ที่งาน Ignite 2024 ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิปใหม่ 2 รุ่น นอกจาก Azure Boost DPU ที่เป็นชิปประมวลผลข้อมูลวิ่งผ่านเครือข่าย ยังมีชิปความปลอดภัยชื่อ Azure Integrated HSM(HSM ย่อมาจาก Hardware Security Module)
หน้าที่ของ Azure Integrated HSM คือเอาไว้เก็บคีย์ต่างๆ ที่ใช้เข้ารหัสข้อมูล ชิปตัวนี้จะป้องกันคีย์ตอนใช้งาน (in-use) ด้วย ไม่ใช่แค่ตอนเก็บอย่างเดียว คีย์จะไม่ถูกส่งออกนอก HSM โดยฮาร์ดแวร์มีตัวช่วยเร่งความเร็วในการถอดรหัส-เข้ารหัสด้วย
Microsoft Azure เปิดตัวเครื่อง VM รุ่นใหม่ Azure HBv5มีจุดเด่นที่การใช้แรม high bandwidth memory (HBM) อัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 6.9 TB/s สูงกว่าตัวเลือกอื่นในตลาดหลายเท่า
เครื่อง VM รุ่นนี้ใช้ซีพียู AMD Epyc 4th Gen แกน Zen 4 รุ่นคัสตอมพิเศษที่ AMD ผลิตให้ไมโครซอฟท์โดยเฉพาะ หากเทียบแบนด์วิดท์กับเครื่อง Azure HBv3 รุ่นก่อนหน้า ที่ใช้ Epyc 3rd Gen (Milan-X) จะสูงกว่ากันเกือบ 20 เท่า
การที่เครื่อง Azure HBv5 มีแบนด์วิดท์หน่วยความจำเยอะขนาดนี้ จึงเหมาะกับงานคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ที่ต้องส่งข้อมูลจำนวนมากๆ โดยผู้เช่าเครื่อง VM สามารถเลือกเช่าซีพียูได้สูงสุด 352 คอร์ และอัดแรมได้สูงสุด 9GB ต่อคอร์
ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิป DPU (Data Processing Unit) ตัวแรกของตัวเองในชื่อ Azure Boost DPU
วงการ DPU หรือชิปช่วยประมวลผลข้อมูลที่วิ่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระงานของซีพียู เริ่มได้รับความนิยมเรื่อยๆ ตัวอย่างชิปในวงการได้แก่ NVIDIA BlueField DPU , AMD Pansando , Intel IPU
ไมโครซอฟท์เริ่มบุกตลาดนี้ด้วยการซื้อบริษัท Fungible ในปี 2023 เวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีก็ออกมาเป็น Azure Boost DPU ที่ออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูล Azure โดยเฉพาะ
ไมโครซอฟท์อัพเดต Azure Stack HCI เดิมเป็นชื่อใหม่ว่า Azure Local ระบบจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทั้ง virtual machine, เน็ตเวิร์ค, สตอเรจ, และ Kubernetes โดยเชื่อมกับ Azure แล้วสั่งงานผ่านคลาวด์ จัดการอัพเดตตามรอบรายเดือนได้อัตโนมัติโดยเวิร์คโหลดยังทำงานต่อไปไม่ต้องปิดการทำงาน
ความเปลี่ยนแปลงของ Azure Local ในรอบนี้คือมันรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมากๆ ด้วย เริ่มต้นต้องการดิสก์เพียงสองลูก (ดิสก์บูต และดิสก์ข้อมูลแบบ SSD) หากต้องการทำ high availability ก็ต้องการการเชื่อมต่อ 1Gbps เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งแบบไม่ใช้ Active Directory แต่ยังได้ฟีเจอร์ Live Migration อยู่
Azure Container Apps บริการรันคอนเทนเนอร์แบบ serverless จ่ายตามเวลาที่ใช้งานจริง เพิ่มตัวเลือกชิปกราฟิกสำหรับการรัน AI เฉพาะทาง โดยมีชิป NVIDIA T4 และ A100 ให้เลือกใช้งาน
