แพงกว่าจึงไม่ถูกการแข่งขันด้านราคาของ Amazon บีบจนเจ๊ง ???
เป็นข้อพิสูจน์ว่าราคานี้เกิดจากทางเลือกของผู้บริโภคเอง เมื่อผู้บริโภคส่วนมากเป็นผู้เลือก
แล้วใครเสียหายทางนิตินัย ???? รัฐบาลกลางเกี่ยวอะไร ???? ( -___- )
Amazon ก็สามารถตรึงราคา 9.99 เพื่อแข่งขันด้านราคา เจ้าอื่นก็ขาย 9.99 ได้เพื่อแข่งด้านยอดขาย
และต่อให้ศาลลงโทษ Apple ก็ไม่มีหลักประกันว่า Amazon และเจ้าอื่นจะลดราคา ลงมาที่ 9.99 แบบเดิมผมมองว่านี่เป็นเกมบริโภคส่วนแบ่งตลาดของ ibookstore ด้วยกฎหมายเห็นๆ และคนได้ประโยชน์ก็มีแค่ผู้ estore เจ้าอื่นที่อยากให้ ibookstore ล่มจมจะได้ไปกินส่วนแบ่ง
Apple ช่วยพิสูจน์ราคาให้ได้กำไร ที่ 12.99 --> Amazon และอื่นๆเฮฮากับราคา 12.99 ---> เพดานกำไรตันทำไงดี? อยากได้กำไรเพิ่ม ? ถ้าดับ ibookstore ได้ส่วนแบ่งจะเทมามหาศาล ---> เสร็จนาฆ่าโคถึก สรุปสุดท้ายราคามันก็อยู่ที่ 12.99 เหมือนเดิม
เค้าตกลงกันว่าหนังสือที่ทำสัญญากับappleห้ามไปขายที่อื่นไง
ห้ามไปขายที่ราคาถูกกว่า (แปลว่าขายที่ราคาเท่ากันหรือแพงกว่าได้) เป็นสิทธิของ สนพ ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธ์ ที่จะปกป้องกำไรของตน เพราะ ebook มันไปกินส่วนแบ่งหนังสือตามร้านอยู่แล้ว
ถ้ากลัวอีบุ๊กจะทำลายยอดขายหนังสือเป็นเล่มของตนเอง สนพ. ก็ไม่ควรทำอีบุ๊กออกมาขายผ่านช่องทางใดๆ ตั้งแต่แรกแล้วครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ebook ในเครื่องของคุณ คุณมีฉบับรูปเล่มครบทุกอันรึปล่าวครับ ?
ถามทำไมเหรอครับ?
ผมไม่อ่านอีบุ๊ก
ผมไม่อ่านหนังสือเป็นเล่มด้วย
ผมอ่านแต่ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์, ตามเว็บไซต์, ตาม social network ครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ในเมื่อไม่ได้เป็นแม้แต่ผู้บริโภค ทำไมไปคิดแทนผู้ผลิตครับ สงสัยมาก
ตรรกะคุณแปลกดีครับนะ ถ้ามีอะไรที่ไม่ถูกต้องสมควรไม่ควรที่จะออกแสดงความคิดเห็นหรือครับ?
ถ้ากฏหมายกำหนดว่าคนติดคุกทุกคนต้องงดข้าวหนึ่งมื้อทุกวันเพื่อเป็นการลงโทษ คนที่ไม่เคยติดคุกไม่มีสิทธิวิพากษย์วิจารย์เลยหรือ? ซักวันนึงเราอาจะเป็นผู้บริโภคก็ได้หนิครับ?
ส่วนประเด็นที่ทำให้แอปเปิ้ลผิดคือเป็นต้นเหตุของการสมคบคิดขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผลและกรณีนี้ amazon ก็ทำอะไรไม่ได้เพราะสิ่งพิมพ์ที่ขายให้กับ apple ทุกอย่างขายที่ราคา 12.99 แทน ( เพราะสัญญาที่ทำไว้กับ apple และหากขายราคาเดิม publisher จะกำไรลดลงเพราะ apple น่าจะคิดค่าต๋งแพงกว่า ) สิ่งพิมพ์เดียวกันนี้ amazon ก็ต้องขาย 12.99 เป็นอย่างน้อยด้วย ซึ่งไม่เกิดการแข่งขันขึ้นอย่างที่ควรเป็นและผู้บริโภคก็ต้องจ่ายแพงขึ้น รัฐเลยเข้ามาดูแลก็สมควรแล้ว
เพื่อให้เกิดความเข้าใจลองเปลี่ยนจาก e-book เป็นอย่างอื่นดูบ้าง เช่นสมมติว่าอยู่ๆมาม่าขึ้นราคาจาก 6 บาทเป็น 10 บาททั้งประเทศ ( ทุกห้างและโชห่วย ขายราคานี้ ) ด้วยสาเหตุเพียงแค่ว่ามาม่าไปทำสัญญาวางขายสินค้ากับ walmart ด้วยสัญญาลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งมันทำให้ผู้บริโภครับภาระทั้งที่ต้นทุนการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเลย
ป.ล.มาม่าเป็นสินค้าควบคุมราคาของไทย เพราะงั้นตัวอย่างอาจจะไม่ถูกต้องเท่าไหร่นักป.ล.2 ถ้าประเทศสารขัณฑ์ทำแบบเดียวกันนี้เพื่อประชาชนในประเทศบ้างดีใจตายเลยครับ
Ebook อาจให้ข้อมูลเหมือนกับ หนังสือในรูปเล่มแต่ความรู้สึกและประโยชน์ใช้สอยต่างกันครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
จากกข้อความในข่าวนะครับ iBookstore อนุญาตให้สำนักพิมพ์ "กำหนดราคาได้เอง" โดยที่ไม่ให้ขายที่อื่น "ถูกกว่า" ใน iBookstore
นั่นทำให้ ebook ราคาแพงขึ้นโดยไม่จำเป็นขึ้นมาทันทีครับ เพราะจะเอาไปขายที่อื่นก็ต้องขายอย่างน้อยๆ เท่ากับบน iBookstore เหมือนกัน
ตรงนี้ส่วนหนึ่งเพราะ Apple วางเงื่อนไขว่าอีบุ๊กที่ขายผ่านตนเองต้องถูกที่สุดหรือเท่ากับผู้จัดจำหน่ายรายอื่น (ไม่งั้นไม่รับมาฝากขาย)
ด้วยเหตุนี้ หาก สนพ. ไม่ไปต่อรองราคาขายอีบุ๊กกับ Amazon ให้เพิ่มมากขึ้น ก็ต้องทนขายที่ราคาเดิม 9.99 ดอลลาร์ต่อไป ทั้งที่ Amazon และที่ iBookstore ซึ่งกรณีนั้นก็จะเป็นสภาพการณ์ที่บีบให้ สนพ. ตัดสินใจถอดอีบุ๊กของตนเองจาก Amazon ในที่สุด เพื่อมาขายผ่าน Apple ทางเดียว (เพราะมีอิสระในการกำหนดราคา ขายแพงเท่าไหร่ก็ได้ตราบที่คิดว่าจะมีคนกดซื้อ)
หมากตานี้นี่แหละครับที่อาจทำให้ศาลมองว่า Apple เดินเกมเพื่อผูกขาดการค้าอีบุ๊ก และตั้งใจเตะตัดขา Amazon
ในทางกลับกัน หากมองว่าธุรกิจหนังสือตีพิมพ์ด้วยกระดาษมันมีต้นทุนที่ทำให้ราคาขายต้องสูง ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า ทาง สนพ. ก็ควรเบนเข็มมาเน้นการขาย content เป็นหลักโดยการทำอีบุ๊กมากกว่าหรือเปล่า?
การกั๊กหนังสืออีบุ๊กเพื่อเพิ่มยอดขายหนังสือเป็นเล่มก็ไม่แน่ว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะคนที่คิดจะซื้ออีบุ๊กอาจไม่ยอมซื้อหนังสือเป็นเล่มก็เป็นได้ ในกรณีนั้น สนพ. ที่กั๊ก content ไว้ไม่ยอมผลิตอีบุ๊ก เอาแต่พิมพ์เป็นรูปเล่มไว้แต่ขายไม่ออก ก็จะยิ่งเจ็บหนักเข้าไปอีก
ผมมองว่าผู้บริโภคไม่ได้เลือกเองครับ แต่เพราะ "ที่ไหนๆ ก็ขึ้นราคา" จึงต้องยอมซื้อด้วยราคาระดับ 12.99 ดอลลาร์ต่างหาก ใครที่ไม่พอใจราคานี้ก็ต้องตัดใจไม่ซื้ออีบุ๊กไปเลย
อันที่จริง นอกจาก Apple แล้ว ก็มี สนพ. ที่โดนฟ้องเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ก่อนหน้านี้ก็มีหลาย สนพ. ที่ยอมความกับศาล และปรับลดราคาขายลงมาแล้วนะครับ (ในที่มาของข่าว กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย แต่ผมเห็นว่าแปลมาเท่านี้ก็พอรู้เรื่อง และซัดไปหลายย่อหน้าแล้ว เลยไม่ได้แปลมาด้วย) ซึ่งเรื่องนี้ทำให้น่าเชื่อได้มากๆ ว่า "ถ้าศาลลงโทษ Apple ก็น่าจะมีการลดราคาลงมาที่ 9.99 แบบเดิม"
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
คำตอบคือ การร่วมกันกับพวกเพื่อสร้างอภิสิทธิ์ในการขาย และเพิ่มอำนาจให้ผู้ขาย ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ
องค์ประกอบเหล่านี้มันเข้าข่ายการผูกขาดทางการค้าครับ
ก็ apple เขาบีบคอสำนักพิมพ์ว่าห้ามขายที่อื่นถูกกว่าก็เท่ากับไม่เกิดการแข่งขันด้านราคาซึ่งผู้บริโภคเสียประโยชน์เต็มๆนะครับรัฐบาลก็ทำถูกแล้วที่ออกมาปกป้อง
ส่วนที่ว่าราคา e-book ตกลงทำให้ e-book น้อยลงหรือเปล่าผมว่าสำนักพิมพ์อาจจะกำไรเท่าเดิมก็ได้โดยบริษัทที่รับ e-book ไปขายยอมหันกำไรตัวเองลงเพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จาก apple , amazon สุดท้าย e-book ไม่หายไปไหนผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์จากราคาที่ถูกลง
ระบบการแข่งขันแบบเสรีนี้มันดีจริงๆ
ถ้าอ่านข่าวดีๆจะพบว่า Amazon ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรในข่าวนี้เพราะเอามาเปรียบเทียบราคาเฉยๆ ที่เป็นประเด็นจริงๆคือขายที่อื่นราคาต่ำกว่าใน iBook Store ไม่ได้ = ผู้ผลิตไม่มีอิสระในการกำหนดราคา ทั้งๆที่ต้นทุนในการขายใน Store ที่อื่นจะถูกกว่าก็ตาม
เพราะมันมีสัญญาผูกมัดว่า ถ้าขายกับ แอปเปิ้ล แล้วห้ามไปขายกับที่อื่นไงครับ
เพราะงั้นประเด็นการแข่งขันเรื่องราคาก็ตกไป
อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
จริง อ่านแล้วรู้สึกผิดตรงไหนที่เจ้าของหนังสืออยากขายให้ได้ในราคาแพงขึ้นได้กำไรมากขึ้น
ที่ทำได้เพราะมีตลาดขายหนังสือเพิ่มขึ้นมาจากที่เดิมมีเจ้าใหญ่จอมโหดคืออเมซอน
ถ้าขายแพงไปไม่มีคนซื้อเดี๋ยวเขาก็ลดราคาเองแหละ
กฎของการขายมีอยู่ว่าต้องหาราคาที่ขายแล้วได้กำไรมากที่สุดอยู่แล้ว
ขายแพงกำไรต่อชิ้นมากแต่ก็ขายได้จำนวนน้อย ขายถูกก็ขายได้เยอะแต่กำไรต่อชิ้นลดลง
แล้วจะว่าไม่มีการแข่งกันระหว่างร้านนี่มันก็แปลกๆ ถ้าไม่มีการแข่งขันร้านน่าจะนอนสบายแล้วจะมาเสียเวลาฟ้องร้องทำไม แสดงว่ามีร้านที่เสียผลประโยชน์กับการขายในลักษณะนี้
แล้วข้อมูลที่แอปเปิ้ลแชร์กับเจ้าของหนังสือมันเป็นความลับของชาติเหรอถึงทำให้ผิดแอปเปิ้ลจะต้องลี้ภัยเหมือนสโนว์มั้ยเนี่ย
Amazon จะขายราคาเท่าไหร่ สำนักพิมพ์ก็ได้เท่าเดิมนะครับ
Apple เปิดหน้าร้านให้คนมาฝากขายของ
แต่ Amazon ซื้อของเค้ามาขายต่อนะครับ
ถ้าผมจำไม่ผิด ไม่ว่า Amazon จะขาย e-book ด้วยราคา $9.99 หรือ $14.99 ทางสำนักพิมพ์ก็ได้เงินเท่าเดิมเพราะ Amazon ซื้อสิทธิ์การขายมา ตกลงไว้ว่าถ้าจะขายต้องเสียเงินให้สำนักพิมพ์เล่มละเท่าไหร่ แล้ว Amazon ก็เอากำไรจากส่วนต่างตรงนั้นกับ $9.99 ขณะที่ iBook ใช้ระบบส่วนแบ่ง ขายราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่หักเปอร์เซ็นต์ให้แอปเปิล ถูกต้องหรือเปล่าครับ?
เพี้ยง ของให้ขึ้นราคากระดาษอีก 1000 เท่า เพราะเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ไปแก้ปัญาหาภัยพิบัติธรรมชาติจะได้เลิกงี่เง่า เรื่องสื่ออีเล็กทรอนิกส์กันเสียที่
ดีเสียอีกจะได้เลิกพิมพ์ธนาบัติ เวลาซื้อสิทธิขายเสียงจะได้ใข้ทองซื้อกันเสียที
แนะนำให้อ่าน ความเห็นนี้ จะได้เข้าใจที่มาที่ไป ว่าตลาดหนังสือสหรัฐเป็นอย่างไร แล้ว Agency Mode มีใจความสำคัญอย่างไร
ประเด็นสำคัญที่โดนโจมตีคือ "...โดยที่สำนักพิมพ์ทั้ง 7 จะบังคับผู้ขายปลีกหนังสือต้องเข้าร่วมใน agency model ดังกล่าว หาไม่แล้วจะคว่ำบาตรถอนหนังสือของสมาชิกทั้ง 7 ออกจากร้านหนังสือ ซึ่งจะทำให้สำนักพิมพ์ไม่ต้องกังวลการแข่งขันด้านราคาจากอเมซอนหรือใครๆอีกต่อไป..."
