วันนี้วงการชำระเงินของบ้านเราเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ LINE Pay และบัตร Rabbit Pay ของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (BSS) ในเครือรถไฟฟ้า BTS ประกาศเซ็นสัญญาร่วมทุน โดย BSS จะเข้าไปเพิ่มทุนให้กับบริษัท LINE Biz Plus Limited (ชื่อบริษัทของ LINE Pay) อีก 50% และ เปลี่ยนชื่อบริการ LINE Pay เป็น Rabbit LINE Pay
การถือหุ้นใน LINE Biz Plus จะเป็นสัดส่วน 50:50 ระหว่าง BSS และ LINE เป้าหมายของการร่วมทุนครั้งนี้คือ Rabbit LINE Pay จะเป็นบริการชำระเงินที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน
Rabbit จะได้ฐานลูกค้าของ LINE จำนวน 33 ล้านคน ซึ่งครอบคลุมถึงลูกค้าในต่างจังหวัดที่ Rabbit ไม่เคยเข้าถึงมาก่อน ส่วน LINE ก็จะเข้าถึงช่องทางจ่ายเงินตามร้านค้าออฟไลน์ที่ Rabbit ทำเรื่องนี้มานาน
Rabbit LINE Pay จะเปิดตัวบริการแรกในไตรมาสที่สาม และเปิดบริการเต็มตัวในพื้นที่กรุงเทพ ช่วงไตรมาสสี่ของปีนี้
ภาพงานเซ็นสัญญา
วิดีโอแนะนำ
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย - วันที่ 31 มีนาคม 2559 – Rabbit และ LINE Pay ประกาศลงนามเซ็นสัญญาร่วมลงทุนครั้งยิ่งใหญ่ระหว่าง Rabbit ระบบบัตรสมาร์ทการ์ดแรกที่สามารถใช้ได้กับเครือข่ายระบบขนส่งมวลชน รวมถึงสินค้าและบริการจากพันธมิตรต่างๆ กับ LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือจาก LINE ภายใต้ชื่อบริษัทตามกฎหมาย “LINE Biz Plus Limited” ทั้งนี้ Rabbit ภายใต้ชื่อบริษัท BSS Holdings Co.,Ltd. จะทำการเพิ่มทุนให้กับ LINE Biz Plus Limited เป็นจำนวน 50% โดยบริการ LINE Pay จะเปลี่ยนชื่อเป็น “Rabbit LINE Pay” ถือเป็นการผสานแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบออนไลน์ และออฟไลน์รายใหญ่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยแรบบิทเป็นระบบการชำระเงินแบบออฟไลน์ ซึ่งมีบัตรแรบบิทเป็นตัวกลางในการชำระค่าบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งด้านขนส่งมวลชน และการชำระค่าสินค้าที่ร้านค้าต่างๆ ในปัจจุบันมีการออกบัตรแรบบิทไปแล้วจำนวนกว่า 5 ล้านใบ และมีจุดรับบัตรแรบบิทมากกว่า 4,000 จุดโดยจะกระจายอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล
LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือจาก LINE อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้ “ช้อปง่าย จ่ายสนุก” หลังจากประสบความสำเร็จครั้งใหญ่จากแคมเปญ “อั่งเปานำโชคจาก LINE Pay” ด้วยยอดการโอนเงินเผ่านกระเป๋าเงิน LINE Pay สูงถึง 8 ล้านครั้งภายใน 7 วันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ยอดผู้ลงทะเบียนใช้งาน LINE Pay ณ ปัจจุบันสูงถึง 1.5 ล้านคน และจำนวนร้านค้าที่ร่วมรายการทั่วประเทศเกินกว่า 250 ร้านค้าด้วยระยะเวลาที่เปิดให้บริการในประเทศไทยยังไม่ถึง 1 ปี
มร. เนลสัน เหลียง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ “แรบบิท” ได้ประกาศถึงการร่วมลงทุนกับบริษัท LINE Biz Plus Limited (หรือ LINE Pay) ในสัดส่วน 50:50 เพื่อร่วมสร้างบริการ Rabbit LINE Pay ในครั้งนี้ว่า “นี่คือจุดเปลี่ยนทางธุรกิจที่สำคัญของแรบบิท Rabbit LINE Pay จะเป็นผู้ให้บริการชำระเงินรายแรกในประเทศไทย ที่ได้รวมระบบการชำระเงินแบบออนไลน์และออฟไลน์ เข้าไว้ด้วยกันอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้ Rabbit LINE Pay เป็นผู้นำตลาดการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเพื่อเข้าสู่สังคมปลอดเงินสด หรือ Cashless Society”
