ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มเครื่องมือด้าน AI สำหรับลูกค้าองค์กร ให้สามารถคัสตอมผู้ช่วยอัตโนมัติ และผู้ช่วยอัจฉริยะสำหรับงานเฉพาะอย่าง มีรายละเอียดดังนี้
เริ่มที่ Copilot Studio เครื่องมือสำหรับสร้างผู้ช่วยแชทบอตแบบ low code โดยจะเข้าสู่สถานะพับลิกพรีวิวให้ลูกค้าองค์กรเริ่มใช้งานได้ ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป ตามที่ไมโครซอฟท์ ประกาศ ไปก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังประกาศเพิ่ม AI ผู้ช่วยอัตโนมัติ 10 ฟังก์ชันงานบน Dynamics 365 เพื่อให้องค์กรสามารถนำผู้ช่วย AI นี้ไปใช้งานได้ทันที เช่น ระบบประเมินฝ่ายขาย, ระบบติดต่อกับซัพพลายเออร์ หรือระบบรับมือลูกค้าด่านแรก เป็นต้น
ไมโครซอฟท์ประกาศอัพเดตการนำ AI มาใส่ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทรุ่นถัดไป โดยคราวนี้เป็นกลุ่มแอพพลิเคชันธุรกิจ เริ่มต้นที่ Dynamics 365 แอพพลิเคชันสำหรับงาน ERP และ CRM
ฟีเจอร์ด้าน AI นี้ ไมโครซอฟท์เรียกว่า Microsoft Dynamics 365 Copilot ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจัดการบางงานให้อัตโนมัติ เช่น การเขียนอีเมลตอบลูกค้าที่เป็นรูปแบบซ้ำ ๆ, การเขียนอีเมลสรุปการประชุมใน Teams, ช่วยร่างคำตอบในแชตที่ใช้โต้ตอบกับลูกค้า
คุณสมบัติ Copilot จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในหลายแอพพลิเคชันของ Dynamics 365 ได้แก่ Dynamics 365 Sales, Viva Sales, Dynamics 365 Customer Service, Dynamics 365 Customer Insights, Dynamics 365 Marketing, Dynamics 365 Business Central และ Microsoft Supply Chain Center
GameStop เครือร้านค้าปลีกขายเกมรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับไมโครซอฟท์ (อย่าเพิ่งตกใจ ไม่ใช่ขายแต่ Xbox จนไม่ขายเกมยี่ห้ออื่น)
- แกนหลักคือ GameStop จะเปลี่ยนมาใช้ระบบหลังบ้านเป็น Dynamics 365
- พนักงานขายหน้าร้านจะใช้ Surface เป็นอุปกรณ์ในการทำงานให้คล่องตัวมากขึ้น
- พนักงานทั้งหมดจะสื่อสารกันผ่าน Microsoft 365 และ Microsoft Teams
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกมมีข้อเดียวคือ GameStop จะช่วยขาย Xbox All Access โปรแกรมซื้อเครื่องแบบผ่อน 24 เดือน ซึ่งจะช่วยให้ทั้งไมโครซอฟท์และ GameStop มีลูกค้าผูกพันในระยะยาวมากขึ้น
เราเห็นไมโครซอฟท์พยายามผลักดันการใช้งาน Mixed Reality กับการใช้งานเฉพาะทาง เช่น การประชุมทางไกล การรีโมทเข้าไปแก้ปัญหาหน้างาน แต่ที่ผ่านมาก็ยังเน้นเฉพาะบนแพลตฟอร์มแว่น HoloLens เป็นหลัก
ล่าสุดไมโครซอฟท์ขยายบริการเหล่านี้มายังอุปกรณ์พกพาด้วย โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของ โปรแกรมชุด Dynamics 365 (รวม CRM+ERP เข้าด้วยกัน)
นอกจาก Office แล้ว ไมโครซอฟท์ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งธุรกิจอีกแบรนด์คือ Dynamics ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ตระกูล ERP/CRM
