NVIDIA ประกาศว่า ดีลซื้อกิจการ Run:ai สตาร์ตอัปพัฒนาเครื่องมือจัดการโครงสร้าง AI บน Kubernetes จากประเทศอิสราเอล เสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว หลังได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลแต่ละประเทศ ทั้งสหภาพยุโรปและอเมริกา
ดีลนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่ตัวเลขที่รายงานออกมาคือ 700 ล้านดอลลาร์
Run:ai บอกว่าทั้งบริษัทและ NVIDIA มีแผนโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ของ Run:ai เพื่อให้ชุมชนนักพัฒนาสามารถสร้างปัญญาประดิษฐ์ได้เร็วมากขึ้น โดยปัจจุบันซอฟต์แวร์ Run:ai รองรับเฉพาะจีพียูของ NVIDIA เท่านั้น แต่การโอเพนซอร์สจะทำให้รองรับแพลตฟอร์มอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมด้วย
Kubernetes ออกเวอร์ชัน 1.32 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของปี 2024 ตามระบบออกรุ่นปีละ 3 ครั้ง (เมษายน สิงหาคม ธันวาคม) ใช้โค้ดเนมว่า Penelope ตัวละครในนิยายกรีกเรื่อง The Odyssey
ของใหม่ที่สำคัญใน Kubernetes 1.32 คือ Memory Manager ตัวจัดการหน่วยความจำ เข้าสถานะ General Availability (GA) ตามหลังฟีเจอร์ CPU Manager ที่เปิดให้ใช้งานไปแล้วก่อนหน้านี้ ช่วยให้การจัดการหน่วยความจำของแอพพลิเคชันในคอนเทนเนอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น แอดมินระบบสามารถจองหน่วยความจำสำหรับ pod ได้ตามลำดับชั้นการให้บริการ (QoS)
CPU Manager ก็ได้ฟีเจอร์ใหม่ strict-cpu-reservation ยังมีสถานะเป็น alpha มีเอาไว้จองซีพียูแบบจริงจัง จองจริงๆ นะ เพื่อให้ระบบป้องกันไม่ให้แอพพลิเคชันอื่นมาใช้งานทรัพยากรซีพียูที่จองเอาไว้
OpenAI เผยแพร่ รายงานปัญหา ChatGPT, Sora และ API ไม่สามารถใช้งานได้นานกว่า 4 ชั่วโมง ในวันที่ 12 ธันวาคม ตามเวลาในไทย โดยบอกว่าปัญหานี้มาจากการแก้ไขและดีพลอย service ใหม่ ไม่ใช่ปัญหาเรื่องความปลอดภัยหรือการ ออกฟีเจอร์ใหม่ในวันนั้น
ในรายงานบอกว่ามีการดีพลอย Telemetry service แต่กลับทำให้ Kubernetes API มีโหลดที่เพิ่มสูงขึ้นมาก จนกระทบการทำงานของคลัสเตอร์ Kubernetes ในภาพรวม โดยเฉพาะการทำงานของ DNS จึงเกิดปัญหากระทบผู้ใช้งาน
IBM ประกาศซื้อกิจการ Kubecost บริษัทซอฟต์แวร์ที่ทำระบบจัดการต้นทุนคลัสเตอร์ Kubenetes
Kubecost ก่อตั้งเมื่อปี 2019 และเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส OpenCost ที่ใช้จัดการต้นทุนคลาวด์ ปัจจุบัน OpenCost เป็นโครงการภายใต้ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) และซอฟต์แวร์ของ Kubecost พัฒนาต่อยอดจาก OpenCost อีกทีหนึ่ง
IBM เรียก Kubecost ว่าเป็นบริษัทแนว FinOps (financial operation) ที่ช่วยจัดการความคุ้มค่าของบริการคลาวด์ที่จ่ายเงินไป จัดการ workload ให้รันโดยมีต้นทุนคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าองค์กรจำนวนมากกำลังต้องการ
NVIDIA ประกาศลงนามข้อตกลงเข้าซื้อบริษัท Run:ai สตาร์ตอัพจากอิสราเอลที่ทำหน้าที่จัดการโครงสร้างรันปัญญาประดิษฐ์บน Kubernetes โดยประกาศนี้ไม่ระบุมูลค่าและระยะเวลาควบควมบริษัท แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเคยมีข่าวลือว่าระดับหลายร้อยล้านดอลลาร์จนถึงพันล้านดอลลาร์
แพลตฟอร์มของ Run:ai ใช้จัดการว่าบริการใดกินทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน สามารถกำหนดโควต้า, แบ่งจีพียูข้ามแอป หรือรวบจีพียูจากหลายเครื่องมาใช้ในแอปเดียว โดยรวมแพลตฟอร์มนี้พยายามบริหารการใช้จีพียูในองค์กรให้เต็มประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ลูกค้าเดิมของ Run:ai ยังใช้งานได้ต่อไป แต่ประกาศครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า NVIDIA ต้องการนำแพลฟอร์มของ Run:ai มาใช้งานใน NVIDIA DGX Cloud
บริษัท Buoyant ผู้พัฒนาหลักของ Linkerd ซอฟต์แวร์ service mesh ที่ใช้กันแพร่หลายในวงการ Kubernetes ประกาศปรับโมเดลธุรกิจใหม่ โดยนับตั้งแต่ Linkerd 2.15 เวอร์ชันล่าสุดเป็นต้นไป จะมีเฉพาะรุ่นเสถียรที่ต้องจ่ายเงินเท่านั้น
Linkerd เวอร์ชันโอเพนซอร์สจะยังมีอยู่เหมือนเดิม แต่จะมีเฉพาะ edge release ที่ออกใหม่ทุกสัปดาห์เท่านั้น ถ้าอยากได้รุ่นเสถียร (stable release) สำหรับงานโปรดักชัน การันตีว่าอัพเกรดเวอร์ชันแล้วไม่พัง จำเป็นต้องใช้ Buoyant Enterprise for Linkerd (BEL) เวอร์ชันเชิงพาณิชย์ ในราคา 2,000 ดอลลาร์ต่อคลัสเตอร์ (มีข้อยกเว้นให้องค์กรขนาดเล็กกว่า 50 คนใช้ฟรี)
Google Cloud เปิดตัว Google Kubernetes Engine (GKE) Enterprise Edition ที่เพิ่มฟีเจอร์ระดับสูงสำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่
GKE Enterprise มีฟีเจอร์เพิ่มเติมจาก GKE เวอร์ชันปกติ (ตอนนี้มีชื่อเรียกว่า GKE Standard) โดยเพิ่มฟีเจอร์จาก Anthos ซอฟต์แวร์จัดการคลาวด์ข้ามค่ายของกูเกิล ทำให้เราสามารถรัน GKE บนเครื่องที่เช่าจาก Azure/AWS รวมถึงเครื่องแบบ on-premise ( Google Distributed Cloud ) ได้ด้วย
Red Hat ปล่อย Podman Desktop 1.0 โปรแกรมพร้อม GUI สำหรับการรัน Podman บนวินโดวส์, แมค, หรือลิกนุกซ์ โดยการใช้งานหลักคือการพัฒนาแอปพลิเคชั่นก่อนนำไปรันบน Kubernetes
โปรแกรมรูปแบบเดียวกันนี้ในตลาดมีหลายตัว เช่น Docker Desktop, Racher Desktop โดยก่อนหน้านี้โปรแกรมเหล่านี้มีความจำเป็นมากหากต้องการใช้งาน Docker บนวินโดวส์ แต่ในช่วงหลังไมโครซอฟท์ก็รองรับ WSL แบบ SystemD ทำให้สามารถติดตั้งทั้งลินุกซ์หรือ Docker ได้เองเหมือนบนลินุกซ์ทำให้อาจจะมีเหตุจำเป็นให้ใช้งานน้อยลง
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์เปิดตัวดิสโทรลินุกซ์ของตัวเอง Azure Linux อย่างเป็นทางการ (general availability) มันจะถูกใช้เป็นโฮสต์ในการรันคอนเทนเนอร์บนบริการ Azure Kubernetes Service (AKS) ทำให้ AKS มีโฮสต์เป็นลินุกซ์ด้วยแล้ว
จริงๆ แล้วโครงการ Azure Linux ไม่ใช่ของใหม่ เพราะ ทดสอบมาสักพักแล้วในชื่อโค้ดเนม CBL-Mariner หลังจากทดสอบมานาน 2 ปีก็ได้ฤกษ์เปิดให้คนทั่วไปใช้กัน
เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมาในวันที่ 14 มีนาคมหรือวัน Pi Reddit เว็บบอร์ดยอดนิยม ล่มไปเป็นเวลา 5 ชั่วโมง (ทางเว็บระบุว่าล่มนาน 314 นาทีตรงกับหมายเลข Pi เหมือนกัน) ตอนนี้ทางเว็บก็ออกรายงานว่าเกิดอะไรขึ้นในตอนนั้น
การล่มครั้งนี้เกิดจากทีมงานอัพเกรด Kubernetes จากเวอร์ชั่น 1.23 ไปยัง 1.24 แล้วระบบล่ม โดยทีมงานค่อยๆ อัพเกรดมาแล้วหลายคลัสเตอร์ แต่วันเกิดเหตุนั้นเป็นการอัพเกรดคลัสเตอร์สำคัญที่สุด คือ ระบบ Reddit ดั้งเดิมที่มีโค้ดเก่า
Farah Schüller จาก Basecamp เขียนรายงานถึงการย้ายแอปพลิเคชั่น 3 ตัวในบริษัทออกจากคลาวด์ ตามแนวทางที่ David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยนอกจากการเลิกใช้คลาวด์แล้ว Basecamp ยังเลิกใช้ Kubernetes ไปด้วยพร้อมกัน
Schüller ระบุว่าแม้โครงสร้างแอปพลิเคชั่นที่รันใน Kubernetes จะไม่ได้ซับซ้อนมากแต่ในความเป็นจริงแล้ว Kubernetes มีส่วนประกอบที่มาพร้อมกันหลายชิ้น เช่น DNS, Ingress, ระบบสตอเรจ, ระบบเน็ตเวิร์คของตัวเอง และอื่นๆ อีกจำนวนมาก ตอนแรกในการย้ายก็มีแผนที่จะติดตั้ง Kubernetes ในองค์กรเองแต่สุดท้ายก็ตัดสินใจตัด Kubernetes ออกไปด้วยเลยพร้อมๆ กัน
CNCF เปิดโครงการ KWOK (Kubernetes WithOut Kubelet) โครงการจำลอง Kubernetes ทำให้นักพัฒนาสามารถรัน Kubernetes ที่ไหนก็ได้โดยสร้างทั้งคลัสเตอร์ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ตัวซอฟต์แวร์ KWOK เองเป็นคอนเทนเนอร์ที่จำลองการทำงานของ node และ pod รวมถึงทรัพยากรอื่นๆ เอาไว้ในตัวเอง ทำให้เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อด้วย API ของ Kubernetes จะมองเห็นเหมือนมีคลัสเตอร์ขนาดใหญ่มาก อาจจะระดับหลายพันโหนด แม้ที่จริงแล้วจะรันอยู่ในโน้ตบุ๊กตัวเดียวก็ตาม
กูเกิลประกาศส่งโครงการ ko ที่ใช้สำหรับสร้างอิมเมจคอนเทนเนอร์ (container image builder) สำหรับแอปพลิเคชั่นภาษา Go ใน Kubernetes โดยไม่ต้องใช้ Docker เลย
ภาษา Go ได้รับความนิยมสำหรับแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์จำนวนมาก การที่นักพัฒนาสามารถคอมไพล์โปรแกรมใน Kubernetes ได้โดยตรงทำให้สามารถใช้งานกับระบบ CI/CD ได้สะดวกขึ้น
CNCF เองมีโครงการที่ดูแลหลักคือ Kubernetes ที่กูเกิลส่งโครงการเข้าไปแล้วก่อนหน้านี้ การส่งโครงการเข้า CNCF ทำให้องค์กรอื่นๆ สามารถใช้งานได้สะดวกใจยิ่งขึ้น เพราะทั้งโค้ด, ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง, และเครื่องหมายการค้าต่างๆ จะดูแลโดย CNCF ที่เป็นองค์กรกลาง
Darren Shepherd อดีต CTO ของ Rancher Labs และเข้าไปทำงานกับ SUSE ในตำแหน่ง Chief Architect ออกมาตั้งบริษัท Acorn Labs สร้างระบบการรันแอปพลิเคชันบน Kubernetes ที่คล้ายกับ Docker Compose
Shepherd เล่าปัญหาว่าเขาพยายามรันเซิร์ฟเวอร์ Minecraft บน Kubernetes ในบ้านแต่พบว่ามันยุ่งยากจนเขาเลิกพยายามและหันไปรันด้วย Docker Compose ในที่สุด
ตัว Acorn รองรับการ build ในตัวแบบเดียวกับ Docker Compose รวมถึงรองรับการสร้าง secret ใช้เป็นรหัสผ่านในตัว ทำให้ไม่ต้องเก็บรหัสผ่านไว้ในคอนฟิก
โครงการเป็นโอเพนซอร์สแบบ Apache 2.0 ตอนนี้โครงการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นมากๆ อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานจริงจังนัก
ที่มา - Acorn
ส่วนประกอบต่างๆ ใน Kubernetes นั้นที่ผ่านมามักมีการอิมพลีเมนต์จากหลายค่ายมาแข่งกัน เช่น Ingress ที่มีเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายค่ายสร้างมาให้ถอดเปลี่ยนกันได้ แต่ใน Gateway API ที่กำลังพัฒนา โครงการใหญ่ 3 โครงการ คือ Envoy, Contour, และ Emissary ก็เตรียมร่วมมือกันพัฒนา Envoy Gateway ตัวเดียว
Gateway API จะเทียบเคียงกับ Ingress หรือ Load Balancer ที่ใช้งานกันอยู่ตอนนี้ แต่ปรับแต่งแยกส่วนกันได้มากขึ้น ตัว Gateway สามารถควบคุมนโยบายการเชื่อมต่อ ขณะที่แบ่งส่วนต่างๆ เป็น Route ให้ทีมพัฒนาแอปแต่ละส่วนควบคุมอิสระ โดยสามารถแยกกันคนละ namespace ในคลัสเตอร์ได้ ทำให้แบ่งสิทธิ์กันชัดเจน
Kubernetes ออกเวอร์ชั่น 1.24 ชื่อเรียก Stargazer โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ถอด dockershim หลังประกาศ deprecated มาแล้วปีครึ่ง สำหรับดิสโทรจำนวนมากที่ใช้ containerd หรือ CRI-O อยู่แล้วก็จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไร
Istio ซอฟต์แวร์ service mesh สำหรับจัดการคลัสเตอร์ Kubernetes ที่ริเริ่มโดยกูเกิลเมื่อปี 2017 ยื่นเรื่องขอเข้าเป็นโครงการของมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) แล้ว (หลังไปทำแยกเองเป็นเวลานาน 5 ปี)
Rancher Desktop ออกเวอร์ชั่นย่อย 1.1.0 (และออก 1.1.1 แก้ไขบั๊กในไม่กี่วันถัดมา) แม้จะเป็นเพียงเวอร์ชั่นย่อย แต่ฟีเจอร์ที่สำคัญคือมันรองรับการปิด Kubernetes ทำให้สามารถใช้งานเฉพาะ container runtime หรือ dockerd
แม้ว่าทาง SUSE จะพยายามเลี่ยงว่า Rancher Desktop ไม่ได้พยายามมาแทนที่ Docker Desktop ที่เก็บเงินค่าใช้งานเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แต่การปรับฟีเจอร์เช่นนี้ก็ทำให้ Rancher Desktop สามารถใช้งานแทน Docker Desktop ได้อย่างเต็มตัว
เมื่อปลายปีที่แล้ว Google บริจาคโครงการโอเพ่นซอร์ส Knative ให้ CNCF ดูแล และวันนี้ CNCF Technical Oversight Committee ได้โหวตเพื่อรับ Knative เข้า CNCF แล้ว เท่ากับว่า CNCF ได้เข้ามาดูแล Knative อย่างเป็นทางการในสถานะ incubating
สำหรับ Knative ตัวโครงการเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนา, ดีพลอย และบริหารจัดการแอปแบบ serverless และ event-driven บน Kubernetes โครงการนี้เป็นโอเพ่นซอร์สที่ก่อตั้งโดย Google ในปี 2018 และพัฒนาร่วมกับ IBM, Red Hat, VMWare, SAP และนักพัฒนาอีกกว่า 1,800 รายในชุมชนโอเพ่นซอร์ส
- Read more about CNCF โหวตรับ Knative เข้าเป็นโครงการในสถานะ Incubating
- Log in or register to post comments
