เรื่องมีอยู่ว่า Pralhad Joshi หัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในอินเดีย เปิดเผย ว่าทางหน่วยงานได้แจ้งเตือนบริษัทผู้ให้บริการแอปเรียกรถแท็กซี่ทั้ง Uber และ Ola ที่เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ในประเทศ ให้หยุดการทำราคาแยกกันสองระบบหลังตรวจสอบพบ
ก่อนหน้านี้มีรายงานจากสื่อท้องถิ่นอินเดีย พบว่าแอปเรียกรถแท็กซี่เหล่านี้ใช้วิธีตั้งราคาสำหรับผู้ใช้ iPhone สูงกว่า แม้เป็นเส้นทางเดียวกันเวลาเดียวกัน เมื่อเทียบกับราคาที่แสดงบนแอปของคนใช้ Android ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลของอินเดียลงมาสอบสวน และสั่งให้ตรวจสอบแอปลักษณะเดียวกัน เช่น บริการสั่งอาหาร จองบัตรชมกิจกรรม ว่าใช้วิธีตั้งราคาสองแบบเช่นนี้ด้วยหรือไม่
Bolt แอปเรียกรถแท็กซี่และส่งอาหารเดลิเวอรี เปิดเผยว่าบริษัทมีรายได้ย้อนหลัง 12 เดือน มากกว่า 2 พันล้านยูโรแล้ว
Bolt เป็นสตาร์ทอัปจากเอสโตเนีย ปัจจุบันให้บริการมากกว่า 50 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย โดยส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและแอฟริกา
Markus Villig ซีอีโอของ Bolt บอกว่ามากกว่า 20 ประเทศ ที่บริษัทดำเนินการมีส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับ 1 โดยปัจจุบันมีบริการทั้ง รถแท็กซี่, สกูตเตอร์, เช่าจักรยานไฟฟ้า, เดลิเวอรีทั้งอาหารและสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เขายังให้ความเห็นของเทรนด์รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไม่มีคนขับ ว่าเป็นโอกาสสำคัญของแอปเรียกรถแท็กซี่ เนื่องจากมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมและการนำมาใช้งานมากกว่าคนอื่น
ราคาหุ้นของ Tesla ปรับลดลง 8.78% เมื่อคืนนี้ที่ 217.80 ดอลลาร์ต่อหุ้น หลังการเปิดตัวแท็กซี่ไร้คนขับ (Robotaxi) ในชื่อ Cybercab ขณะเดียวกันหุ้นบริการเรียกรถแท็กซี่อย่าง Uber และ Lyft ซึ่งราคาหุ้นปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมาจากความกังวลของรถแท็กซี่ไร้คนขับ Tesla ก็ปรับเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 10% เมื่อคืนนี้
John Colantuoni นักวิเคราะห์จาก Jefferies ให้ความเห็นว่า Tesla ให้แต่เป้าหมายที่บริษัทต้องการไปถึง แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลประกอบที่สำคัญ ทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ L3 ตลอดจนแผนเข้าสู่ตลาดรถแท็กซี่ที่จะสามารถเจาะตลาดของคู่แข่งได้
GoTo บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ประกาศปิดส่วนธุรกิจในเวียดนาม มีผลตั้งแต่ 16 กันยายน 2024 เป็นต้นไป โดยจะโฟกัสเฉพาะตลาดที่บริษัทยังรักษาการเติบโตได้คืออินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนธุรกิจของ GoTo ให้มีกำไรภายในปีการเงิน 2024
ทั้งนี้ GoTo เป็นบริษัทที่เกิดการรวมกิจการของ Gojek และ Tokopedia ซึ่ง Gojek นั้นเคย ให้บริการในไทย ช่วงหนึ่งในชื่อ GET ก่อนจะ ขายธุรกิจให้แอร์เอเชีย
