ช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเงินสกุลดิจิตอลจำนวนมากโดยเฉพาะ Bitcoin (บิตคอยน์) และ Ethereum ผมเองแม้จะเขียนบทความเรื่องเงินดิจิตอลเหล่านี้มาหลายบทความ แต่มักเขียนในจากมุมมองวิศวกรรมเป็นหลัก นับแต่การออกแบบของ Satoshi Nakamoto (ที่ไม่มีใครรู้ว่าตัวจริงเป็นใคร) สกุลเงินดิจิตอลเหล่านี้ผ่านการพิสูจน์ว่ามันสามารถรองรับธุรกรรมทางการเงินมูลค่าสูง มีการเปลี่ยนมือวันละนับล้านบาทได้อย่างแม่นยำ
อย่างไรก็ดีความสนใจของคนในวงกว้างในช่วงหลังจากที่บิตคอยน์มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บทความที่ผมเขียนไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้วถูกเผยแพร่ออกไปเป็นวงกว้าง (ดีแล้วนะครับ ก่อนจะเล่นอย่างน้อยก็พยายามรู้สักหน่อยว่ามันคืออะไร) ผมคิดว่าควรเตือนถึงข้อจำกัดสำหรับคนทั่วไปที่คิดจะลงทุนในบิตคอยน์สักหน่อย
1. ชื่อ "Bitcoin" ไม่มีการควบคุมจริงจัง
ตัวบิตคอยน์ต่างจากการเงินหรือธนาคารต่างๆ ที่มักมีองค์กรควบคุมอย่างจริงจังและเข้มแข็ง หากเราพิมพ์ธนบัตรเองและไปอ้างกับคนอื่นว่าเป็นเงินบาทจะมีโทษตามกฎหมาย แม้แต่ชื่อธนาคารต่างๆ หากเรานำชื่อธนาคารไปแอบอ้างก็ถูกดำเนินคดีได้เช่นกัน และมักมีการตรวจตราจากธนาคารอย่างจริงจังด้วยว่ามีคนนำชื่อไปทำเสียหายหรือไม่ แต่ชื่อบิตคอยน์กลับเป็นชื่อสาธารณะ ตัว Satoshi เองระบุชื่อนี้เอาไว้ในเอกสารการออกแบบ มีคนพยายามจดเครื่องหมายการค้ากันอยู่บ้าง แต่จนตอนนี้ยังไม่มีการควบคุมหรือการฟ้องร้ององค์กรใดจากความพยายามแอบอ้างบิตคอยน์
สำหรับคนทั่วไปที่อยากลงทุนบิตคอยน์คำถามแรกคงเป็นว่า "คุณได้ซื้อบิตคอยน์จริงๆ ไหม"สำหรับคนที่เข้าใจกระบวนการทางเทคนิคการพิสูจน์ว่าซื้อ Bitcoin สำเร็จทำได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เข้าใจกระบวนการดาวน์โหลดฐานข้อมูล การสร้าง Wallet ฯลฯ การตรวจสอบว่าได้ซื้อเงินสำเร็จแล้วจริงหรือไม่อาจจะยากเกินไป การลงทุนที่ถูกชักชวนอาจจะเป็นเพียงการหลอกลวง
2. การสร้างเงิน "คอยน์" ใหม่ๆ ทำได้ไม่ยาก
สิ่งที่ตามมาจากการความนิยมในสกุลเงินดิจิตอล คือการสร้างเงินคอยน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทดลองทางวิศวกรรมหรือการลงทุน สิ่งที่ต้องเตือนคือการสร้างเงินคอยน์เหล่านี้ทำได้ง่ายอย่างยิ่ง ด้วยการรันซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ไม่ซับซ้อนนัก หลายโครงการมีดัดแปลงเงื่อนไขต่างๆ กันไป เช่น การออกแบบให้รองรับธุรกรรมได้มากขึ้นหากได้รับความนิยมสูงในอนาคต หรือการสร้างสัญญาที่ซับซ้อนได้ (Ethereum)
แต่ลำพังการสร้างเงินคอยน์ใหม่ๆ สามารถสร้างได้ในเวลาอันรวดเร็วหาก การลงทุนในเงินคอยน์ใหม่ๆ จึงควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดของเงินคอยน์เหล่านั้น รวมถึงมันเป็นระบบไร้ศูนย์กลางแบบเดียวกับบิตคอยน์จริงหรือไม่ หรือทีมพัฒนามีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่