กรณีนี้เข้าข่ายผิดกฎหมายนะครับ สมคบคิดกันกำหนดราคาแถมกำหนดบทลงโทษให้เสร็จสรรพ
ซึ่งสำนักพิมพ์ทั้ง 7 ต่างตกลงยอมความกันเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่
สโนวไวท์แอปเปิลเพียงคนเดียวถามว่าถ้าเราสบายใจปล่อยไปการแข่งขันก็จะไม่เกิด สุดท้ายผู้บริโภคเสียประโยชน์ครับ แต่ที่สหรัฐ เค้าเข้มเรื่องพวกนี้มากครับ
ผมว่า แม้จะเหลือแต่แอปเปิลเพียงคนเดียวที่ยังไม่ยอมความ แอปเปิลยังต้องยื่นอุทธรณ์แน่นอน เพราะจะมีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรว่าเป็นพวกคนไม่ดี ละเมิดกฎหมาย คือผมคิดว่าอย่างแอปเปิล เสียเงินไม่ว่า หรือแม้แต่จะแพ้คดีก็ไม่ว่า แต่อย่าให้มีภาพลักษณ์เป็นคนร้าย
apple don't be evil
ถูกต้องเลยครับ
เรื่อง price fixing เนี่ย อย่าว่าแต่แบบทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการพูดคุยเจรจากันเพื่อกำหนดราคา
กฎหมายเค้าห้ามแม้กระทั้งการสมคบกันกำหนดราคา โดยไม่ได้เปิดเผย หรือที่สุดแม้กระทั่งไม่เคยส่งคนคุยกันกำหนดราคา แต่มองสัญญาณกันออกแล้วสมคบคิดกันทางอ้อมแล้วกำหนดราคา ก็ผิดกฎหมาย (Tacit collusion)
กรณีนี้ค่อนข้างชัดเจน
คิดง่ายๆครับ กฎหมายเค้าให้แข่งขันกันทำธุรกิจ โดยทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้นๆครับ ไม่ให้มาสมคบคิดกันเพื่อหากำไรจากการบิดเบือนตลาด
ผมสงสัยนิดนึงครับ ที่บอกว่าอย่าให้มีภาพลกษณ์เป็นคนร้ายเนี่ย คือ ทำยังไงครับ?
ก็ จงใจกระทำผิดกฎหมาย(Sherman Antitrust Act) ด้วยการเป็นแกนนำในการสมคบคิดกันกำหนดราคาขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ครับ นี่ครับ
คือตอนนี้มันก็ทำอะไรไม่ได้แล้วไม่ใช่่หรือครับ มีแค่สองทางเลือกคืออุทธรณ์หรือยอมรับ แต่ไม่ว่าทางไหน ภาพลักษณ์มันก็เสียไปแล้ว นอกจากจะอุทธรณ์แล้วชนะคดีได้
ก็ถูกแล้วไงครับ ยอมรับแปลว่ายอมรับว่าผิด แต่อุทธรณ์แปลว่าไม่ยอมรับว่าผิดครับ
ขอบคุณครับ ผมหาอ่านอันนี้แหละที่หาไม่เจอ
ในฐานะลูกค้า ebook ทั้งสองเจ้า (และแฟนบอยกูเกิล) ขอเชียร์ศาลขาดใจเลยครับ ตอนนี้พวกหนังสือที่ขายใน ibook นี่จะหวังให้มีลดราคาใน amazon นี่ไม่ต้องหวังเลย
หลังสายตาเริ่มยาว ช่วง 2 ปีนี้ ผมเน้นสั่งแต่ e-Book จาก Amazon อยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะด้าน Programming ตอนนี้กว่า 200 เล่มแล้ว ยกเว้น ไม่ทำ e-book ต้องสั่งมาเป็นเล่มแทน
พบว่า จากเดิม e-Book ราคาต่ำกว่า 50% ของ ราคาหนังสือ
ปัจจุบันหนังสือเล่มใหม่ ๆ กลายเป็น 100% ของ ราคาหนังสือแล้ว ( แค่เปลี่ยน ขาว-ดำ มาเป็น สี เท่านั้น ระบบการจัดรูปเล่ม และ Index ต่าง ๆ ยังเหมือนเดิม แถมหาใน iBook Store ก็ไม่มี )
ปล. ไม่น่าเกี่ยวกับ Apple มันขึ้นอยู่กับ สำนักพิมพ์เอง มากกว่าครับ
ผมว่ามันก็น่าจะเกี่ยวโดยทางอ้อมนะครับเหมือนกับเคยขายได้ราคาแพงก็คงอยากจะยืนพื้นขายที่ราคานั้นจะให้ปรับฐานลงมาก็คงไม่น่าจะพอใจสักเท่าไหร่ ยิ่งโดยเฉพาะกับเงื่อนไขที่ตั้งมามันยิ่งทำให้เข้าข่ายผูกขาด
เรื่องราคาโดยทั่วไปผมว่าเมื่อ ebook เข้ามาแทนหนังสือเล่มได้แล้วราคามันก็น่าจะปรับไปจนเหมือนหนังสือเล่มแต่ก่อน
เรื่องแอพ Apple เป็นคนที่ทำให้ราคาลดลงมาแต่พอเป็นเรื่อง Ebook กลับเป็นคนพยายามทำให้ราคาแพงขึ้นซะงั้น
แปลก หรือว่าคนขายหนังสือไม่ควรสามารถขายหนังสือในราคาที่เขาต้องการแล้วเวลาจะขายหนังสือห้ามบอกคนอื่นว่าจะขายในราคาเท่าไหร่ เงื่อนไขเป็นอย่างไร
มันคงติดแค่เงื่อนไขที่ว่าห้ามขายที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าเลยเป็นปัญหา แต่มันอาจจะไม่เป็นปัญหาถ้า market share ยังเล็กอยู่
price fixing คือการรวมหัวกันกำหนดราคาขั้นต่ำ ดังนั้น market share เล็กไม่เล็กไม่เกี่ยวเนื่องจากกระทบราคาเฉลี่ยในตลาดครับและทำให้ประชาชนทั้วไปต้องซื้อแพงขึ้น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
จะว่าไม่เกี่ยวคงไม่ถูกต้องซะทีเดียว ที่ว่ากระทบราคาเฉลี่ยในตลาดมันต้องใหญ่มากพอถึงจะเกิดเหตุการณ์นั้นได้ เข้าใจที่ผมต้องการสื่อมั้ยครับ ส่วนในเรื่องผิดไม่ผิดเนี่ยผมว่าออกสีเทาๆ อยู่ที่ว่า apple จะแถไปได้ขนาดไหน
price fixing มันผิดทันทีที่มีข้อตกลงว่าห้ามขายถูกกว่า (...) ชึ่งของ apple ตกลงกันว่า ห้ามขายถูกกว่า (ราคาใน ibook) ซึ่งคงจะแถยากหน่อย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
คือที่ผมยังคิดว่ามันเทาๆ อยู่ตรงที่ว่า Apple เองก็ไม่ได้เป็นคนกำหนดราคา แต่ยังปล่อยให้มีการตั้งราคากันเองได้ ซึ่งจะว่าไปจะไม่ขายในนี้ก็ได้แล้วก็ออกไปกำหนดราคาตามต้องการ แต่ทำไมมันไม่ง่ายอย่างนั้นล่ะ ก็เพราะมันเกี่ยวกับขนาดที่ผมบอกเอาไว้แต่ต้นว่ากลุ่่มที่มาทำสัญญานี้มันมี market share ที่สูงมองแล้วมันก็เข้าข่ายผูกขาด
สมมติผมขายโอเลี้ยงในซอยบ้านผมแก้วละ 10 บาท ในขณะที่มีอีก 5 ร้านใกล้ๆ กันขายแก้วละ 7 บาท ผมไปบอกให้ร้านนึงซึ่งเป็นญาติกันเปลี่ยนมาขายแก้วละ 10 ด้วยกันโดยบอกสูตรลับประจำตระกูล แบบนี้ผมจะโดนข้อหา price fixing มั้ยครับเมื่อเทียบกับเสกลของการบริโภคโอเลี้ยงภายในประเทศ
ตรงนี้คือผมอยากจะขยายความให้เห็นว่าขนาดมันก็มีความสำคัญเหมือนกันในการที่จะพิจารณาว่ามันส่งผลกระทบต่อตลาดโดยรวมหรือไม่
คนขายหนังสืออยากขายหนังสือ ให้กับร้านค้าเท่าไรก็กำหนดไป แต่ไม่ควรจะไปสร้างกฎเหล็กกำหนดราคาขายปลีกขั้นต่ำที่ถึงมือลูกค้า ร้ายที่สุดคือไปชวนพวกมากดดันห้ามสังฆกรรมกับร้านหนังสือที่แหกกฎ ซึ่งว่ากันตรงๆ หนังสือส่วนใหญ่ที่ขายในสหรัฐ เกือบทั้งหมดต้องมาจากหนึ่งในเจ็ดรายนี้แหล่ะ
ที่คนไทยไม่คุ้นเพราะสภาพแวดล้อมบ้านเราแตกต่างจากเขา
บ้านเราสายส่งหนังสือเป็นใหญ่ รับหนังสือไปก่อนจ่ายเงินทีหลัง แถมขายไม่หมดต่อให้สภาพยับเยิน ก็ไม่จ่ายเงินให้ ดังนั้นร้านค้าจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะลดราคาหนังสือ ขายไม่ดีพอก็คืนสายส่งก็แค่นั้น
เลยไม่เคยเห็นหนังสือสภาพดีๆมีสติกเกอร์ขายลดราคา บางทีถึงขนาด 30-50% ทางร้านเลือกที่จะขายหนังสือที่ขายช้าทิ้งเพราะจะทำให้ชั้นวางว่างขึ้น จะได้เอาเงินไปหมุน (เค้าซื้อหนังสือทุกเล่มในราคาส่งมา เป็นเรื่องของร้านค้าจะตั้งราคาขายปลีกเอง แต่สำนักพิมพ์ได้เงินไปนอนกอดแล้ว จึงไม่เกี่ยวกัน)
เวลามีส่วนแบ่งตลาดมากๆ (หรือรวมกันในกลุ่มแล้วมีส่วนแบ่งตลาดมาก) เช่น 40-60% จะถูกกำหนดเพิ่มเพราะถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดครับ
ถ้าเป็นสำนักพิมพ์รายเล็กรายน้อยทำกันเองคงไม่มีกฎหมายเข้าไปคุม กรณีนี้คือเจ็ดรายที่รวมตัวมามีส่วนแบ่งเกือบทั้งตลาด โดยมีแอปเปิลนั่งหัวโต๊ะ
นึกสภาพหลายอย่างที่รายใหญ่ทำไม่ได้ เช่น อินเทลอยากจะซื้อ ARM ก็คงทำไม่ได้ เพราะลำพังตัวเองก็กินตลาดซีพียูแทบทั้งโลกแล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