แม้จะเปิดใช้งานแล้ว แต่ลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ทำข้อตกลง Microsoft Enterprise Agreement จะต้องติดต่อไมโครซอฟท์ขอโควต้า serverless GPU ก่อนใช้งาน โดยตอนนี้มีให้ใช้งานสองศูนย์ข้อมูล คือ West US 3 และ Australia East
Azure เปิดบริการ Azure AI Content Understanding สามารถดึงข้อมูลตาม schema ที่ต้องการ จากข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร, ภาพ, ไฟล์เสียง, และวิดีโอ
รูปแบบการใช้งานมีตั้งแต่การดึงข้อมูลฟิลด์ต่างๆ ออกจากเอกสาร, การขอสรุปจากวิดีโอพร้อมกับการประเมินอารมณ์ลูกค้า, หรือการดึงทรานสคริปต์ออกจากวิดีโอ
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มีบริการ Azure AI Document Intelligence ที่ให้บริการคล้ายกันอยู่ก่อนแล้วแต่ใช้กับงานเอกสารเท่านั้น บริการใหม่นี้ดูจะรวมเอา Document Intelligence เข้ามาทำงานร่วมกับการทำความเข้าใจภาพ, เสียง, และวิดีโอ ทำให้สามรถใช้งานได้หลากหลายขึ้น
ที่มา - Microsoft
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ VM ที่รันอยู่บนซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง หลังจาก เปิดรันแบบทดสอบมาสักระยะหนึ่ง ตอนนี้เปิดให้บริการทั่วไป หรือ generally available แล้ว
ไมโครซอฟท์เปิดตัวซีพียู Cobalt 100 ครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2023 โดยเป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ตัวแรกที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเองทั้งหมดเพื่อรันงานบน Azure
ไมโครซอฟท์บอกว่า Cobalt 100 ให้ประสิทธิภาพดีกว่าซีพียู Arm ตัวก่อนๆ บน Azure (ไม่ได้เทียบกับ x86) เฉลี่ย 1.4 เท่า, งาน Java ประสิทธิภาพดีขึ้น 1.5 เท่า, งานเว็บเซิร์ฟเวอร์และ .NET ดีขึ้น 2 เท่า หากเทียบประสิทธิภาพต่อราคาดีขึ้น 50%
กูเกิลยื่นคำร้องกล่าวหาไมโครซอฟท์ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลป้องกันการผูกขาดตลาดแห่งสหภาพยุโรป ในประเด็นการแข่งขันของบริการประมวลผลบนคลาวด์ โดยระบุว่าไมโครซอฟท์ใช้อำนาจที่มีในตลาดซอฟต์แวร์องค์กร ผลักดันให้ลูกค้าใช้งาน Azure และใช้วิธีการที่ทำให้ลูกค้าต้องอยู่กับบริการนี้ต่อไป (Lock-In)
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้เจรจายุติการร้องเรียนในลักษณะเดียวกัน กับผู้ให้บริการคลาวด์ในยุโรป จึงเชื่อว่าคำร้องเรียนของกูเกิลต่อสหภาพยุโรปก็จะไม่มีผลเช่นกัน
ปัจจุบันบริการคลาวด์ของกูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดรวมเป็นอันดับ 3 รองจาก AWS ของ Amazon และ Azure ของไมโครซอฟท์
ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
มีรายงานจาก The Information อ้างเอกสายภายในไมโครซอฟท์ระบุว่า TikTok จ่ายเงินค่าใช้งาน Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ถึงเดือนละ 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากประเมินตามแผนของไมโครซอฟท์ที่คาดมีรายได้จากบริการ AI บน Azure ปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ (เดือนละ 83 ล้านดอลลาร์) เท่ากับ TikTok เป็นแหล่งรายได้ถึงเกือบ 25% เลย โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลช่วงเดือนมีนาคม ตัวเลขปัจจุบันจึงอาจสูงหรือน้อยกว่านี้
