ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้ File Explorer สามารถแสดงข้อมูลจากระบบเก็บโค้ด (version control) ได้โดยตรง ผู้ใช้จะมองเห็นข้อมูล เช่น วันที่ commit, ข้อความ commit, และสถานะของไฟล์ โดยประกาศครั้งนี้ไม่ได้ระบุว่าจะรองรับระบบรองรับโค้ดใดบ้าง แต่ที่แน่ๆ คือรองรับ Git แน่นอน
ก่อนหน้านี้ฟีเจอร์ที่ไมโครซอฟท์เพิ่มให้ File Explorer คือ การรองรับไฟล์บีบอัดสารพัดรูปแบบ รวมถึง RAR และ 7zip เมื่อปีที่แล้ว
ที่มา - Windows Developer Blog
หลายคนอาจไม่รู้ว่า GitHub รองรับบริการจัดการซอร์สโค้ดตัวอื่นนอกจาก Git ด้วย นั่นคือ Subversion (SVN) ที่เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2010 ด้วยเหตุผลว่าในยุคนั้น Git ยังเป็นของใหม่ และ Subversion ยังถูกใช้งานแพร่หลายอยู่มาก
ล่าสุด GibHub ประกาศหยุดซัพพอร์ต Subversion แล้ว โดยจะมีผลในวันที่ 8 มกราคม 2024 (อีก 1 ปีถัดจากนี้) เพื่อให้ลูกค้าเก่ามีเวลาย้ายระบบ
GitHub บอกว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Subversion ในระบบน้อยมากแล้ว ถ้านับเป็นจำนวน request มีเพียง 0.02% เท่านั้น และมี repository เพียง 5,000 รายการที่ยังถูก request อย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละเดือน บริษัทจึงตัดสินใจปิดบริการนี้เพื่อลดภาระในการดูแลระบบลง และแนะนำให้ย้ายมาเป็น Git แทน
- Read more about GitHub ประกาศหยุดรองรับ Subversion ช่วงต้นปี 2024
- 1 comment
- Log in or register to post comments
Git ออกเวอร์ชั่น 2.30.2 แก้ช่องโหว่ CVE-2021-21300 ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้าง repository มุ่งร้าย ที่รันโค้ดบนเครื่องของเหยื่อทันทีที่ clone โค้ดออกไป
สำหรับคนที่ยังไม่อัพเดต Git ทาง GitHub แนะนำทางแก้ไขชั่วคราวด้วยการคอนฟิก git config --global core.symlinks false
หรืองดการ clone โค้ดจาก repository ไม่น่าเชื่อถือจนกว่าจะอัพเดต
ทาง Git แพตช์เวอร์ชั่นที่ยังซัพพอร์ตอยู่ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ v2.17.6, v2.18.5, v2.19.6, v2.20.5, v2.21.4, v2.22.5, v2.23.4, v2.24.4, v2.25.5, v2.26.3, v2.27.1, v2.28.1, และ v2.29.3 หากใครใช้เวอร์ชั่นที่ติดมากับดิสโทรลินุกซ์สามารถอัพเดตและตรวจสอบว่าได้รับเวอร์ชั่นย่อยใหม่กว่าในรายการแล้วหรือไม่
โครงการ SDL ไลบรารีมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะในวงการเกมเลิกดูแลเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองพร้อมกับย้ายระบบจัดการซอร์สโค้ดจาก Mercurial (hg) มาเป็น git บน GitHub
ไลบรารี Simple DirectMedia Layer (SDL) เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 1998 หรือ 23 ปีมาแล้ว เคยใช้ระบบจัดการซอร์สโค้ดมาตั้งแต่ CVS, Subversion, และ Mercurial และก่อนย้ายมา GitHub ผู้ดูแลโครงการเช่าเซิร์ฟเวอร์บน Digital Ocean เพื่อติดตั้ง Bugzilla สำหรับติดตามบั๊กกันเอง
- Read more about โครงการ SDL เลิกใช้ Mercurial หันมาใช้ GitHub
- 1 comment
- Log in or register to post comments
Unity Technologies บริษัทเจ้าของเอนจิน Unity ประกาศซื้อกิจการ Codice Software บริษัทซอฟต์แวร์จากสเปน เจ้าของซอฟต์แวร์จัดการเวอร์ชันโค้ด Plastic SCM
ในโลกที่คนจำนวนมากนิยมใช้ Git ก็ยังมีซอฟต์แวร์จัดการเวอร์ชันยี่ห้ออื่นๆ ให้เลือกใช้กันอยู่ โดย Plastic SCM เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 เพื่อเป็นทางเลือกแทน Subversion (SVN) ที่นิยมในช่วงเวลานั้น (เกิดปีเดียวกับ Git) ตัวมันเองแตกต่างจาก Git แต่ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั่งไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์
Apache Software Foundation (ASF) ประกาศย้ายซอร์สโค้ดของมูลนิธิจำนวน 350 โครงการ 200 ล้านบรรทัด จากเดิมที่อยู่บน Git ของมูลนิธิเอง ขึ้นมาอยู่บน GitHub แทนทั้งหมด
เดิมที ASF มีระบบจัดการซอร์สโค้ดสองตัวคือ Subversion และ Git บนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง แต่ช่วงหลังเมื่อ GitHub ได้รับความนิยมมากขึ้น นักพัฒนาในชุมชนก็อยากเห็นซอร์สโค้ดอยู่บน GitHub แทน ซึ่ง ASF ก็นำซอร์สโค้ดของบางโครงการขึ้น GitHub แบบ read-only มาได้สักระยะหนึ่ง และตัดสินใจย้ายระบบทั้งหมดตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018
ที่ผ่านมา ASF ดำเนินการมานาน 20 ปี และมีการ commit โค้ดทั้งหมดเกิน 1,000 ล้านบรรทัด ถ้านับเป็นจำนวนการ commit คือ 3 ล้านครั้ง
ไมโครซอฟท์เผยว่าย้ายซอร์สโค้ด Windows ทั้งหมดจากระบบ Source Depot ของตัวเอง มาสู่ Git เรียบร้อยแล้ว ส่งให้ไมโครซอฟท์มี git repository ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในทันที
- จำนวนไฟล์ 3.5 ล้านไฟล์
- ขนาดรวม 300GB
- จำนวนทีมงาน 4,000 คน (ปัจจุบันย้ายมาแล้ว 3,500 คน)
- จำนวนกิ่ง 440 branch
- git push เฉลี่ย 8,421 ครั้งต่อวัน
- pull request 2,500 ครั้งต่อวัน
- การนำซอร์สโค้ดออกมาคอมไพล์ นับเป็นจำนวน 1,760 build ต่อวัน
กระบวนการย้ายระบบของไมโครซอฟท์เริ่มในเดือนมีนาคม โดยพนักงานกลุ่มแรก 2,000 คนจากทีม Windows OneCore ใช้งาน Source Depot ในวันศุกร์ เมื่อกลับมาเช้าวันจันทร์ก็เจอกับระบบใหม่ที่เป็น Git แทน
โครงการ Git ออกเวอร์ชัน 2.10.0 ของใหม่ที่สำคัญคือแสดงความคืบหน้าเมื่อสั่ง git push ส่งโค้ดไปที่เซิร์ฟเวอร์อย่างละเอียด บอกว่ากำลังทำงานอะไรอยู่ ส่งข้อมูลไปถึงไหนแล้ว สถานะของเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างไร (สำหรับคนที่ชอบความเงียบ สามารถใช้คำสั่ง git push --quiet ได้) ฟีเจอร์แสดงสถานะยังใช้กับคำสั่ง git clone ตอนดึงซอร์สออกมาด้วย
ฟีเจอร์อย่างอื่นคือการคอนฟิกสีสันของ Git terminal โดยสามารถแสดงตัวเอียง (italic) และขีดฆ่ากลาง (strikethrough) ได้แล้ว
ในโอกาสเดียวกัน ฝั่งของไมโครซอฟท์ก็ออก Git for Windows 2.10 มาด้วย
ระบบจัดการซอร์สโค้ดของโครงการเคอร์เนลนิลุกซ์เมื่อสิบปีที่แล้วไม่ได้ใช้ Git เช่นทุกวันนี้ แต่ใช้ซอฟต์แวร์ปิดซอร์สที่ชื่อว่า BitKeeper ที่เป็นซอฟต์แวร์จัดการซอร์สโค้ดแบบไร้ศูนย์กลางมาตั้งแต่ก่อนระบบจัดการแบบเดียวกันจะได้รับความนิยม
แม้ว่า BitKeeper จะเป็นซอฟต์แวร์ปิดซอร์ส แต่ก็บริจาคให้โครงการโอเพนซอร์สใช้งานฟรีหลายโครงการ อย่างนั้นก็ตามชุมชนโอเพนซอร์สบางส่วนก็ไม่พอใจที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สต้องใช้ซอฟต์แวร์ปิดซอร์สในการพัฒนา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2005 ไลนัสจึงประกาศเขียน "สคริปต์" เพื่อจัดการซอร์สโค้ดของตัวเอง และสคริปต์นั้นกลายมาเป็น Git ในที่สุด
- Read more about ระบบจัดการซอร์สโค้ด BitKeeper เป็นโอเพนซอร์สแล้ว
- 3 comments
- Log in or register to post comments
Git เป็นระบบจัดการซอร์ส (source code management หรือบางที่ก็เรียกว่า version control system) ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน เพียงแค่หน้าที่หลักของมันในการติดตามการเปลี่ยนแปลงและเรียกคืนไฟล์ตามช่วงเวลาต่างๆ ก็ทำให้การทำงานโดยใช้ Git บริหารไฟล์มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว
เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา ชุมชนพัฒนาภาษา Python ได้ตัดสินใจเลือก GitHub เป็นที่ฝากซอร์ส แทนที่จะโฮสต์เองด้วย Mercurial แล้วครับ
เดิมนั้น Python ใช้ระบบจัดการซอร์สด้วย Mercurial ซึ่งน่าจะเป็นเพราะมันเขียนด้วย Python เช่นเดียวกัน แต่ Git ก็ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเจ้าตลาดด้านการฝากซอร์สไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ชุมชนพัฒนาภาษา Python เลือกที่จะย้ายไปฝากซอร์สไว้บน Git แทน
งานนี้ Guido van Rossum ลงความเห็นแล้วว่า เขาชอบ GitHub (ฝากซอร์สไว้กับคนอื่น) มากกว่า GitLab (โฮสต์ซอร์สบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเอง) และตอนนี้ ซอร์สของ CPython ก็ย้ายมาอยู่บน GitHub เรียบร้อยแล้ว ครับ
- Read more about Python บอกลา Mercurial ย้ายซอร์สไปฝากไว้บน GitHub
- 2 comments
- Log in or register to post comments
สงครามศาสนาอีกสมรภูมิหนึ่งที่สู้กันดุเดือดคือโลกของ Version Control System (VCS หรือบางที่ก็เรียก Revision Control) โดยแนวโน้มของตลาดกำลังขยับจาก VCS แบบ client-server อย่าง CVS/SVN มาเป็น distributed VCS อย่าง Git, Bazaar (BZR) และ Mercurial (Hg)
ส่วนของโครงการ Python นั้นได้ประกาศออกมาแล้วว่าจะย้ายจาก SVN ไปเป็น Mercurial (Hg) โดย Guido van Rossum ผู้สร้าง Python เป็นคนเลือก (ตัวเลือกอีกอันคือ Bazaar) แต่ยังไม่ประกาศว่าจะย้ายเมื่อไร
Mercurial เขียนด้วย Python และถูกสร้างขึ้นมาใช้แทน BitKeeper สำหรับเคอร์เนลของลินุกซ์ (ซึ่งสุดท้ายแล้วแพ้ให้กับ Git ที่ Linus เป็นคนสร้างเอง) แต่โครงการใหญ่ๆ หลายอันก็ใช้ Hg เช่น Mozilla, OpenJDK, OpenSolaris และโครงการของซันแทบทั้งหมด
- Read more about Python เลือก Mercurial
- 8 comments
- Log in or register to post comments