Uber และ BYD ประกาศความร่วมมือเป็นระยะเวลาหลายปี โดยวางแผนนำยานยนต์ไฟฟ้าของ BYD 1 แสนคัน มาใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Uber ในหลายประเทศหลักที่ Uber ทำตลาดอยู่ โดยช่วงแรกจะเน้นที่ภูมิภาคยุโรปและลาตินอเมริกา แล้วจะขยายไปยังตะวันออกกลาง, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ตามแผนที่ประกาศ Uber จะให้การสนับสนุนด้านการเงินในการเป็นเจ้าของรถ BYD กับผู้ขับรถบนแพลตฟอร์ม ซึ่งนอกจากสินเชื่อแล้ว ยังมีส่วนลดการชาร์จไฟฟ้า, ส่วนลดการบำรุงรักษา และประกันภัยอีกด้วย
Bolt แอปเรียกรถโดยสารจากเอสโตเนีย ประกาศรับเงินทุนรอบใหม่ 220 ล้านยูโร ในรูปแบบของสินเชื่อหมุนเวียน ที่บริษัทสามารถเบิกถอนและชำระคืนได้ตลอด ซึ่งบริษัทบอกว่าเพื่อนำมาเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน รองรับการเติบโต
Bolt บอกว่าวงเงินสินเชื่อนี้มาจากธนาคารหลายแห่ง ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งถูกพิจารณาวงเงินจากสภาพคล่องและฐานะการเงินบริษัท
Markus Villig ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bolt กล่าวว่าวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนนี้เป็นก้าวสำคัญของ Bolt เพราะทำให้สถานะการเงินบริษัทแข็งแกร่งมั่นคงขึ้นไปอีก เสริมความพร้อมในการนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้นต่อไป
ปัจจุบัน Bolt ให้บริการในกว่า 45 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปและแอฟริกา โดยมีให้บริการในประเทศไทยด้วย
ในแถลง ผลประกอบการของ Tesla ไตรมาสที่ผ่านมา Tesla ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของ บริการรถแท็กซี่ไร้คนขับ (Robotaxi) ที่ซีอีโอ Elon Musk เคยบอกว่ากำหนดเปิดตัววันที่ 8 สิงหาคม
โดย Tesla นำเสนอภาพหน้าจอภายในแอป Tesla ซึ่งเป็นฟีเจอร์บริการเรียกรถไร้คนขับ ที่จะออกมาในอนาคต ภาพแรกเป็นปุ่มเรียกรถเขียนว่า "Summon", ภาพที่สอง เป็นภาพแผนที่เส้นทาง 3D บอกเส้นทางและเวลาไปรับรถตามตำแหน่ง, ภาพที่สาม ตั้งค่าอุณหภูมิภายในรถที่ต้องการ, ภาพที่สี่ รายละเอียดคำสั่งเรียกรถ และภาพสุดท้ายเป็นรายละเอียดขณะเดินทาง ซึ่งมีฟังก์ชันเล่นเพลงด้วย
Ola แพลตฟอร์มเรียกรถแท็กซี่แบบออนดีมานด์จากอินเดีย เตรียมถอนการดำเนินธุรกิจนอกประเทศอินเดียทั้งหมด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งประเทศนี้เหล่านี้ Ola ได้เข้าไปทำตลาดมาตั้งแต่ปี 2018
โฆษกของ Ola ยืนยันแผนถอนธุรกิจนอกประเทศอินเดีย โดยบอกว่าอนาคตของรถยนต์จากนี้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้บริการแอปเรียกรถมีโอกาสเติบโตอีกมหาศาลในอินเดีย บริษัทจึงตัดสินใจโฟกัสที่ตลาดอินเดียอย่างเดียว และปิดธุรกิจในต่างประเทศที่ดำเนินงานในปัจจุบันทั้งหมด
TADA (ทาดา) แพลตฟอร์มเรียกรถแบบไม่มีคำคอมมิชชั่น ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ ประกาศเปิดตัวบริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยแล้ว หลังได้รับความนิยมและสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 2 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศสิงคโปร์ 5 ปี และขยายบริการมาสู่กัมพูชา, เวียดนาม และล่าสุดประเทศไทย
