จุดขายสำคัญของเฮดเซต Vision Pro ของแอปเปิล คือการควบคุมสั่งการโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ใช้การตรวจจับตำแหน่งดวงตา และการออกท่าทางของมือ (Gesture) ซึ่งในเซสชันสำหรับนักพัฒนา แอปเปิลก็ได้ลงรายละเอียดที่มากขึ้นของส่วนติดต่อผู้ใช้งานนี้
โดยรูปแบบการออกท่าทางมือพื้นฐาน มีทั้งหมด 6 รูปแบบได้แก่
Nebo เป็นแอพจดโน้ตโดย MyScript ที่เพิ่งเปิดตัวมาได้ไม่กี่สัปดาห์แต่ก็มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับแอพจดโน้ตชื่อดังตัวอื่น โดยเฉพาะความสามารถในการจำแนกลายมือเขียน (handwriting recognition) ด้วย เทคโนโลยี Interactive Ink ของทาง MyScript เองทำให้สามารถแปลงลายมือดิจิทัลให้กลายเป็นข้อความที่สามารถที่นำไปแก้ไขต่อได้ในทันที
Microsoft ได้รับอนุมัติสิทธิบัตรฉบับใหม่เรื่องเทคนิคการปลดล็อกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ด้วยการใช้ท่าทางของมือหรือร่างกายแบบต่างๆ
สิ่งที่แตกต่างจากการปลดล็อกอุปกรณ์ด้วยท่าทาง (gesture) ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วในอุปกรณ์หลากประเภท เช่น การลากเส้นเป็นรูปแบบเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อจุดทั้ง 9 ในอุปกรณ์ Android หรือการลากปัดบนหน้าจอเพื่อปลดล็อก (swipe to unlock) แบบฉบับที่เริ่มต้นโดย Apple นั้นก็คือ การใช้ท่าเพื่อปลดล็อกตามสิทธิบัตรใหม่ของ Microsoft นี้ สามารถทำได้โดยการใช้หลายนิ้วร่วมกัน ในตำแหน่งที่อิสระบนหน้าจออุปกรณ์ หรืออย่างในกรณีของอุปกรณ์หน้าจอใหญ่แบบ PixelSense หรือระบบอื่นที่ใช้ Kinect ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวก็อาจใช้ทั้งร่างกายเพื่อทำการปลดล็อกอุปกรณ์ก็ยังได้
Oculus VR ประกาศซื้อกิจการบริษัท Pebbles Interfaces (คนละบริษัทกับนาฬิกา Pebble อันนี้เติม s) บริษัทด้านการควบคุมแบบ gesture จากอิสราเอล เพื่อมาเสริมทัพด้านระบบอินพุตบนแพลตฟอร์ม VR ของตัวเอง
เทคโนโลยีของ Pebbles Interfaces ช่วยให้ผู้สวมแว่น VR สามารถมองเห็นมือของตัวเองได้บนจอ (ดูคลิปประกอบ) ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของ Oculus ที่กำลังมองหาเทคโนโลยีการป้อนข้อมูลบนระบบ VR ทีมีข้อจำกัดว่าไม่เห็นสภาพแวดล้อมภายนอกแว่น
เมื่อปีที่ผ่านมาในงาน CES2014 อินเทลได้เปิดตัว Intel RealSense 3D กล้องวัดระยะความลึกแบบเดียวกับ Kinect แต่มีขนาดเล็กกว่าจนใส่ในอุปกรณ์พกพาได้ ซึ่งตอนเปิดตัวครั้งแรกนั้นมีเพียงโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ต แต่ตอนนี้ได้มีการประกาศเพิ่มว่าสามารถทำให้เล็กลงจนใส่ในสมาร์ทโฟนหน้าจอขนาด 6 นิ้วได้แล้ว
โดยในงาน Intel Developers Forum ที่เซินเจิ้น อินเทลได้นำอุปกรณ์ตัวอย่าง ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับบริษัทสัญชาติจีนรายหนึ่ง มาโชว์ในงานเพื่อแสดงให้เห็นว่า RealSense 3D จะสามารถนำไปใช้ร่วมกับแอพ, ขนาดและชนิดของอุปกรณ์แบบใดได้บ้าง เพื่อให้นักพัฒนานำไปต่อยอด
เอเซอร์ประกาศอัพเกรดโน้ตบุ๊กสำหรับคอเกม Aspire V 17 Nitro โดยเพิ่ม Intel RealSense 3D กล้องที่วัดระยะความลึกเหมือน Kinect แต่ขนาดเล็กพอที่จะฝังในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาได้ กล้องนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถเล่นเกม สั่งการคอมพิวเตอร์ และสแกนวัตถุในสามมิติเพื่อสร้างโมเดลสามมิติได้
สำหรับสเปคของ Aspire V 17 Nitro นั้นเป็นดังนี้
ไมโครซอฟท์ปล่อยแอพ Gestures Beta ช่วยให้ผู้ใช้มือถือ Lumia จัดการสายสนทนาโดยไม่ต้องสัมผัสหน้าจอได้ ดังนี้
- รับสายโดยยกโทรศัพท์แล้วแนบกับหู
- ปิดเสียงไมโครโฟนระหว่างสนทนาโดยวางโทรศัพท์บนพื้นราบในท่าคว่ำหน้าจอลง
- เปิดลำโพงสนทนาโดยวางโทรศัพท์บนพื้นราบในท่าหงายหน้าจอขึ้น
- ปิดเสียงโทรเข้า (silence) โดยการพลิกโทรศัพท์ให้คว่ำหน้าจอลง
อย่างไรก็ตาม Lumia 630, Lumia 635 และ Lumia 530 จะถูกจำกัดฟีเจอร์ เข้าใจว่าเป็นเพราะมีเพียงเซ็นเซอร์วัดอัตราเร่ง (accelerometer) อย่างเดียว
เนื่องจากแอพยังมีสถานะเป็นเบต้า จึงเป็นไปได้ที่จะมีฟีเจอร์เพิ่มเติมมากกว่าการจัดการสายสนทนาเท่านั้น
สำหรับหลายคนที่ทำงานด้านการออกแบบหรือเขียนงานบนคอมพิวเตอร์ การใช้แป้นสัมผัสหรือเมาส์แบบทั่วไปอาจไม่ตอบโจทย์การทำงานที่ต้องการความละเอียด หรืออาจสร้างอาการเมื่อยเกร็งขึ้นกับมือของผู้ใช้ได้เมื่อต้องทำงานเป็นเวลานาน นี่จึงเป็นที่มาของโครงการระดมทุนสร้าง Flow อุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ใช้ควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยการสัมผัส, หมุนปรับ หรือขยับมือโบกไปมารอบตัวมัน
เมื่อครั้งเปิดตัว Windows 8 ที่มาพร้อมกับการรองรับหน้าจอสัมผัสเป็นครั้งแรก ไมโครซอฟท์ได้เพิ่ม gesture สำหรับใช้งานผ่านหน้าจอสัมผัสมา ซึ่งสามารถใช้งานกับ trackpad ได้ด้วย แม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก แต่ดูเหมือนใน Windows 10 ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานนี้ แม้ว่าจะออกแบบมาเอาใจผู้ใช้เมาส์-คีย์บอร์ดมากขึ้น แต่ก็ไม่ลืมที่จะเพิ่ม gesture สำหรับใช้งานกับ trackpad มาอีก
นักวิจัยจากไมโครซอฟท์ รีเสิร์ชและจาก Advanced Interactive Technologies แห่งสถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริคในสวิตเซอร์แลนด์ เผยงานวิจัย In-air Gestures Around Unmodified Mobile Devicesที่กล่าวถึงอัลกอริทึมบนพื้นฐานของการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning based algorithm) ที่ให้กล้องบนอุปกรณ์พกพาตรวจจับการสั่งการด้วย gesture ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงอุปกรณ์แต่อย่างใด
ทีมวิจัยกล่าวว่า อัลกอริทึมนี้รองรับรูปแบบ gesture ที่ต่างออกไปจากรูปแบบมาตรฐานและทำงานได้ในสภาพแสงที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้การสั่งการด้วย gesture แทนที่การสัมผัสบนหน้าจอของอุปกรณ์พกพาที่เป็นอินพุทหลัก แต่เป็นการเสริมการทำงานในหลากหลายรูปแบบการใช้งาน อาทิ การเลือกเมนู เป็นต้น
Elliptic Labs บริษัทวิจัยและพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้ไร้สายด้วยคลื่นเหนือเสียง (ultrasound) เปิดเผยต้นแบบสมาร์ทโฟนที่ควบคุมแบบไร้สัมผัสด้วยคลื่นเหนือเสียง ที่ผลิตร่วมกับ Murata บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น ก่อนงาน CEATEC (งานจัดแสดงสินค้าและเทคโนโลยีระดับสูงของญี่ปุ่น) ประจำปีนี้
จุดเด่นของระบบการควบคุมสมาร์ทโฟนแบบนี้ (ดูวิดีโอท้ายข่าวจะเห็นภาพชัดเจนที่สุด) คือสามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวันจริง มีความแม่นยำสูง (ไม่ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับเซนเซอร์ที่ใช้แสง) และพื้นที่ทำการคือ 180 องศา (พูดง่ายๆ คือรอบหน้าจอของเครื่อง) นอกจากนั้นแล้วยังสามารถแบ่งแยกในเชิง "ระดับ" (multi-layer) ได้ด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ยังไม่ขายรุ่นจริงเสียที Oculus Rift ก็ยังมีแผนเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าแว่นตาสำหรับจำลองภาพเสมือนจริงกำลังจะมีกล้องด้านนอกสำหรับตรวจจับมือ และนิ้ว หลังจากก่อนหน้านี้ Oculus VR เคยออกมาบอกว่ากำลังใส่หน้าจอความละเอียดสูงลงไป
การใส่กล้องด้านนอกเข้าไปนอกจากจะใช้ในการสั่งงานผ่าน gesture ด้วยมือและนิ้วแล้ว ยังใช้สำหรับแสดงภาพภายนอกรอบตัวผู้ใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนจากการอยู่ในสภาวะเสมือนจริงอีกด้วย
สำหรับวันวางขายของ Oculus VR รุ่นจริง จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้คำตอบชัดเจน ระบุคร่าวๆ เพียงว่าจะเริ่มขายในช่วงต้นปีหน้าเท่านั้น
เพิ่งมีภาพหลุดแรกของ Amazon Phone สมาร์ทโฟนตัวแรกของ Amazon ที่มีกล้องสี่ตัวรอบเครื่อง (ทั้งเครื่องมีกล้องหกตัว) ล่าสุดมีรายงานอีกชิ้นตามมาติดๆ ว่าด้วยเรื่องของการใช้งานกล้องทั้งสี่ที่ทำหน้าที่จับดวงตาและใบหน้าของผู้ใช้ ว่าจะเอาไปทำอะไรได้บ้างแล้ว
จากข้อมูลชุดก่อนระบุว่ากล้องทั้งสี่จะใช้สำหรับจับดวงตา และใบหน้า เพื่อสร้างภาพสามมิติร่วมกับเซนเซอร์ สำหรับใช้สั่งงาน หรือแสดงข้อมูลด้วย เมื่อพลิกตัวเครื่องไปทิศทางต่างๆ กัน ระบบจะแสดงผลข้อมูลเพิ่มเติมบนหน้าจอแม้ว่าจะไม่ได้สัมผัส หรือแตะที่ส่วนใดของเครื่องก็ตาม โดยการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้แบบสามมิตินี้ทำมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ด้วยมือเดียวนั่นเอง
โนเกียจดสิทธิบัตร Apparatus and method for proximity based inputซึ่งกล่าวถึงการลากนิ้ว (swipe) จากอุปกรณ์ต้นทางไปยังอุปกรณ์ปลายทางเพื่อถ่ายโอนไฟล์โดยไม่ต้องสัมผัสหน้าจอของทั้งสองเครื่อง
สิทธิบัตรระบุว่า อุปกรณ์ต้นทางจะตรวจจับการเลือกวัตถุที่ผู้ใช้จะส่งให้อุปกรณ์ปลายทางและทิศทางการลากนิ้ว โดยทิศทางการลากนิ้วนี้จะช่วยระบุอุปกรณ์ปลายทางของไฟล์นั้น การตรวจจับการลากนิ้วและตำแหน่งอุปกรณ์ปลายทางจะใช้ capacitive field แต่ก็รองรับการใช้เซนเซอร์อื่น อาทิ อินฟราเรด กล้อง เป็นต้น
ไมโครซอฟท์จดสิทธิบัตร Searching at a user deviceซึ่งอธิบายถึงการค้นหาข้อมูลบนเครื่องโดยการวาดนิ้ว (gesture) บนหน้าจอสัมผัส โดยเมื่อผู้ใช้วาดนิ้วลงบนหน้าจอ ระบบจะแปลงภาพเป็นข้อความ (character recognition) โดยอัตโนมัติตั้งแต่อักขระตัวแรกที่ผู้ใช้วาดนิ้วลงไป (หากผู้ใช้ไม่ระบุโหมดของการแปลงภาพเป็นข้อความเอง) จากนั้นค้นหา และแสดงผลลัพธ์ที่อิงกับอักขระที่ผู้ใช้ป้อนข้อมูลเข้ามา
ผู้คนยังคงให้ความสนใจกับการสั่งงานแบบ gesture ที่เริ่มมีให้เห็นตั้งแต่ Leap Motion เปิดตัวมา แม้จะยังไม่ได้รับความนิยมมากนักก็ตาม
ล่าสุดบริษัท PMD Technologies ออกมาโชว์ CamBoard pico XS เซนเซอร์ตรวจจับสามมิติขนาดเล็กประมาณปากกาลูกลื่น และถึงแม้จะเล็ก แต่ก็ใช้จับการเคลื่อนไหวได้แม่นยำ รวมถึงจับความลึกของวัตถุได้อีกด้วย
นอกจากฮาร์ดแวร์แล้ว CamBoard pico XS ยังทำงานได้ดีขึ้นด้วย nimbleUX ซอฟต์แวร์สำหรับทำงานร่วมกันที่สามารถจับตำแหน่งของมือได้อย่างละเอียด พร้อมกับชุดคำสั่ง gesture ในตัว และยังสามารถเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปได้เองอีกด้วย
อินเทลเริ่มบุกตลาด perceptual computing หรือรูปแบบการสั่งงาน-ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีการใหม่ๆ เช่น การดักจับความเคลื่อนไหวของมือและใบหน้า การสั่งงานด้วยเสียง (แนวเดียวกับ Kinect) มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ( ข่าวเก่าปี 2012 )
วันนี้ที่งาน CES 2014 อินเทลก็ได้ฤกษ์เปิดตัวแพลตฟอร์มด้าน perceptual computing ของตัวเองอย่างเป็นทางการในชื่อแบรนด์ Intel RealSense
Intel RealSense 3D camera
RealSense ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลายด้าน แต่ผลิตภัณฑ์แรกที่อินเทลส่งเข้าตลาดคือกล้อง Intel RealSense 3D ซึ่งเป็นกล้องที่วัดระยะความลึกเหมือน Kinect แต่ขนาดเล็กพอที่จะฝังในคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาได้
ยังไม่ทันขึ้นปี 2014 ดีแต่ซัมซุงก็เป็นเสือปืนไวออกมาประกาศฟีเจอร์ของ Smart TV ปี 2014 ที่จะเปิดตัวในงาน CES 2014 ช่วงต้นปีหน้า (ยังไม่บอกว่า Smart TV ปีเก่าๆ จะได้อัพเกรดความสามารถด้วยหรือไม่)
กลายเป็นเรื่องปกติของวงการไอทีไปแล้ว ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศเข้าซื้อบริษัทหน้าใหม่ โดยคราวนี้บริษัทที่ถูก Google ซื้อมีชื่อว่า Flutter เป็นบริษัทที่พัฒนาระบบควบคุมคอมพิวเตอร์แบบ Gesture ด้วยการใช้เว็บแคม โดยสามารถควบคุมโปรแกรมชื่อดังต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Spotify, VLC หรือ iTunes เป็นต้น และยังใช้ได้ทั้ง Windows และ Mac
Navneet Dalal ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Flutter ได้กล่าวประโยคสั้นๆ เกี่ยวกับทิศทางของบริษัทของเขาไว้ว่า "ผมอยากให้ซอฟต์แวร์ของบริษัทเป็นเหมือนตาของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนอย่างที่ Siri หรือ Google Now เป็นเสมือนหูของคอมพิวเตอร์"
ที่มา - Endgadget
แอปเปิลยังคงเดินหน้าซื้อบริษัทมาเสริมทัพอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่งยื่นข้อเสนอเป็นวงเงินกว่า 280 ล้านเหรียญเพื่อซื้อ Primesense บริษัททำเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุสามมิติสัญชาติอิสราเอลแล้ว
ผลงานของ Primesense ที่เด่นๆ คือการทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์พัฒนา Kinect รุ่นแรกออกมา นอกจากนี้ยังมีลูกค้าที่ใช้เซนเซอร์ของ Primesense ในปัจจุบันมากถึง 20 ล้านชิ้น ซึ่งส่วนมากเป็นอุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน (รวมถึงสแกนเนอร์แบบพกพาด้วย)
ผลงานของเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบสามมิติของ Primesense สามารถดูได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - The Verge
แอปเปิลเพิ่งได้รับสิทธิบัตรใหม่ 27 รายการเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 โดยมีสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับส่วนติดต่อผู้ใช้งานที่เด่นๆ ดังนี้
Disney Research พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ชื่อว่า **Botanicus Interacticus** ซึ่งใช้ต้นไม้ทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์จับการสัมผัสของผู้ใช้ และส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ที่ต่ออยู่เพื่อแสดงผลตอบโต้การใช้งาน
เทคโนโลยีใหม่อันน่าทึ่งนี้เป็นการต่อยอดมาจาก[เทคโนโลยี Touché ซึ่งอาศัยการตรวจจับคลื่นแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการสัมผัสเซ็นเซอร์ของผู้ใช้งาน](http://www.blognone.com/node/32285) โดยอยู่บนหลักการที่ว่าร่างกายมนุษย์ผู้ใช้งานเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ซึ่งจะตอบสนองต่อคลื่นแรงดันไฟฟ้าที่ความถี่แต่ละระดับแตกต่างกันไปตามท่าทางผู้ใช้งานขณะนั้น
- Read more about Disney พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ใช้ต้นไม้แทนจอสัมผัส
- 21 comments
- Log in or register to post comments
ทุกวันนี้ เราใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดกันเป็นปกติ ไม่ว่าจะเล่นเกมหรือทำงานก็ตาม แต่ก็มีนักพัฒนาบางกลุ่มที่คิดต่าง พัฒนาอุปกรณ์และวิธีสั่งการคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ขึ้นมาให้เห็นกันเป็นระยะ ยกตัวอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ เช่น ใช้ปากกา (อย่าง Wacom Bamboo series) ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinect เป็นต้น) หรือใช้รีโมทหรือเมาส์ที่มีเซนเซอร์ต่างๆ นานา
แถวนี้ใครชอบเล่นถ่ายรูปด้วยการสร้างกรอบรูปจากนิ้วมือบ้างครับ? นักวิจัยจากญี่ปุ่นได้นำเอาวิธีนี้มาทดลองสร้างเป็นกล้องถ่ายรูปจริงๆ กันแล้ว
กล้องถ่ายรูปตัวนี้มีชื่อว่า Ubi-Camera วิธีใช้ก็เพียงแค่สวมตัวกล้องไว้ที่ปลายนิ้วชี้ข้างหนึ่ง ประกอบนิ้วชี้และนิ้วโป้งจากสองมือให้เป็นกรอบรูป ขยับหน้าเข้าใกล้หรือออกห่างจากมือเพื่อกำหนดมุมมอง เรียบร้อยแล้วก็กดปุ่มชัตเตอร์บนตัวกล้องเพื่อเก็บภาพประทับใจเท่านั้นเอง
- Read more about Ubi-Camera: กล้องถ่ายรูปกรอบนิ้วมือ
- 9 comments
- Log in or register to post comments
หลังจาก โซนี่ได้เปิดตัวสมาร์โฟน Xperia sola ที่มากับเทคโนโลยี floating touch ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้เบราว์เซอร์ได้โดยไม่ต้องสัมผัสหน้าจอแต่อย่างไร วันนี้โซนี่ได้เปิดเผยรายละเอียดเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งในมุมมองการใช้งานและการพัฒนาเว็บหรือแอพฯ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้
เทคโนโลยี floating touch ประกอบด้วยเซ็นเซอร์สองแบบ แบบหนึ่งรองรับการสัมผัสแบบมัลติทัชโดยตรงกับหน้าจอ (ต้นฉบับเรียก mutual capacitance) และอีกแบบหนึ่งรองรับการโบกนิ้วเหนือหน้าจอได้ประมาณ 2 เซนติเมตร (ต้นฉบับเรียก self capacitance) แต่ไม่รองรับมัลติทัช ซึ่งก็หมายถึงผู้ใช้ใช้ได้เพียงนิ้วเดียวในการสั่งการเครื่องโดยการโบกเหนือหน้าจอ