ดิสโทรลินุกซ์หลายตัวย้ายฐานข้อมูลดีฟอลต์จาก MySQL มาเป็น MariaDB กันนานพอสมควรแล้ว เช่น Fedora เริ่มตั้งแต่ปี 2013 , RHEL ปี 2014 , Debian ในปี 2017 แต่ดิสโทรยอดนิยมอย่าง Ubuntu ยังไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้ MariaDB แทนสักที
เมื่อต้นเดือนนี้ Oracle ออก MySQL 9.0 มาแบบเงียบๆ โดยเรียกว่าเป็น "Innovation Release" ที่เน้นฟีเจอร์ใหม่ ยังไม่เน้นการใช้งานในระดับโปรดักชัน และออกมาขนานกับ MySQL 8.0.38 และ 8.4.1 LTS ที่ใช้งานอยู่เดิม
ฟีเจอร์ใหม่ของ MySQL 9.0 เองก็มีไม่เยอะนัก มีเพียงการแก้ไขบั๊กเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด ฟีเจอร์เด่นที่เพิ่มเข้ามาอยู่ในเวอร์ชัน HeatWave ที่ต้องจ่ายเงินเท่านั้น เช่น การรองรับตัวแปรประเภท Vector และ การเขียนรูทีนด้วย JavaScript Stored Programs
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา MySQL ประกาศเพิ่มฟีเจอร์การรันโค้ดภาษา JavaScript จากในฐานข้อมูลโดยตรง ( stored programs ) ลักษณะเดียวกับที่ Oracle Database ทำได้มาก่อนหน้านี้ (เวอร์ชัน 21c เป็นต้นมา)
PlanetScale ผู้ให้บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ที่พัฒนาจาก MySQL ประกาศแยกโครงการ MySQL เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ Vector Database สำหรับการเก็บข้อมูลจากปัญญาประดิษฐ์ หลังจาก ออราเคิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์นี้ใน MySQL HeatWave ที่เป็นบริการคลาวด์เท่านั้น ทำให้ถูกมองว่าออราเคิลจะเก็บฟีเจอร์นี้สำหรับบริการคลาวด์
ลำพังการเก็บ vector นั้นฐานข้อมูลใดๆ ก็สามารถเก็บได้ แต่ส่วนสำคัญคือการทำ index เพื่อให้ดึงข้อมูลได้เร็ว ทาง PlanetScale ระบุว่าโครงการใหม่จะใช้อัลกอริทึม Hierarchical Navigable Small World (HNSW)
Shadowserver Foundation หน่วยงานไม่หวังผลกำไรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ทดลองสแกนพอร์ต MySQL ของทั้งโลก (ตรวจสอบเฉพาะพอร์ต 3306/TCP ที่เป็นค่าดีฟอลต์) และพบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ MySQL ที่สามารถเข้าถึงได้ (accessible คือตอบสถานะกลับมา แต่ไม่ได้ลองล็อกอิน) จำนวน 3.6 ล้านเครื่อง แบ่งเป็น IPv4 2.3 ล้านเครื่อง และ IPv6 อีก 1.3 ล้านเครื่อง
หากดูตัวเลขแยกรายประเทศ เอาเฉพาะ IPv4 สหรัฐอเมริกามีเซิร์ฟเวอร์ MySQL ถูกเข้าถึงได้มากที่สุด 7.4 แสนเครื่อง ตามด้วยจีน 2.96 แสนเครื่อง ส่วนประเทศไทยก็อยู่ในอันดับต้นๆ คือมี 1 หมื่นเครื่อง ถ้าดูของ IPv6 สหรัฐอเมริกามี 4.6 แสนเครื่อง เนเธอร์แลนด์ 2.96 แสนเครื่อง และสิงคโปร์ 2.18 แสนเครื่อง (ไทยมี 136 เครื่อง IPv6)
Akamai ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ของโลก เพิ่งเข้าซื้อกิจการ Linode ผู้ให้บริการคลาวด์มาเสริมทัพเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ Linode มีบริการ compute, network และ storage (block/object/backup) ให้เช่าใช้งานอยู่แล้ว ล่าสุด Linode ขยายบริการฐานข้อมูล (managed database) เพิ่มมาแล้ว