“การตกลงร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ แรบบิทได้ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ใช้ LINE จำนวน 33 ล้านคน และยังสามารถขยายตลาดไปยังต่างจังหวัดได้อีกด้วย ผู้ใช้บริการ Rabbit LINE Pay จะได้รับความสะดวกสบายจากระบบชำระเงินผ่านร้านค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการตอบสนองนโยบายของทางภาครัฐที่จะผลักดันให้คนไทยเข้าสู่สังคมปลอดเงินสดอีกด้วย” มร. เนลสันกล่าวเพิ่มเติม
มร. จิน วู ลี ผู้จัดการ LINE Biz Plus Limited ประเทศไทย (LINE Pay) กล่าวว่า “Rabbit เป็นระบบการชำระเงินชั้นนำ พร้อมไปด้วยพาร์ทเนอร์ร้านค้าออฟไลน์ที่มีชื่อเสียง เช่น แมคโดนัลด์ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี เป็นต้น ในขณะที่ LINE Pay มีฐานพาร์เนอร์ร้านค้าออนไลน์ที่แข็งแกร่ง เช่น ลาซาด้า เอ็นโซโก้ เป็นต้น เราเชื่อว่าการร่วมทุนในครั้งนี้ จะทำให้สังคมการใช้จ่ายปลอดเงินสดแพร่หลายและเติบโตขึ้นในหมู่่ผู้ใช้ไทยได้เป็นอย่างดี จนกลายเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำหรับธุรกิจเพย์เมนต์ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล”
มร. จิน วู ลี ได้กล่าวเสริมว่า “จากการประกาศการร่วมทุน Rabbit LINE Pay ในครั้งนี้ ทั้ง LINE Pay และ Rabbit จะทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของการแชร์ อัพเดตช่องทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ให้ซึ่งกันและกัน แนะนำพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมร่วมกัน ถือเป็นโอกาสที่ LINE Pay จะได้ขยายช่องทางการเติมเงิน การชำระเงินให้มากขึ้นด้วยการสนับสนุนจาก Rabbit ในขณะที่ Rabbit ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักผ่านแพลตฟอร์ม LINE Pay ”
Rabbit LINE Pay มีแผนจะประกาศบริการแรกกับร้านค้าหลักในฐานะบริการตัวอย่างก่อนภายในไตรมาสที่ 3 และจะเปิดให้บริการเต็มตัวในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ ภายในไตรมาสที่ 4 ปีนี้
Rabbit LINE Pay มีแผนที่จะสร้างบริการด้านการชำระเงินทางมือถือ ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากยิ่งขึ้นในอนาคต ด้วยความง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการทำธุรกรรม รวมไปถึงโปรแกรมสะสมรีวอร์ดมากมาย ภายใต้ความร่วมมือของพาร์ทเนอร์อันหลากหลายของทั้งสองแบรนด์ ผู้ใช้สามารถสนุกและเพลิดเพลินไปกับ Rabbit LINE Pay ได้ในทุกช่วงไลฟ์สไตล์โดยไม่จำเป็นต้องพกเงินสดติดตัวตลอดเวลา เพียงแค่ใช้บริการ Rabbit LINE Pay ในการชำระเงิน เช่น ซื้อกาแฟในร้านคอฟฟี่ช้อปยามเช้า เดินทางไปทำงานด้วยบีทีเอสหรือเอ็มอาร์ที ช้อปออนไลน์จากร้านใน LINE GIFTSHOP หรือจะโอนเงินให้เพื่อนหรือร้านค้า เป็นต้น
Rabbit LINE Pay จะมุ่งพัฒนาและอัพเดทบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวก และให้ความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้ชาวไทยทุกท่าน และจะยังคงเพิ่มร้านค้าที่ร่วมรายการให้มีความหลากหลาย และสร้างกิจกรรมทางการตลาดที่สนุก เพื่อตอบโจทย์ทุกกิจกรรมของผู้ใช้ในทุกไลฟ์สไตล์ด้วย Rabbit LINE Pay
Comments
ขยาย NFC SIM บนโทรศัพท์ไปทุกเจ้าได้นี่น่าจะดีนะครับ
เห็นไม่แคร์ NFC แล้วนะครับ ใช้ QR Code ทั้งหมด จะได้ใช้ได้ทุกเครื่อง
QR Code นี่จะทำให้คิวเข้าออกสถานียาวขึ้นเปล่า scan ติดบ้างไม่ติดบ้าง ฮ่าๆ
น่าจะยังต้องแคร์ NFC อยู่นะครับ ถ้าจะใช้เป็นบัตรรถไฟฟ้า
QR Code คงเฉพาะกับร้านค้าแหละครับ แต่กับระบบรถไฟฟ้าน่าจะสะดวกน้อยกว่า NFC SIM อีกมั้ง เพราะเล็งนานกว่ามาก
ปัญหาคือเห็นในคลิปมีวิธีใช้ QR Code ใน BTS ด้วยน่ะสิครับ...
