แอปพลิเคชัน หมอชนะ ประกาศยุติให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 เป็นต้นไป หลังจาก เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563 โดยถูกวางเป็นแอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่
แอปหมอชนะ แอปสำหรับติดตามไทม์ไลน์โควิดจากการไปสถานที่ต่างๆ ของผู้ใช้ ลงทะเบียนในการขอรับฉีดวัคซีน COVID-19 และอื่นๆ ไม่สามารถใช้งานได้ มีการรายงานในโพสต์ของเพจ หมอแล็บแพนด้า ตั้งแต่ช่วง 10.30 น. ของวันนี้
ผู้เขียนทดสอบบน iOS 14.5 เวลา 16.33 น. ยังไม่สามารถใช้งานได้ และค้างอยู่ที่หน้าโลโก้สีฟ้าก่อนจะแครชไป รวมถึงมีคอมเม้นต์จากผู้ใช้ฝั่ง Android และเพื่อนผู้เขียนที่ทดสอบบน Android ระบุว่าใช้งานไม่ได้เช่นกัน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ในฐานะองค์กรภาครัฐที่เป็น ผู้ดูแลแอพ "หมอชนะ" หลังทีมงานอาสาสมัครถอนตัว ออกมาประกาศแนวทางว่าจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ DGA ระบว่าที่ผ่านมา "หมอชนะ" เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครภาคเอกชน แต่ในเดือนมกราคม 2564 รัฐบาลเล็งเห็นประโยชน์ของแอพนี้ จึงเชิญชวนให้ประชาชนมาดาวน์โหลด อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกภาครัฐยังจำกัดรูปแบบการใช้งานเพื่อ "ควบคุมและสอบสวนโรค" เพียงอย่างเดียวก่อน ยังไม่ได้กำหนดขั้นตอนหาผู้เกี่ยวข้องเรื่องกำหนดสี เพราะต้องระวังไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบหากกำหนดสีพลาด
ทีมพัฒนาแอพ "หมอชนะ" ซึ่งเป็นอาสาสมัครภาคเอกชนที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า Code for Public ประกาศส่งมอบสิทธิการดูแลซอร์สโค้ดและกระบวนการพัฒนาทั้งหมดให้ "รัฐบาล" (ในโพสต์นี้ไม่ระบุชัดว่าเป็นหน่วยงานใด ผู้รับผิดชอบหลักก่อนหน้านี้คือ DGA) แต่ทีมงานเดิมจะ fork โครงการออกเป็นชื่อใหม่ว่า SQUID
ตอนนี้ซอร์สโค้ด, repository เดิม, และเฟซบุ๊ก "หมอชนะ" ถูกส่งมอบให้รัฐบาลแล้วเมื่อวานนี้ (15 มกราคม 2564) โดยทีม Code for Public ระบุว่าจะแก้บั๊กรอบสุดท้ายให้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่จะนำขึ้นอัพเดตในแอพเวอร์ชันแจกจ่ายบน store หรือไม่ ขึ้นกับแนวทางของหน่วยงานภาครัฐ
วันนี้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ และ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แถลงข่าวร่วมกับโอเปอเรเตอร์ทุกราย คือ AIS, dtac, TrueMove H, 3BB และ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนระหว่างการระบาดของโรค COVID-19 รอบใหม่
ผลการหารือมีด้วยกัน 3 ข้อ คือผู้ให้บริการเน็ตบ้านจะปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มไม่ต่ำกว่า 100/100Mbps สำหรับผู้ที่ใช้ไฟเบอร์ และปรับความเร็วให้สูงสุดที่อุปกรณ์จะรับได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเช่น xDSL โดยจะเพิ่มความเร็วให้เป็นเวลา 2 เดือน
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าประจำวันที่ 8 มกราคม พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 205 ราย และยังมีแถลงเพิ่มถึงประเด็นแอปพลิเคชั่นหมอชนะ ตัวเลขวันที่ 7 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 3.69 ล้านราย
โดยตัวเลขดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 5 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 1.5 ล้านราย, วันที่ 6 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 1.65 ล้านราย จนกระทั่งวันที่ 7 ม.ค. ที่มีประเด็นร้อนแรงเรื่องถ้าไม่พบผู้ป่วยไม่ดาวน์โหลดแอปจะมีความผิด มียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นเป็น 3.69 ล้านราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุถึงกระแสทางลบเรื่องจะดำเนินคดีความกับผู้ไม่ดาวน์โหลด ซึ่งภายหลังได้มีการชี้แจงเพิ่มแล้วว่าจะไม่ถูกดำเนินคดี เขาบอกด้วยว่ารู้สึกดีใจที่เห็นยอดดาวน์โหลดภายในวันเดียวเพิ่มขึ้น 2 ล้านครั้ง จากเมื่อวานที่รู้สึกเสียใจกับกระแสด้านลบหมอชนะ วันนี้ก็รู้สึกดีใจขึ้นมาทันที ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่เข้าใจและปฏิบัติตามในช่วงวิกฤตอย่างนี้
หลังการระบาดรอบใหม่ของโรค COVID-19 ในประเทศไทย ภาครัฐได้ย้ำให้ประชาชนติดตั้งแอพหมอชนะเพื่อติดตามตำแหน่งของผู้ใช้และแจ้งเตือนหากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง โดยในการระบาดรอบนี้ได้มีผู้ใช้จำนวนมากตั้งคำถามว่าเพราะอะไรแอพหมอชนะจึงไม่เลือกใช้ Apple/Google Exposure Notification API ซึ่งเป็น API ที่ Apple กับ Google จับมือกันพัฒนาออกมาให้รัฐบาลทุกประเทศใช้
ศบค. แถลงข่าวถึงประกาศฉบับที่ 17 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยระบุถึงมาตรการเพิ่มเติมจากเดิมคือการสนับสนุนการติดตั้งและใช้ แอปพลิเคชั่นหมอชนะ โดยในการแถลงข่าวโฆษกศบค. ระบุว่าผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้วไม่ได้ติดตั้งแอปหมอชนะจะถือว่าทำผิดจากประกาศนี้
ข้อความในตัวประกาศ ไม่ได้บังคับให้ติดตั้งโดยตรง แต่บอกเพียงว่า "รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งเป็นการพัฒนาและประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ"
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ออกมาตรการควบคุมโรคตามความรุนแรงของแต่ละพื้นที่ในวันนี้โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) และพิ้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) นั้นเพิ่มมาตรการติดตั้งแอปพลิเคชั่นหมอชนะเพิ่มเติมจากการสแกนไทยชนะก่อนหน้านี้
ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ และยังเป็นรองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสเฟซบุ๊กถึงความเห็นต่อ แอปหมอชนะ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา โดยที่ผ่านมา นพ.นวนรรน ได้เข้าไปให้ความเห็นกับทีมงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดการความเป็นส่วนตัวข้อมูลสุขภาพ (health information privacy specialist) ได้ถอนตัวจากโครงการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังพบว่ามีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเตรียมบังคับตรวจสอบลงแอปหมอชนะ โดยจะตรวจ QR ตามจุดคัดกรองหากไม่สามารถแสดง QR ได้ก็จะไม่ให้เข้าพื้นที่
ความคืบหน้าต่อจากข่าว ทีม Code for Public ร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลไทยเตรียมปล่อยแอปติดตามการเข้าใกล้ผู้ป่วย COVID-19 วันนี้แอพตัวนี้เปิดตัวแล้วในชื่อว่า หมอชนะ
"หมอชนะ" เป็นระบบเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่
ตอนนี้แอพเปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน App Store และ Play Store