บริการ Linode Managed Database (LMDB) เริ่มจาก MySQL เป็นอย่างแรกก่อน แล้วจะตามมาด้วยฐานข้อมูลอื่นคือ PostgreSQL, Redis, MongoDB ในไตรมาสที่สองของปี 2022
Herman Lee และ Pradeep Nayak จากเฟซบุ๊กเล่าถึงประสบการณ์การอัพเกรดจาก MySQL 5.6 ไปยัง MySQL 8.0 รุ่นล่าสุด ที่เป็นโครงการขนาดใหญ่เพราะเฟซบุ๊กเองดัดแปลง MySQL อย่างหนัก มีแพตช์รวม 2,300 ชุด, มีสตอเรจเอนจินของตัวเองที่ชื่อ MyRocks, หรือแม้แต่ error code สำหรับตอบกลับไคลเอนต์ก็มีโค้ดเฉพาะของเฟซบุ๊กเอง
Google เปิดตัวระบบ Database Migration Service หรือ DMS สำหรับไมเกรตฐานข้อมูลภาคองค์กรขึ้นสู่ Google Cloud อย่างราบรื่น ลดปัญหาต่าง ๆ รวมถึงใช้เวลาดาวน์ไทม์ที่น้อยที่สุดในขณะไมเกรตระบบ
Google DMS ใช้ระบบทำสำเนาข้อมูลจากต้นทางทั้ง MySQL, PostgreSQL และ SQL Server ไปยังระบบ Cloud SQL โดยก่อนหน้านี้ Google จะให้บริการไมเกรตฐานข้อมูลผ่านพาร์ทเนอร์ (ในขณะที่คู่แข่งอย่าง AWS และ Azure มีมานานแล้ว) แต่เนื่องจากทุกวันนี้มีผู้สนใจย้ายมาคลาวด์มากขึ้น การออก DMS เองจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการไมเกรตระบบ ลดเวลาและขั้นตอนที่ใช้ในการไมเกรตระบบได้มาก
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา DigitalOcean เปิดบริการ Managed Database โดยเริ่มจาก PostgreSQL ก่อน และวันนี้ก็ขยายมาถึง MySQL 8 และ Redis 5 แล้ว
บริการ Managed Database ของ DigitalOcean เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบฐานข้อมูล เพียงเลือกเอนจิน, สตอเรจ, vCPU, เมมโมรี่ และสแตนบายโหนด จากนั้นก็สั่งรันเท่านั้น ซึ่ง Managed Database ของ DigitalOcean จะรันอยู่บนแพลตฟอร์ม compute และใช้ local SSD เป็นสตอเรจหลัก
Amazon Relational Database Service (RDS) บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ในเครือ AWS ประกาศรองรับ MySQL เวอร์ชัน 8.0 แล้ว
MySQL 8.0 เพิ่งออกรุ่นจริงเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบหลายปีของ MySQL (ข้ามจาก 5.x มาเป็น 8.x เลย) และมีฟีเจอร์ใหม่มากมาย เช่น การแปลง JSON เป็นตารางในฐานข้อมูล, รองรับข้อมูลแบบ spatial สำหรับงานสายภูมิศาสตร์ (GIS), ปรับปรุงประสิทธิภาพดีขึ้นจากเดิม 2 เท่า (เทียบกับ MySQL 5.7) เป็นต้น
ปัจจุบัน AWS ถือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ที่สุดของโลก และมีผู้ใช้ฐานข้อมูลบน RDS อยู่มาก การที่ RDS รองรับ MySQL 8.0 ย่อมทำให้การใช้งานฐานข้อมูลเวอร์ชันใหม่ๆ กว้างขวางยิ่งขึ้น
- Read more about Amazon RDS รองรับฐานข้อมูล MySQL 8.0 แล้ว
- Log in or register to post comments