เรียกว่าปัญหาเลยเหรอครับ = =
ปัญหาแน่นอนครับ ถ้ามันแสกนยากเนี่ย
รอสักพักเดี่ยวรู้ว่าคนใช้จะโดนสายตาอำมหิตด้านหลังส่องกันสิบยี่สิบคน สักพักคงเลิกใช้ 55555
ผมเคยใช้บัตรรถไฟฟ้าแบบ QR code กับ Monorail ที่ Okinawa ใช้มา 4-5 วัน ความรู้สึกส่วนตัวคือไม่เวิร์คเลยครับ สแกนยากและลำบากกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็กกับ NFC เยอะ คือมันใช้ได้ด้านเดียวและต้องเล็งๆ ให้ดีถึงจะสแกนติด
ที่ Okinawa เป็นญี่ปุ่นที่แรกๆ มั้งที่มีการใช้บัตรแบบ QR code นี้ ซึ่งผลก็คือต้องมีเจ้าหน้าที่มาคอยประจำช่วยลูกค้าแตะบัตรอยู่หน้าประตูเลยครับ แถมมีป้ายคำแนะนำการใช้ตัวโตๆ ตั้งแต่ออกจากสนามบินอีก ดูๆ แล้วคงจะมีปัญหาในการใช้งานอยู่พอสมควรเลย
นั่นขนาดเป็น QR code ที่พิมพ์อยู่บนกระดาษแข็งแล้ว ผมว่าหน้าจอนี่ลำบากกว่าอีกครับ ถ้าใครเคยใช้ Kiosk check-in ของ AirAsia แบบเช็คอินในมือถือแล้วเอาหน้าจอไปสแกนกับเครื่องเพื่อรับ boarding pass จะพบว่าลำบากพอสมควร สแกนติดมั่งไม่ติดมั่ง ต้องเว้นระยะห่างพอดี แถมแสงบนหน้าจอต้องไม่มืดเกินไปอีก ไม่งั้นไม่ติด กว่าจะสแกนได้ใช้เวลา 5-10 วิเลย
ผมว่ากรณีแบบนี้ QR code ยังไม่เวิร์คสำหรับใช้เข้าระบบรถไฟฟ้าครับ
NFC SIM จากที่ใช้งานมา มีปัญหาเยอะครับ แถมช้ากว่าบัตรปรกติอีก เวลาใช้ผ่านประตูตรวจตั๋วรถไฟฟ้าแล้วต้องเล็งดีๆ ไม่ติดนี่เสียเวลาคนอื่นมากเลย
ผมพยายามใช้ก็ติดยากมาก (แต่ตู้ Carrot ติดตลอดนะครับ) แต่ผมไม่ได้ใช้กับรุ่นที่เค้าบอกว่า "รองรับ" แต่เห็นถามคนอื่นๆ ก็แตะไม่ค่อยติดเหมือนกัน
เอ... ผมใช้ทุกวันก็ไม่รู้สึกต่างกับบัตรปกตินะครับ หรือผมอาจจะชินแล้ว
ไม่ทราบใช้รุ่นอะไรครับ
ผมใช้ BB Q10 ติดยากมาก
Galaxy S4 ครับ
ผมกำลังจะเปลี่ยนเครื่อง คงกำลังจะเจอชะตากรรม 555
จริงๆ ติดมันก็ติดดี แต่ถ้าเราเปลี่ยนช่อง เปลี่ยนสถานี มันจะมีบางที่ที่มันมีปัญหา คือมันช้ากว่าบัตรครับ ยังไงก็ช้ากว่า คือมันจะมีความรู้สึกนิดๆ ลุ้นๆ ว่ามันจะติดไหมอยู่ตลอดเวลาที่ใช้งาน
Apple Pay เมืองไทยคงไม่เกิดละแบบนี้
ถ้าแอปเปิลจะเข้าก็คงกับธนาคารแล้วก็คงตามพวกวีช่าอะไรพวกนั้นมากกว่านะครับ
โทรศัพท์ไหนมี NFC ก็ให้เปิดแอปไลน์ไว้แล้วแตะเอา ได้ไหมครับ
นายคีรี ทำตู้ซื้อบัตรแบบญี่ปุ่นก่อนจะดีกว่าไหม