ค่าบริการของ TADA จะอิงค่าโดยสารจากกฎหมายกรมขนส่งทางบกเป็นหลัก ในช่วงแรก TADA จะเปิดบริการในกรุงเทพฯ ก่อน แล้วจะขยายบริการไปสู่จังหวัดนนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรถยนต์ให้บริการ 4 ระดับคือ AnyTADA, Economy, Economy Large, Premium และ Taxis มีเป้าหมายจะเพิ่มบริการจักรยานยนต์ และขยายบริการไปยังต่างจังหวัดในประเทศไทยภายในปี 2024
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Grab และ GoTo ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร ได้กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง โดยตอนนี้การหารือยังเป็นขั้นต้น เพื่อพิจารณารูปแบบการควบรวมที่เป็นไปได้
ในรายงานบอกว่าแนวทางที่เสนอตอนนี้ เช่น Grab ซื้อกิจการ GoTo โดยจ่ายเป็นเงินสด, จ่ายเป็นหุ้น หรืออาจเป็นการรวมสองบริษัทเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการทำข้อตกลงแยกแบรนด์ทำตลาดแต่ละประเทศ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ GoTo ได้ปิดดีลให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อย Tokopedia เพื่อให้บริการอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ทำให้ GoTo มีธุรกิจที่ยังเป็นเจ้าของหลักคือ บริการทางการเงิน GoTo Financial และบริการเรียกรถ-ส่งอาหาร Gojek
- Read more about [ลือ] Grab และ GoTo กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง
- Log in or register to post comments
Uber บริการเรียกรถและส่งอาหารรายใหญ่ ได้ทดสอบบริการเรียกรถโดยสารตัวใหม่ในอินเดียชื่อว่า Uber Flex โดยเริ่มทดลองใช้งานใน 12 เมืองของอินเดียก่อน
วิธีตั้งราคาของ Uber Flex นั้น จะให้ผู้โดยสารกดเลือก "เสนอราคา" ค่าโดยสารที่ตนต้องการสำหรับการเดินทาง ซึ่ง Uber จะให้ราคามา 9 ตัวเลือก พร้อมบอกว่าราคาไหนคือราคาแนะนำหากเดินทางแบบปกติ ไม่เลือก Flex ซึ่งตัวเลือกราคานั้นมีทั้งราคาที่แพงกว่า และราคาที่ต่ำกว่า จากนั้นผู้ขับรถหากตกลงกับราคาที่เสนอก็เริ่มการเดินทางได้
Grab ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของ Trans-cab ผู้ให้บริการรถแท็กซี่รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2003 มีรถยนต์ในฟลีตมากกว่า 2,500 คัน โดยดีลดังกล่าวรวมธุรกิจอื่นของ Trans-cab เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงรถ บริการเช่ารถส่วนตัว เข้ามาด้วย
Yee Wee Tang ผู้บริหาร Grab สิงคโปร์ พูดถึงดีลดังกล่าวว่าเป็นการจับคู่ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทำให้จำนวนคนขับรถบนแพลตฟอร์มมีมากขึ้น รองรับความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ The Straits Times อ้างแหล่งข่าวว่าอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านดอลลาร์
มีรายงานจากสำนักข่าวรัสเซีย @runews ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนแฮ็กระบบของแอพเรียกรถ Yandex Taxi และสั่งให้แท็กซี่ที่ว่างอยู่ตอนนั้นไปรวมตัวกันที่ถนน Kutuzovsky Prospekt กลางกรุงมอสโก และเกิดภาวะจราจรติดขัดบริเวณนั้น
โฆษกของ Yandex ยืนยันการแฮ็กระบบครั้งนี้จริง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าถูกโจมตีได้อย่างไร บอกแค่ว่าภาวะการจราจรคลี่คลายภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