แม้ MySQL จะเป็นระบบฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง แต่บั๊กบางอย่างก็ใช้เวลาแก้ไขนานอย่างไม่น่าเชื่อ ในเวอร์ชั่น 8.0.3 (สถานะเป็น release candidate 1 ของรุ่น 8.0) ทาง MySQL ก็ได้แก้บั๊กหมายเลข 199 ที่เปิดมาตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2003 หรือประมาณ 14 ปีกับอีก 6 เดือนมาแล้ว
บั๊กหมายเลข 199 เป็นปัญหาของระบบ auto_increment เมื่อใช้กับตารางที่เป็น innodb โดยหมายเลขสูงสุดที่เคยถูกใช้งานจะไม่ถูกจำไว้ หากมีการรีสตาร์ตตัวเซิร์ฟเวอร์ใหม่ ทำให้มีปัญหาการใช้หมายเลขซ้ำในกรณีที่มีการลบ record ล่าสุดออกไปแล้วรีสตาร์ต
Dawud Golunski นักวิจัยความปลอดภัยรายงานถึงช่องโหว่ race condition ในระบบฐานข้อมูลของ MySQL ทำให้ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์เพียงพื้นฐาน เช่น SELECT, INSERT, CREATE สามารถเข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลได้ทั้งหมด และมีโอกาสทีแฮกเกอร์จะรันโค้ดด้วยสิทธิ์ระดับเดียวกับเซิร์ฟเวอร์ของ MySQL ได้
Golunski เคยรายงานช่องโหว่ CVE-2016-6662 เมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา
Dawid Golunski นักวิจัยความปลอดภัย รายงานช่องโหว่ CVE-2016-6662 ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถเข้ารันโค้ดบนเครื่องได้ หากสามารถเข้าถึงฐานข้อมูล MySQL ได้สำเร็จ โดยกระทบทั้ง MySQL 5.5, 5.6, 5.7, MariaDB, และ PerconaDB
ช่องโหว่นี้อาศัยการเขียนไฟล์คอนฟิกของ MySQL ผ่านทางระบบล็อกของ SQL เอง และระบบโหลดไลบรารีของ MySQL ที่จะโหลดไลบรารีด้วยสิทธิ์ root ก่อนที่จะสร้างโปรเซส mysqld ในสิทธิ์ของ mysql เองอีกครั้งหนึ่ง โดยวางไฟล์ไลบรารีไว้บนเครื่องของเหยื่อผ่านทางคำสั่ง DUMPFILE ของ MySQL เอง เมื่อโหลด MySQL ขึ้นใหม่ไฟล์ของแฮกเกอร์ก็จะถูกรันขึ้นมา
- Read more about นักวิจัยรายงานช่องโหว่รันโค้ดระยะไกลใน MySQL
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Google Cloud Platform ประกาศข่าวผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูล เข้าสถานะ GA (general availability) พร้อมใช้งานจริงในเชิงธุรกิจ และให้บริการตามเงื่อนไข Service Level Agreements (SLAs) ดังนี้
- Read more about Google Cloud SQL, Bigtable, Datastore เข้าสถานะ GA
- Log in or register to post comments
Evan Klitzke จาก Uber เขียนบล็อกเล่าถึงสถาปัตยกรรมภายในของ Uber ที่แต่เดิมพัฒนาระบบหลังบ้านด้วย Python และ PostgreSQL ทั้งระบบ แต่ระบบใหม่ๆ กลับหันไปใช้ Schemaless บน MySQL แทน
กูเกิลมีบริการ MySQL บนกลุ่มเมฆให้บริการมาตั้งแต่ปี 2011 ในชื่อ Google Cloud SQL หลังให้บริการมาสี่ปีกว่า กูเกิลก็อัพเกรด Cloud SQL เป็นเวอร์ชันสองแล้ว
จุดเด่นสำคัญของ Cloud SQL เวอร์ชันสองคือประสิทธิภาพดีกว่าเดิมถึง 7 เท่า และรองรับปริมาณข้อมูลเยอะขึ้นกว่าเดิมมาก โดยฐานข้อมูล 1 instance สามารถรองรับข้อมูล 10TB, 15,000 IOPS และแรม 104GB