เมื่อวานนี้นอกจาก เหตุการณ์ CrowdStrike อัพเดตเครื่องวินโดวส์แล้วพัง ยังมีอีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไล่เลี่ยกัน (แต่ไม่เกี่ยวข้องกัน) คือ Microsoft Azure ล่มในบางพื้นที่
รายงานของไมโครซอฟท์ระบุว่าระบบของ Azure มีปัญหาเฉพาะในเขต Central US ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม ราวตีห้าของประเทศไทย และฟื้นกลับมาได้ทั้งหมดราว 1 ทุ่ม (การล่มเกิดก่อนปัญหา CrowdStrike ทำจอฟ้า) สาเหตุเกิดจากปัญหาสตอเรจทำงานผิดพลาด ทำให้จำนวนเครื่อง VM ในระบบมีไม่เหลือพอให้ใช้บริการ ระบบไอทีใดๆ ที่เรียกใช้บริการ VM และสตอเรจบน Azure จึงได้รับผลกระทบ
จากเหตุวันนี้ที่แพตช์ CrowdStrike ทำให้ Windows เกิดจอฟ้าทั่วโลก ผู้ดูแลระบบจำนวนมากก็ต้องหันมากู้ระบบให้กลับมาใช้งานได้ แต่ความลำบากก็มากขึ้นสำหรับเครื่องที่อยู่บนคลาวด์เนื่องจากไม่สามารถบูต Safe Mode เพื่อแก้ปัญหาได้
Azure ออกประกาศสำหรับผู้ที่ใช้บริการ Azure VM ระบุว่าลูกค้าจำนวนมากสามารถแก้ปัญหาเครื่องค้างด้วยการ "บูตใหม่" ไปเรื่อยๆ สูงสุด 15 รอบ เครื่องก็จะกลับมาใช้งานได้
แต่สำหรับคนที่บูตใหม่ไม่สำเร็จ Azure ให้ทางเลือกกู้ระบบไว้ดังนี้
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ OpenAI เปิดให้องค์กรธุรกิจใช้งาน GPT-4o mini ใหม่ใน Azure AI แล้ว
GPT-4o mini เป็นโมเดลขนาดเล็กรุ่นใหม่ที่ชาญฉลาด เร็วขึ้น และราคาไม่แพง ซึ่ง OpenAI เพิ่ง ประกาศเปิดตัว วันนี้ โดยผสานรวมความสามารถด้านข้อความและการมองเห็น (เสียงและวิดีโอจะตามมาในภายหลัง)
ต่อเนื่องจากการเปิดตัว Apple Intelligence ที่มี ความร่วมมือกับ OpenAI มาเสริม โดย Apple ระบุเพียงว่า Apple Intelligence ในภาพรวม (ซึ่งน่าจะเหมายถึงเฉพาะ Apple Foundation Model ) ประมวลผลบนเครื่องและ Private Compute Cloud ของตัวเอง
ล่าสุด The Information รายงานว่า ส่วนประมวลผลของ OpenAI ที่มาเสริม Apple Intelligence ถูกประมวลผลอยู่บนคลาวด์ Azure โดยเฉพาะ (ต้นทางใช้คำว่า exclusively) ซึ่งถึงแม้ Apple จะยืนยันเรื่องการไม่ส่งข้อมูลส่วนตัว (เช่น IP Address) ของผู้ใช้งานให้กับ OpenAI แต่ข้อมูลนี้ก็อาจทำให้ Apple ถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นส่วนตัวที่ตัวเองชูมาตลอด
Huawei Cloud อ้างข้อมูลจาก รายงาน Market Share: Services, Worldwide 2023 ของบริษัท Gartner ที่สำรวจส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์แบบ Infrastructure as a Service (IaaS คือนับเฉพาะส่วน infra ไม่รวมบริการอื่นอย่างอีเมล) ของประเทศไทยในปี 2023 วัดตามรายได้ ดังนี้
- Microsoft 35%
- Amazon 31%
- Huawei 21.7%
- Google 5.1%
- Alibaba 1.8%
- อื่นๆ 5.5%