เหตุการณ์นี้อาจคล้ายๆ กับภาพยนตร์ The Fate of the Furious (Fast and Furious ภาค 8) ที่ตัวละครในหนังสร้างภาวะรถติดในนครนิวยอร์กด้วยการแฮ็กระบบรถยนต์ แต่กรณีการแฮ็ก Yandex ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดจากแอพเรียกรถลักษณะนี้
Lyft แอปเรียกรถแท็กซี่ที่เน้นทำตลาดในอเมริกาและเป็นคู่แข่งของ Uber ประกาศตั้งกลุ่มธุรกิจใหม่ Lyft Media เพื่อดูแลงานด้านสื่อและโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของบริษัท
โดยระบบโฆษณาของ Lyft นั้น จะพ่วงไปกับบริการต่าง ๆ ได้แก่ Lyft Halo ป้ายโฆษณาติดบนรถยนต์ ที่มาจากการ ซื้อกิจการเมื่อปี 2020 , Lyft Tablets แท็บเล็ตแสดงข้อมูลการโดยสารในรถยนต์ โดยขายโฆษณาไปกับรายการวิทยุที่ร่วมมือกับ iHeartRadio, Lyft Bikes ติดตั้งป้ายโฆษณาในจุดจอดรถจักรยาน และ Lyft Skins ซึ่งเป็นการขายสื่อโฆษณาให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อแสดงผลแบบเป็นลูกเล่นในแอป
Huawei เปิดตัว HarmonyOS 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเดตล่าสุด ที่รองรับอุปกรณ์ทุกชนิดตั้งแต่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต รถยนต์ อุปกรณ์ในบ้าน และอื่น ๆ โดยจะเปิดให้อัพเดตทั่วไปตั้งแต่เดือนกันยายนนี้
ฟีเจอร์อัพเดตต่าง ๆ เป็นการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ที่รัน HarmonyOS 3 ด้วยกัน แต่มีฟีเจอร์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ คือการเพิ่มแอปสำหรับเรียกรถโดยสาร ที่ Huawei เป็นผู้พัฒนาเองในชื่อ Petal Chuxing ที่เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายต่าง ๆ อีกที ซึ่งในช่วงแรกจะให้บริการเฉพาะในเมืองใหญ่ของจีน
Uber ประกาศ ว่าได้รับการต่อใบอนุญาตให้บริการในพื้นที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อไปอีก 30 เดือน (2 ปีครึ่ง) หลังจาก ได้รับใบอนุญาต ระยะเวลา 18 เดือน ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายน 2020 ซึ่งใบอนุญาตใกล้ครบกำหนดแล้ว
Uber บอกว่ารู้สึกยินดีที่ได้รับอนุญาตให้บริการต่อ พร้อมบอกว่าจะปฏิบัติตามมาตรฐานข้อกำหนดของ TfL หน่วยงานกำกับดูแลการคมนาคมของลอนดอน ที่มีความเข้มงวดสูง พร้อมบอกเป้าหมายว่าจะใช้ยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2025
- Read more about Uber ได้รับอนุญาตให้บริการในลอนดอน ต่อออกไปอีก 30 เดือน
- Log in or register to post comments
Uber บรรลุข้อตกลงร่วมกับแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้ โดยทาง Uber จะเปิดให้เรียกแท็กซี่ของนิวยอร์กผ่านแอปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Uber จะนำข้อมูลจากผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แท็กซี่ที่ได้ใบอนุญาตจาก Taxi and Limousine Commission (TLC) ของนิวยอร์กซิตี้ ได้แก่ Creative Mobile Technologies และ Curb Mobility ที่มีแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้บนแพลตฟอร์มกว่า 14,000 คันมาแสดงบนแอป Uber
Bolt แอปเรียกรถแท็กซี่จากเอสโตเนีย ซึ่งเน้นทำตลาดในยุโรป ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 628 ล้านยูโร (ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท) นำโดย Sequoia และ Fidelity Management ทำให้มูลค่ากิจการของ Bolt เพิ่มเป็น 7,400 ล้านยูโร (ประมาณ 2.8 แสนล้านบาท)
