จากกรณี Error 53 อันลือลั่นของแอปเปิล ที่เมื่อผู้ใช้ iPhone หรือ iPad รุ่นที่มี Touch ID นำเครื่องไปซ่อมนอกศูนย์ของแอปเปิลแล้วอัพเดตระบบปฏิบัติการเป็น iOS 9 จะทำให้ iPhone หรือ iPad เครื่องนั้นถูกล็อกและกลายเป็นที่ทับกระดาษไปในทันที ล่าสุดสำนักงานกฎหมายใน Seattle เตรียมหาทางฟ้องบริษัทผลไม้ในประเด็นนี้แล้ว
ถึงแม้แอปเปิลจะเปิดเผยว่ามาตรการดังกล่าว มีไว้เพื่อปกป้องข้อมูลลายนิ้วมือในเครื่อง แต่ PVCA สำนักงานกฎหมายใน Seattle กลับมองว่าเป็นการบังคับลูกค้าให้ไปใช้บริการหลังการขายที่มีราคาแพง และกำลังรวบรวมข้อมูลในการฟ้องแอปเปิลแบบกลุ่ม (class action lawsuit) พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบติดต่อบริษัทโดยด่วน ขณะที่ทนายในสหราชอาณาจักรแสดงความเห็นด้วยว่า Error 53 อาจมองได้ว่าเป็นการตั้งใจทำลายทรัพย์สินก็ได้
ที่มา - MacRumor
" พวกเราเชื่อว่าแอปเปิลตั้งใจจะบังคับให้ลูกค้า ต้องไปใช้ศูนย์บริการซ่อมของแอปเปิลที่มีราคาสูงกว่าที่อื่น อย่างร้านซ่อมทั่วไปจะคิดค่าเปลี่ยนหน้าจอที่ประมาณ 50-80 เหรียญสหรัฐฯ แต่แอปเปิลคิดค่าบริการถึง 129 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่านั้น ซึ่งเท่ากับว่า แอปเปิลมีแรงจูงใจในการกีดกันไม่ให้ลูกค้า ไปใช้บริการซ่อมที่อื่น "
"We believe that Apple may be intentionally forcing users to use their repair services, which cost much more than most third party repair shops. Where you could get your screen replaced by a neighborhood repair facility for $50-80, Apple charges $129 or more. There is incentive for Apple to keep end users from finding alternative methods to fix their products" - แถลงการณ์จากสำนักกฎหมาย PVCA
Comments
โอ มองเป็นเรื่องผูกขาดบริการซ่อมสินะ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
เปลี่ยนแค่จอ iPhone 6 จะเกิดปัญหาไหมครับ (ใครเคยบอกหน่อย) พอดีผมทำตกแตกแล้วจอมันร้าว แต่กดได้ปกติทุกอย่าง
เป็นเฉพาะอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับ Touch ID ครับ ที่จะทำให้เครื่องล็อก
ต้องเช็คกับร้าน สลับปุ่มโฮมมั้ย ถ้าปุ่มเดิม โอเคไม่เป็นไรครับ
ขอบคุณทุกความคิดเห็น ผมจะเปลี่ยนแค่จอครับ ไม่ยุ่งกับปุ่มโฮม ผมไม่เสี่ยง
สมแล้วที่โดนฟ้อง
เอาจริงๆถ้าแค่ปิดให้ใช้ touch id ไม่ได้ แต่ยังใช้ส่วนอื่นได้อยู่ เรื่องมันก็ไม่น่าจะร้อนขนาดนี้
ก็เข้าใจความหวังดีของแอปเปิลนะ แต่วิธีการมันค่อนข้างจะหนักไปนิด
อีกอย่างถ้าลูกค้าเลือกที่จะเสี่ยงกับ 3rd party เอง ก็น่าจะต้องยอมรับความเสี่ยงเองอยู่แล้ว
+1 เห็นด้วยครับ
ถ้าเพื่อปกป้องข้อมูลลายนิ้วมือจริงไม่ต้องใส่โค้ด error คือมีทางเดียวลดราคาลงให้เท่าๆ กับร้านทั่วไป ไม่งั้นก็กลายเป็นค้ากำไรเกินควรแถมไปบีบบังคับอีก
ซ่อมกับ apple ยังมีประกัน แต่ซ่อมข้างนอกไร้ประกัน
รับประกันงานซ่อมร้านทั่วไปมีเยอะแยะครับ แต่แต่ระยะเวลาเท่าไหร่ เชื่อใจได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเครดิตร้านนั้นครับ
มีประกันซ่อมทุกทีแหละครับ กี่เดือนว่ากันไป แต่ต้องถามก่อนซ่อมน่ะครับ
อันนี้เห็นด้วยครับ เพราะเครื่องหมดประกันแล้ว หากปุ่ม Home เสีย เราต้องการแค่เปลี่ยนปุ่ม Home ราคาไม่กี่ร้อยบาท ซึ่งแม้ Touch ID อาจจะใช้ไม่ได้ ก็ช่างมัน เครื่องยังใช้ได้อยู่
ถ้า Apple จะแย้งเรื่องปกป้องข้อมูลในเครื่อง ผมว่าฟังไม่ขึ้น เพราะมีวิธีอื่นที่ปกป้องข้อมูลได้ โดยไม่ต้องมาล็อกตรงนี้
ผมว่าฟ้องเรื่องราคาซ่อมสูงเกินเหตุน่าจะโอเคกว่านะ
ทุกอย่างมันมีราคาของมันอยู่ อย่างกรณีเรื่องสาย USB ราคาถูกที่คุมเรื่องแรงดันไฟไม่ได้เวลาเอาไปเสียบกับแมคก็พยายามที่จะปิดตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสียหายลุกลาม หลายคนน่าจะพอเคยเจอเหตุการณ์ทำนองนี้กับอุปกรณ์ของ Apple ซึ่งก็คงเป็นแนวทางของ Apple มาตั้งแต่แรกในการที่จะป้องกันหรือไม่เปิดกว้างในการรับอุปกรณ์แปลกๆ ที่จะเชื่อมต่อเข้ามาในระบบ
สำหรับ Apple ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็มีสิทธิ์เสี่ยงโดนฟ้องอยู่ดี ถ้าปล่อยให้ลูกค้าสามารถเอาไปเปลี่ยนเองได้อิสระ แล้ววันหนึ่งเกิดข้อมูลลูกค้ารั่วก็มีสิทธิ์โดนฟ้อง การจงใจทำให้เกิด error โค้ดนั้นขึ้นมามันก็ดูเหมือนจะปกป้องข้อมุลของ user เองแต่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นการป้องกันตัว Apple เองเช่นกัน เหมือนกับแสดงให้เห็นเจตนาแล้วนะว่าเราปกป้อง แต่ถ้าในอนาคตมันจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ยังไงตรงนั้นก็เป็นเรื่องของลูกค้าที่จะไปรับผิดชอบความเสี่ยงกันเองแล้วนะ
เทียบกับสาย USB ไม่ได้หรอกครับ อันนี้มันคือเครื่องทั้งเครื่องครับ ไม่ใช่ accessories และ error นี้มันคือใช้งานอะไรเครื่องไม่ได้อีกเลย ทิ้งอย่างเดียวเท่านั้นถ้าไม่ส่งกลับไปที่ Apple
ตรงนั้นคือ 1 ในตัวอย่างที่อยากให้เห็นวิธีคิดของ Apple แล้วอีกอย่างเคส USB ที่ว่ามันก็ร้ายแรงขนาดเครื่องพังไปเลยครับ
สาย USB ใช้ไม่ได้ กับเครื่องใช้ไม่ได้เลยมันคนละเรื่องกันเลยถูกแล้วนิครับ
ปุ่มโฮมใช้ไม่ได้ กับ USB ใช้ไม่ได้ถึงจะเรื่องคล้ายกันน่ะครับ
สาย USB ที่ว่าไม่ใช่ใช้ไม่ได้ครับ มันใช้ได้แต่มันทำอันตรายกับอุปกรณ์ที่ต่อกับมันโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จ่ายไฟครับ คือผมมองว่าสาย USB มันก็เปรียบเสหมือนชิ้นส่วนหนึ่งในการใช้งาน ก็เหมือนกับปุ่มโฮมซึ่งเป็นชิ้นส่วนหนึ่ง มันอาจจะไม่ได้เปรียบเทียบกันได้ตรงๆ เพียงแต่อยากจะชี้ให้เห็นวิธีคิดของ Apple น่ะครับ
แต่กรณีนี้ Apple ควรถูกกว่านะครับ เพราะผลิตจำนวนมหาศาลอยู่แล้วราคาต้นทุกน่าจะถูกมากแต่คิดกำไรเยอะเกินไป
bias เกินไปนะ สินค้าอื่นถ้ามีการดัดแปลงที่ไม่ใช่จากศูนย์เขาก็แค่บอกปัดความรับผิดชอบ แต่ไม่ใช่ล็อคเครื่องไม่ให้ใช้แบบนี้ ถ้าสินค้าทุกชนิดบนโลกทำแบบ apple โลกคงวุ่นวายพิลึก
ถ้าเจอโค้ดนี้จริงๆ หลังจากล็อคแคุณก็ยังสามารถเอาไปแก้ไขเพื่อใช้ให้ใช้งานได้อยู่ครับซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องของลูกค้าเองแล้ว และเรื่องล็อคนี่มันเคยมีมานานแล้วครับ ถ้ายังจำยุคเฟื่องฟูของมือถือที่ผูกติดกับค่ายได้
เอาไปแก้ไขเพื่อให้ใช้งานได้?
จาก iphonemod
แก้ไขแบบนี้ผมไม่เรียกว่าแก้ไขนะครับ มันต้องแก้ที่ตัว Apple เอง
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ก็อย่างที่บอกไปครับ คือมันแก้ไขได้แต่มันก็ลำบากนั่นแหละแล้วตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้เลยว่าเรตในการเปลี่ยนปุ่ม Home กับศูนย์นี่มันราคาสักเท่าไหร่ ย้ำอีกครั้งนะครับว่าผมก็ไม่ได้เห็นด้วยกับแนวทางนี้ มันควรที่จะพบกันครึ่งทางมากกว่า
ทางกลางๆ คือถ้าจะซ่อมนอกสูญก็เอาเข้าศูนย์ไปปิด validity
touch ID ทิ้งแล้วต่อไปคุณจะใช้ Touch ID ไม่ได้อีก
แล้วคุณจะซ่อมศูนย์ไหม?ก็แล้วแต่ ส่วนเรื่องประกันที่หลายๆคอมเม้นท์บอก
ว่าไม่มีที่จริงมันก็แล้วแต่ร้านนะครับร้านตู้คงยากหน่อยแต่บางทีพวกร้านเป็นห้องๆ
มันก็มีแถมให้บัตรประกันไว้ด้วยภายใน 3-6เดือนมีปัญหาก็มาเปลี่ยนไม่คิดค่าอะไหล่
(เอาอะไหล่เดิมที่เปลี่ยนให้ครั้งที่แล้วกลับ)และค่าแรง ซึ่งตรงนี้จะแพงกว่าร้านตู้
2-300 แต่ผมสบายใจหยั่งงี้มากกว่านะ แล้วก็ออกแพตซ์ให้ agreement ในเรื่องนี้
ไม่พอใจส่งคืนคืนตัง
ส่วนทางที่เลวร้ายที่สุดก็คือใส่เรื่องพวกนี้ไว้ใน user's agreement
ตอนเปิดใช้เครื่องครับ ว่าค่าซ่อมแพงนะต้องรับให้ได้ถ้ามีปัญหาอะไรเพิ่มเติมใน
อนาคตเนื่องจากไปเปลี่ยนอะไหล่นอกศูนย์หรือตัวแทนแต่งตั้ง แอปเปิ้ลไม่รับผิดชอบ
แต่ถ้าทำเช่นนี้เหมือนเผด็จการกลายๆหนะ แล้วก็ให้ตัว agreement นี้มาพร้อมกับไมเนอร์อัพเดท
งวดหน้า ถ้ากดโอเคใช้เครื่องต่อก็โอเคซิกกาแรต
เรื่องข้อมูลหลุดจริงๆก็เขียนไว้ในแล้วนะครับ แต่ดันเขียนไว้แค่ในส่วนของแค่ส่วนของ apple pay ว่าถ้าเอา touch id ไปเปลี่ยนร้านอื่นๆเอง เกิดอะไรขึ้นไม่รับผิดชอบนะ อยู่ใน software agreements ตั้งแต่ iOS 8.1 ละครับ
ถ้าตอนนั้นเขียนไว้ครอบคลุมเรื่องอื่นๆด้วย ก็คงอาจจะลอยตัวไปได้ละ
4 Security; Lost or Disabled Devices......
....
...
..
.
You agree that Apple does not have any responsibility if you make unauthorizedmodifications to iOS (such as by way of a “jailbreak”). << เปลี่ยนตรงนี้นิดเดียวดิ้นกันไม่หลุดเลยทีเดียว
แต่ถ้าแถไส้แตกมันก็พอเอาตรงนี้มาคุยได้นะว่าคุณไปยุ่งกับส่วน Security
เพราะงั้นการผูกขาดเพื่องโยงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามันเป็นผลด้านความปลอดภัย
เหมือนตอนทิม ออกมาแถเรื่องเคสว่าออกแบบมาดีที่สุดอะหละ
สุดท้ายผมว่าก็น่าจะเข้าหร็อบเดิมคือออกแพตซ์ให้ตกลงยอมรับ โดยเขียนให้กว้างขึ้น
ว่าการดัดแปลงฮาร์ดแวร์ในในทุกๆส่วนลูกค้าต้องรับผิดชอบเอาเองนะ
ไม่พอใจก็ขอตังค์คืนอะไรประมาณนั้น หรือไม่ก็เนียนๆให้ฟ้องไปแล้วจ่ายค่าชดเชย
แล้วแพตซ์ก็อัพเดทตั้งแต่ I6 เพื่อลดจำนวนคืนเครื่องไรประมาณนั้น
หรือให้เอาเครื่องมาคืนเป็นส่วนลดซื้อ I6 เป็นต้นไป (ฮา)
ทั้วไปกตหมายมีศักดิ์สูงกว่าข้อตกลง
ซึ่ง user และ ทนาย มองว่า error 53 เป็นการจงใจทำลายทรัพย์สิน ซึ่งผิดกตหมายครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถ้าผมไปเปลี่ยนยางรถที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วทำให้เกิดอุบัติเหตุเพราะยางระเบิดแบบนี้ผมควรฟ้องบริษัทยางหรือบริษัทรถยนต์ดีครับ
จริงๆผมว่าเอาไปเทียบกับรถยนต์ซึ่งเป็นอุบัติเหตุไม่ได้นะครับ แต่ถ้าให้เทียบก็
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ขอบคุณครับ ตรงนี้คงเอามาเทียบกันไม่ได้ตรงๆ จริงๆ เพราะตัวตัวแปรปัจจัยการใช้งานต่างกัน
เคสนี้เหมือนที่ผมเคยบอกไงครับ ถ้าเอารถไปติดเทอร์โบ บริษัทรถทำได้แค่เตือนว่ามีการดัดแปลง
ไม่สามารถมาล๊อครถ แล้วห้ามไม่ให้ผมใช้งาน เพราะรถเป็นทรัพย์สินของผม
เคสมือถือผมก็คิดน่าควรจะเหมือนกัน
ผมว่ามันเป็นสัญญาครับ
ซึ่งผมมองว่าตัวสัญญาถ้ามันไม่ได้น่าเกลียดจนเกินไป
และเป็นการยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายฟ้องไปก็อาจจะตกเอาง่ายๆครับ
เพราะต้องยอมรับก่อนว่าไม่มีใครบังคับให้เรากดยอมรับสัญญาข้อนี้
เหมือนที่เราชอบเอาไปอ้างในศาล
ข้อตกลงการใช้งานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็กลายเป็นโมฆะนะครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ผมว่าเราซื้อเครื่องแล้ว มันก็สิทธิ์ขาดของเรานะครับ
ถ้า icloud ก็ว่าไปอย่าง ตั้งก็ได้ไม่ตั้งก็ได้
แต่นี่ปุ่มโฮม กับสแกนนิ้ว ยังต้องบังคับซ่อมศูนย์อีก