Cloud SQL เวอร์ชันสองยังยืดหยุ่นกว่าเดิม สามารถใช้งานได้กับเครื่องมือยอดฮิตในโลก MySQL อย่าง MySQL Workbench, Toad รวมถึงการเชื่อมต่อกับ Compute Engine ของกูเกิลเอง และไดรเวอร์เชื่อมต่อฐานข้อมูลอื่นๆ อย่าง Connector/ODBC ได้ด้วย
MariaDB ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สที่แยกโครงการมาจาก MySQL ประกาศออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการนับเวอร์ชันแบบใหม่ของตัวเองเป็นครั้งแรก (เวอร์ชันก่อนหน้านี้คือ 5.5 ซึ่งนับตามแบบ MySQL)
ของใหม่ใน MariaDB 10 ได้แก่
วิศวกรของ Facebook โดยความร่วมมือกับวิศวกรอีก 3 บริษัทที่ใช้ฐานข้อมูล MySQL ในเบื้องต้นคือ Google, LinkedIn และ Twitter เปิดโครงการ WebScaleSQL โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อร่วมกันเน้นพัฒนา MySQL ให้มีประสิทธิ์ภาพรวดเร็วและรองรับการขยายตัวเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มบริษัทดังกล่าวมีการใช้งาน MySQL และกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในแบบเดียวกัน
ข่าวบริษัทใหญ่ย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL ไปใช้ MariaDB ถัดจาก Wikipedia และ Red Hat แล้ว รายล่าสุดคือกูเกิลครับ
ในงาน Extremely Large Databases (XLDB) ที่เพิ่งจัดขึ้นวิศวกรของกูเกิลให้ข้อมูลระหว่างการบรรยายว่า กูเกิลใช้ MySQL 5.1 รุ่นปรับแต่งเองเป็นหลัก และอยู่ระหว่างการย้ายไปใช้ MariaDB 10.0 แทน
นอกจากนี้ผู้บริหารของ MariaDB Foundation ยังให้ข้อมูลอีกว่า กูเกิลส่งพนักงานเข้ามาทำงานร่วมกับ MariaDB Foundation ตั้งแต่ต้นปีเพื่อช่วยพัฒนาฟีเจอร์ด้านการย้ายฐานข้อมูล (migration)
- Read more about กูเกิลกำลังเปลี่ยนไปใช้ MariaDB แทน MySQL
- 24 comments
- Log in or register to post comments
จาก MySQL อาจไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรีอีกต่อไป นั้น มีนักพัฒนารายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "Norvald Ryeng" ได้รายงานข้อผิดพลาด (bug) นี้ลงใน MySQL Bugs โดยอยู่ในหัวข้อ MySQL Bugs: #69512: Wrong license in man pages in Community Server
โดยสรุปได้ว่า "ในหน้าสัญญาอนุญาตดังกล่าวนั้นเป็นการดึง copyright header ที่ผิดพลาดมาจากชุดอื่นที่ไม่ใช่ GPL packages ในระบบสร้างเอกสารหน้านั้นๆ" ทำให้ต้องทำการแก้ไขในรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งสุดท้ายข้อผิดพลาดนี้จะถูกแก้ไขใน MySQL 5.1.70, 5.5.32, 5.6.12 และ 5.7.1-m11 ตามลำดับ
มีคนไปพบว่าหน้าเพจที่อธิบายเกี่ยวกับเงื่อนไขข้อตกลงการใช้งาน MySQL จากเวอร์ชัน 5.5.30ไป 5.5.31ถูกเปลี่ยนแปลงในส่วนเงื่อนไขข้อตกลงใบอนุญาตการใช้งาน โดยมิได้มีการประกาศแจ้งไปยังผู้ใช้งานล่วงหน้า
จากข้อความเดิม
This documentation is free software; you can redistribute it and/or modify it only under the terms of the GNU General Public License as published by the Free Software Foundation; version 2 of the License.