Markus Villig ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Bolt กล่าวว่าจะนำเงินทุนก้อนนี้มาใช้ขยายธุรกิจ และปรับปรุง ทั้งบริการรถโดยสารและเดลิเวอรี โดยตอนนี้ตลาดหลักของ Bolt มีใน 45 ประเทศ 400 เมือง ในยุโรปและแอฟริกา
สำหรับประเทศไทย Bolt เริ่มทดสอบให้บริการแล้วใน กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
Waymo บริษัทรถยนต์ไร้คนขับภายใต้ Alphabet ประกาศร่วมมือกับ Geely ผู้ผลิตรถยนต์จากจีนเพื่อพัฒนารถยนต์ไร้คนขับแบบไฟฟ้าร่วมกัน และเตรียมนำมาให้บริการแท็กซี่ไร้คนขับ
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Waymo จะอินทิเกรตระบบ Waymo Driver ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Waymo เข้ากับรถยนต์ไฟฟ้า Zeekr ของ Geely สำหรับใช้งานในตลาดสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะนำรถยนต์ Zeekr เข้ามาใช้งานในฟลีตรถแท็กซี่ไร้คนขับ Waymo One และถือเป็นก้าวสำคัญของเป้าหมายที่ต้องการให้ฟลีต Waymo One เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
Uber ในอินเดียประกาศเพิ่มบริการจองรถโดยสาร ผ่าน WhatsApp ซึ่งเป็นแอพแชตที่คนอินเดียนิยมใช้กันมากที่สุด และเป็นครั้งแรกที่ Uber ให้บริการจองรถผ่านระบบแชตแบบนี้เช่นกัน
ขั้นตอนการจองรถโดยสารนั้น ผู้ใช้งานต้องทำผ่านบัญชีทางการของ Uber ใน WhatsApp ซึ่งเป็นแชตบอต โดยไม่ต้องโหลดแอพ Uber เพิ่มเติม ข้อมูลที่ต้องแจ้งได้แก่จุดรับ จุดส่ง และระบบจะแจ้งราคาค่าโดยสารเบื้องต้น พร้อมบอกระยะเวลาที่คนขับจะเดินทางมาถึง ส่วนฝั่งคนขับนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกอย่างยังทำงานผ่านแอป Uber แบบเดิม
บริการนี้ Uber จะเริ่มทดสอบที่เมือง Lucknow เป็นที่แรก และจะขยายไป New Delhi และเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศอินเดียต่อไป
- Read more about Uber อินเดีย เพิ่มบริการจองรถผ่านการแชตใน WhatsApp
- 1 comment
- Log in or register to post comments
CNBC รายงานว่า Ola สตาร์ทอัพบริการเรียกรถแท็กซี่ของอินเดีย เตรียมยื่นไฟลิ่งเพื่อนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายที่ตลาดหุ้นในประเทศ โดยคาดมีการขายหุ้นเพิ่มทุนมูลค่าราว 1,000 ล้านดอลลาร์
Ola มีผู้ถือหุ้นรายสำคัญคือกลุ่ม SoftBank ซึ่งในปีนี้มีหลายบริษัทที่ SoftBank ลงทุน ได้ exit เข้าตลาดหุ้น นอกจากในอินเดียแล้ว Ola ยังมีการดำเนินงานในอังกฤษ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ในปีนี้สตาร์ทอัพรายใหญ่ในอินเดียหลายราย ต่างมีแผนนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น โดย Zomato แอปส่งอาหารรายใหญ่ ได้เข้าตลาดหุ้นไปแล้ว ส่วนบริการจ่ายเงินผ่านมือถือ Paytm กำลังยื่นไฟลิ่ง และ Flipkart อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ก็มีข่าวว่าเตรียมไอพีโอเช่นกัน
Uber เผยว่าตอนนี้ธุรกิจการเดินทาง (mobility) ของบริษัทในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาสู่จุดสูงสุดอีกครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการทยอยฉีดวัคซีนและผ่อนคลายกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศเพื่อพยายามกลับสู่สถานการณ์ปกติของสหรัฐฯ
Uber เผยกับสำนักข่าว WSJ ว่า ตอนนี้ยอดเรียกรถในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาถือว่ากลับมาสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้จุดสูงสุดคือเดือนมีนาคมปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในสหรัฐฯ จนต้องล็อกดาวน์ในหลายเมือง เป็นสัญญาณว่าการเดินทางในสหรัฐฯ เริ่มกลับมาแล้ว หลังจากที่รัฐบาลกลางเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนในหลายรัฐ
Didi Chuxing แอปเรียกรถโดยสารรายใหญ่ของจีน ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งแบบ confidential เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นนิวยอร์กแล้ว ซึ่งวิธีการยื่นเอกสาร confidential มีความแตกต่างคือจะมีระยะเวลาเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและการดำเนินงานสั้นลง ก่อนบริษัทเข้าตลาดหุ้น ด้วยเหตุผลป้องกันคู่แข่งทางธุรกิจรับรู้ข้อมูล
มูลค่ากิจการที่ Didi ประเมินในไอพีโอคือราว 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยคาดว่ามีการขายหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 10% ของหุ้นทั้งหมด ทำให้เป็นไอพีโอหุ้นบริษัทจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่ Alibaba ในปี 2014
Didi ควบรวมกิจการกับคู่แข่งรายสำคัญในจีน Kuaidi เมื่อปี 2015 มีมูลค่ากิจการเมื่อปี 2017 ที่ 56,000 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า 60,000 ล้านดอลลาร์
DiDi Chuxing แอปเรียกรถโดยสารรายใหญ่ของจีน ประกาศเตรียมเปิดให้บริการในแอฟริกาใต้ โดยจะเริ่มที่ Cape Town เป็นเมืองแรก ซึ่งเป็นประเทศที่ 17 ที่ DiDi เข้ามาทำตลาด
ปัจจุบัน DiDi ให้บริการในกว่า 400 เมืองทั่วประเทศจีน ขณะที่ในตลาดต่างประเทศ DiDi บอกว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 550 ล้านบัญชี ใน 16 ประเทศ รวมทั้งเอเชีย ยุโรป ลาตินอเมริกา และออสเตรเลีย
ผู้ให้บริการแอปเรียกรถโดยสารในแอฟริกาใต้ปัจจุบันได้แก่ Uber และ Bolt โดยมีฐานผู้ใช้รวมจำนวนหลักล้านคน ขณะที่ภาพรวมตลาดมีความท้าทายเนื่องจากข้อกฎหมายด้านบริการขนส่งของหน่วยงานท้องถิ่น
ที่มา: TechCrunch
เมื่อปีที่แล้ว Uber ประกาศเข้าซื้อบริษัท Autocab บริการทำ SaaS สำหรับอุตสาหกรรมแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว ล่าสุดตอนนี้ Competition and Markets Authority หรือ CMA ของสหราชอาณาจักรกำลังเริ่มสอบสวนดีลนี้ว่ามีผลทำให้ลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
Autocab เป็นบริษัทให้บริการเครื่องมือแก่แท็กซี่ตั้งแต่ปี 1991 แต่ช่วงหลังมาบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มชื่อว่า iGo Everywhere เป็นบริการ SaaS สำหรับจองเวลาแท็กซี่โดยผู้ให้บริการแท็กซี่สามารถใส่โลโก้ของตัวเองเข้าไปในแอปของ Autocab ได้ ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงเป็นเหมือนแอปเรียกรถเพื่อผู้ขับรถแท็กซี่รายย่อยที่ไม่มีทรัพยากรในการทำแอปเองก็สามารถให้บริการเหมือนกับ Uber ได้