ตอบยากจัง ถ้าเป็นเปลี่ยนแล้ว สามารถเข้าเวป check เพื่อตรวจสอบ คุณภาพของอุปกรณ์ อะไรแบบนี้ได้ไหมถ้าผ่าน apple ก็ปลดล๊อกไป ไม่ผ่านก็กดใช้ touch id ไม่ได้
เห็นด้วยกับแนวทางนี้ครับดูเป็นทางออกกลางๆ ดี
เชียร์เลยครับ ถ้าจะอ้างเรื่องความปลอดภัยก็น่าจะแค่ disable ข้อมูลและฟังชั่น Touch ID ก็พอ
+1
อยากรู้เหมือนกันว่าคราวนี้ Apple โดนฟ้องแล้วจะแก้ปัญหายังไง
สมควรโดน
ความหวังดีมากเกินไปก็ซวยแบบนีแหละ คือเข้าใจฝั่ง Apple ว่า ป้องกันการ bypass ตัว Touch ID ด้วยการ lock ที่ iPhone/iPad ไปเลยถ้าเกิด validate ตัว Touch ID ไม่ตรงกับ M/B แต่จริงๆ มันควรมีวิธีในการ re-validate และ re-matching ได้หรือเปล่าหว่า ก็เป็นเรื่องที่ต้องหาทางปรับแก้ไขต่อไป โดนฟ้องบ้างก็ดี คิดแทนเยอะไปก็อาจจะไม่ดี มันควรมีตัวเลือกให้นิดนึง ไม่ใช่สุดโต่งแบบนี้
สมมติว่า ผมเป็นช่างใส่TouchIDปลอมที่มันเก็บข้อมูลลายนิ้วมือได้ พอลูกค้าใช้แล้วรู้ว่ามีปัญหา เอากลับมาให้ซ่อมหรือเปลี่ยน เท่ากับว่าช่างได้ลายนิ้วมือลูกค้าคนนั้นแล้วทุกองศาทุกมุมเลยที่แอปเปิลทำก็ดูมีเหตุผลขึ้นมา ผมเห็นควรว่าควรฟ้องเรื่องค่าซ่อมศูนย์แพงเกินหรือห่วงความปลอดภัยจริงๆ เปลี่ยนฟรีเลยครับ
น่าจะทำได้ไม่นาน หลักฐานติดไปกับเครื่องลูกค้า ถ้าเค้าเอาไปซ่อมที่อื่นแล้วร้านอื่นเปิดมาบอกเป็นตัวเก็บลายนิ้วมือ ก็พาตำรวจไปจับคาร้านติดคุกหัวโตแน่นอนครับ
ถ้าจะหลอกเก็บลายนิ้วมือมันต้องไปหลอก OS ด้วยครับ เพราะส่วนเก็บข้อมูลลายนิ้วมือมันใส่ลง Secure Enclave memory ซึ่งอยู่คนละที่กับ Touch ID นะครับ
แบบนั้นเก็บลายนิ้วมือรอบเครื่องเลยครับ ครึ่งชั่วโมงก็น่าจะได้ครบแล้วครับไม่ต้องเสียเวลาปลอมที่แสกนนิ้วให้เสียตนทุนเลย
555 ใช่เลย บางคนมักจะพยายามหาเหตุผลที่คนปกติเขาไม่ทำกัน
Error 53 มีไว้บังคับคนไม่รู้เรื่องซื้อเครื่องใหม่ทั้งที่โทรศัพท์ยังใช้ได้อยู่ เป็นแนวคิดที่แย่มาก เรื่องความปลอดภัยก็สมควรให้ผู้ใช้เลือกเองว่าไม่ต้องการความปลอดภัยแบบสุดขั้วได้ด้วย (แต่อย่างว่าถ้าให้เลือกได้มันก็ไม่เป็นความปลอดภัยแบบสุดขั้ว) หรือให้เลือกปิดเปิดได้ดังใจ
บางทีเรื่องความปลอดภัยที่เข้มข้นมันเหมือนเป็นการลงโทษผู้ใช้มากกว่าผู้ร้าย เหมือนให้ทรมาณไปตลอดกาลแม้ว่าเราจะไม่ได้มีข้อมูลสำคัญให้เครื่องเลยก็ตาม
รู้สึกถึงความเป็นลัทธิศาสนา อะไรประมาณนั้น
คือ เครื่องเรา เราก็น่าจะทำอะไรกับมันก็ได้
คุณยังสามารถทำอะไรกับเครื่องคุณก็ได้ครับ แต่ไม่มีการรับประกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเครื่องคุณ
แต่เคสนี้มันรับประกันว่า Brick แน่ๆไงครับ ด้วยความจงใจ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
มันมีทางแก้ Error นี้และมีคนรับแก้แล้วครับ ซึ่งนั่นคือทางเลือกของเข้าของเครื่อง
ในเมื่อมันคือความจงใจ คือนโยบายของ Apple ถ้าไม่ฟ้องศาลกัน เดี๋ยว Update หน้า Apple ก็หาวิธีใหม่ๆมาล็อกครับ แบบเดียวกับการอุด Jailbrake นั่นแหละ
ผมคิดว่าคราวนี้ Apple ล้ำเส้นไปมากที่ล็อกไล่หลัง มันไม่ใช่ประเด็นว่าให้ลูกค้าไปแก้เอาเองแล้วจบ มันคือเรื่องมาตรฐานทางกฎหมายว่าบริษัทมีอำนาจแค่ไหน และคิดว่าทนายในข่าวนี้ก็เห็นเหมือนกัน เพราะไม่งั้นไปตีปี๊บหาลูกความขนาดนี้หรอก Class action trial ไม่ใช่เรื่องหมูๆ ถ้าทนายวิ่งโร่มาขนาดนี้เค้าแน่ใจว่าได้แน่ๆ ละเมิดชัดๆ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
ตรงนั้นคงต้องเป็นการสู้กันของทั้งสองฝั่งครับ เรื่องล็อคผมก็ไม่ได้เห็นด้วยว่ามันล็อค ควรพบกันครึ่งทางมากกว่า แต่ที่ผมแย้งก็แย้งเรื่องที่ว่ามัน Brick ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลือกของทาง user เอง
เรียง Timeline จากข่าวเก่าให้ดูนะครับ
ดู Timeline แล้วคิดตามนะครับ ว่าลูกค้าไม่ได้เป็นสัพพัญญู จะรู้ได้อย่างไรว่าทางเลือกของตัวเองก่อนหน้านั้นทำให้เครื่องล็อก"ทีหลัง" โดยไม่มีการเตือน แถมไม่มีกฎหมายใดๆรองรับด้วย ลูกค้าคนไหนจะจินตนาการออกว่ามีบริษัทที่กล้าทำลายสินค้าที่ขายขาดอยู่ในมือลูกค้าไปเรียบร้อยแล้วครับ
เพราะฉะนั้น เครื่อง Brick ไม่ใช่เป็นเพราะลูกค้าเลือกครับ แต่เป็นเพราะ Apple เลือกจะแทงข้างหลังลูกค้าตอนออกอัพเดทเท่านั้นเอง
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
เรื่องเจตนาแทงหรืออะไรคงต้องเป็นไปตามการสืบสวนของทางนั้นต่อไปครับ เพราะเราก็ไม่รู้เจตนาจริงๆ ว่าที่ล็อคนั้นเพื่ออะไร แต่ถ้าบอกว่าล็อคเพื่อให้เอาไปซ่อมที่ศูนย์อย่างเดียวเพื่อทำกำไรตรงนี้ แบบนี้ก็ล็อคมันทุกชิ้นส่วนไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ เช่นจอที่มีโอกาสเปลี่ยนค่อนข้างสูง
เจตนาจะเป็นยังไง แต่วิธีการมันเกินกว่าเหตุและมากระทำหลังจาก de facto standard มันมีมาเกือบปีแล้วว่าซ่อมนอกศูนย์ได้ ผลมันฟ้องถึงเจตนา ถ้าห่วง security อย่างที่แถลงทำไมไม่แจ้งแต่แรก ผมยังยืนยันว่าผมใช้คำถูกต้องแล้ว
แล้วถ้าไม่มีคดีนี้ขึ้น เดี๋ยวการล็อกทุกชิ้นส่วนก็เกิดขึ้นได้ไม่ยากครับ
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
"สำหรับลูกค้าที่ต้องการจะซ่อมเครื่องนอกศูนย์ของเรา เรามีความยินดีจะแนะนำผลิตภัณฑ์ของคู่ค้าเรา"
