Snowflake บริษัทซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล ประกาศซื้อกิจการ Neeva เสิร์ชเอ็นจินที่ก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหารกูเกิล ซึ่งใช้โมเดลจ่ายค่าสมาชิกแลกกับผลเสิร์ชที่เป็นออร์แกนิค ทั้งนี้ดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าในการซื้อ
Benoit Dageville ผู้ร่วมก่อตั้ง Snowflake อธิบายที่มาของดีลนี้ว่าทีมของ Neeva มีความเชี่ยวชาญในการค้นหาและค้นพบจุดที่สำคัญในชุดข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะปลดล็อกมูลค่าของข้อมูลได้ โดยเฉพาะงานด้าน Generative AI ที่ต้องการความสามารถนี้สูง ซึ่ง Snowflake จะนำมาใช้ต่อยอดสร้างคุณค่าให้กับบริการฐานข้อมูลนั่นเอง
บริษัทฐานข้อมูล Snowflake ประกาศรองรับการเชื่อมต่อกับภาษา Python ผ่าน Snowpark API สำหรับนักพัฒนาแอพ
ตัวฐานข้อมูล Snowflake สามารถเข้าถึงได้ด้วย SQL ปกติอยู่แล้ว ส่วนนักพัฒนาสามารถเรียกใช้ข้อมูลผ่าน Snowpark ซึ่งก่อนหน้านี้รองรับเฉพาะ Java และ Scala เท่านั้น การเพิ่ม Python เข้ามาเป็นภาษาที่สาม ช่วยให้คนทำงานสายวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่นิยมใช้ Python สามารถเข้าถึง Snowflake ได้ง่ายขึ้น
ตอนนี้ Snowpark for Python ยังมีสถานะเป็นพรีวิว
Snowflake Inc. บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse ชื่อดัง ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) เพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) โดยใช้ตัวย่อว่า SNOW
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยเป็นซอฟต์แวร์ด้านคลังข้อมูล (data warehouse) ที่รันบนคลาวด์เท่านั้น ใช้โมเดลรายได้แบบ subscription
การยื่นเอกสารของ Snowflake ทำให้เราเห็นข้อมูลการเงินของบริษัท มีรายได้ 97 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และเพิ่มอย่างก้าวกระโดดเป็น 264.7 ล้านดอลลาร์ในปี 2020 แต่บริษัทยังขาดทุนอยู่ โดยขาดทุน 178 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 และขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 348.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2020
- Read more about บริษัทฐานข้อมูล Snowflake ยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้น IPO แล้ว
- Log in or register to post comments
Snowflake บริษัทซอฟต์แวร์ data warehouse บนคลาวด์ที่กำลังมาแรง ประกาศระดมทุนรอบใหม่ 479 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 15,000 ล้านบาท) ทำให้บริษัทมีมูลค่า 12.4 พันล้านดอลลาร์ (3.9 แสนล้านบาท) เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นสตาร์ตอัพสายองค์กรที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ของวงการ
Snowflake ก่อตั้งในปี 2012 โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน data warehouse จำนวน 3 คน (สองคนเคยทำงานกับ Oracle) บริษัทเรียกผลิตภัณฑ์ของตัวเองว่า Cloud Data Platform ที่ทำงานบนคลาวด์หลายยี่ห้อ (ปัจจุบันรองรับทั้ง AWS, Azure, GCP) และมีโมเดลคิดเงินแบบ as a service คือมีเฉพาะเวอร์ชันคลาวด์เท่านั้น จ่ายเท่าที่ใช้งานจริง และลดภาระการดูแลเซิร์ฟเวอร์ลง