SIPA เผยสถิติของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ประจำปี 2555 โดยใช้ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
- มูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทย มีมูลค่าการผลิตเฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 31,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึงร้อยละ 24.0
- แยกย่อยได้เป็น ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีมูลค่าการผลิต 5,877 ล้านบาท, บริการซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าการผลิต 26,102 ล้านบาท
- คาดการณ์สภาพตลาดปี 2556 น่าจะมีขนาด 39,096 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 22.2 จากปี 2555
- ประเทศไทยยังคงมีการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ไม่มากนัก โดยในปี 2555 มูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยอยู่ที่ 817 ล้านบาท (2.6% ของตลาดทั้งหมด)
- ตลาดซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (คิดแยกจากตลาดซอฟต์แวร์รวม) มีมูลค่าการผลิต 4,218 ล้านบาท และมีสัดส่วนการส่งออกสูงคือ 1,742 ล้านบาท (41.3%)
ที่มา - TDRI
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
หน้าสุดท้าย ปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ "ขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพในทุกแขนง"
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
อันนี้ผมว่าแก้ยาก ตราบใดที่หัวหน้ายังไม่เข้าใจวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้คุณภาพ และลูกน้องเขียน Code แค่เพื่อหาเงินประทังชีวิต
อันนี้ก็พูดยากครับ บางครั้งแล้ว พนง.เค้าอาจจะอยากมีอนาคตที่ดีเหมือนกัน แต่ด้วยสภาวะการณ์บังคับบางอย่าง เช่นผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แล้วเงินเดือนมีจำกัด ก็เป็นการยากที่จะกระดุกกระดิกตัวทำอย่างอื่น นอก Safe Zone นะครับ
ผมว่ามันไม่เกี่ยวหรอกคับ คนทำงานมันมีสองแบบ
ถ้ามันเป็นงานที่รัก ยังไงคนมันก็ต้องอยากอยู่แต่สายงานนั้นๆ และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา แต่ถ้าทำเพียงเพราะมันได้เงิน คนคนนั้นจะทำแค่ให้มันเสร็จ ไม่คิดจะทำให้มันดี พร้อมที่จะกระโดดไปทำอย่างอื่นที่มันสบายและได้เงินเยอะกว่า เช่น ขึ้นไปเป็น SA แบบนูบๆ และก็กลายเป็นวงจรไป เพราะเขาขึ้นไปเป็นหัวหน้าที่ไม่เข้าใจวิธีพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้คุณภาพ แล้วก็จะไปกดขี่โปรแกรมเมอร์
บางครั้งก็น่าคิดนะ...
ที่บอกว่าคนทำงานมีสองแบบ- ทำเพราะรักในงาน
- ทำเพราะแค่ได้เงิน
ก็น่ามองอยู่ว่าทุกวันนี้คนทำเพราะรักงาน ก็มีอยู่เยอะ แต่กลับจะน้อยลง แสดงว่าเป็นเพราะปัจจัยอื่นๆด้วย
แก้ที่ตัวเราเองดีกว่าครับ
ผมถึงบอกว่ามันยากนั่นแหละคับ เพราะคนที่คิดจะแก้มันมีน้อยมาก
ผมว่าปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่ ขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพในทุกแขนง หรอกครับ
แต่เป็นขาดบุคคลากรที่มีทัศคติที่ดีต่องาน software มากกว่า
- ผมเห็นบางคนจะทำจริงๆ ก็ทำได้นะแต่เขาไม่กล้าทำ กลัวทำผิด คือเวลาเขียนโปรแกรมนี่กะเอาครั้งเดียวถูกแล้วไม่คิดจะแก้กันเลยเหรอ?
- บางคนบอกทำไม่ได้เพราะไม่เคยทำ ก็ยังไม่ลองทำมันจะรู้ได้ไงครับว่าทำไม่ได้ครับพี่น้อง แต่พอบังคับให้ทำดันทำได้ซะงั้น
- ไม่รู้จักหน้าที่ขอบเขตการทำงานของตน
- บางคนผิดแล้วไม่เคยจำ ทำผิดลักษณะเดิมแล้วมาถามตลอดว่าต้องแก้อย่างไร
- บางคนรู้ว่ามันมีวิธีที่ดีกว่าแต่ไม่ยอมใช้เพราะขี้เกียจเปลี่ยนก็มี
คือผมเคยเจอมาหลายคนเป็นคนมีความสามารถนะครับแต่ตัวเองยังไม่รู้ และเป็นเพราะทัศคติของเขาเองทำให้เขาไม่สามารถแสดงความสามารถที่เขามีอยู่ได้
หากเทียบกับกลุ่มประเทศในอาเซียน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยอยู่ในอันดับที่เท่าไร ?
http://globalindex11.bsa.org/ ไม่มี ranking ของ asean อ่ะครับ แต่อันนี้ก็น่าจะเทียบได้
Software Engineer เป็นชื่อตำแหน่งครอบจักรวาลจริง ๆ แล้วความหมายมันคืออะไรหว่า ?
ปล. ผมอ่านเจอว่า ตำแหน่ง Software Engineer in Test (SET) มีหน้าที่แก้-ออกแบบโค้ดให้ทดสอบได้ง่าย ... สรุปว่าเป็นตำแหน่งโปรแกรมเมอร์แต่มีชื่อเป็นเทสต์
ใช่ครับ ตอนนี้ SET กำลังร่วงเลยครับ /เผ่น
หัวข้อสุดท้าย อ่านมาสะดุดตรง "ตลาดซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว" พยามนึกคำภาษาอังกฤษตั้งนานนึกไม่ออก จนมาดู slide เลยถึงบางอ้อ "embedded system software" อารมณ์ประมาณ "กระด้างภัณฑ์" "ละมุนภัณฑ์"
ผมว่าส่วนหนึ่งที่มีปัญหาบุคลากรกัน เพราะหลายคนมองว่า งานด้านนี้เป็นงานที่เหนื่อยไม่คุ้มรายได้ (หากตัดเรื่องทำงานเพราะใจรัก ออกไป) จึงทำให้คนสนใจกันน้อยลง
ก็อาจจะต้องมองกลับว่า "ทำไมมูลค่าถึงน้อย" หรือ "น้อยจริงหรือเปล่า" มูลค่าน้อยจริงหรือไม่ อาจจะต้องเทียบกับตลาดหลายๆ ประเทศดูครับ อันนี้ผมไม่มีข้อมูล ส่วนที่ถามว่า "ทำไมถึงมีมูลค่าน้อย" ผมว่าส่วนหนึ่งมาจากเพราะบ้านเราใช้ Software เถื่อนกันเยอะเกินไปแล้ว
การได้มา Software เถื่อนต้นทุนแทบจะเรียกได้ว่า "ฟรี" ทั้งที่หากซื้อจริงๆ ราคาก็ไม่ใช่ถูกๆ + ตรรกะคนไทยที่ว่า "ซื้อของแท้ + แพง = โง่" เข้าไปอีก นั่นคือเหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่ มองเห็นว่ามูลค่าของ Software นั้นถูกมาก
เห็นด้วยครับ
เราใช้ซอร์พแวร์เถื่อนกันจนชิน จนไม่รู้มูลค่าของการใช้ซอร์ฟแวร์ถูกกฎหมาย ซึ่งตอนนี้เริ่มกลายเป็นบริการมากกว่าสินค้าแล้ว
มีคนให้ตัวอย่างไว้ด้วยครับ ว่า สิ่งที่ต่างกันของโปรแกรมป้องกันไวรัสแบบฟรีกับเสียเงิน คือ แบบเสียเงินหากมันเกิดปัญหาจริงๆ เราสามารถโทรไปขอคำปรึกษาได้ (24/7 ด้วยมั้ง)
สไลด์หน้าสุดท้ายดีมากครับ แต่คำถามคือ SIPA เคยทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นบ้างครับ ทั้งที่ SIPA เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง
อ่านๆ หน้าสุดท้ายแล้วมันเหมือน Software Engineer Life Cycle อย่างหนึ่งเลย
หลักสูตรการศึกษาของสถานบันการศึกษา ไม่สอดคล้องกับความต้องการของอุตหกรรมเพราะหลักสูตรมันเก่าเกินไป นศ. เลยต้องสมัครเข้าไปทำงานสักบริษัทหลังจากที่ผ่านช่วง Training ครบสัญญาก็เข้าสู่ระยะต่อไป อย่างเจอมาเลย นศ.จบใหม่ถามเขียน Python ได้ปะ?? ส่ายหน้า แล้วทำหน้าตาใสๆ ว่าสงสารเราเถอะเราเพื่อจบนะ...
พนักงานรุ่นใหม่นิยมเปลี่ยนงานบ่อย หรือประกอบอาชีพอิสระอันนี้เป็นลักษณะนิสัยของพนักงานสมัยนี้คือ เอาประสบการณ์มาเปลี่ยนงานบ่อยๆ เพราะตนเองมีประสบการณ์สูงเลยคิดว่าสามารถเรียกค่าตัว (เงินเดือนได้สูง) แต่พวก HR กลับไม่คิดแบบนี้ โดนกดราคาลง หรือโดนแย่งงาน หรือโดนจิกให้งานเยอะ พอเบื่อก็หางานใหม่ หรือไม่ก็ไปหาบริษัทใหม่เพื่อ Training ตนเองอีกครั้ง
SMEs ประสบปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันนี้ ต้องแยกย่อยไปอีกครับ ว่าทำไม มีหลายสาเหตุครับ อย่างผมเลยเจอมากับตัวหลังจากที่งานมาในประเทศไทย ดีลเลอร์ของบริษัทขายส่งไอที ตามจังหวัดต่างๆ ชอบขายของแพงเกินราคา หรือบริษัทไอทีตั้งราคาสูงเกินไป ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องหันมาใช้ในสิ่งที่ตนมีให้มากที่สุด
อีกอย่างหนึ่งที่เจอๆ และเบื่อมากๆ คือ ซอฟต์แวร์ที่นำมาขายด้อยประสิทธิภาพกว่าราคา (พูดให้ง่ายๆ คือ ตั้งราคาสูงเกิน) และ/หรือ ด้อยกว่าคุณภาพที่บริษัทนั้นๆ ใช้หรือพัฒนาอยู่ ซึ่งผมเจอมาโดยตลอดทั้งในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว เช่น ซอฟต์แวร์จำพวก ERP เนี่ย นำ Open Source มาพัฒนาต่อแล้วดันไม่เนียน เปิดโค้ดมา นี่มัน OpenERP ชัดๆ!! แล้วผมก็ให้เขาดูระบบของผมซึ่งมาจาก OpenERP เหมือนกัน แต่พัฒนาไปไกลกว่ามาก และอีกอันหนึ่งเจอบ่อย เขียนซอฟต์แวร์อะไรก็ตามพยายามสร้างจุดแต่ต่างหน่อย รู้ว่าเขียนเกมออกเหมือนกับเขาน่าจะทำอะไรให้มันแตกต่างมากขึ้น ไม่ใช่เขียนออกมาเหมือนกันแล้วคุณมาตัดราคาขายถูกกว่า แบบนี้นอกจากคุณจะไม่ได้เงินจากผมแล้ว คุณจะโดนรีวิว 1 ดาวจากผมอีกด้วย...
บริษัทที่ตั้งอยู่นอกเมืองหาบุคลากรได้ยากอันนี้ผมว่า ผู้ที่หางานได้จะไปทำในที่ๆ ผู้จ้างวานให้ไปหรือป่าว?? แต่ส่วนมากมักไม่ไป เพราะคิดว่าหาไกลความเจริญ...อย่างนั้นหรือ?? ที่ความจริงแล้ว บริษัทฯ ออกค่าใช้จ่ายให้หมด ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าทำไม?? เห็นหลายรายล่ะ ส่งไปฝึกที่อินเดียจะเป็นจะตาย...
ทั้งหมดนี้คือ จากวิว หัวหน้างานนะครับ ผิดหรือคิดว่าพาดพิง ต้องขออภัย