ในปี 2016 ไมโครซอฟท์จัดทัพ Dynamics ใหม่เป็นชุด Dynamics 365 ที่เป็นบริการบนคลาวด์ และคิดค่าบริการรายเดือนแบบเดียวกับ Office 365 และเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะอัพเดตฟีเจอร์ให้ Dynamics 365 ปีละสองครั้ง แบบเดียวกับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลของอัพเดตตัวแรกคือ April ’19 Release ที่จะทยอยปล่อยให้ใช้งาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2019 จนถึงเดือนกันยายน 2019 (ก่อนก้าวเข้าสู่อัพเดตตัวที่สองคือ October '19 ต่อไป)
ช่วงหลังเราเห็นไมโครซอฟท์ใช้นโยบายออกอัพเดตฟีเจอร์ทุก 6 เดือน (หรือปีละ 2 ครั้ง) ให้กับซอฟต์แวร์หลายตัว ทั้ง Windows 10 และ Windows Server ล่าสุดแนวทางนี้เริ่มขยายไปยังซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของบริษัทแล้ว
Microsoft Dynamics 365 ซอฟต์แวร์ CRM/ERP สำหรับองค์กร เป็นผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่จะได้อัพเดตปีละ 2 ครั้ง ทุกเดือนเมษายนและตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าองค์กรจะรู้กำหนดเวลาแน่ชัดว่าอัพเดตจะออกเมื่อไร และแอดมินสามารถเตรียมตัวทดสอบฟีเจอร์ใหม่ตั้งแต่เนิ่นๆ (ส่วนอัพเดตย่อยแก้บั๊กและอุดช่องโหว่ ยังปล่อยตามปกติ)
ไมโครซอฟท์ซื้อ LinkedIn มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ในราคาถึง 26.2 พันล้านดอลลาร์ ตอนนี้ก็เริ่มการหลอมรวมบริการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์ด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับบริการ Dynamics 365 โดยเชื่อมต่อทั้งบริการด้านงานขายและงานฝ่ายบุคคล
ด้านการขายจะกลายเป็นโซลูชั่น Microsoft Relationship Sales ที่เชื่อม LinkedIn Sales Navigator เข้ากับ Dynamics 365 for Sales เพื่อจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ขณะที่งานด้านฝ่ายบุคคลจะเชื่อม Dynamics 365 for Talent เข้ากับ LinkedIn's Recruiter and Learning เพื่อบริการบุคคลากรในองค์กร
Microsoft Relationship Sales คิดค่าบริการ 135 ดอลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน โซลูชั่นทั้งสองจะเริ่มเปิดบริการจริงเดือนกรกฎาคมนี้
สงครามซอฟต์แวร์ CRM ระหว่างรายใหญ่ Salesforce, Oracle และ Microsoft Dynamics CRM รอบใหม่ จบลงด้วยชัยชนะของไมโครซอฟท์ ที่สามารถชิงลูกค้ารายใหญ่อย่าง HP ให้เปลี่ยนระบบงานขายเดิมที่ใช้ Salesforce/Oracle มาเป็น Dynamics แทนได้สำเร็จ
HP มีทีมเซลส์ประมาณ 6,500 คน และทีมซัพพอร์ต 20,000 คน (จากพนักงานทั้งหมด 50,000 คน) พนักงานเหล่านี้จะเปลี่ยนมาใช้ Dynamics แทน โดยเซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์นาน 6 ปี
เดิมทีทีมเซลส์ของ HP ใช้ระบบ Salesforce ส่วนทีมซัพพอร์ตใช้ Oracle ซึ่งถือเป็นสองระบบที่แตกต่างกัน ผู้บริหารของ HP ระบุว่าการเปลี่ยนมาใช้ Dynamics เพียงตัวเดียวช่วยลดความซับซ้อนของระบบงานลง ช่วงนี้ HP กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบงานภายในของตัวเอง หลังแยกตัวจาก HPE ที่ทำธุรกิจไอทีฝั่งองค์กร
ไมโครซอฟท์ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจในตระกูล Dynamics ที่เดิมทีมีเฉพาะ ERP และ CRM โดยยกระดับเป็นแบรนด์ใหม่ชื่อ Microsoft Dynamics 365
รูปแบบของ Dynamics 365 เหมือนกับ Office 365 คือเป็นบริการบนคลาวด์ เก็บค่าสมาชิกเพื่อใช้งาน แต่ไมโครซอฟท์จะขยายขอบเขตไปยังแอพพลิเคชันธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การขาย การตลาด การบริการลูกค้า ฯลฯ (ลักษณะเดียวกับ Salesforce หรือ Oracle ทำอยู่) แอพพลิเคชันแต่ละตัวถูกออกแบบมาให้ใช้งานเดี่ยวๆ ได้ ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อทั้งชุด แต่ก็ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
ปีที่แล้วไมโครซอฟท์โชว์ Dynamics AX7 ซอฟต์แวร์ ERP รุ่นใหม่ มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อคืนนี้ไมโครซอฟท์ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว Microsoft Dynamics AX รุ่นล่าสุดอย่างเป็นทางการ
Dynamics AX เป็นซอฟต์แวร์ ERP สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (enterprise) ความสามารถเด่นของ AX รุ่นล่าสุดคือออกแบบมาสำหรับคลาวด์เป็นหลัก (cloud-first) และใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นของไมโครซอฟท์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Office 365, Power BI, Cortana Analytics Suite, Dynamics CRM
Microsoft Dynamics CRM 2016 ออกตัวจริง (สถานะเป็น GA หรือ general availability) เรียบร้อยแล้ว หลัง เปิดตัวซอฟต์แวร์รุ่นนี้ในเดือนกันยายน
ฟีเจอร์ใหม่ของ Dynamics CRM 2016 ปรับปรุงทั้งอินเทอร์เฟซเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์พกพา, ปรับปรุงระบบการวิเคราะห์ข้อมูลให้ฉลาดและแม่นยำมากขึ้น, รองรับการทำงานร่วมกับ Office 365/SharePoint/Outlook/OneDrive ได้ดีกว่าเดิม, ออกแบบให้ทำงานเป็นระบบ CRM ตัวเดียวครบวงจร (unified service) กับทั้งงานขายและงานบริการลูกค้า
รายละเอียดของฟีเจอร์ใหม่อ่านได้จากข่าวเก่า ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Dynamics CRM 2016
- Read more about Microsoft Dynamics CRM 2016 ออกตัวจริงแล้ว
- Log in or register to post comments
ในงานแถลงข่าว Microsoft Dynamics ที่ประเทศสิงคโปร์ ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ไมโครซอฟท์เชิญตัวแทนจากทีมรถแข่ง Lotus F1 (ที่ไมโครซอฟท์เป็นพันธมิตรและสปอนเซอร์) มาเล่าเบื้องหลังระบบไอทีที่ทีม F1 ใช้กัน ซึ่งเป็นของแปลกที่หาฟังได้ยากครับ
งานนี้เราได้คุณ Thomas Mayerซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของทีม Lotus F1 (ชื่อเดิมคือ Benetton และ Renault) มาเล่ากระบวนการทำงานของทีม F1 ให้ฟังกันว่าเขาทำงานกันอย่างไร
