หลัง Xiaomi Mi 11 เปิดตัว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็เริ่มมีผลเบนช์มาร์คจากแอปต่างๆ หลุดมาใน Weibo แล้ว โดยคราวนี้เป็นผลเปรียบเทียบกับ Huawei Mate 40 Pro ที่ใช้ชิป Kirin 9000 และ Mate 40 ที่ใช้ Kirin 9000E รุ่นรองลงมา
ผลที่หลุด เป็นผลการทดสอบจากแอป 3D Mark โดยใช้ OpenGL ES 3.1 ซึ่ง Mi 11 ที่ใช้ชิป Snapdragon 888 ทำคะแนนได้ 8,546 คะแนน แพ้ให้กับทั้ง Huawei Mate 40 และ Mate 40 Pro โดย Mate 40 ทำได้ 8,771 คะแนน และ Mate 40 Pro ทำได้ 9,065 คะแนน ทิ้งห่างราวๆ 500 คะแนนจาก Mi 11
ในยุคที่ใครๆ ก็ทำโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม ARM ล่าสุดมีสมาชิกใหม่มาร่วมวงคือ Huawei ที่มีข่าวหลุดว่าจะเปิดตัวโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู Kirin ของตัวเองในเดือนมีนาคม 2021
โน้ตบุ๊กรุ่นนี้ใช้ชื่อว่า Huawei Qingyun L410 สเปกคือหน้าจอ 14" 2K, ซีพียู Kirin 990 ตัวเดียวกับที่ใช้ใน แท็บเล็ต MatePad Pro และ มือถือจอพับ Mate Xs , แรม 8GB, สตอเรจ 512GB
ระบบปฏิบัติการเป็น Deepin Linux โดยสามารถอัพเกรดเป็น HarmonyOS ได้ในอนาคต
FreeBuds Pro มาพร้อมไดรเวอร์ขนาด 11 มิลลิเมตร ชิป Kirin A1 พร้อม ANC ที่บอกว่าลดเสียงได้ถึง 40 เดซิเบล มีไมโครโฟนสามตัวช่วยรับเสียง และมีระบบช่วยเร่งเสียงคนพูดรอบข้าง แบตเตอรี่ใช้งานได้ 4.5 ชั่วโมง รวมเคสได้ 20 ชั่วโมงเมื่อเปิด ANC และประมาณ 7 ชั่วโมง รวมเคส เป็น 30 ชั่วโมง เมื่อปิด ANC
Richard Yu ซีอีโอฝ่ายผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์ของ Huawei ออกมายอมรับว่าปีนี้ เราน่าจะได้เห็นชิป Kirin ระดับไฮเอนด์เป็นรุ่นสุดท้าย หลังถูกสหรัฐแบนผ่านซัพพลายเออร์อย่าง TSMC กล่าวอย่างอ้อม ๆ คือ Yu ยอมรับว่าชิป Kirin จะหมดในปีนี้
Yu บอกด้วยว่าจากการแบนรอบล่าสุด TSMC แจ้งว่าจะรับออเดอร์ถึงแค่ 15 พฤษภาคมเท่านั้นและจะผลิตให้ถึงแค่ 15 กันยายน ขณะเดียวกันเจ้าตัวก็ยอมรับว่ายอดขายสมาร์ทโฟนปีนี้น่าจะต่ำกว่าปีที่แล้วที่ทำไว้ 240 ล้านเครื่อง แต่ไม่ได้ระบุจำนวน
นอกจาก Huawei เปิดตัวชิป Kirin 990 ยังมีหูฟังไร้สายรุ่นใหม่ Huawei FreeBuds 3ซึ่งเป็นรุ่นอัพเกรดของ Huawei FreeBuds 2 เมื่อปีที่แล้ว
หน้าตาของตัวหูฟัง FreeBuds 3 ยังคงสไตล์เดิม ปรับดีไซน์ให้ใส่สบายขึ้น หลุดยากกว่าเดิม มีให้เลือกสองสี (ขาว/ดำ) เหมือนเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวเคสเปลี่ยนจากทรงสี่เหลี่ยม มาเป็นวงกลม เพื่อให้ถือหรือพกพาสะดวกขึ้น
เป็นธรรมเนียมทุกปีที่ Huawei ใช้เวทีงาน IFA เปิดตัวชิป Kirin รุ่นเรือธงประจำปีนั้นๆ ซึ่งปีนี้ก็เป็นคิวของ Kirin 990 5Gซึ่งมีจุดเด่นที่รองรับ 5G ในตัว SoC เลย ไม่ต้องใช้ชิปโมเด็ม 5G แยกต่างหาก
Kirin 990 5G เป็น SoC (System on Chip) ที่ผลิตด้วยกระบวนการแบบ 7nm+ EUV ภายในประกอบด้วย