3. บิตคอยน์โดนขโมยแล้วเอาคืนไม่ได้
ระบบการเงินไร้ศูนย์กลางเช่นบิตคอยน์ไม่มีหน่วยงานที่สามารถออกมาแสดงความรับผิดชอบได้เหมือนกับธนาคาร ที่แม้จะมีความผิดพลาดจนเงินถูกขโมยออกไปจากบัญชีได้บางกรณี ก็ยังมีหน่วยงานรับผิดชอบ รวมถึงมีหน่วยงานรัฐคุ้มครองเงินฝาก
ทุกวันนี้โดยตัวบิตคอยน์เองยังไม่มีรายงานการขโมยเงินไป แต่บริการรอบข้างเช่น ศูนย์รับแลกเงินต่างๆ ตัวแอปที่ผู้พัฒนาไม่เชี่ยวชาญเพียงพอ รวมถึงความไม่เชี่ยวชาญของผู้ถือบิตคอยน์ก็ทำให้เงินถูกขโมยไปได้เรื่อยๆ กรณีคลาสสิกคือ ผู้ประกาศข่าว Bloomberg เผลอแสดงโค้ด QR ที่เป็นกุญแจสำหรับบัญชีเงินออกทีวี ทำให้เงินถูกขโมยไปในทันที
4. เงินคอยน์หายไปตลอดกาลได้
ระบบเงินไร้ศูนย์กลางเช่นบิตคอยน์ไม่เหมือนกับเงินฝากในธนาคาร ที่แม้เราจะทำสมุดบัญชีสูญหายไป เราก็สามารถแจ้งความและพิสูจน์ตัวตนเพื่อนำเงินกลับออกมาได้ เนื่องจากระบบเช่นบิตคอยน์ไม่มีหน่วยงานที่มาดูแลพิสูจน์ตัวตนของเจ้าของเงิน กุญแจบัญชีเงินฝากเป็นเพียงตัวเลขขนาดใหญ่ หากทำตัวเลขนี้หายไปเงินทั้งหมดก็จะหายไปตลอดกาล
รายงานบิตคอยน์ที่เคยหายไปมากที่สุดคือ 7,500 BTC มูลค่าปัจจุบันคือ 722 ล้านบาทและหากไม่สามารถหากุญแจลับกลับมาได้ก็ไม่สามารถนำเงินกลับมาได้อีกเลย
5. ค่าเงินผันผวน แต่ความยากในการขุดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
คนจำนวนหนึ่งอาจจะไม่ได้ลงทุนบิตคอยน์โดยการซื้อขาย แต่สนใจการขุดบิตคอยน์ด้วยการลงทุนคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ในแง่นี้ควรตระหนักว่าอัตราการแฮชของเงินดิจิตอลที่ได้รับความนิยมเช่นบิตคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทบไม่มีช่วงเวลาที่ลดลงเลยในระยะยาว ต่างจากค่าเงินที่มีช่วงเวลาที่ซบเซาเป็นเวลานานๆ และเมื่อสกุลเงินได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้ง อัตราการแฮชก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่คนอ่าน Blognone ควรตระหนัก (ถ้ายังไม่ได้ตระหนักมาก่อนหน้านี้) คือข่าวรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบิตคอยน์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุนเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าบิตคอยน์กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง เมื่อมูลค่าของมันสูงขึ้นเรื่อยๆ มีธุรกรรมจำนวนมากกระทำผ่านบิตคอยน์มากขึ้นเรื่อยๆ มันคงเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงของมัน และความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ในอนาคต
Comments