ซอฟต์แวร์ในชุด Microsoft Dynamics มีทั้งฝั่ง CRM ( Dynamics CRM 2016 ) และฝั่ง ERP ซึ่งแยกย่อยเป็นผลิตภัณฑ์หลายตัวตามขนาดและภูมิภาคขององค์กร วิธีการเรียกรุ่นของไมโครซอฟท์คือเพิ่มตัวย่อห้อยท้าย เช่น Dynamics AX จับตลาดองค์กรขนาดใหญ่, Dynamics NAV สำหรับองค์กรขนาดกลาง และ Dynamics GP สำหรับองค์กรขนาดเล็ก เป็นต้น (ที่มาของตัวย่อมาจากชื่อเดิมของซอฟต์แวร์แต่ละตัว)
ในงานแถลงข่าวเรื่อง Microsoft Dynamics ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ก็นำตัวท็อป Dynamics AX รุ่นใหม่ล่าสุด AX7 มาโชว์บ้างเล็กน้อย ก่อนเปิดตัวจริงในเดือนธันวาคม
ผมได้รับคำเชิญจากไมโครซอฟท์เอเชีย ไปร่วมงานเปิดตัว Microsoft Dynamics CRM 2016ที่ประเทศสิงคโปร์ เลยเก็บข้อมูลมาฝากกันครับ
อย่างแรกเลยต้องเริ่มจากการอธิบาย Dynamics ซึ่งน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ตัวที่คนรู้จักค่อนข้างน้อย (เมื่อเทียบกับพวก Windows/Office) แบรนด์ Dynamics เป็นชื่อซอฟต์แวร์ฝั่งองค์กรของไมโครซอฟท์ที่ทำมานานพอสมควร โดยแยกออกเป็น 2 สายใหญ่ๆ คือ CRM (customer relationship management) และ ERP (enterprise resource planning)
ฝั่งของ CRM ไมโครซอฟท์ตั้งชื่อตรงไปตรงมาว่า Dynamics CRMส่วนฝั่ง ERP จะซับซ้อนกว่าหน่อยเพราะแยกเป็นหลายรุ่นย่อยตามขนาดองค์กร สำหรับโพสต์นี้จะเป็นเรื่องของ CRM ก่อน ส่วน ERP จะแยกเป็นอีกโพสต์หนึ่งครับ
- Read more about ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Dynamics CRM 2016
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ออกซอฟต์แวร์จัดการความสัมพันธ์ลูกค้า Microsoft Dynamics CRM 2015 ตัวจริง ตามแผนเดิมที่ประกาศไว้ ของใหม่ที่สำคัญในรุ่นนี้คือการผนวกฟีเจอร์สั่งงานด้วยเสียง Cortana ส่วนฟีเจอร์อย่างอื่นเน้นไปที่การเชื่อมทีมการตลาดกับทีมขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างฟีเจอร์ใหม่ได้แก่
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Dynamics CRM 2015 ซึ่งมากับลูกเล่นใหม่คือ Cortana (ที่มากับ WP8.1 และ Windows 10 ในอนาคต) ทำให้ผู้ใช้สามารถสั่งการด้วยเสียงให้จัดประชุม ตั้งแจ้งเตือน สร้างโปรไฟล์ลูกค้าใหม่ ค้นหารายชื่อลูกค้าและข้อมูลอื่นๆ ได้
บริษัทจะวางขาย Dynamics CRM 2015 ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป มีทั้งรุ่นกลุ่มเมฆและรุ่นติดตั้งในองค์กรครับ
ที่มา: ZDNet
ไมโครซอฟท์บุกตลาดองค์กรด้วยการเอาใจนักพัฒนาให้สามารถเข้าใช้งาน Dynamics CRM Online 2013 ได้ฟรี โดยมีเงื่อนไขเดียวคือต้องซื้อไลเซนส์ผู้ใช้ระดับ professional อยู่ 25 ไลเซนส์ขึ้นไป (ราคาตอนนี้ไลเซนส์ละ 65 ดอลลาร์ต่อไลเซนส์ต่อเดือน)
องค์กรที่ซื้อไลเซนส์อยู่แล้วจะสามารถสร้าง instance แบบ non-production ได้ฟรี และได้รับพื้นที่เก็บข้อมูล 2.5 GB ต่อจำนวนไลเซนส์ 20 ไลเซนส์ และได้สูงสุดไม่เกิน 50 GB
ทุกวันนี้การสร้าง instance สำหรับการพัฒนามีค่าใช้จ่าย 150 ดอลลาร์ต่อเดือน และค่าพื้นที่เก็บข้อมูลอีก 9.99 ดอลลาร์ต่อ GB ต่อเดือน แนวทางแจกเครื่องพัฒนาฟรีสำหรับลูกค้าเดิมน่าจะช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายไอทีตัดสินใจกันง่ายขึ้น
ปัญหาสำคัญในระดับ dilemma ของไมโครซอฟท์บนโลกแห่งกลุ่มเมฆก็คือ โปรแกรมหากินของตัวเองเกือบทั้งหมดเป็น native ทำให้การขยับไปยังกลุ่มเมฆอาจจะไปกินรายได้จากตลาดเดิม
ดังนั้นถึงแม้ไมโครซอฟท์จะมีแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆ Azure ที่แข็งแกร่ง และโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอกมาสร้างแอพบน Azure อย่างต่อเนื่อง แต่นับกันจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์กลับมีแอพของตัวเองบน Azure ไม่เยอะนัก ซึ่งตรงนี้จะต่างไปจากกูเกิลที่นิยมสร้างแอพเล็กๆ เฉพาะทางของตัวเองไว้บน App Engine อยู่เรื่อยๆ
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลบนเวทีงานสัมมนา Convergence 2012 ว่าเราจะได้เห็น Kinect เวอร์ชันที่ใช้ในการทำงานในเดือนหน้า มีนาคม 2012
ตัวอย่างการใช้ Kinect ในโลกธุรกิจได้แก่ การคุมระบบคอมพิวเตอร์ในโกดัง ที่พนักงานต้องสวมถุงมือตลอดเวลา ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ยาก หรือในร้านอาหารที่พนักงานต้องสวมถุงมือเพื่อทำอาหารให้ลูกค้า และต้องถอดถุงมือเพื่อมากดปุ่มบนเครื่องคิดเงิน เป็นต้น การนำ Kinect เข้ามาช่วยจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
Kinect for Workplace (ชื่อจริงอาจเป็นอย่างอื่น) จะทำตลาดใต้แผนก Microsoft Dynamics โดยขายร่วมกับซอฟต์แวร์ CRM นั่นเอง
ที่มา - ReadWriteWeb
- Read more about ไมโครซอฟท์จะออก Kinect for Workplace เดือนมีนาคม
- 7 comments
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์เตรียมออกซอฟต์แวร์ CRM องค์กร Dynamics CRM รุ่นอัพเดตในไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยฟีเจอร์ที่สำคัญคือ "แอพ" แบบ native บนแพลตฟอร์มมือถือหลายยี่ห้อ
- Read more about Microsoft Dynamics CRM ออกแอพบนมือถือหลายแพลตฟอร์ม
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ออกซอฟต์แวร์ CRM องค์กรรุ่นใหม่ Dynamics CRM 2011 (รุ่นก่อนคือ 4.0 ออกปี 2007 รุ่นนี้ถือเป็น 5.0)
การเปลี่ยนแปลงหลักของรุ่น 2011 คือเปลี่ยนมาใช้ Ribbon ตามธรรมเนียมของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์รุ่นใหม่ๆ แต่จุดที่สำคัญกว่าคือ "การแบ่งรุ่น" ของ Dynamics CRM ซึ่งแต่เดิมเป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งภายในองค์กรเป็นหลัก มาคราวนี้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเปิดตัว Dynamics CRM รุ่นกลุ่มเมฆก่อน (อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ เรียกว่า Microsoft Dynamics CRM Online) แล้วถึงจะปล่อยรุ่นติดตั้งในองค์กรตามมาช่วงสิ้นเดือน ก.พ.