SUSE ปล่อย Rancher Desktop รุ่น 1.0 เข้าสู่สถานะ GA เป็นที่เรียบร้อย หลังจากเปิดตัวครั้งแรกมาไม่ถึงปี เปิดทางใช้งานแทน Docker Desktop ได้แทบทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดบางส่วน
Red Hat เปิดโครงการทดลอง MicroShift ดิสโทร Kubernetes ที่ตัดแต่งจนเหลือขนาดเล็กมากๆ ไว้สำหรับรันบนพอร์ดคอมพิวเตอร์ เช่น Raspberry Pi หรือ NVIDIA Jetson
AWS เพิ่มฟีเจอร์ IPv6 ให้กับบริการ Amazon EKS เปิดทางให้สามารถสร้าง pod ในคลัสเตอร์โดยมีไอพีเป็น IPv6 ทั้งหมด โดยมีความได้เปรียบ 3 ประเด็น ได้แก่
- ใส่ pod ในเน็ตเวิร์คได้จำนวนมาก โดยไม่ต้องกังวลว่า IP จะหมด
- เชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ทั้งของ AWS เองและบริการภายนอก โดยมี latency ต่ำลง เพราะไม่ต้องผ่าน NAT
- ลดภาระวิศวกรเครือข่ายที่จะต้องดูแลเน็ตเวิร์คที่ซับซ้อน
ตอนนี้ยังใช้งานกับคลัสเตอร์สร้างใหม่เท่านั้น และต้องใช้กับลินุกซ์อย่างเดียว ตอนนี้ใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ที่มา - AWS
SUSE ประกาศว่าซอฟต์แวร์ hyperconverged infrastructure (HCI) แบบโอเพซอร์สของตัวเองที่ชื่อว่า Harvester นั้นเข้าสู่เวอร์ชั่น 1.0 พร้อมใช้งานแล้ว
โครงการ Harvester เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็อาศัยโครงสร้างอื่นๆ ที่มีมาก่อนแล้ว หลักๆ คือใช้ Kubernetes ร่วมกับ KubeVirt เพื่อจัดการ VM ในคลัสเตอร์ ส่วนระบบสตอเรจนั้นใช้ Longhorn ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สของ Rancher เอง
กูเกิลประกาศบริจาค Knative เข้า Cloud Native Computing Foundation (CNCF) หลังจากเปิดโครงการมาตั้งแต่ปี 2018 และแม้จะเป็นโครงการโอเพนซอร์สมาตลอดแต่ก็ควบคุมโครงการโดยกูเกิลเองเป็นหลัก
Knative เป็นชุดซอฟต์แวร์สำหรับสร้างบริการแบบ serverless บน Kubernetes ที่ตอนนี้ได้รับความนิยมสูงสุดในชุมชน Kubernetes (รองลงไป คือ OpenFaaS, Kubeless, Virtual Kubelet, KEDA, Apache OpenWhisk)
แม้ว่ากูเกิลจะควบคุมโครงการเป็นหลัก แต่บริษัทอื่นๆ ก็ส่งนักพัฒนาเข้ามาร่วมพัฒนาต่อเนื่อง เช่น IBM, Red Hat, VMware, และ SAP ทาง IBM เองเคยแสดงความไม่พอใจที่ Knative ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกูเกิล
- Read more about กูเกิลบริจาค Knative เข้า CNCF คาดอยู่ในระดับ Incubating
- Log in or register to post comments
Google Cloud มี Anthos ชุดจัดการคอนเทนเนอร์ Kubernetes แบบมัลติคลาวด์ ออกมาสักระยะ ใช้งานได้กับทั้งคลาวด์กูเกิลเอง และคลาวด์ค่ายอื่นๆ โดย เริ่มจาก AWS เมื่อปีที่แล้ว
ล่าสุดกูเกิลออก Anthos Multi-Cloud API เวอร์ชันใช้งานจริง (general availability) ทำให้รองรับคลาวด์ Azure แบบ GA ตามมาด้วยเช่นกัน
เมื่อ Anthos รองรับคลาวด์รายใหญ่ครบ 3 ค่ายแล้ว ทำให้เราสามารถสั่งสร้างคลัสเตอร์บนคลาวด์ทั้ง 3 ค่ายได้ง่ายๆ ผ่านคอมมานด์ไลน์แบบเดียวกัน ตามภาพ (กูเกิลบอกว่าจะรองรับการคอนฟิกผ่าน Terraform ตามมา)
- Read more about Google Anthos รองรับคลาวด์ครบ 3 ค่าย รันบน Azure ได้แล้ว
- Log in or register to post comments