ไปเป็น
- Read more about MySQL อาจไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรีอีกต่อไป
- 61 comments
- Log in or register to post comments
บริษัท Red Hat ผู้พัฒนาดิสโทรลินุกซ์รายใหญ่ประกาศว่า Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชันถัดไปจะเปลี่ยนไปใช้ MariaDB เป็นฐานข้อมูลดีฟอลต์แทน MySQL ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
การประกาศในครั้งนี้ก็ตามที่หลายคนได้คาดการณ์ไว้ เนื่องจากโครงการ Fedora ที่ทาง Red Hat ให้การสนับสนุนอยู่ก็ได้ เปลี่ยนไปใช้ MariaDB ไปก่อนหน้านี้แล้ว
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็ส่งผลถึงทาง CentOS ที่เป็นเหมือนรุ่นฟรีของ RHEL ก็จะเปลี่ยนไปใช้ MariaDB เป็นฐานข้อมูลดีฟอลต์ด้วยเช่นกัน
หลังๆ มานี้มีแต่ข่าวคนเลิกใช้ MySQL เยอะจริงๆ น่าหนักใจแทนออราเคิลเหมือนกันแฮะ
- Read more about Red Hat เปลี่ยนไปใช้ MariaDB แทน MySQL
- 17 comments
- Log in or register to post comments
ช่วงหลังเราเห็นความเคลื่อนไหวของ MariaDB โครงการแยกของ MySQL หลังโดนออราเคิลซื้อกิจการมากขึ้นเรื่อยๆ (ข่าวก่อนหน้านี้ Wikipedia เริ่มย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL มาใช้ MariaDB แทน )
ล่าสุดโครงการ Fedora ก็มีข้อเสนอว่าจะเปลี่ยนแพกเกจฐานข้อมูลหลัก จากเดิมที่ใช้ MySQL เป็น MariaDB แทน ข้อเสนอนี้ต้องรอการพิจารณาจากชุมชน Fedora และถ้าได้รับอนุมัติก็จะเริ่มใช้ใน Fedora 19 รุ่นหน้า ส่วนแพกเกจ MySQL จะยังมีให้ใช้ใน Fedora ต่อไปแต่ไม่ใช่ดีฟอลต์แล้ว
- Read more about Fedora 19 อาจเปลี่ยน MySQL เป็น MariaDB
- 10 comments
- Log in or register to post comments
เว็บไซต์ที่คนเข้าใช้งานเยอะเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอย่าง Wikipedia ได้เริ่มทดลองย้ายฐานข้อมูลบางส่วนไปใช้ MariaDB แทนที่ MySQL แล้ว โดย Asher Feldman สถาปนิกของ Wikimedia Foundation (องค์กรที่ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia) ได้ออกมาแจ้งข่าวผ่านทาง mailing list ว่าได้ย้ายฐานข้อมูล slave ตัวหนึ่งของหน้า Wikipedia ภาษาอังกฤษไปใช้ MariaDB 5.5 ได้สำเร็จ และมีแผนจะย้าย Wikipedia ภาษาอังกฤษทั้งหมดให้เสร็จภายในปีนี้ และถ้าไม่ติดปัญหาอะไรก็จะย้ายทั้งเว็บไซต์เสร็จในไตรมาสแรกของปี 2013
ช่วงนี้มีงาน Oracle OpenWorld 2012 จะมีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ของออราเคิลเยอะหน่อยนะครับ เริ่มจากฐานข้อมูลยอดนิยมของโลกโอเพนซอร์ส MySQL ออกรุ่นใหม่ 5.6 Release Candidate ซึ่งใกล้เป็น 5.6 ตัวจริงเต็มทีแล้ว
ของใหม่ของ MySQL 5.6 คงเป็นเรื่องประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่อง query และ subquery ที่ทีมงาน MySQL ปรับแต่งรีดเร้นประสิทธิภาพมาในหลายจุด (รายละเอียดตามต้นฉบับ) นอกจากนี้ตัวเอนจินอย่าง InnoDB ก็ปรับปรุงเรื่อง transactional และ full text search ด้วย - Oracle
- Read more about MySQL 5.6 RC ออกแล้ว
- 5 comments
- Log in or register to post comments