Huawei Cloud เริ่มให้บริการในไทยครั้งแรก 30 กันยายน 2561 ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลแห่งล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม 2565
Oracle ประกาศด้านความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทีเดียวทั้งสองรายใหญ่คือ Microsoft Azure และ Google Cloud มีรายละเอียดดังนี้
โดยส่วนของไมโครซอฟท์นั้น Oracle ประกาศขยายความร่วมมือจากเดิม เพื่อให้แพลตฟอร์ม Microsoft Azure Al มาใช้คลาวด์ของ Oracle สำหรับรองรับความต้องการของ OpenAI บริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้ลงทุนและให้ความร่วมมือด้านคลาวด์ประมวลผลโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ Oracle เคย ประกาศ ความร่วมมือกับ Azure มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี
มีรายงานจาก Business Insider ระบุว่าไมโครซอฟท์ได้ปลดพนักงานรอบล่าสุดจำนวนรวมประมาณ 1,500 คน ในฝ่ายวิศวกรรมของ Azure แต่รายงานข่าวนี้ไม่มีการยืนยันจากทางไมโครซอฟท์
นอกจากนี้มีรายงานจาก CNBC ซึ่งไมโครซอฟท์ยืนยันข้อมูล ว่ามีการปลดพนักงานอีกจำนวนหนึ่งในฝ่าย Mixed Reality ซึ่งรวมทั้งแผนกที่พัฒนาเฮดเซตสามมิติ HoloLens 2 ด้วย โดยไมโครซอฟท์บอกว่าสินค้าจะยังคงมีขายต่อไปตามเดิม
ไมโครซอฟท์เคยปลดพนักงานในฝ่าย HoloLens มาก่อนหน้านี้ในปี 2023 ซึ่งรายงานบอกว่ารวมกับรอบนี้แล้วเป็นพนักงานประมาณ 1,000 คน
Microsoft Azure ประกาศยกเลิกการคิดค่าบริการสำหรับ Data transfer ระหว่าง Availability Zones แล้ว โดยประกาศนี้ครอบคลุมทั้ง Private IP และ Public IP
จากประกาศครั้งนี้ทำให้การออกแบบระบบแบบใช้หลาย Availability Zones มีข้อกังวลด้านราคาลดลงอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาค่า Data transfer ระหว่าง Availability Zones ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการประเมินราคาของการใช้ออกแบบ
นโยบายนี้ของ Azure ถือเป็นเจ้าแรกของคลาวด์ยักษ์ใหญ่ที่ประกาศออกมา
ที่มา - Azure
Microsoft Azure ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่เปิดเครื่อง VM ให้เช่า AMD Instinct MI300X ชิปเร่งความเร็ว AI รุ่นล่าสุดของ AMD ที่เปิดตัวเมื่อปลายปี 2023
AMD Instinct MI300X เป็นการ์ดเร่งความเร็วที่มีแต่จีพียู CDNA 3 ล้วนๆ (ยังมีรุ่น MI300A ที่มีซีพียู+จีพียู) จุดเด่นข้อหนึ่งของมันคือการใช้แรมความเร็วสูง HBM3 ทำให้แบนด์วิดท์ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นจากการ์ดรุ่นก่อนมาก
ตัว VM ของไมโครซอฟท์ใช้ชื่อว่า ND MI300X v5 โดย VM หนึ่งตัวมีการ์ด MI300X จำนวน 8 ตัว มีแรมขนาดใหญ่ 1.5TB แบนด์วิดท์แรม 5.3 TB/s เหมาะสำหรับงานประมวลผล AI ขนาดใหญ่ ระบบเครือข่ายใช้ InfiniBand ความเร็ว 400 Gb/s ต่อจีพียู รวมกันแล้วเป็น 3.2 Tb/s ต่อ VM
Microsoft Azure เปิดบริการเครื่อง VM ที่ใช้ ซีพียู Cobalt 100 ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอง และเปิดตัวซีพียูครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023