ทำไมผมมองว่าamezonนั่นแหละเป็นตัวการที่ทำให้สินค้าไม่เป็นไปตามกลไกตลาด- -
ไอ้เรื่องกฏห้ามที่อื่นขายถูกกว่า มันก็เป็นตั่งแต่วงการค้าปลีกโมเดรินเทรด ดีลเลอร์ โรงแรม หนิครับ
เงื่อนไขแบบappleจะทำให้ebookทั้งหมดในตลาดราคาเท่ากันทุกstore และเป็นไปตามกลไกตลาด
+1 ผมว่าใช่นะครับ มันเป็นแบบนี้จริง ๆ ในฐานะคนทำการตลาดโรงแรม การขายของ Online ถ้าราคาไม่เท่ากันแล้วมันทำให้เกิดปัญหาจริง ๆ เพราะลูกค้าจะไปซื้อกับ Agency ที่ถูกที่สุดแทน ทีนี้ปัญหามันก็จะอยู่กับผู้ผลิต เพราะได้กำไรน้อย สุดท้ายแล้วก็ต้องไปกดต้นทุนให้ต่ำ อาจะทำให้หนังสือออกมาไม่มีคุณภาพได้ เพราะต้องขายเน้นปริมาณเยอะเข้าว่า (หนังสือแนวอิโรติคขายดีมาก)
ส่วนในเรื่องของ Agency เอง ก็มีปัญหา เพราะเจ้าใหม่ ๆ ก็จะเกิดยาก เพราะการตัด Wholesale lot เพื่อให้ราคาถูกนั้น ก็จำเป็นต้องซื้อเยอะ ๆ (ในกรณี online ยอดขายต้องเยอะ) สุดท้าย Amazon ก็ได้ของถูกอยู่เจ้าเดียว เพราะขายดีสุด ผมมองว่า Amazon เห็นแก่ตัวในวงการหนังสือไปหน่อย ไม่สนใจว่าภาพรวมเป็นอย่างไรอ้างอย่างเดียวว่าผู้บริโภคเสียผลประโยชน์เพราะจะได้หนังสือแพง เพราะ Amazon รู้ว่าถ้าเค้าชนะการฟ้องร้องครั้งนี้จะทำให้คู่แข่งลดลงไปมาก แต่ไม่ต้องห่วง iBook Store ผมคิดว่าเค้าก็น่าจะอยู่ได้เพราะอำนาจการต่อรองค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว
ส่วนตัวผมก็อยากได้ของถูกนะครับ แต่ถ้าถูกแล้วต้องทำลายวงการนี้ไป ผมยอมซื้อของแพงแต่ทุกคนอยู่ได้อย่างเป็นสุขดีกว่า
ส่วนเรื่องการแข่งขันในวงการโรงแรม ถึงแม้ว่าราคาขาย Online จะเท่ากันทุก OTA (Online travel agency) ก็จริง แต่ในความเป็นจริงมันไม่เท่ากันหรอกครับ เพราะแต่ละเจ้าก็จะโทรมาหาโรงแรมว่าขอทำโปรโมชั่นนู่นนี่นั่น เช่น พักสองคืนลดกี่ % หรือจองก่อนได้ส่วนลดมากกว่า หรือทริคแบบ Agoda ที่ถ้าจองจากบางประเทศจะได้ส่วนลดมากกว่า อะไรแบบนั้น ส่วน Booking.com ก็มี Genius ถ้าเป็นสมาชิกเท่านั้นจะได้รับส่วนลดไปอีก 10% และยังมี Wotif ที่ถึงแม้ราคาจะเท่ากัน แต่ได้ Welcome drink หรือ Late c/o เพิ่มจากเดิมอีก จากตัวอย่างจะเห็นว่า ต่อให้ขายราคาเท่ากันจริง แต่ถ้ามีหลายเจ้า การทำโปรโมชันมันก็จะตามมา เพื่อให้ตัวเองขายได้มากกว่าเจ้าอื่น(โดยเงื่อนไขคือราคาขายธรรมดาต้องเท่ากัน) สุดท้ายแล้วผลประโยชน์ก็ตกอยู่กับมือผู้บริโภคอยู่ดี ผมอยากให้วงการ E-Book เป็นอย่างนี้มากกว่าเพราะจะได้มีสีสันมากกว่า เพราะไม่งั้นต่อไป จะซื้อ E-Book ก็ต้องไป Amazon หรือ iBook store อย่างเดียว มันน่าเบื่อน่ะครับ - -*
ทุกที่ที่คุณบอกนี่คงเฉพาะในไทยล่ะครับที่ปล่อยให้เกิด อย่างน้อยๆ ในอังกฤษและสหรัฐฯ เขาห้ามการกระทำแบบนี้กันมานานแล้ว - Wikipedia
lewcpe.com , @wasonliw
กลไกการตลาด คือให้ร้านแต่ละร้าน "แข่งขันกันลดราคา" เพื่อให้ประชาชนใด้สินค้าในราคาต่ำครับ
การ price fixing ของ apple อย่างน้อยๆ 1 ศาลตัดสินแล้วว่าเป็นความผิดทำให้ ร้านค้าไม่สามารถตั้งราคาใด้ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ราคาหนังสือแพงขึ้น ประชาชนเดือดร้อน
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
จริงๆศาลควรฟ้องสำนักพิมพ์มากกว่าที่ฮั้วกันไม่ยอมขายหนังสือให้ amazon เพราะ apple ไม่ได้บอกให้สำนักพิมพ์ขายราคาแพงกว่า 9.99 แต่สำนักพิมพ์เป็นคนเลือกที่จะเลิกขายให้ amazon เอง
สมมุติว่าแอปเปิ้ลตั้งกฎว่าห้ามขายแพงกว่าคู่แข่ง ขณะที่ amazon บังคับตั้งขาย 9.99 สุดท้ายสำนักพิมพ์ก็เลิกขายให้ amazon อยู่ดี ยังไง apple ก็ต้องโดนฟ้องว่าเป็นต้นเหตุทั้งๆที่ไม่ได้ไปบังคับอะไรกับสำนักพิมพ์เลย
จริงๆต้องเป็น apple ฟ้อง amazon ด้วยซ้ำที่กีดกันคู่แข่งเพราะเป็นคนกดราคาเพื่อไม่ให้มีคู่แข่งเกิดใหม่ในตลาด ebook
Apple ถือเป็นคู่แข่งในตลาดด้วยนะครับ ถึงไม่ได้แข่งกันทุก function มองดูดีดี Apple กับสำนักพิมพ์แข่งกันในแง่ marketing, distribution
Amazon ทำไม่ผิดเพราะ เค้ารู้ว่าเค้าเป็นคู่แข่งสำนักพิมพ์ในงานบางส่วนนั่นแหละ เลยไปบังคับขอส่วนแบ่งที่เขาควรจะได้(จากโมเดลแบบส่งเล่มเข้าร้านแบบเดิมๆ) เพราะเขาจัดขาย และส่งหนังสือถึงมือผู้อ่านได้ต้นทุนน้อยกว่า
Apple ฟ้อง Amazon ว่าทุ่มตลาดก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า Amazon กดราคาต่ำกว่าต้นทุนผมคิดว่า ตรงกันข้าม มันเรียกว่าการแข่งขันตามปกติต่างหาก
การเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ๆ ทำให้เราต้องมาทบทวนว่า คุณค่าเก่าๆ นั้นยังคงอยู่หรือไม่
เค้าฟ้องกัน 8 รายครับ แอปเปิลและสำนักพิมพ์ทั้ง 7 แต่ทว่าระหว่างทางสำนักพิมพ์ทั้งหลายต่างประเมินแล้วไม่ชนะแน่เลยยอมความไปหมดแล้วครับ เหลือแต่หัวหน้าขบวนการเจ็ดสีนึ่แหล่ะ
ตรงนี้ผมมองว่า apple ต้องการปฎิเสธว่าไม่ได้ไปเอี่ยวด้วยกับสำนักพิมพ์ทั้ง 7 แห่งนั้นมากกว่า เลยโวยวายว่าโดนยัดเยียดข้อหา
ทั้ง 7 สำนักพิมพ์เซ็นสัญญากับแอปเปิลครับ
lewcpe.com , @wasonliw
จะบอกว่าแอปเปิลนี่ตัวการเลยละครับงานนี้
ห้ามขายที่อื่นในราคาถูกกว่า แปลว่าถ้าจะลดราคาที่อื่นก็ต้องลดราคาที่นี่ด้วย ก็แฟร์ดีนี่นา
ผมคิดว่าผู้ประกอบการควรมีอิสระในการตั้งราคานะ ถ้าตั้งราคาสูงไปเดี๋ยวมันก็เป็นไปตามกลไกตลาดเอง
ห้ามขายที่อื่นในราคาที่ถูกกว่า แล้วกลไกลตลาดจะทำงานได้ยังไงครับ บริบทมันขัดๆกันอยู่นะครับ
เมื่อก่อนซื้อ e-book amazon บ่อยๆ เดี๋ยวนี้ e-book ใน amazon เล่มละเกือบ $30 เซ็งมาก อยากอ่าน แต่ก็ซื้อไม่ลง
ทำไมคนไทยหลายคนชอยยกหางผู้ประกอบการจังเลยครับ ผมไม่เข้าใจจริงๆ -"-
ต้องดูว่าผู้ประกอบการเป็นใครครับ XD
ถ้าในข่าวนี้เป็น google จะมีแต่ don't be evil เต็มไปหมด
I need healing.
ด้วยพลัง บร๊ะเจ้าล้างสมองได้ทุกกรณ๊
ความเห็นผม apple ผิดกรณีฮั้วกันอย่างไม่ต้องสงสัย เรื่องราคาจะกี่บาทไม่ใช่ประเด็น (แต่ฮั้วกันให้แพงขึ้นมันก็ไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ๆ)
*ยกตัวอย่างให้ดูใกล้ตัวเลย ร้านอาหารตามสั่งในซอยหนึ่ง ฮั้วกันขึ้นราคา จากปกติ 25 กลายเป็น 35 ช่างมันกินซอยอื่น แต่ถ้าฮั้วกันทั้งอำเภอละครับ คงต้องจำใจกินราคานั้น แล้วยิ่งเป็นสินค้าที่ไม่มีทางเลือกอย่าง น้ำขวด ข้าว น้ำมัน ลองคิดดูถ้ารัฐไม่ยื่นมีอมาช่วยจะอยู่ยากขนาดไหน
ผมว่าถ้าบริษัทเป็นแบบ apple ทั้งหมด โลกนี้อยู่ยากแน่ โดนสร้างคุกใสให้อยู่แบบไม่รู้ตัวประจำชักเอือม
ไม่ได้ต้มม่าๆนะครับ บอกใว้ก่อน - -
ยกตัวอย่างค่ายมือถือทั้ง 3 ของประเทศแห่งหนึ่งดีกว่าครับ เข้าใจง่าย และเห็นภาพ
ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหม
แต่เดิมสำนักพิมพ์ขายส่งอีบุ๊คให้ทั้ง "ผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" และ Apple ที่เล่มละ 1 บาท แล้ว Apple ขาย 2 บาท "ผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" ขาย 1.5 บาท
