Rabbit LINE Pay ประกาศเปลี่ยนชื่อบริการเป็น LINE Pay เช่นเดียวกับชื่อบริษัทก็เปลี่ยนเป็น บริษัท ไลน์ เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด มีผล 18 ตุลาคมนี้ หลัง LINE MAN Wongnai ซื้อหุ้น Rabbit LINE Pay ทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นเดิม
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลแค่เฉพาะชื่อบริการเท่านั้น ในแง่บริการต่างๆ ของผู้ใช้งานจะยังคงเหมือนเดิมทุกช่องทาง ไมว่าจะขนส่งมวลชน ชำระสินค้าและบริการ หรือการเชื่อมต่อบริการกับแบรนด์พันธมิตร
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
Disclaimer - Blognone เป็นบริษัทในเครือของ LINE MAN Wongnai
PlayStation Storeประกาศผ่าน PlayStation App ในมือถือว่า Store รองรับการชำระเงินจาก Rabbit LINE Payแล้วโดยส่ง Notification ให้กับผู้ใช้งานแอปดังกล่าว
ในปัจจุบัน PlayStation Store รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิตทั้ง Visa, Mastercard และ JCB โดยบันทึกได้สูงสุด 3 รายการ ส่วนประเภทที่ไม่ใช่บัตรจะรองรับ PayPal และล่าสุด Rabbit LINE Pay โดยบันทึกได้แค่ 1 รายการ
LINE MAN Wongnai และ LINE ประเทศไทย ประกาศซื้อหุ้นของ Rabbit LINE Pay (RLP) คืนจากผู้ถือหุ้นเดิม คือ บริษัท แรบบิทเพย์ ซิสเทม จำกัด และ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด ทำให้ LINE MAN Wongnai กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ RLP
ทั้งนี้ผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ยังใช้จ่ายผ่านบริการของ Rabbit LINE Pay ได้เหมือนเดิม ซึ่งรวมทั้งส่วนการเชื่อมต่อกับระบบตั๋วรถไฟฟ้า BTS และการจ่ายค่าบริการ AIS
บีทีเอส ประกาศสิ้นสุดการขายเที่ยวเดินทาง 30 วัน ทุกประเภท โดยสามารถเติมและซื้อเที่ยวเดินทางได้ถึงวันที่ 30 กันยายนนี้เป็นวันสุดท้าย โดยบัตรที่มีเที่ยวเดินทางเหลือ สามารถใช้ต่อได้จนกว่าเที่ยวเดินทางจะหมด
ธนาคารกรุงเทพ จับมือ Rabbit LINE Pay ออก บัตรเดบิตร่วม Be1st Smart Rabbit LINE Payที่มีจุดเด่นคือรองรับระบบจ่ายเงินแบบ contactless สามารถแตะเพื่อเข้ารถไฟฟ้า BTS ได้ทันทีเหมือนบัตร Rabbit ไม่ต้องเสียเวลาซื้อบัตรโดยสาร และได้คะแนนสะสม Rabbit Rewards ไปพร้อมกันด้วย
บัตรเดบิตใบนี้รองรับเครือข่ายจ่ายเงินของ Thai Payment Network (TPN) และ UnionPay เหมือนกับบัตรตระกูล Be1st Smart ใบอื่นๆ ตัวบัตรเป็นระบบ Chip & PIN ใช้รหัส 6 หลัก และสามารถผูกบัตรเข้ากับ Rabbit LINE Pay ในแอพ LINE ได้
ช่วงเปิดตัว ธนาคารกรุงเทพยังออกโปรโมชั่นเป็นชุดกระเป๋า LINE Friends และคูปองส่วนลด ถ้าหากลูกค้าผูกบัตรเข้ากับ Rabbit LINE Pay อีกด้วย
เอไอเอสรายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2562 มีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 7.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2561 อยู่ที่ 43,824 ล้านบาท โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และการขายอุปกรณ์ ส่วนกำไรสุทธิเท่ากับ 7,615 ล้านบาท ลดลง 5.3% จากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายของโครงข่าย
จำนวนลูกค้าในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอีก 321,500 เลขหมาย รวมเป็น 41,490,700 เลขหมาย ส่วนใหญ่มาจากระบบรายเดือน ขณะที่ระบบเติมเงินลดลงเล็กน้อย ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 11.4 GB ต่อเลขหมายต่อเดือน อัตราลูกค้าที่ใช้งานด้วยโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4G มี 63% ส่วนลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีจำนวนเพิ่มเป็น 795,000 ราย
ธนาคารกรุงเทพ โดยฝ่ายบริหารช่องทางการขายและบริการ Non Branch ประกาศเพิ่มคุณสมบัติใหม่ให้กับ Bualuang mBanking สามารถเชื่อมต่อกับ Rabbit LINE Pay (RLP) ได้แล้วนับตั้งแต่บัดนี้
การเชื่อมต่อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลของ RLP ตรงจากแอพ Bualuang mBanking โดย รองรับเฉพาะการบริการเกี่ยวกับเที่ยวเดินทาง BTS เท่านั้นสามารถเรียกดูประวัติการเดินทาง และสั่งเติมเงินได้จากตัวแอพโดยตรง
ขั้นตอนการเชื่อมสามารถทำได้เพียงแค่เข้าแอพ mBanking จากนั้นกดที่โลโก้ RLP แล้วจึงทำการเชื่อมต่อในครั้งแรกให้เสร็จสิ้น เท่านี้การเชื่อมต่อก็สมบูรณ์
เอไอเอสรายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 4 ปี 2561 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560 เป็น 44,584 ล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิลดลง 11% เป็น 6,839 ล้านบาท จากค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายที่เพิ่มขึ้นสูง
จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้อีก 522,200 เลขหมาย รวมเป็น 41,169,200 เลขหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งลูกค้าระบบรายเดือนและระบบเติมเงิน รายได้ต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) อยู่ที่ 254 บาท ส่วนปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตยังคงเพิ่มขึ้นสูง โดยอยู่ที่ 10.9 GB ต่อเลขหมายต่อเดือน จำนวนลูกค้าที่ใช้งานด้วยโทรศัพท์มือถือรองรับ 4G มี 59% และลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพิ่มอีก 53,800 ราย เป็น 730,500 ราย
หลังจากที่ AIS และ Singtel ได้ประกาศเปิดตัว VIA เครือข่ายชำระเงินผ่านมือถือข้ามประเทศ ให้ลูกค้า Rabbit LINE Pay สามารถจ่ายเงินด้วยระบบ QR Code ที่สิงคโปร์ด้วยเงินบาทโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสทดลองใช้งานในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะร่วมทริปชมการแข่งขัน PVP E-Sports Championship จึงอยากจะมารีวิวขั้นตอนการใช้งาน VIA ที่ประเทศสิงคโปร์
Singtel ร่วมมือกับ AIS เปิดตัวเครือข่ายชำระเงินผ่านมือถือข้ามประเทศ VIA ให้ลูกค้าที่ใช้ Rabbit Line Pay ใช้จ่ายเป็นเงินบาทได้โดยไม่ต้องแลกเงิน ไม่มีค่าธรรมเนียม และนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ก็สามารถใช้อีวอลเลทมาจ่ายที่ไทยได้เช่นเดียวกัน
การชำระเงินเป็นรูปแบบ QR Code โดยคนไทยที่ใช้ Rabbit Line Pay ต้องโหลดแอพ Global Pay ล็อกอินผ่าน LINE กรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียน และทำการยืนยันตัวตนด้วยวิดีโอคอล สามารถจ่ายเงินที่ร้านค้าในสิงคโปร์ที่มีสัญลักษณ์ VIA
ส่วนคนสิงคโปร์ ต้องดาวน์โหลดแอพ Singtel Dash จ่ายเงินด้วย QR Code ที่ร้านค้าในไทยได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนสกุลเป็นเงินบาท จ่ายได้ที่ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ VIA และ Thai QR Code
แอพ LINE เวอร์ชันล่าสุด รองรับการเติมเงินรถไฟฟ้า BTS ผ่านบริการ Rabbit LINE Play จากแอพ LINE โดยตรงแล้ว
กระบวนการใช้งานคือเข้าเมนู BTS จากใน Rabbit LINE Pay จากนั้นเชื่อมบัตร Rabbit เข้ากับแอพ LINE แล้วนำบัตรไปเปิดใช้งาน (activate) ที่สถานี BTS ซึ่งปัจจุบันยังใช้งานได้ 5 สถานีคือ อโศก, อนุสาวรีย์ชัย, ช่องนนทรีย์, ศาลาแดง และเพลินจิต
Rabbit LINE Pay เป็นบริษัทร่วมทุนที่เริ่มต้นโดย LINE และกลุ่มรถไฟฟ้า BTS ในปี 2016 จากนั้นได้ AIS เข้ามาร่วมทุนด้วยอีก 1 รายในช่วงต้นปี 2018
ใครที่ใช้ไลน์อาจสังเกตเห็นว่าตรงหน้าจอแชทนั้นเปลี่ยนไป คือเมนู More เปลี่ยนเป็นเมนูวอลเลทแทนให้กดง่าย จากเดิมที่ต้องกดเข้าไปเพื่อหาเมนู Rabbit LINE Pay อีกที
ในเมนูวอลเลทจะมีเมนูรวมการใช้งานของ Rabbit LINE Pay ต่างๆ เช่น จ่ายเงินด้วยคิวอาร์, ส่งเงิน, เติม Easy Pass, ซื้อตั๋วหนัง, เติมเงินมืถือ, จ่ายบิล เป็นต้น โดยแถบเมนู อื่นๆ (More) จะเปลี่ยนเป็นแถบเมนู Wallet โดยอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้งาน LINE เวอร์ชั่น 8.13.0 ขึ้นไป
วันนี้ หลัง mPay แถลงข่าวร่วมมือกับ Rabbit LINE Pay (RLP) ข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ก็รายงานมูลค่ารวมของการลงทุน ว่ามีมูลค่าทั้งหมด 787 ล้านบาท
การเข้าถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้ RLP มีผู้ถือหุ้นเท่ากันสามราย คือ mPay, LINE, และ Rabbit คนละ 33.33%
ตัวบริษัท RLP เองจะเปลี่ยนโครงสร้างกรรมการบริษัทเป็นตัวแทนจากสามฝ่าย ฝ่ายละ 3 คน
AIS แถลงข่าวความร่วมมือครั้งสำคัญของบริการจ่ายเงินผ่านมือถือ mPay กับ Rabbit LINE Pay โดย AIS จะเข้าไปลงทุนในบริษัท Rabbit LINE Pay (ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของ Rabbit และ LINE อยู่ก่อนแล้ว)
เป้าหมายของการลงทุนครั้งนี้คือขยาย ecosystem ของทั้งสองแพลตฟอร์มให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น กลายเป็น mobile money platform ที่ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า การจ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการจ่ายบิลค่าโทรศัพท์-อินเทอร์เน็ตของ AIS ด้วย เพื่อขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของบริการ payment ในไทย ขณะเดียวกัน Rabbit LINE Pay จะได้รับ "ฐานลูกค้า" ของ mPay เดิมย้ายเข้ามาด้วย
วันนี้วงการชำระเงินของบ้านเราเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ LINE Pay และบัตร Rabbit Pay ของบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (BSS) ในเครือรถไฟฟ้า BTS ประกาศเซ็นสัญญาร่วมทุน โดย BSS จะเข้าไปเพิ่มทุนให้กับบริษัท LINE Biz Plus Limited (ชื่อบริษัทของ LINE Pay) อีก 50% และ เปลี่ยนชื่อบริการ LINE Pay เป็น Rabbit LINE Pay
การถือหุ้นใน LINE Biz Plus จะเป็นสัดส่วน 50:50 ระหว่าง BSS และ LINE เป้าหมายของการร่วมทุนครั้งนี้คือ Rabbit LINE Pay จะเป็นบริการชำระเงินที่มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน