เป็นไปตาม ข่าวลือ เมื่อวันก่อน Uber ประกาศเข้าซื้อกิจการของคู่แข่งในพื้นที่ตะวันออกกลาง Careem มูลค่ารวม 3,100 ล้านดอลลาร์ โดยแบ่งเป็นเงินสด 1,400 ล้านดอลลาร์ และหุ้นกู้แบบแปลงสภาพ 1,700 ล้านดอลลาร์
Careem จะยังดำเนินงานภายใต้แบรนด์เดิม และทีมผู้ก่อตั้งจะยังบริหารงานต่อไปตามปกติ
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Uber เตรียมประกาศเข้าซื้อกิจการ Careem Network บริการแชร์รถโดยสาร ซึ่งเป็นคู่แข่งในพื้นที่ตะวันออกกลาง ด้วยมูลค่าดีลที่สูงถึง 3,100 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบแสนล้านบาท โดยดีลจะมีการประกาศเป็นทางการภายในสัปดาห์นี้
Careem มีมูลค่ากิจการล่าสุดราว 1,000 ล้านดอลลาร์ จากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดเมื่อปี 2016 โดยมีผู้ลงทุนสำคัญคือกองทุนของเจ้าชายซาอุฯ Al-Waleed bin Talal และ Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่น โดย Careem เป็นสตาร์ทอัพจากดูไบ ให้บริการแชร์รถโดยสารในโซนตะวันออกกลางใน 15 ประเทศ 90 เมือง
มีรายงานว่า Uber ได้เริ่มเจรจากับ Careem แอพแชร์รถแท็กซี่ท้องถิ่น ซึ่งให้บริการอยู่ในพื้นที่ประเทศแถบตะวันออกกลาง เพื่อควบรวมกิจการกัน แต่ดีลนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
ข้อเสนอของ Uber นั้นมีทั้ง จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาร่วมกัน หรือ Uber อาจซื้อกิจการ Careem ทั้งหมดเลย โดยเบื้องต้น Uber ต้องการให้ Careem เป็นผู้ดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป ส่วน Uber เป็นผู้ถือหุ้น
หากดีลนี้เกิดขึ้นจึง จะเป็นการขายกิจการครั้งล่าสุด ต่อเนื่องจาก จีน , รัสเซีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดการแข่งขันกับผู้ให้บริการท้องถิ่น
ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เคยสั่ง ห้ามผู้โดยสารสายการบินตะวันออกกลางถืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ขึ้นเครื่อง ซึ่งมีผลกับเที่ยวบินที่ออกจากสนามบินในตะวันออกกลางทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่ Dubai, Abu Dabi และ Dohar ที่เป็นฮับสำคัญด้วย แต่ล่าสุดทางการสหรัฐฯ ก็ได้ออกคำสั่งใหม่โดยยกเว้นเฉพาะผู้โดยสารที่บินกับสายการบิน Etihad, Emirates และ Turkish เท่านั้น
คณะบริหารรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งแบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่ผู้โดยสารนำขึ้นเครื่องเข้าประเทศ โดยสั่งห้ามเฉพาะสายการบินที่มาจาก 8 ประเทศในตะวันออกกลาง และประเทศในแอฟริกาเหนือเท่านั้น
คำสั่งดังกล่าวทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถนำ iPad โน้ตบุ๊ค และกล้องขึ้นเครื่องมาสหรัฐฯได้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสายการบินอย่างน้อยประมาณ 12 สายการบิน กระทบสนามบิน 10 แห่ง และเชื่อว่าจะกระทบประเทศ จอร์แดน อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย และอาหรับเอมิเรตส์
เหตุผลที่สั่งห้ามยังไม่ชัดเจน สำนักข่าว Independent ระบุว่ายังไม่มีเจ้าหน้าที่ราชการคนไหนให้สัมภาษณ์ แต่คาดว่านโยบาย รายละเอียดและเหตุผลจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้
เว็บไซต์ข่าว Daily News Egypt ของอียิปต์ รายงานว่า Huawei กำลังเจรจากับรัฐบาลอียิปต์ เพื่อเปิดโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนในบริเวณคลองสุเอซ โดยมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการผลิตสินค้าป้อนตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลางที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
Huawei ระบุว่าการตั้งโรงงานในอียิปต์อาจมีต้นทุนแรกเริ่มสูง แต่ในระยะยาวจะลดค่าใช้จ่ายจากการนำเข้าสมาร์ทโฟนที่ผลิตในเอเชียลงได้
ช่วงหลัง Huawei ถือเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่มาแรงมาก โดยเฉพาะในตลาดกลาง-ล่าง ที่มีแบรนด์ลูก Honor ออกมาจับตลาดประเทศกำลังพัฒนา
ที่มา - 9to5google