แต่กฏใหม่ของ Apple กำหนดว่าให้สำหนักพิมพ์กำหนดราคาขายมาเลยแล้ว Apple ขอแค่ 25% จากราคาขาย สำนักพิมพ์เห็นด้วย กำหนดราคาขายเล่มละ 2 บาท Apple ก็ขายที่ 2 บาท Apple ได้ 50 สตางค์สำนักพิมพ์ได้ 1.50 บาท และด้วยเงื่อนไขที่ว่า "อีบุ๊กที่ขายผ่าน Apple ต้องถูกที่สุดหรือเท่ากับผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" สำนักพิมพ์ได้เท่าเดิม แต่คนที่เจ็บตัวคือ "ผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" เพราะต้องเลือกว่าจะขายต่ำกว่า 2 บาท หรือขายที่ 2 บาทเท่า Apple เพื่อชิงตลาด (- สงสัยว่าถ้าสำนักพิมพ์ขาย 2 บาทให้ทุกร้านแล้ว แต่ร้านย่อมเจ็บตัวขายที่ 1.5 บาท จะผิดเงื่อนไขของ Apple ไหม -) Apple เป็นเสือนอนกิน เพราะไม่ว่าสำนักพิมพ์จะขายถูกหรือแพงแค่ไหนก็ได้ 25% เหนาะๆ ยกเว้นว่า "ผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" ขอ 25% แบบเดียวกับ Apple
ผู้บริโภคเสียสิทธ์ แทนที่จะได้เลือกว่าจะซื้อเล่มละ 1.5 หรือ 2 บาท กลับต้องทนซื้อเล่มละ 2 บาท เว้นไว้แต่ "ผู้จัดจำหน่ายรายอื่น" ลดเอง
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
คือแบบเก่าเป็นสำนักพิมพ์ขายให้ bookstore เป็นสิทธิในการขาย copy ของ ebook (เนื่องจากการทำสำเนาของ ebook แทบไม่มีค่าใช้จ่าย)อาจจะเป็นเงินจำนวนนึงก็ตามในกรอบระยะเวลา แล้ว bookstore สามารถตั้งราคาสินค้าเท่าไรก็ได้ แต่ความเสี่ยงของการขาดทุนจะตกอยู่กับ bookstore เอง
พอ apple มาก็มาเปลี่ยนระบบให้ใครขายได้เท่าไรก็ได้ขอแค่ส่วนแบ่ง ซึ่งตรงนี้ความเสี่ยงขาดทุนมันไปตกกับสำนักพิมพ์แต่ก็มีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่าแบบเก่ามาก เพราะสามารถตั้งราคาขายเท่าไรก็ได้ตามใจคือสามารถแพงในตอนเปิดตัวแล้วค่อยลดๆลงตอนขายอืด
ตรงนี้เขาเลยไปฟ้องว่าแอปเปิ้ลทำผู้บริโภคเสียผลประโยชน์สู้ปล่อยให้ amazon ผูกขาดแบบเก่าก็ดีอยู่แล้ว(จริงเหรอ)
ดูฟุ้งซ่านนะครับ ผมอ่านข่าวแล้วเข้าใจว่า แอปเปิลและคนแคระทั้ง 7 ได้รวมตัวกันตั้งราคา (โดยแอปเปิลเป็นหัวโจก) โดยสาระสำคัญอยู่ที่พฤติกรรมการร่วมกันตั้งราคา คุณอ่านประโยคนี้นะครับ
ภายใต้เงื่อนไขว่า จะไม่มีการขายผ่านช่องทางอื่นที่ราคาถูกกว่าการขายบน iBookstore
ส่วนพวกความเสี่ยง กำไร แนวโน้มราคา หรือ Amazon ผูกขาด? เป็นเรื่องที่คุณเติมเข้ามาแทนครับ
ต่อให้ร้านอื่นอยากลดก็คงลดไม่ได้หรอกครับ ถ้าลดสำนักพิมพ์ก็คงถอดหนังสือออกเพราะดันขายถูกกว่า iBook Store ซึ่งผิดข้อตกลงที่ทำไว้กับ Apple(ยกเว้นออกโปรโมชั่นรวม ๆ)
Jusci - Google Plus - Twitter
ในฐานะ user แบบสุดๆ ผมก็แค่อยากได้หนังสือราคาถูกแบบผู้ขายยังอยู่ได้ ไม่เอากำไรเกินควรพอมากรณีนี้ ราคาหนังสือเพิ่มขึ้น มันก็ไม่ควรน้อ
Amazon ไม่ได้กดราคาหนังสือนะครับ จ่ายเงินให้สำนักพิมพ์ตามปกติ ดังนั้นไม่ว่าเค้าจะขายเล่มละเท่าไหร่สำนักพิมพ์ก็ควรจะอยู่ได้ด้วยราคาที่ตกลงส่งให้ Amazon ขาย
"Apple ใช้วิธีการเปิดเผยราคาและเงื่อนไขข้อตกลงการขายอีบุ๊กที่สำนักพิมพ์แต่ละรายกำหนดไว้ให้รู้โดยทั่วกัน"
ตกลงข้อมูลพวกนี้มันควรจะเป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้หรือเปล่า
ตอนนี้ก็ต้องดูกันต่อไปว่าแอปเปิ้ลอุทธรณ์แล้วจะรอดหรือไม่