ตอนนี้มันเป็นแชร์ลูกโซ่ไปแล้วครับโดยเฉพาะการขุด เพราะเราไม่สามารถจะขุดเจอด้วยตัวเองแล้วเราเลยต้องไปสมัครงานแล้วรับจ้างขุดให้ pool ที่เขาเปิด Server ให้ขุด (เอากำลังขุดของคนหลังๆ ไปจ่ายค่าขุดให้คนแรกๆ เมื่อไหร่ไม่มีเงินจ่ายก็ปิดตัว เหมืองแตก)
ไม่มีใครต้องจ่ายให้ใครครับ ที่คุณบอกมามันแค่เว็บแชร์ลูกโซ่ที่อ้างชื่อ Bitcoin
Bitcoin ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่ครับ
แหม เรื่องนี้ใครๆก็รู้ ผมมายถึงการรับจ้างขุด(ขายกำลังขุด)ต่างหากที่มีความเสี่ยงเป็นแชร์ลูกโซ่
ก็ยังห่างไกลแชร์ลูกโซ่อยู่ดีครับ ลองศึกษาให้ลึกๆ ใครถอดรหัสได้มากก็ได้มาก ไม่มีใครมาก่อนหลังต้องจ่ายเงินให้ใคร ถ้ามีระบบเชิญขั้นบันไดแบบนั้นคุณโดนเว็บหลอกแล้วครับ
การทำงานแบบทอดๆ ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่นะครับ
แชร์ลูกโซ่คือธุรกิจที่ทำเงินจากการเก็บค่าเข้าเป็นสมาชิกโดยไม่มีผลิตภัณฑ์จริง หรือมีจริงแต่ก็ไม่ใช่รายได้หลักของธุรกิจ
ถ้ารับจ้างทำงานเรียกว่าแชร์ลูกโซ่ แบบนี้การซอร์สงาน (ที่คนไทยติดปากว่าเอาท์ซอร์ส) ให้บริษัทอื่นนี่เข้าข่ายกันทั่วโลกเลยนะครับ เพราะมีทั้งแบบ 1 ระดับ 2 ระดับ เคยเจอมากสุดก็ 4 ระดับ
เว็บอย่างพวก freelancers, elance นี่คงเป็นแหล่งรวมของพวกทำแชร์ลูกโซ่ครับ
ได้ศึกษามาก่อนปะครับนิ
ผมว่าผมเข้าใจคุณ wichate นะ
ผมเข้าใจที่เขาพูดนะครับ เข้าไม่ได้บอกว่ามันเป็นแชร์ลูกโซ่ แต่เขาถึงการไปขุดกับชุมชุนชาวหเมืองต่างๆและค่าตอบแทน
The Dream hacker..
ก็เข้าบอกมันเป็นแชร์ลูกโซ่ไปแล้วหรือผมเข้าใจผิด?
พูลปกตินะจะขุด่ายตังก่อนแล้วได้แรงขุดซึ่งจะได้เงินจากที่ขุดไหมเรื่องของคนจ้าง ส่วนคนขุดก็ขุดทุกสัปดาห์ก็จะจ่ายค่าแรงแล้วหักค่าธรรมเนียม
ผมโควทประโยคแรกมาให้อ่านครับ
อันนี้อันที่ 2
ผมว่าเค้าไม่มีพื้นฐานว่าแชร์ลูกโซ่คืออะไรด้วยอ่ะครับ ... ความเข้าใจก่อนวิจารณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นนะครับ ไม่งั้นเอาความเข้าใจผิดๆ ไปแพร่ต่อนี่เหมือนช่วยกระจายข้อมูล และความเข้าใจผิดๆ
pool ไม่มีการเอาค่าขุดคนหลังๆ ไปให้คนแรกๆ นะครับ
มีแต่ช่วยกันขุด สมมติขุดกัน 1000 คน แล้วมีคนนึงเจอ pool ก็เอารางวัลมาแบ่งให้ทุกคนที่ขุด ตามสัดส่วนกำลังที่ออกแรงไป อ่อมีแบ่งค่าหัวคิวให้ pool ด้วยนิดหน่อย
--
เดี๋ยวนี้เขาขุดเหรียญอื่น แล้วเอาไปแลกเป็น btc ไม่ได้ขุด btc ตรงๆ
มันจะมีอีกประเภทครับ พวกที่อ้างระดมทุน ว่าทำธุรกิจนู่นนี่นั่น แล้วเปิดรับเงินลงทุนเป็น bitcoin พวกนี้นี่คืออันตรายของแท้เลย มันก็คือแชร์ลูกโซ่ที่แทนที่จะรับโอนเงินสดแบบสมัยก่อน เปลี่ยนมารับเป็น bitcoin แทน
จากข้อหนึ่งมันทำให้เป็นข้ออ้างของพวกแชร์ลูกโซ่มาหลอกชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องได้
I need healing.
ซึ่งมันเยอะมาก (จากที่ผมลอง search ใน FB ดู เป็นพวกนี้ไปซะครึ่ง) เลยต้องมาเขียนเตือนกันนี่ล่ะครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ทุกวันนี้มีสติและระวังตัวอยู่ตลอดเวลา จนพูดคำว่า "รู้งี้" ไปหลายครั้งแล้ว
ครับ ระวังมากไม่ได้ซื้อเลยครับ "รู้งี้" เหมือนกัน ก็ยัง "รู้งี้" ต่อไป
มันมี "รู้งี้" สองแบบครับ แบบเงินอยู่กับตัวเท่าเดิม กับแบบเงินหมดไปจากตัว
lewcpe.com , @wasonliw
ทุกวันนี้คงซื้อขายเก็งกำไรกันเป็นหลัก เอามาใช้จ่ายจริงๆยังไม่เหมาะครับ ร้านค้าที่รับก็ไม่อ้างอิงราคาแลกเปลี่ยนตามตลาดแบบ realtime
เช่น ตลาดซื้อขายกันที่ 90,000 บาทต่อ BTC แต่ร้านค้ารับจ่ายค่าสินค้าในอัตรา 70,000 บาทต่อ BTCที่สำคัญคนส่วนมากยังฝากบัญชี bitcoin ไว้กับพวกเว็บต่างๆด้วย เช่น bx.in.th bitcoin.co.th coins.co.th
ถ้าเว็บพวกนี้โดนแฮคระบบทีก็ไม่อยากจะคิด
ผมว่าผมก็เข้าใจความหมายแชร์ลูกโซ่ที่ไม่ใช่แชร์ลูกโซ่นะ
BTC เริ่มนิ่งๆแล้ว ช่วงนี้เททิ้งไปเล่น ETC กำไรกว่ากันเยอะ
ในมุมมองของผม ตอนนี้เก็บได้นิดๆหน่อยๆก็เก็บไว้เถอะครับ ไม่ต้องเต็ม 1BTC ก็ได้ ถือไว้ให้อุ่นใจเล่นๆ อิอิ
นอกจากการปั่นแล้ว ผมยังคิดไม่ออกเลยว่า Cryptocurrency อย่าง Bitcoin หรือ Ethereumนั้นมูลค่าสูงขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะอันหลังที่ขึ้นมาเป็น 1600% จากเดือน 3/2017
ผมคิดว่า มันขึ้นอยู่กับการยอมรับของแต่ละคนครับ ถ้าเรารู้และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ เราก็ลงทุนได้ครับ
การลงทุนขุด และการเทรด เป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่สูง แน่นอนต้องมีความเสี่ยงอยู่ อย่างที่เคยได้ยินการ High risk ,High return การเทรดจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าและรวดเร็วการขุด แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
สำหรับผม ผมสนใจการเทรดมากกว่า เนื่องจากไม่มีความทางด้านคอมพิวเตอร์เยอะนะ และต้องการผลตอบแทนที่รวดเร็ว ถ้าสนใจการเทรด ผมแนะนำให้เริ่มที่การเปิดพอร์ตสำหรับซื้อขายเหรืยญ คล้ายกับพอร์ตหุ้นอะครับ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด สมัครที่ลิงค์นี่้ได้เลยครับ
ลิงก์ถูกลบเนื่องจากเป็นสแปม
ผมว่าเขาก็บอกแบบที่คุณว่ามาตั้งแต่ในหัวข้อข่าวแล้วครับ
+1 เค้าก็ว่าแบบนั้นแหละครับ
เค้าแค่เข้ามาแปะลิงค์อ่ะครับ
ว่าแต่ แล้วคุณรู้ได้ยังไงครับว่าคุณได้รับบิทคอยน์มาจริงๆ ?