AWS เปิดตัวบริการฐานข้อมูลกระจายตัว Amazon Aurora DSQL ฐานข้อมูลกระจายตัว (distributed SQL database) เน้นความน่าเชื่อถือสูง กระจายตัวข้ามภูมิภาค (multi-region) ทำให้ความน่าจะเป็นที่ระบบจะล่มไปนั้นต่ำลงมาก แต่ยังได้ฟีเจอร์เหมือนฐานข้อมูลปกติโดยเฉพาะ consistency ที่มองเห็นข้อมูลตรงกันบันทึกข้อมูลโดยได้ฟีเจอร์ ACID ครบถ้วน
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ GraphRAG Solution Accelerator สำหรับ PostgreSQL บน Azure Database ทำให้ลูกค้าที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG บน Azure สามารถใช้งานฐานข้อมูลสำเร็จรูปได้
ปกติแล้วการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG (Retrieval Augmented Generation) จะอาศัยการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหรือคำถามของผู้ใช้เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ LLM สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาอ้างอิงในการสร้างคำตอบ แต่ GraphRAG เสนอว่าข้อมูลที่ดึงมาได้ว่าเกี่ยวข้องนั้นหลายครั้งมีข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ด้วยและควรใช้งานด้วยกัน แม้จะไม่ได้ใกล้เคียงกับคำค้นโดยตรงก็ตาม
Prisma บริษัทสร้างเครื่องมือ PostgreSQL ที่มีตัวสำคัญคือ Prisma ORM ประกาศเปิดบริการคลาวด์ PostgreSQL ของตัวเองในชื่อ Prisma Postgres ที่มีฟีเจอร์สำคัญคือคิดราคาตามจำนวนครั้งที่คิวรี และปริมาณข้อมูลที่เก็บอยู่บนดิสก์เท่านั้น แถมระยะเวลารอคิวรีหากเป็นงานที่การใช้งานต่ำๆ ยังคงทำงานได้เร็วไม่ต้องรอ cold start
Cloudflare รายงานถึงการอัพเกรดฐานข้อมูลสำคัญของบริษัท คือฐานข้อมูล DNS ที่ทางบริษัทเป็น Authoritive DNS ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 14.3% (ที่สองคือ GoDaddy 10.3%) ฐานข้อมูลนี้เก็บ zone file ที่ระบุไอพีต่างๆ โดยเปิดให้ใช้งานผ่านทาง DNS Records API และซิงก์ออกไปยังฐานข้อมูล key-value ทั่วโลกเพื่อให้คนทั่วไปมาคิวรีอีกครั้ง
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 17 ตามรอบปีโดยปรับปรุงย่อยๆ หลายอย่าง ฟีเจอร์ที่ชัดเจนที่สุดสำหรับคนใช้งานคือความสามารถในการสำรองข้อมูลแบบ incremental ในตัว ทำให้กระบวนการสำรองข้อมูลทำงานได้เร็วขึ้นมาก ส่วนอื่นๆ นั้นเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มคำสั่งบางส่วน
ฟีเจอร์สำคัญในรอบนี้ เช่น
ServiceNow เปิดตัว Now Platform เวอร์ชั่น Xanadu อัพเกรดฟีเจอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์จำนวนมาก และยังเปลี่ยนโครงสร้างภายใน จากเดิมเป็น MariaDB มาใช้ RaptorDB ที่แยกโครงการมาจาก PostgreSQL
ฟีเจอร์ด้าน AI ที่เพิ่มเข้ามา เช่น
Hydra สตาร์ตอัพด้าน data processing พัฒนาส่วนขยาย pg_duckdb ที่ฝัง DuckDB เข้าไปอยู่ใน PostgreSQL ในตัว ทำให้สามารถคิวรีข้อมูลในไฟล์ parquet หรือ CSV จากสตอเรจเช่น S3, R2, หรือ Google Cloud Storage ได้โดยตรง
โดยปกติ DuckDB ก็สามารถคิวรีด้วย SQL ได้อยู่แล้ว แต่ก็มีความต่างจาก PostgreSQL อยู่ส่วนหนึ่ง การนำข้อมูลเข้ามาคิวรีใน PostgreSQL จะทำให้นักพัฒนาสามารถใช้คิวรีเดิมๆ ได้ ส่วนขยายจะพยายามใช้ DuckDB คิวรีก่อน และหากใช้งานไม่ได้จะหันไปใช้ PostgreSQL คิวรีแทน แผนการพัฒนาส่วนขยายนี้จะพยายามรองรับชนิดข้อมูลทุกชนิดที่ PostgreSQL รองรับ
Snaplet เครื่องมือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล Production มา Development เปิดเป็นโอเพนซอร์สหลังบริษัทปิดตัว
Supabase ประกาศโอเพนซอร์ส Snaplet ชุดเครื่องมือดึงฐานข้อมูล PostgreSQL จาก production มายังชุด development หลังจากที่บริษัทผู้พัฒนาเดิมประกาศปิดตัว และทีมงานบางส่วนย้ายมาอยู่กับ Supabase
Snaplet ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ตัว ได้แก่
Supabase ประกาศฟีเจอร์ใหม่ใน ส่วนขยาย Wrappers สำหรับ PostgreSQL ให้สามารถดึงโมดูล WASM ไปรันในตัวเองได้ เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถเชื่อมข้อมูลของตัวเองให้กลายเป็นตารางใน PostgreSQL
โครงการ PGlite ฐานข้อมูล PostgreSQL ตัวเต็มที่รันบน PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 0.2 พร้อมกับความสามารถในการโหลดส่วนขยายเพิ่มเติม เช่น pgvector สำหรับการเก็บข้อมูลในกลุ่มงานปัญญาประดิษฐ์
โครงการนี้พัฒนาโดย ElectricSQL ผู้พัฒนาบริการซิงก์ข้อมูลข้ามฐานข้อมูล PostgreSQL จึงมีฟีเจอร์ในการซิงก์ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เข้าสู่เบราว์เซอร์ด้วย การเรียกใช้งานเบื้องต้นนั้นมองเห็นเป็นไลบรารีไคลเอนต์อย่างเดียว แต่สามารถใช้งานใส่ข้อมูลและคิวรีได้ทันที แม้ไม่ได้คอนฟิกการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ใดๆ เลยก็ตาม หากต้องการเก็บข้อมูลระยะยาวสามารถใช้ IndexedDB ในเบราว์เซอร์ก็ได้
Oskar Dudycz นักพัฒนาด้านผู้สนับสนุนแนวทาง Event-Driven Architecture เปิดตัวไลบรารี Pongo สำหรับการจำลอง MongoDB โดยเชื่อมต่อเข้าไปยัง PostgreSQL แทน
แนวทางการใช้งาน PostgreSQL มาแทนที่ MongoDB นั้นมีมานานแล้ว เช่น FerretDB ที่จำลองการทำงานของ MongoDB ระดับ wire-protocol ทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อกับ FerretDB โดยนึกว่าเป็น MongoDB ได้ แต่เอนจินเบื้องหลังจริงๆ เป็น PostgreSQL แต่แนวทางของ Pongo ต่างออกไป โดยไลบรารีจะเป็นฝั่งไคลเอนต์ที่จำลอง API ให้เหมือนไลบรารี MongoDB ในภาษาจาวาสคริปต์ขึ้นมา แต่การเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลนั้นสามารถเชื่อมต่อไปยัง PostgreSQL เดิมๆ ไม่ต้องการแก้ไขอะไร
ParadeDB ผู้พัฒนา PostgreSQL เวอร์ชั่นสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูล เปิดตัว pg_lakehouse ที่เพิ่มฟีเจอร์ทำให้สามารถใช้งาน PostgreSQL แทนที่ฐานข้อมูลเฉพาะทางอย่าง DuckDB
ฟีเจอร์สำคัญของ pg_lakehouse คือการดึงข้อมูลภายนอกออกมาเป็นเหมือนตารางใน PostgreSQL โดยข้อมูลที่ดึงเข้ามาใส่ไปยัง Apache DataFusion ที่เป็นเอนจินการคิวรีแบบ analytics ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ DuckDB โดยก่อนหน้านี้ก็มีส่วนขยายอื่นคล้ายกัน แต่ pg_lakehouse ใช้ Apache OpenDAL สำหรับแปลงข้อมูลทำให้รองรับชนิดไฟล์จำนวนมาก หากการคิวรีใดไม่สามารถใช้ DataFusion ได้ก็จะถอยไปใช้เอนจิน PostgreSQL แทน
Infisical โครงการแพลตฟอร์มเก็บความลับ (secret management platform) แบบโอเพนซอร์ส รายงานถึงการย้ายระบบฐานข้อมูลจาก MongoDB มาเป็น PostgreSQL ว่าประสบความสำเร็จดีและทำให้การเซ็ตอัพโครงการใช้งานเองทำได้ง่ายขึ้น
ทางโครงการระบุว่าเลือก MongoDB พร้อมกับ Mongoose ORM เพราะทีมงานเคยชินกับ stack นี้ที่สุด และตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะมีผู้ใช้พยายามติดตั้งแพลตฟอร์มใช้งานเองมากนัก แต่หลังจากโครงการได้รับความนิยม MongoDB กลับเป็นคอขวดเนื่องจากฟีเจอร์สำคัญคือการทำ transaction จำเป็นต้องติดตั้งแบบคลัสเตอร์แบบโปรดักชั่นและคนที่เชี่ยวชาญการเซ็ตอัพ MongoDB ก็หาได้ยากกว่า ขณะที่ฝั่งนักพัฒนาเองหลายครั้งก็อยากได้ฟีเจอร์ฝั่ง SQL เช่น CASCADE ที่สามารถลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไปพร้อมกันทีเดียวได้
Simon Riggs หนึ่งในทีมนักพัฒนาหลักของโครงการ PostgreSQL เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา จาก เหตุเครื่องบินตกที่เมือง Cambridgeshire สหราชอาณาจักร
Riggs เป็นผู้พัฒนาฟีเจอร์ระดับองค์กรใน PostgreSQL หลายตัว เช่น point-in-time recovery, hot standby, และ synchronous replication เขาก่อตั้งบริษัท 2ndQuadrant ที่สุดท้ายรวมเข้าไปยัง EnterpriseDB ผู้ขายซัพพอร์ต PostgreSQL รายใหญ่ทุกวันนี้
ตัว Riggs เองทำงานใน PostgreSQL ตลอดมาแม้เกษียณแล้ว โดยยังคงตำแหน่ง Postgres Fellow และเป็นผู้กล่าวคีย์โน้ตเปิดงาน PostgreSQL Europe เมื่อปี 2023
ทางโครงการ PostgreSQL แสดงความเสียใจกับครอบครัวและเพื่อนของ Riggs
PostgREST โปรแกรมแปลง PostgreSQL ให้กลายเป็น REST API ออกเวอร์ชั่น 12 โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือ Media Type Handlers ทำให้สามารถเขียนฟังก์ชั่นในภาษา SQL และ HTMX เพื่อสร้างเว็บจากตัวฐานข้อมูลได้โดยตรง
ที่จริงแล้วฟีเจอร์นี้เปิดทางให้ฟังก์ชั่นใน PostgREST สามารถคืนค่าข้อมูลเป็นชนิดอะไรก็ได้ เว็บเป็นเพียงทางหนึ่งเท่านั้น แต่การสร้างเว็บผ่าน PostgREST ก็ทำให้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่สมบูรณ์ทั้งหมดได้จากใน PostgREST เองเลย
นอกจากนั้นยังมีฟีเจอร์ย่อยๆ ได้แก่
กูเกิลประกาศว่าฐานข้อมูล AlloyDB Omni เวอร์ชัน on-premise ที่เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม ตอนนี้เข้าสถานะ general availability (GA) แล้ว
กูเกิลเปิดตัวฐานข้อมูล AlloyDB ครั้งแรกในปี 2022 โดยเป็นฐานข้อมูลที่กูเกิลสร้างระบบเบื้องหลังขึ้นเองเพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้นมาก แต่ยังเข้ากันได้กับ PostgreSQL 14 อยู่ด้วย ในช่วงแรกยังมีเฉพาะเวอร์ชันรันบนคลาวด์
ParadeDB ผู้สร้างดิสโทรของ PostgreSQL เปิดส่วนขยาย pg_bm25 สำหรับการสร้าง search engine ด้วย PostgreSQL โดยมีเป้าหมายคือการทดแทน Elasticsearch
pg_bm25 อาศัยการสร้าง index แบบ BM25 ที่สามารถหาเอกสารโดยไม่ได้เรียงลำดับแค่พบคำค้นหาเท่านั้น แต่ให้คะแนนจำนวนครั้งที่พบคำค้น, ให้ความสำคัญกับคำที่พบได้น้อยเป็นพิเศษ, ให้ความสำคัญกับเอกสารที่สั้นกว่า โดย Elasticsearch เองก็ใช้ BM25 ในการค้นเอกสารเช่นกัน
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 16.0 โดยเวอร์ชั่นนี้ไม่ได้มีฟีเจอร์ใหญ่ๆ นัก แต่เป็นการปรับปรุงย่อยๆ จำนวนมาก เช่น
Supabase โครงการ back-end-as-a-service แบบโอเพนซอร์สเปิดโครงการ Postgres Language Server เปิดทางให้ editor ภาษาต่างๆ สามารถเขียนโค้ด SQL แบบ PostgreSQL ได้ง่ายขึ้น
Language Server นั้นเป็นโปรโตคอลที่สื่อสารกับ editor เพื่อให้ editor รองรับภาษาใหม่ๆ ได้เต็มรูปแบบ โดยรองรับฟีเจอร์เช่น syntax highlighting, auto-completion, แสดงจุดผิดพลาดของโค้ด, ทำ code formatting
กูเกิลเปิดตัวฐานข้อมูล AlloyDB Omni เวอร์ชันรันแบบ on-premise ได้ด้วย เพิ่มจากของเดิมที่มีเฉพาะเวอร์ชันคลาวด์
ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว ฐานข้อมูล AlloyDB เป็นการนำ PostgreSQL มาปรับแต่งสถาปัตยกรรมหลายอย่างให้ประสิทธิภาพดีขึ้น รันบนคลาวด์ โดยยังคงความเข้ากันได้กับ PostgreSQL ทั้งหมด 100% (ลักษณะเดียวกับ Amazon Aurora)
คราวนี้ กูเกิลเปิดตัว AlloyBD Omni ที่สามารถรันแบบ on-premise, edge หรือแม้แต่ในคอมพิวเตอร์ของนักพัฒนาได้ โดยชูว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า PostgreSQL รุ่นมาตรฐานถึง 2 เท่าสำหรับงานอ่านเขียนฐานข้อมูลทั่วไป และเร็วกว่า 100 เท่าสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูล
Replit บริการ IDE สำหรับพัฒนาเว็บบนเว็บ ประกาศร่วมมือกับ Neon ผู้ให้บริการ PostgreSQL แบบ Serverless ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างฐานข้อมูลออนไลน์ไปด้วย เปิดทางพัฒนาเว็บเต็มรูปแบบบน Replit
ตัวเซิร์ฟเวอร์มีขนาดเดียวคือแรม 4GB และสตอเรจ 10GB คิดค่าใช้งาน 100 Cycle ต่อวัน หรือวันละ 1 ดอลลาร์ เทียบกับค่าบริการอื่นๆ เช่น การพัฒนาโครงการแบบเป็นส่วนตัวเดือนละ 500 Cycle, ค่ารันเซิร์ฟเวอร์ต่อเนื่องวันละ 20 Cycle, เซิร์ฟเวอร์แรงพิเศษวันละ 350 Cycle หรือค่าปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด 1,000 Cycle ต่อเดือน
ตอนนี้บริการยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทาง Replit ระบุว่าฐานข้อมูลจะปิดเองหากไม่ได้ใช้งานนาน 5 นาที และเปิดกลับมาในเวลาไม่กี่วินาที ในอนาคตจะเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ให้ใช้งานด้วย
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 15 หนึ่งปีหลังจาก PostgreSQL 14 โดยรอบนี้ไม่มีการปรับปรุง syntax การเขียนคิวรีใหญ่ๆ แต่เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพ และการทำงานเบื้องหลังมากกว่า
ในแง่ประสิทธิภาพ การปรับปรุงอัลกอรึทึมการเรียงข้อมูลทำให้การคิวรีในกลุ่ม ORDER BY
ทั้งหลายเร็วขึ้น 25%-400% ขณะที่การคิวรีแบบ SELECT DISTICT
ก็ประมวลผลขนานกันทำให้เร็วขึ้นเช่นกัน อีกส่วนหนึ่งคือประสิทธิภาพเร็วขึ้นจากการรองรับการบีบอัดข้อมูลแบบ LZ4 และ zstd ในตัว ทำให้ประหยัดทั้งพื้นที่ดิสก์ในการเขียน write-ahead log (WAL) และเพิ่มประสิทธิภาพในบางกรณีที่ความเร็วตันที่ IOPS รวมถึงการสั่งคำสั่งสำรองข้อมูล pg_basebackup
ก็รองรับการบีบอัดจากเซิร์ฟเวอร์โดยตรง
ในแง่การคิวรี คำสั่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ MERGE
สำหรับการสั่ง INSERT
, UPDATE
, และ DELETE
ในคำสั่งเดียวตามเงื่อนไข และยังเพิ่มฟังก์ชั่นการประมวลข้อมูลด้วย regular expression อีกหลายตัว ทำให้ค้นหาสตริงได้ซับซ้อนขึ้น
ที่มา - PostgreSQL
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Database Migration Assessment for Oracle เครื่องมีเสริมในบริการ Azure Data Studio ที่ช่วยประเมินว่าฐานข้อมูลในองค์กรสามารถย้ายมาใช้งานบน PostgreSQL ได้ยากง่ายเพียงใด
PostgreSQL พัฒนาโดยมีแนวทางพยายามทำให้รัน SQL จากฐานข้อมูล Oracle ได้ตั้งแต่แรก ทำให้การรองรับโค้ด SQL ข้ามกันได้ค่อนข้างมาก
เครื่องมือนี้ไม่ได้ช่วยแปลงฐานข้อมูลให้ แต่จะเข้าไปวิเคราะห์ว่ามีส่วนที่ย้ายได้ง่ายจุดใดบ้าง และมีจุดที่ย้ายได้ยาก หรือต้องเปลี่ยนสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ไปเลยตรงไหนบ้าง ไมโครซอฟท์ใช้โครงการโอเพนซอร์ส ora2pg มาสร้างบริการนี้
Supabase ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มทดแทน Firebase เปิดโครงการ postgres-wasm พอร์ต PostgreSQL ทั้งก้อนเข้าไปรันในเบราว์เซอร์ด้วย WASM แม้ว่าก่อนหน้านี้ Crunchy Data จะเคยทำโครงการแบบเดียวกันมาก่อนแล้ว แต่ก็ทำไว้ใช้งานสำหรับเว็บสอน SQL ของ Crunchy Data เองเท่านั้น แต่ postgres-wasm นี้เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ด้วย
โครงการนี้ทาง Supabase พัฒนาโครงการร่วมกับ Snaplet โครงการแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลเพื่อให้นักพัฒนานำข้อมูลจากโปรดักชั่นไปใช้งานได้ ตัวโครงการ postgres-wasm จึงมี repository สองที่จากทั้ง Supabase และ Snaplet
PostgREST โครงการสำหรับใช้งาน PostgreSQL แบบ REST API ออกเวอร์ชั่น 10.0.0 เพิ่มฟีเจอร์ทำให้สามารถใช้งานฐานข้อมูลผ่านเว็บได้ใกล้เคียงกับการรัน psql มากยิ่งขึ้น ฟีเจอร์สำคัญๆ ได้แก่