สำนักข่าว BBC รายงานว่าได้รับเอกสารภายในจากบริษัท ARM แจ้งให้พนักงานหยุดทำธุรกิจกับหัวเว่ยทั้งหมดเนื่องจากสถาปัตยกรรม ARM นั้นมี "เทคโนโลยีสหรัฐฯ"
ARM ไม่ได้ขายชิปโดยตรงแต่ขายสถาปัตยกรรมคำสั่ง (instruction set architecture - ISA) และพิมพ์เขียวของชิปเพื่อให้บริษัทต่างๆ นำไปปรับแต่งและผลิตขายด้วยตัวเอง บริษัทผู้ผลิตชิปเช่นแอปเปิล, ซัมซุง, หรือหัวเว่ย ต้องซื้อสิทธิ์ในการผลิตจาก ARM ก่อนจะผลิตชิป
ตัว ARM เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร แต่เจ้าของบริษัทคือ SoftBank จากญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีซีพียูนั้นมักมีการซื้อเทคโนโลยีข้ามบริษัทกันไปมาหลายต่อ
Huawei เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่ Kirin 980 ด้วยสถาปัตยกรรมการผลิตขนาด 7 นาโนเมตร ถือเป็น SoC ตัวแรกของโลกที่ผลิตแบบ 7 นาโนเมตร (ใช้โรงงาน TSMC) ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น 20% ใช้พลังงานต่ำลง 40% เมื่อเทียบกับชิปขนาด 10 นาโนเมตร
คาดว่า Kirin 980 จะถูกใช้ครั้งแรกในสมาร์ทโฟนเรือธง Mate 20 ที่จะเปิดตัวในเดือนตุลาคมนี้
Kirin 980 เป็น SoC ที่มีซีพียูทั้งหมด 8 คอร์ โดยใช้ระบบ 2+2+4 คอร์ ได้แก่ Cortex-A76 แบบ super big core จำนวน 2 คอร์, Cortex-A76 แบบ big core อีก 2 คอร์ และ Cortex-A55 แบบ little core จำนวน 4 คอร์
Huawei ใช้เวทีงาน IFA 2017 เปิดตัวหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด Kirin 970 ที่จะใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นเรือธง Mate 10 ที่จะเปิดตัวในวันที่ 16 ตุลาคมนี้
Kirin 970 เป็น SoC ที่ประกอบด้วยซีพียู 8 คอร์, จีพียู 12 คอร์, ผลิตที่ระดับ 10 นาโนเมตร และมีหน่วยประมวลผลพิเศษ Neural Processing Unit (NPU) สำหรับงานประมวลผล AI ด้วย จากสถิติของ Huawei เองระบุว่ามันสามารถรัน image recognition ได้ 2,000 ภาพต่อนาที เร็วกว่าชิปอื่นใดในโลกนี้
Huawei ระบุว่างานประมวลผล AI ภายในอุปกรณ์เอง (On-Device) จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มการประมวลผล AI บนคลาวด์ บริษัทจึงพัฒนา NPU เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
Huawei เปิดตัวหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่ Kirin 950 สุดแรง ที่มาพร้อมกับคะแนนเบนช์มาร์ค Antutu สูงถึง 82,945 คะแนน (Tegra X1 ทำได้ประมาณ 75,000 คะแนน)
Kirin 950 เป็นใช้ซีพียู 8 คอร์แบบ 4+4 คือ ARM Cortex A72 2.53 GHz และ Cortex A53 1.8GHz, จีพียู Mali T880MP4, รองรับ LTE Cat 6 ในตัว, มีหน่วยประมวลผลเซ็นเซอร์พลังงานต่ำที่เรียกว่า i5
จุดเด่นอีกข้อคือมันใช้กระบวนการผลิตแบบ 16 nm FinFET process ของ TSMC ที่มีประสิทธิภาพกว่ากระบวนการผลิตแบบ 20 nm ของหน่วยประมวลผลรุ่นปัจจุบัน ประสิทธิภาพดีขึ้น 40% ในขณะที่ใช้พลังงานน้อยลง 60%
คาดว่า Huawei จะนำมันมาใช้กับมือถือเรือธง Huawei Mate 8 ที่รอเปิดตัวเป็นลำดับถัดไปช่วงปลายเดือนนี้