CNBC อ้างอีเมลภายในไมโครซอฟท์ แจ้งว่าบริษัทได้สั่งหยุดการรับพนักงานใหม่ และพนักงานทดแทนตำแหน่งที่ลาออก ในธุรกิจให้คำปรึกษาในสหรัฐอเมริกา ตามแผนการลดค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องของบริษัท โดยให้มีผลไปถึงเดือนมิถุนายนนี้
ในอีเมลนี้ยังให้คำแนะนำพนักงานเรื่องการลดค่าใช้จ่ายโดยลดการเดินทาง หากเป็นการประชุมภายในบริษัท และใช้การประชุมออนไลน์แทน รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบการเบิกจ่ายการเดินทางว่ามีความจำเป็นต่อธุรกิจเท่านั้น อีเมลนี้ยังแจ้งเรื่องการลดค่าใช้จ่ายการตลาดให้ได้ราว 35% ด้วย
บริษัทวิจัยตลาด Canalys ออกรายงานสถานการณ์ยอดขาย "AI PC" (นับรวมพีซีที่มีชิป NPU ทั้งหมด) ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
นิยามคำว่า AI PC ของ Canalys นั้นกว้างมาก เพราะนับรวมเครื่อง Mac และ Chromebook ด้วย (อะไรมี NPU คือนับหมด) ภาพรวมตลาดคือขายได้ 13.3 ล้านเครื่องในไตรมาส 3/2024 โดยเครื่องวินโดวส์มีส่วนแบ่งตลาด 53% และ Mac มี 47%
Janco Associates บริษัทวิเคราะห์สภาพตลาดแรงงานไอทีในสหรัฐ ออกรายงานสรุปสภาพการจ้างงานด้านไอทีในสหรัฐตลอดปี 2023 ที่เราเห็นข่าวการปลดพนักงานจำนวนมหาศาล (จน Blognone ต้องมีแท็ก Layoff เพิ่มมาเพื่อการนี้) เมื่อหักลบกับการจ้างงานใหม่แล้ว มีการจ้างงานสุทธิเพียง 700 ตำแหน่งเท่านั้น เทียบกับในปี 2022 ที่มีการจ้างงานสุทธิถึง 267,000 ตำแหน่ง
การวิเคราะห์ของ Janco มาจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกาโดยตรง (นายจ้างจะจ้างเพิ่มหรือปลดออกต้องแจ้งข้อมูลนี้ไปยังสำนักงานสถิติแรงงาน) จากตารางด้านล่างจะเห็นการจ้างงานติดลบในหลายเดือนของปี 2023 โดยเฉพาะเดือนเมษายนที่หดตัวถึง 13,500 ตำแหน่ง ในขณะที่การจ้างเพิ่มมีเพียงหลักร้อยเท่านั้น
เรื่องนี้เริ่มต้นจาก Gergely Orosz ซึ่งเป็นผู้เขียนจดหมายข่าว The Pragmatic Engineer แฉข้อมูลผ่านบัญชี X ของเขาเอง เกี่ยวกับงานสัมมนาด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ DevTernity ซึ่งจัดที่ลัตเวียมาหลายปี โดยงานช่วงหลังเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่ง Orosz พบว่ามีรายชื่อผู้ร่วมขึ้นพูดในงานที่ปรากฏในเว็บไซต์ แต่หลายคนไม่มีตัวตนอยู่จริง
รายชื่อผู้พูดที่เขาพบคือผู้หญิงบางคน เป็นรูปโปรไฟล์ที่สร้างด้วย AI พร้อมประวัติทำงานปลอม เช่น รายแรกบอกว่าเป็นวิศวกรที่ Coinbase แต่ไม่พบชื่อบุคคลนี้ในบริษัท, อีกคนทำงานที่ WhatsApp ก็ไม่มีตัวตนเช่นกัน จากการค้นพบนี้ Orosz จึงคาดเดาไปในหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้จัดงานต้องใช้โปรไฟล์ผู้พูดหญิงปลอมขึ้นมา
Foxconn บริษัทผู้รับผลิตและประกอบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจในระหว่างการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดย Liu Young-way ประธานบริษัทบอกว่าธุรกิจเซิร์ฟเวอร์ มีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการแอพพลิเคชัน AI ที่สูงขึ้น
Liu บอกว่าเพราะคนใช้งานแอปแบบ ChatGPT มากขึ้น ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับ AI มีความต้องการสูงเร็วกว่าที่บริษัทเคยประเมินไว้ และครึ่งหลังของปีนี้ความต้องการอาจเพิ่มสูงระดับเปอร์เซ็นต์เลขสามหลัก
ในภาพรวมของธุรกิจ Liu บอกว่าบริษัทยังคงระมัดระวังผลกระทบในภาพใหญ่ ทั้งนโยบายดอกเบี้ยของแต่ละประเทศ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ และปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบในธุรกิจอื่นของบริษัท
บริษัทวิจัยตลาด Canalys ออกรายงานยอดขายพีซีช่วงไตรมาส 1/2023 หดตัวลง -32.6% สอดคล้องกับ ตัวเลขของ IDC ในข่าวก่อนหน้านี้ที่หดตัว 29%
ตลาดพีซีไตรมาส 1/2023 มียอดขายรวม 53.9 ล้านเครื่อง ลดลงมากจากไตรมาส 1/2022 ที่ขายได้ 80 ล้านเครื่อง เหตุผลก็เป็นการลดลงต่อเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงปลายปี 2022 กลุ่มสินค้าที่ลดหนักสุดคือโน้ตบุ๊ก ยอดขายลดลง 34% ส่วนเดสก์ท็อปลดลง 28%
ผู้ผลิตพีซีที่ยอดขายลดลงหนักที่สุด (คิดเป็นเปอร์เซนต์) คือแอปเปิล -45.5% จากขายได้ 7.4 ล้านเครื่อง ลดลงเหลือ 4 ล้านเครื่อง, ตามด้วย Dell -31.0%, Lenovo -30.3%, ASUS -29.3%, HP -24.1%
IDC เปิดเผยยอดขายสินค้ากลุ่มแท็บเล็ต และ Chromebook ประจำไตรมาส 2/2022 ที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ตลาดแท็บเล็ตไตรมาส 2/2022 ขายได้ 40.5 ล้านเครื่อง เติบโต 0.15% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว (40.4 ล้านเครื่อง) อันดับหนึ่งยังเป็นแอปเปิล 12.6 ล้านเครื่อง แต่ยอดขายลดลงเล็กน้อยราว 3%, อันดับสองซัมซุง 7.3 ล้านเครื่อง ลดลง 10%, อันดับสาม Amazon 5.5 ล้านเครื่อง เติบโตขึ้นถึง 27%
แบรนด์อีกกลุ่มที่เติบโตคือแบรนด์แท็บเล็ตนอก Top 5 ได้แก่แบรนด์จีน Xiaomi, OPPO, vivo, realme ที่หันมาขายแท็บเล็ตกันมากขึ้น มีอัตราเติบโตรวมกัน 16.7%
Revelio Labs บริษัทที่เก็บสถิติตำแหน่งงานของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ออกรายงานว่าตำแหน่งงานที่มีคำว่า "metaverse" ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว 81% ภายในเวลาแค่ 3 เดือนล่าสุด (เมษายน-มิถุนายน 2022)
Revelio Labs เก็บสถิติย้อนหลังดูตำแหน่งงานที่มีคำว่า metaverse พบว่าค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลัง Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 และขึ้นไปพีคที่เดือนเมษายน แต่หลังจากนั้นก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนที่ผ่านมา
บริษัทวิจัยตลาด Gartner พยากรณ์ยอดขายพีซีประจำปี 2022 คาดว่าจะลดลง 9.5% จากปี 2021 ส่วนอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ก็หดตัวเช่นกัน โดยแท็บเล็ตลดลง 9% และโทรศัพท์มือถือลดลง 7.1%
หากแยกตลาดพีซี ฝั่งคอนซูเมอร์จะลดลงเยอะที่สุดคือ 13.1% ส่วนฝั่งธุรกิจจะลดลง 7.2% ส่วนแยกตามภูมิภาค ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา (EMEA) ลดลงเยอะที่สุด 14%
เหตุผลของการที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลง มาจากหลายปัจจัย ทั้งสภาพเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย
ที่มา - Gartner
จากกรณีที่มีข่าวไม่ยืนยันว่า ไมโครซอฟท์อยากให้ผู้ผลิตพีซี OEM เลิกใช้ฮาร์ดดิสก์ เปลี่ยนมาใช้ SSD เป็นหลักแทน เว็บไซต์ TechRadar ลองสำรวจโน้ตบุ๊กรุ่นที่วางขายในสหรัฐอเมริกา ผ่านเว็บไซต์ Dell.com, Lenovo.com, HP.com ซึ่งเป็นแบรนด์ Top 3 ของโลก พบว่าแทบไม่เหลือโน้ตบุ๊กรุ่นที่ใช้ฮาร์ดดิสก์วางขายแล้ว
TechRadar บอกว่าโน้ตบุ๊กฝั่งคอนซูเมอร์ไม่เหลือรุ่นที่มีฮาร์ดดิสก์อยู่เลย โดยโน้ตบุ๊กระดับล่างๆ อาจเลือกใช้ eMMC ที่มีราคาถูกแทน ส่วนโน้ตบุ๊กธุรกิจเหลือเพียง Dell Vostro 14 3400 รุ่นเดียวที่เลือกได้ระหว่างฮาร์ดดิสก์กับ SSD
เมื่อวันก่อนเพิ่งมีข่าวลือว่า แอปเปิลปรับยอดการสั่งผลิต iPhone 14 ลงเล็กน้อย ล่าสุดมีข่าวจากฝั่งเกาหลีใต้ว่า ฝั่งซัมซุงก็ปรับแผนการผลิตมือถือของตัวเองเช่นกัน
ข้อมูลนี้มาจากสื่อเกาหลีใต้ Maeil Economic Daily ว่าซัมซุงปรับเป้าการผลิตมือถือปี 2022 ลง จากเดิมตั้งเป้า 310 ล้านเครื่อง ลงมาเหลือ 280 ล้านเครื่อง (ลดลงราว 30 ล้านเครื่อง) ซึ่งใกล้เคียงกับยอดการผลิตของปี 2021
เหตุผลของซัมซุงมาแบบเดียวกับของแอปเปิลคือ ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อมือถือใหม่ลง บวกกับปัญหาชิปและชิ้นส่วนขาดแคลนที่กระทบทั้งอุตสาหกรรม
SWZD มาร์เกตเพลส B2B ด้านงานเทคโนโลยี ออกรายงาน State of IT นำเสนอแนวโน้มการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กร และทิศทางเทคโนโลยีในปี 2022 ภาพรวมแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นจากปี 2021 เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มองแนวโน้มรายได้ธุรกิจกลับมาเติบโต แบ่งเป็น 64% องค์กรขนาดใหญ่ (พนักงานมากกว่า 500 คน) จะเพิ่มค่าใช้จ่ายไอที และ 45% ขององค์กรขนาดเล็กจะเพิ่มงบประมาณส่วนนี้
สาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรเพิ่มงบประมาณ มาจากการเพิ่มความสำคัญโครงการที่เกี่ยวกับไอทีมากขึ้น รองลงมาคืออัพเกรดระบบที่ล้าสมัย ส่วนรายละเอียดค่าใช้จ่าย ฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มที่ลดลง แทนที่ด้วยค่าใช้จ่ายด้านคลาวด์และบริการที่อยู่คลาวด์
Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าราคาเฉลี่ยของพีซีจะแพงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากปัญหาเงินเฟ้อ ชิปขาดตลาด
ตอนนี้ผู้ผลิตพีซีเริ่มเจอปัญหาชิ้นส่วนขาดแคลน โดยเฉพาะแผงวงจรสำหรับแสดงผล แผงวงจรจัดการพลังงาน และชิ้นส่วน USB-C ทำให้ต้องเลือกว่าจะนำไปใส่พีซีรุ่นไหน ทางออกคือใส่พีซีราคาแพงที่มีอัตรากำไรดีกว่า ผลคือพีซีราคาถูกมีจำนวนสินค้าน้อยลง หาของยากขึ้น
หากผู้ผลิตพีซีไม่อยากขึ้นราคาสินค้า ก็ยังมีทางเลือกอื่นคือตัดฟีเจอร์บางอย่างลง (เช่น แรมหรือสตอเรจขนาดลดลง) หรือใช้ชิ้นส่วนที่มีราคาถูกลง
ตัวเลขของ IDC ประเมินว่าราคาเฉลี่ยของโน้ตบุ๊กในปี 2021 อยู่ที่ 820 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาของปี 2020 คือ 790 ดอลลาร์
(ISC)2 หน่วยงานเทรนนิ่งและออกใบรับรองด้านความปลอดภัยดิจิทัล ประเมินความต้องการตำแหน่งงานด้าน cybersecurity ว่าพุ่งสูงขึ้นมากในรอบปีหลังๆ ทำให้แรงงานสายนี้ขาดแคลนมาก
จากการสำรวจของ (ISC)2 พบว่ามีองค์กรสัดส่วน 64% ระบุว่ายังรับคนทำงานสายนี้ได้ไม่พอกับที่ต้องการ มีเพียง 30% ที่บอกว่ามีจำนวนพนักงานพอแล้ว และ 2% ที่บอกว่ามีเยอะเกินไป
ส่วนความต้องการคนทำงาน cybersecurity ทั่วโลกมีอยู่ราว 3.1 ล้านตำแหน่ง (ลดลงจากปี 2019 ที่ประมาณ 4 ล้านตำแหน่ง) โดยภูมิภาคที่ขาดแคลนมากที่สุดคือเอเชียแปซิฟิก ขาดคนมากถึง 2 ล้านตำแหน่ง
(ISC)2 ประเมินว่าเหตุที่ความต้องการคน cybersecurity ลดลง มาจากการลดจำนวนพนักงานทุกประเภทลงในภาพรวม ที่มาจากปัญหาเศรษฐกิจในช่วง COVID-19
ปี 2020 เป็นปีที่วงการพีซีกลับมารุ่งเรืองจากกระแสทำงาน-เรียนที่บ้าน ทำให้ยอดขายพีซีของปีนี้อาจสูงถึง 300 ล้านเครื่อง เติบโต 15% จากปีที่แล้ว และเป็นตัวเลขที่เราเคยเห็นครั้งสุดท้ายในปี 2008
Canalys ประเมินว่าสิ้นปี 2021 ยอดใช้งานพีซีและแท็บเล็ตรวมทั่วโลกจะอยู่ที่ 1.77 พันล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 1.64 พันล้านเครื่องในปี 2019 จากเดิมที่หนึ่งบ้านมีพีซีแค่หนึ่งเครื่อง กลายมาเป็นคนในบ้านหนึ่งคนมีพีซีของตัวเองคนละเครื่อง
จากดีล Salesforce ประกาศซื้อกิจการ Slack ด้วยมูลค่าสูงถึง 27,700 ล้านดอลลาร์ ทำให้เป็นเป็นหนึ่งในดีลซื้อกิจการของบริษัทเทคโนโลยี ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ดีลหนึ่ง โดยอยู่ในลำดับที่ 8
ข่าวนี้รวบรวม 10 อันดับแรก ของดีลซื้อกิจการกันในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูงสุด ที่น่าสนใจคือดีลขนาดใหญ่ระดับเกิน 20,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังปี 2015 เป็นต้นมา
Canalys ออกรายงานตลาดพีซีไตรมาส 3/2020 โดยนับรวมแท็บเล็ตด้วย ภาพรวมตลาดโตขึ้น 23% ขายได้ทั้งหมด 124.5 ล้านเครื่อง
สินค้ากลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดคือ Chromebook +122% ด้วยยอดขาย 9.4 ล้านเครื่อง ตามด้วยแท็บเล็ต-โน้ตบุ๊กแบบถอดคีย์บอร์ดได้ (detachable) +88%, โน้ตบุ๊กแบบบางเบา +57% ในขณะที่สินค้ากลุ่มเดสก์ท็อปเวิร์คสเตชันหดตัว -27% และเดสก์ท็อปแบบทาวเวอร์ -33% โดยเดสก์ท็อปประเภทเดียวที่ยังเติบโตได้คือ all-in-one (AIO) โต +7%
บริษัทวิจัย Forrester Research ออกรายงานประเมินงบใช้จ่ายด้านไอที (tech budget ในที่นี้รวมทั้งภาครัฐ-เอกชน) ของ 3 ประเทศหลักในยุโรปคือ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากน้อยแค่ไหน
Forrester ประเมินว่างบใช้จ่ายด้านไอทีปี 2020 ของทั้ง 3 ประเทศจะลดลงแน่ๆ เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยแยกได้เป็น 2 สถานการณ์
Blognone มีบริการหางานด้านไอที Blognone Jobs มาประมาณหนึ่งปีกว่า ตัวบริการเปิดให้ใช้ฟรี และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็มีหน่วยงานเข้ามาใช้บริการประกาศหางานมากกว่า 1,200 แห่ง
จากสถานการณ์ COVID-19 และปัญหาเศรษฐกิจที่ตามมา เราเห็นบริษัททั่วโลกออกมาตรการลดค่าใช้จ่าย ทั้งปลดพนักงาน ลดเงินเดือน รวมถึงหยุดการจ้างงานใหม่ด้วย
Blognone Jobs เห็นข้อมูลเชิงสถิติแรงงานด้านไอทีในช่วงนี้ น่าจะสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงานได้พอสมควร จึงนำข้อมูลมากฝากกัน
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint Research เผยสถิติยอดขายสมาร์ทโฟนประจำปี 2019 แยกตามรุ่น ภาพรวมของยอดขายทั้งโลกค่อนข้างกระจัดกระจาย แต่ถ้านับรวมทั้งโลก รุ่นที่ขายดีที่สุดคือ iPhone XR (3% ของยอดขายทั้งโลก) ตามด้วย iPhone 11 (2.1% ของยอดขายทั้งโลก)
สมาร์ทโฟนสาย Android ที่ขายดีที่สุดคือ Samsung Galaxy A50 (1.8%) ตามมาด้วย Galaxy A10 ที่ยอดขายไล่เลี่ยกัน (1.7%)
ประเด็นที่น่าสนใจคือ Huawei ในฐานะผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเบอร์สองของโลก ไม่ติดอันดับ Top 10 รุ่นขายดีเลย แต่สมาร์ทโฟนเรือธง P30 ก็ทำยอดขายได้ดีในตลาดจีน
บริษัทวิจัยตลาด Canalys ประเมินยอดขายพีซีรวมตลอดปี 2020 ว่าลดลงแน่ๆ จากปี 2019 ขึ้นกับว่าจะลดลงมาก (-8.5%) หรือลดลงน้อย (-3.4%) เท่านั้น
Canalys มองว่าปัจจัยเรื่องไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อสายการผลิตพีซี (ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจีน) เข้าเต็มๆ ขึ้นกับว่าสายการผลิตจะสามารถกลับมาเดินหน้าได้ตามปกติในเดือนเมษายน (best-case scenario) หรือหลังเดือนมิถุนายนไป (worst-case scenario) ซึ่งตอนนี้ Canalys ยังให้โอกาสที่จะเกิด best-case ที่ราว 80% อยู่
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่องไวรัสไม่ได้ส่งผลต่อการผลิตอย่างเดียว แต่จะส่งผลให้ประเทศจีนสั่งซื้อพีซีน้อยลงเองด้วย ซึ่ง Canalys ประเมินว่าจะน้อยลงจากปี 2019 ที่ราว 3.8-12.2% ขึ้นกับสถานการณ์ ส่วนความต้องการพีซีของประเทศอื่นๆ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัสมากนัก แต่จะมีปัญหาซื้อไม่ได้เพราะชิ้นส่วนขาดแคลนแทน
การมาถึงของภาพยนตร์สตรีมมิ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อยอดขายหนังแผ่น บริษัทวิจัยตลาด ResearchAndMarkets.com ออกรายงานประเมินยอดขายแผ่นและเครื่องเล่น Blu-ray นับจากปี 2019 ไปถึงปี 2015
- ยอดขายแผ่น Blu-rayจะลดลงจาก 488.1 ล้านแผ่นในปี 2019 เหลือ 334.7 ล้านแผ่นในปี 2025 (เฉลี่ยลดปีละ 6.1% หรือลดลงรวม 31.4% หายไป 153 ล้านแผ่น)
- ยอดขายเครื่องเล่น Blu-rayจะลดลงจาก 46.6 ล้านเครื่องในปี 2019 เหลือ 16.1 ล้านเครื่องในปี 2025 (เฉลี่ยลดปีละ 16.2%)
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งต่างบอกว่ามีการเติบโตเหมือนกัน โดย IDC ให้ภาพรวมโต 4.8% ยอดส่งมอบ 71.8 ล้านเครื่อง ขณะที่ Gartner ประเมินว่าเติบโต 2.3% ยอดส่งมอบ 70.6 ล้านเครื่อง
เมื่อพิจารณาตัวเลขรวมตลอดปี 2019 ตลาดพีซีกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังลดลงต่อเนื่องมานานถึง 6 ปี ปัจจัยสำคัญหนึ่งมาจากการหยุดสนับสนุนของ Windows 7 ทำให้มีการอัพเกรดพีซีกันเป็นจำนวนมาก ส่วนปัญหาที่ซีพียูขาดตลาดนั้น ผู้ผลิตก็เปลี่ยนมาใช้ AMD ทดแทน
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามผู้ผลิต อันดับ 1-2-3 ยังคงเป็น เลอโนโว, เอชพี และเดลล์ เช่นเดิม ตามด้วยแอปเปิลในอันดับที่ 4
ในงานสัมมนา RISE ที่ฮ่องกงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา South China Morning Post และ Abacus เว็บในเครือ ได้ออกรายงานความเคลื่อนไหววงการอินเทอร์เน็ตของจีนในช่วงปีที่ผ่านมา China Internet Report 2019 ซึ่งเป็นปีที่สองที่มีการออกรายงานนี้ จากที่ทุกปีเราจะเห็นรายงาน Internet Report แต่เน้นเรื่องราวอเมริกา และเสริมภาพรวมทั่วโลกมากกว่า
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานตัวเลขยอดขายพีซีทั่วโลก ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2019 โดยทั้งสองค่ายมองเหมือนกันว่าภาพรวมตลาดกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังตลาดทรงตัวหรือลดลงมาตลอด 6 ปี
โดย IDC ให้ตัวเลขการเติบโต 4.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน 64.9 ล้านเครื่อง ส่วน Gartner ให้ตัวเลขโต 1.5% มียอดส่งมอบ 63 ล้านเครื่อง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดขายพีซีเติบโตมาจากการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เป็น Windows 10 ในกลุ่มลูกค้าองค์กร ก่อนที่ Windows 7 จะหยุดสนับสนุนในปีหน้า รวมทั้งปัญหาซีพียูอินเทลขาดตลาดก็ดีขึ้นมาก ส่วนประเด็นสงครามการค้าอเมริกา-จีน ไม่ส่งผลต่อยอดขายมากนัก