แอปเปิ้ลไม่ได้กล่าวไว้พร้อมผายมือไปทาง Samsung
สายไปแล้วหละ apple รู้จักคำว่าสิทธิเสรีภาพป่าว โดนปล่อยมาเยอะเลยเอาใหญ่
น่าจะฟ้องอะไหล่มาสด้าบ้างนะครับ แพงชิบหาย
เขาไม่ได้ล็อกเครื่องยนต์ถ้าใช้อะไหล่เทียมนิครับ = ="
ทำไมไม่ให้ล็อกอินผ่าน Apple ID หรือคำถามยืนยันตัวตนสามคำถาม หรือลายนิ้วมือเพื่อยืนยันว่านี่คือเราเปลี่ยนอะไหล่มาจริงอะไรแบบนี้แทนละครับ ทำแบบนี้โคตรจงใจผูกขาดการซ่อมแพงมหาโหดเลย หวังว่าจะชนะ ได้เงิน และทำให้ Apple เปลี่ยน policy หน้าเลือดในจุดนี้
คนไม่ใช่ทำอะไรก็ผิด
สุดโต่งเกินไปก็ต้องโดนเสียบ้างนะ Apple ทางออกที่สวยกว่าบังคับให้ต้องซ่อมอย่างเดียวมันก็น่าจะมีอยู่ แต่เห็นควรด้วยว่าเมื่อเจอ hardware แปลกปลอมก็ควรจะ lock ไว้ก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยหามาตรการมา re-validate ให้กับลูกค้าที่ต้องการ หรือไม่ก็ยกเลิก Touch ID ไปเลยในกรณีที่ลูกค้าไม่อยากเสียเงินค่า re-validate อีกรอบ
That is the way things are.
ผมเห็นบางคนใช้ iPhone แทบไม่ได้ใช้ TouchID เลยก็มี...
บางทีคุณอาจจะไม่รู้ว่าเค้าใช้จนกระทั่งคุณไปพยายามปลดล๊อกเครื่องเค้าน่ะครับ
เพราะแค่กดปุ่มโฮมก็ปลดล๊อกแล้วน่ะครับ ไม่เห็นว่าเค้าใช้รึเปล่า
ส่วนตัวผมคนรอบตัวใช้ทุกคนครับ
ผมก็ไม่ใช้ มือลอกบ้างไรบ้าง ใส่รหัส 6 ตัว จบข่าว ชินแล้วหรือไงก็ไม่รู้
ผมใส่รหัสทุกวันนี้ก็ด้วยความระแวงนะครับ มันแอบดูกันง่ายมาก
ถ้าแบบคอมที่ให้พิมพ์รหัส 58 ตัวแวบเดียวจบนั่นก็อีกเรื่องนึง
ขอบคุณที่บอกว่ามี 58 ตัวครับ Brute Force ง่ายขึ้นเยอะ#เดี๋ยวนะ
ลุยเลยครับ ;)
เพื่อนผมใช้ s6 edge มาตั้งนาน ยังปลดล็อกด้วย pattern อยู่เลย จนต้องไปทำสแกนนิ้วให้มัน คนบางคนเค้าไม่อยากทำอะไรใหม่ ๆ ครับ
ประเด็นคือมันเป็นปุ่มโฮมอะสิครับ จริงๆ แล้วปุ่มโฮมมันน่าจะเสียมากกว่า TouchID แต่มันต้องเปลี่ยนเพราะอุปกรณ์ตัวเดียวกัน ถึงจะไม่ได้ใช้เลยก็แจ็กพอตอยู่ดีถ้าโฮมเสีย
เอ่อ พอดีเพิ่งเห็น
ไม่ได้หมายความว่า TouchID ไร้สาระนะผมหมายถึงว่ามันไม่ควร Lock เครื่องแบบนี้ไปเลย
เพราะบางคนปุ่ม Home พังเขาก็เปลี่ยนใหม่ให้ปุ่ม Home ใช้ได้ก็พอแล้ว เพราะไม่ได้ใช้ TouchID
แค่นี้แหละครับ XD
ชีวิตช่างยุ่งยากดีแท้ ซื้อเครื่องเค้ามาแล้วแต่ยังโดนแบบนี้อีก อย่างกับตัวเราไม่ใช่เจ้าของเครื่อง
สรุปได้ว่ารุ่นใหม่ ๆ ไม่ได้ขายขาด แค่ไป subscription ไว้เฉย ๆ
เข้ามาดูติ่งเจ้าประจำดิ้น สงสัยจังว่าซื้อหุ้นไว้กี่บาท 555