ต้องไปเข้าคิวแลกเหรียญแล้วยังต้องมาเข้าคิวหยอดเหรียญอีก
รถไฟฟ้าบ้านเราซังกะบ๊วยทุกสาย ส่วนการขนส่งอื่นไม่ต้องพูดถึง
คิดเหมือนกันเลยครับ เปิดมาก็หลายปี ลูกค้าก็บ่นตลอด แต่ก็ไม่เคยแก้สักที
+24
ไม่เข้าใจคนที่คิดโปรเซสในการซื้อตั๋ว ทำไมต้องเข้าแถวสองรอบ
อีกอย่าง ควรจะรวมกับ MRT ด้วย ไม่รู้ว่าแบ่งกันไม่ลงตัวหรือว่าไงถึงยังรวมกันไม่ได้สักที
ผมเห็นด้วยเลย และจะยิ่งดีมากถ้าใช้กับระบบรถไฟไทย, Airport Link, รถประจำทาง, ทางด่วนทุกประเภท (ทางหลวงพิเศษ, ทางยกระดับ) และสนามบินได้ด้วย
Get ready to work from now on.
MRT มี BEM บริหารครับ
BTS ก็ BTS ถือสมัปทานและบริหาร
เป็นเอกชนคงไม่ได้รวมกันหรอกครับ
เคยมีการทดสอบระบบกันแล้วแต่สุดท้ายก็เลิกไปสงสัยคงจะตกลงเรื่องเงินกันไม่ได้
ผมเกลียดมากกับเรื่องแบบนี้ แค่มีปัญหาขัดแย้งผลประโยชน์ก็ยกเลิก ปล่อยให้ประชาชนลำบากต่อไป เจริญหละครับ...
ปล. น่าจะรับบัตรเครดิต/เดบิต หักเงินใช้บริการระบบขนส่งทุกระบบได้ด้วยนะ
Get ready to work from now on.
รู้สึกจะมีตู้จ่ายตั๋วแบบนั้นด้วยนะ ที่ไม่ต้องต่อแถวแลกเหรียญ ใช้แบงค์และเหรียญได้เลย แต่เท่าที่เห็นสถานีนึงนี้มีตู้เดียวนะแถมแถวยังยาวด้วย ไม่รู้จะใช้แบบที่คุณว่าหรือป่าว แต่ก็น่าจะใกล้เคียงกัน(ไม่มากก็น้อย)
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
เคยอ่านเจอที่ทาง BTS ออกมาอธิบายเองล่ะครับ ว่าสัญญาในสัมปทานตอนแรก กำหนดให้ติดตั้งเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ ทาง BTS ก็เลยติดตั้งเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารไปแบบนั้น ต่อมาเลยมีการแก้ไขสัญญาและเพิ่มเครื่องจำหน่ายบัตรแบบใช้ได้ทั้งเหรียญและธนบัตรเข้าไปด้วย (ซึ่งก็มีให้ใช้น้อยเหลือเกิน)
อ่านแล้วบอกตรงๆ ว่าผมคิดว่าไม่ make sense และแปลกใจว่าสัญญาสัมปทานมันจะระบุละเอียดขนาดนั้นเลยหรือ ส่วนตัวจินตนาการคิดเอาเองว่าสมัยที่ BTS เปิดนั้น เครื่องแบบรับทั้งธนบัตรและเหรียญยังมีราคาแพง ก็เลยติดตั้งเครื่องรับเฉพาะเหรียญไปก่อน
แต่เวลานี้ควรจะเปลี่ยนเป็นแบบรับทั้งเหรียญและธนบัตรให้หมดได้แล้ว มันดูซับซ้อนมากที่ต้องไปต่อคิวแลกเหรียญแล้วไปต่อคิวซื้อตั๋วอีก ซึ่งพวกที่เติมบัตรก็จะต้องมาเสียเวลาต่อคิวร่วมด้วยเช่นกัน
ปล. ชอบตู้ซื้อบัตรของญี่ปุ่นมาก ครั้งแรกที่เห็นนี่ทึ่งมาก กำเหรียญเป็นสิบๆ หย่อนลงไปในช่องพร้อมกัน เครื่องนับเองแถมคืนเหรียญเกินให้เสร็จสรรพ อารมณ์เหมือนของวิเศษจากโดราเอม่อนเลย แถมตัวมันเองยังขายบัตรเติมเงินได้ ปรินท์ใบเสร็จได้ด้วย ไฮเทคสมเป็นญี่ปุ่นมากๆ
ผมทึ่งหนัก ตอนที่ขึ้นรถเมล์แล้วเห็นนักเรียนข้างหน้ากำแบงก์ใส่รวมไปกับเหรียญแล้วเครื่องมันรู้ว่าหมดนั่นคือกี่เยน
ผมเคยไปเรียนที่อังกฤษ Tesco Express บ้านเขาก็เหมือนกันครับช่องจ่ายเงินเองนี่แค่เทเหรียญลงไปหรือสอดแบ้งค์หรือรูดบัตร เครื่องมันนับให้หมด
ความคิดผม เหมือนตั้งใจจะให้ซื้อบัตร ใครไม่ซื้อ ทนได้ก็ทนไป
ซื้อบัตรก็ลำบากตรงไม่มีตู้เติมนะครับ เมืองนอกมีตู้เติมให้ นี่ต้องไปต่อคิวให้พนักงานเติม เห็นเพิ่งมีทดลองตู้เติมที่พร้อมพงษ์ ก็ใช้บัตรเครดิตไม่ได้อีก
LINE Pay NFC pleaseใช้แทน rabbit ไปทุกที่
เดียวๆ บัตรแมงมุมไปใหนฮะ MRT อยู่ในมุมเล็กๆ
นั่นสิครับ สงสัยเหมือนกัน ถ้าบัตรแมงมุมออกมาแล้วแรบบิทจะทำยังไงต่อไป
A smooth sea never made a skillful sailor.
ถ้าเป็นแบบญี่ปุ่นก็ มีบัตรเป็นสิบๆ แบบ แต่ใช้ด้วยกันได้ แต่ไม่รู้บ้านเราจะเป็นไง
คิดเหมือนกันเลย
เรื่องบัตรรวมนี่ ควรมีหน่วยงานรัฐบังคับ หรือ
ตั้งเอกชนที่มี รัฐ(ขสมก?) BTS MRT ร่วมหุ้นกันนะปล่อยให้เอกชนทำกันเอง ก็จะเกิด power เกม
ซึ่งเห็นชัดกับกรณี BTS&Line นี้ จะทำให้ BTS มีอำนาจต่อรองกับบัตรแมงมุมมากขึ้น
ดีจัง จะได้เติมเงินเข้า rabbit ผ่าน เครดิตการ์ดได้ซักที ต่อคิวเบื่อมาก เสียเวลาสุดๆ
ไม่น่าไปรอด
BTS กับ MRT ไม่มีวันร่วมมือกันได้เรื่องบัตร
เอาแค่สถานีที่เดียวกันตั้งชื่อให้เหมือนกันก่อนเถอะ
BTS ศาลาแดง - MRT สีลม
BTS อโศก - MRT สุขุมวิท
เวลาฝรั่งมาถามทางกุก็ไม่รู้จะบอกแม่งยังไง ต้องถามแม่งก่อนว่ามันจะขึ้น BTS หรือ MRT
เข้าใจว่า เค้าตั้งใจให้ต่าง เพื่อให้แยกได้ทันทีว่า ลอยฟ้า หรือ ใต้ดิน ซะอีก??
ทำไมในข้อสัญญาสัมปทานรัฐประเคนให้เอกชนหมดตัวเลยทุกทีสิน่า
ประยุทธ์ใช้ ม.44 ได้บ่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สั่งให้ BTS MRT ARL BMTA เจรจาใช้ระบบตั๋วร่วมให้สำเร็จภายใน 60 วัน
เดี๋ยวกลับราชดำเนินพันดริ๊ฟก่อน