ซีพียู Cobalt 100 พัฒนาอยู่บนพิมพ์เขียวของ Arm Neoverse N2 มาพัฒนาต่อ ก่อนหน้านี้มันถูกใช้งานเฉพาะบริการของไมโครซอฟท์เอง แต่คราวนี้เป็นครั้งแรกที่เปิดให้คนนอกใช้งาน
วันนี้ที่งาน Microsoft Build AI Day ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์มากล่าวเปิดงาน พร้อมเปิดตัวศูนย์ข้อมูลรีเจี้ยนใหม่ในประเทศไทย โดยซีอีโอไมโครซอฟท์ใช้คำว่า Full Region แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ เช่น จำนวน Availability Zone หรือเริ่มให้บริการเมื่อไหร่
Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่รายที่สาม ที่ประกาศยกเลิกค่าโอนย้ายข้อมูลออก (data transfer out หรือ egress) เมื่อลูกค้าเลิกใช้บริการ Azure อย่างถาวร
Azure ให้โควต้าย้ายข้อมูลออกฟรี 100GB ต่อเดือนกับลูกค้าทุกรายอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการย้ายข้อมูลปริมาณเยอะกว่านั้น สามารถติดต่อ Azure Support เพื่อขอเครดิตสำหรับย้ายข้อมูลได้ โดยลูกค้ามีเวลา 60 วันในการย้ายข้อมูลออกให้เสร็จสิ้น
Oracle รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ตามปีการเงินบริษัท 2024 สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ มีรายได้รวม 13,280 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 2,401 ล้านดอลลาร์
รายได้จากบริการคลาวด์และสนับสนุนไลเซนส์ เพิ่มขึ้น 12% เป็น 9,963 ล้านดอลลาร์, รายได้จากไลเซนส์คลาวด์และไลเซนส์ออนพรีมิส ลดลง 3% เป็น 1,256 ล้านดอลลาร์, รายได้จากฮาร์ดแวร์ลดลง 7% เป็น 754 ล้านดอลลาร์ และรายได้ส่วน Services ลดลง 5% เป็น 1,307 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปีกับ Mistral สตาร์ทอัพด้าน AI จากฝรั่งเศส ที่เพิ่งเปิดตัว โมเดล Mistral Large ซึ่งรองรับภาษาที่ใช้ในยุโรป โดยโมเดลของ Mistral สามารถใช้งานได้บน Azure
ประกาศความร่วมมือที่เป็นทางการมีเท่านี้ แต่ Financial Times ก็ มีข้อมูลเพิ่มเติม ว่าไมโครซอฟท์นั้นได้ตกลงที่จะลงทุนเป็นหุ้นอัตราส่วนเล็กน้อยใน Mistral ด้วย ซึ่งบริษัทมีมูลค่ากิจการล่าสุดประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์ (2 พันล้านยูโร) จึงเป็นประเด็นน่าสนใจเพราะผู้อ่านก็ทราบกันดีว่าไมโครซอฟท์นั้นเดิมพันสูง ตกลงที่จะ ลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ใน OpenAI อยู่แล้ว
Jamin Ball นักวิเคราะห์จากบริษัท Altimeter Capital ประเมินว่าการลงทุนด้าน AI ของไมโครซอฟท์ ทำให้บริการ Microsoft Azure เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย มีรายได้เพิ่มขึ้น 30% ในไตรมาสล่าสุด และไล่กวดผู้นำตลาดอย่าง AWS มาอย่างรวดเร็ว (AWS เติบโตเพียง 13% ในไตรมาสเดียวกัน)
Ball ประเมินว่าเมื่อ 5 ปีก่อน ขนาดรายได้จากบริการโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ของ Azure มีเพียงครึ่งหนึ่งของ AWS แต่ตอนนี้คิดเป็น 3/4 ของ AWS แล้ว
Satya Nadella เปิดเผยในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุดว่า Azure มีลูกค้า 53,000 องค์กรที่ใช้บริการด้าน AI