โครงการ Android One ยังคงขยายไปยังประเทศใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง หลังจากเริ่มบุกแถบตะวันออกกลางไปบางส่วนเมื่อหลายเดือนก่อน ตอนนี้ขยับเข้าไปลึกขึ้นอีกด้วยการเข้าไปเปิดตัวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้ว
สำหรับแบรนด์ที่กูเกิลพันธมิตรไปขาย Android One ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะเป็น Infinix เจ้าเดียวกับที่เคยร่วมมือกันเปิดตัว Infinix Hot 2 ในแอฟริกามาก่อน สเปคเหมือนกันเป๊ะ ดังนี้
ยักษ์ออนไลน์จีน Baidu เริ่มบุกตลาดนอกจีน โดยเริ่มต้นจากเบราว์เซอร์มือถือ Baidu Mobile ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว
Baidu เซ็นสัญญากับ Orange โอเปอเรเตอร์สัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งประกอบธุรกิจมือถือในประเทศแถบแอฟริกา-ตะวันออกกลางหลายแห่ง แถม Baidu Mobile ไปกับมือถือ Android ที่ Orange วางขายในภูมิภาคนี้ (เริ่มจากอียิปต์เป็นประเทศแรก)
Baidu ให้สัมภาษณ์ว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองประสบความสำเร็จในประเทศจีน และหวังจะนำประสบการณ์นี้ขยายผลไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ต่อไป โดยคราวนี้ Baidu แปลภาษาในเบราว์เซอร์ของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษและอารบิกด้วย (เวอร์ชันภาษาฝรั่งเศสกำลังตามมา)
Orange ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมจากฝรั่งเศส ประกาศจับมือกับ Wikimedia Foundation ทำโครงการ CSR ให้ลูกค้าของ Orange ที่อยู่ในแอฟริกาและตะวันออกกลาง โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะไม่เสียค่า mobile data ในส่วนของทราฟฟิกที่เปิด Wikipedia บนมือถือ
Orange มีธุรกิจมือถืออยู่ในภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลางจำนวน 20 ประเทศ และมีลูกค้าในภูมิภาคนี้กว่า 70 ล้านราย ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ Wikipedia ที่ต้องการผลักดันให้คนเข้าเว็บผ่านทางมือถือมากขึ้น เพื่อขยายฐานผู้อ่านหน้าใหม่ๆ เพิ่มเติม
ผู้บริหารของ Orange ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทต้องการให้คนในประเทศเหล่านี้สามารถ "เข้าถึง" สารสนเทศบน Wikipedia ได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้รัฐบาลของประเทศอย่างบาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย หรือเยเมน สามารถเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่อะไรอื่นครับ เทคโนโลยีจากโลกตะวันตกนี่เอง
ข่าวบอกว่าบริษัทด้านความปลอดภัยดัง ๆ ในสหรัฐฯ และแคนาดา เช่น McAfee, Blue Coat, Netsweeper และ Websense ต่างก็มีลูกค้าเป็นรัฐบาลที่มีการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวดทั้งนั้น ซึ่งก็ดูขัดกับที่ Hilary Clinton เคยกล่าวประณามการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตไว้เมื่อปีที่แล้ว
ว่าแต่ ISP บ้านเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเจ้าไหนครับ
ที่มา - The Wall Street Journal
สายเคเบิลใยแก้วนำแสงทางเหนือของเมืองอเล็กซานเดรียของประเทศอียิปต์เกิดขาดลง เมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมา สร้างความเดือนร้อนให้กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวงกว้าง เนื่องจากสายเคเบิลดังกล่าวเป็นโครงข่ายหลักของนานาประเทศ เช่น บังกลาเทส, ปากีสถาน, อียิปต์, อินเดีย, กาตาร์, ซาอุดี อารเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, คูเวต, และบาห์เรน
ประเทศที่ดูจะเดือดร้อนที่สุดในประเด็นนี้คงเป็นอินเดียที่อุตสาหกรรมหลักของประเทศคือการเอาซอร์สบริการต่างๆ เช่น คอลเซ็นเตอร์ และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ต้องการการสื่อสารไปยังทางฝั่งยุโรป โดยสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในอินเดียระบุว่าประมาณแบนด์วิดท์รวมของอินเดียนั้นลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวของปริมาณปรกติ