ตู้เอทีเอ็มในญี่ปุ่นถูกใช้ข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมยมากดเงินพร้อมกันจำนวนมากภายในเวลาสองชั่วโมง รวมมูลค่าความเสียหาย 1,400 ล้านเยน นับเป็นการก่ออาชญากรรมครั้งใหญ่ คาดว่ามีผู้ร่วมขบวนการกว่าร้อยคน
ข้อมูลบัตรที่ใช้ในการกดเงินครั้งนี้มีทั้งหมด 1,600 ใบ และตู้เอทีเอ็มที่ถูกกดเงินมีถึง 1,400 ตู้ รวมการกดประมาณ 14,000 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 100,000 เยน โดยตำรวจคาดว่าจะใช้บัตรปลอมที่เขียนข้อมูลบัตรที่รั่วไหลออกมาลงไปในบัตร
ตู้เอทีเอ็มที่ถูกกดเงินสูงสุดครั้งละ 100,000 เยนเป็นของ Seven Bank และบัตรทั้งหมดเป็นบัตรที่ออกโดยธนาคารแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้
ที่มา - The Mainichi
ภาพจาก Pixabay
Comments
ทั้งจำนวนบัตร จำนวนครั้งที่กด จำนวนตู้ ดูวางแผนมาล่วงหน้าดีมาก สุดยอดงานจารกรรมจริงๆ ถ้าเขียนเป็นมังกะท่าจะมันส์
โดยตำรวจคาดว่าจะใช้บัตรปลอม ... ที่ออกโดยธนาคารแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้
ธนาคารปลอม
ไม่พ้นเอาบัตรปลอมมาใส่ข้อมูลจากเครื่อง Skimmer แล้วเอามาใช้ถอนเงินแน่ๆ น่าจะเป็นบัตรแบบแถบแม่เหล็กธรรมดา ไม่ใช่บัตร EMV
Get ready to work from now on.
อือ ดูแล้วโจรกรรมครั้งนี้ใช้คนเยอะจริง ๆ
รวมตัวกันวางแผนได้เป็น Team work สุด ๆ
ไล่ดูจากกล้องยาวๆ
โอ..ครั้งล่ะ 30,000 บาท ต่อเครื่อง แต่ผู้ร่วมค่อนข้างเยอะมีโอกาสโดนจับได้มากเลยนะครับ
แล้วก็จะมีธนาคารไทยบางแห่ง เอาข่าวนี้ล่อให้ลูกค้าเปลี่ยนบัตรเป็นแบบมี EMV แล้วขึ้นค่าทำเนียน
ไม่ต้องล่อครับ เขาบังคับอยู่แล้ว
ขอแต่งนิยายครับ
จริง ๆ ญี่ปุ่นไม่มีเงินตรงนี้อยู่แล้วเลยแต่งเรื่องว่า ATM โดนกดไปด้วยบัตรปลอม
ตั้ง 14,000 ครั้ง ครั้งละ 100,000 JPYแถมเป็นบัตรที่ออกจากต่างประเทศ
คนทำคงเนียนมาก
ณ ห้องประชุมสำนักงาน ธ.
ผจก.: มันกดไปกี่ครั้งเจ้าหน้าที่ : 14 ครั้งครับ ครั้งละ 100,000 เยน
ผจก.: อืม ออกข่าวไป 14,000ครั้ง แล้วเอาเงินมาแบ่งกัน
กราบเรียนผู้แต่งทั้งสองท่าน เนื่องจากเงินใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้รัฐบาล ธนาคารแห่งชาติ ธนาคารโลก หน่วยงานความมั่นคงระหว่างประเทศ จะต้องแห่กันมาตรวจดูแบคทีเรียในตู้ ATM แน่นอนมันจะรอดหรอครับ?!?
ถ้าเป็นในหนัง ก็อาจจะเป็นวิธีฟอกเงินหรือเคลื่อนย้ายเงินออกนอกระบบได้เป็นอย่างดีเลย
Get ready to work from now on.
เรื่องใหญ่ขนาดนี้ JFSA (ผู้ตรวจการสถาบันการเงินของญี่ปุ่น) ต้องเข้าไปดูอยู่แล้วครับ ที่แน่ๆ คงดู log ในระบบกับสุ่มกล้องแน่นอน ไม่น่าจะหลอกง่ายขนาดนั้น
อีกอย่าง คนที่ถูกตัดเงินไปคือธนาคารเจ้าของบัตร ซึ่งข่าวอีกแห่งบอกว่าเป็น Standard Bank ของแอฟริกาใต้เป็นผู้เสียประโยชน์ครับ ธนาคารในญี่ปุ่นเป็นแค่ทางผ่านเฉยๆ
อาชญกรรม => อาชญากรรม
ลงใน ?
ชิพ....หายกันเลยทีนี้ (แถบแม่เหล็กแหงๆ)
1,600 ใบนี่ได้มายังไงน่อ เนื่องจากถ้าใช้วิธี skimming อย่างเดียวแปลว่าต้องทำมานานมากๆ แถมไม่มีใครรู้ตัวด้วย แต่ถ้าหลุดออกมาจากธนาคารแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้ที่ว่าเองนี่ก็เตรียมตัวปิดธนาคารได้เลยครับ
เพิ่มเติม: เห็นว่าแก้ข่าวจากธนาคาร 7 แห่งเป็น Seven Bank ที่เดียว เลยอดคิดไม่ได้ว่ามันอาจจะเป็นการจารกรรมระดับเดียวกันกับที่ ธนาคารบังคลาเทศโดนไป ครับ
โรบินฮูด?
ในต้นทางที่เขียนว่า
Seven Bank เป็นชื่อแบงก์ที่ญี่ปุ่นครับ (ในเครือ 7-11 นี่แหละ) ไม่ใช่หมายถึงธนาคารเจ็ดแห่ง สังเกตได้จากคำว่า Seven เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ครับ
โอ้ พลาด แก้ไขตามนั้นครับ
lewcpe.com , @wasonliw