Meta ประกาศแต่งตั้ง Tony Xu ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง DoorDash แอปเดลิเวอรีรายใหญ่ในสหรัฐ เข้าร่วมคณะบอร์ดบริหารของบริษัท โดยมีผลทันที
Mark Zuckerberg ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Meta กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่บริษัทจะมีผู้นำจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เข้าร่วมคณะกรรมการบอร์ด ซึ่ง Tony มีประสบการณ์โดยตรงในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของธุรกิจร้านค้า ซึ่งเขาคาดหวังจะได้มุมมองจาก Tony ในการร่วมสร้าง metaverse
Tony Xu รับตำแหน่งซีอีโอและบอร์ดบริหาร DoorDash ตั้งแต่ปี 2013 และขึ้นเป็นประธานบอร์ดเมื่อปี 2020 การแต่งตั้ง Tony มาร่วมประธานบอร์ดล่าสุดนี้ สะท้อนว่า Meta ยังคงโฟกัสที่บริการด้านการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ซึ่งที่ผ่านมาได้ผลักดันผ่าน Facebook, Instagram และ WhatsApp มาโดยตลอด
- Read more about Meta แต่งตั้ง Tony Xu ซีอีโอ DoorDash ร่วมคณะบอร์ดบริหาร
- Log in or register to post comments
SoftBank รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2020 โดยมีไฮไลท์สำคัญคือผลตอบแทนของกองทุน Vision Fund มีกำไรสุทธิสูงถึง 844,100 ล้านเยน เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ขาดทุน เป็นผลจากสตาร์ทอัพหลายแห่งที่ SoftBank ไปลงทุน เริ่มไอพีโอเข้าตลาดหุ้น หรือมีราคาหุ้นที่ปรับตัวสูงช่วงที่ผ่านมา อาทิ Doordash และ Uber
Masayoshi Son ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง SoftBank นำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุนในงานแถลงผลประกอบการ บอกว่าการลงทุนของ SoftBank ช่วงที่ผ่านมา เปรียบเสมือนห่านที่ออกไข่ทองคำ และจำนวนไข่ทองคำนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นมาก นับตั้งแต่บริษัทเริ่มตั้งกองทุน Vision Fund ซึ่งตอนนี้ก็ได้เวลารับรู้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว
DoorDash แพลตฟอร์มบริการส่งอาหารในอเมริกา ประกาศเข้าลงทุนในกิจการร้านอาหารพม่า Burma Bites ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำเดลิเวอรี่อย่างเดียวในย่าน Bay Area ซานฟรานซิสโก ซึ่งดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า
Georgie Thomas ผู้บริหาร DoorDash กล่าวว่าการร่วมมือกันในรูปแบบเข้าไปถือหุ้นนั้น จะช่วยตอบสนองความต้องการจากฝั่งร้านอาหารได้เร็วมากขึ้น
ที่ผ่านมาแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่นอกจากร่วมมือกับร้านอาหารต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมคือการสร้างคลาวด์คิทเช่น เป็นพื้นที่ส่วนกลางให้ร้านอาหารเข้ามามาใช้ สำหรับลดระยะทางในการจัดส่งอาหารตามพื้นที่ต่าง ๆ การที่แพลตฟอร์มเข้ามาลงทุนในร้านอาหารเองเลยจึงเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจ เพราะเท่ากับเชื่อมต่อบริการครบทุกส่วนเอง
ประเด็นเรื่องบริการส่งอาหารเดลิเวอรี คิดค่าคอมมิชชันหรือส่วนแบ่งรายได้ (GP) จากร้านอาหาร ไม่ได้มีเฉพาะในไทย บริการแบบเดียวกันในต่างประเทศก็มีโมเดลธุรกิจที่คิดค่าคอมมิชชัน 10-30% เช่นเดียวกัน (ตัวเลขของ Uber Eats คือ 25%)
ล่าสุด นายกเทศมนตรีนครซานฟรานซิสโก ออกมาประกาศบังคับไม่ให้บริการเดลิเวอรีเก็บค่าคอมมิชชันแพงกว่า 15% เพื่อไม่ให้กระทบรายได้ของร้านอาหาร โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ร้านอาหารต้องปิด และรายได้ส่วนใหญ่ของร้านมาจากการส่งเดลิเวอรีด้วย
ประกาศนี้มีผลในวันนี้ (13 เมษายน ตามเวลาสหรัฐ) และบังคับใช้ไปจนกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะสิ้นสุด ร้านอาหารกลับมาเปิดให้นั่งกินในร้านได้
ชัดเจนแล้วว่า โรคระบาด COVID-19 กระทบทุกกิจกรรมทั้งความเสี่ยงทางสุขภาพ และความเสี่ยงที่จะล้มละลาย และกระทบในแทบทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
ครั้งหนึ่ง gig economy ได้รับการยอมรับว่าเป็นอนาคตแนวใหม่ของการทำงาน เราสามารถทำงานสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มได้หลายๆ ที่ สร้างรายได้หลายทาง ส่งเสริมการทำงานที่ยืดหยุ่น แต่โรคระบาดเผยให้เห็นอีกมุมของคนทำงาน gig economy ว่าชีวิตไม่ง่าย และบางครั้งก็ต้องเลือกระหว่างยอมออกไปหารายได้ทั้งๆ ที่ก็กลัวตัวเองจะติดเชื้อด้วย
New York Times สัมภาษณ์คนทำงาน gig economy ทั้งในสหรัฐฯและยุโรป มีหลากหลายความเห็นแต่ก็สะท้อนไปในทำนองเดียวกัน เช่น
DoorDash ผู้ให้บริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ ประกาศ ว่ามีข้อมูลผู้ใช้งานหลุด โดยมีองค์กรภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมา ข้อมูลหลุดนี้กระทบคน 4.9 ล้านราย ทั้งผู้ใช้งาน ร้านค้า และคนส่งอาหาร ทั้งข้อมูลชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร รหัสผ่าน รวมถึงเลขใบขับขี่ของคนส่งอาหารราว 1 แสนราย
DoorDash ผู้ให้บริการส่งอาหารจากร้านอาหารไปยังลูกค้า ออกแคมเปญใหม่ Kitchens Without Borders ช่วยโปรโมทร้านอาหารที่มีผู้อพยพเป็นเจ้าของโดยเฉพาะ โดยหนึ่งในนั้นมีร้านอาหารไทยด้วย จัดส่งอาหารจากร้านเหล่านี้โดยไม่คิดค่าส่ง
โครงการใหม่เริ่มโปรโมท 10 ร้านอาหารในย่าน San Francisco Bay Area ก่อน ประกอบด้วยร้าน Besharam, Z Zoul Cafe, Onigilly, Los Cilantros, Sabores Del Sur, West Park Farm & Sea, Little Green Cyclo, Afghan Village, D’Maize และ Sweet Lime Thai Cuisine