Unity Technologies เปิดให้ใช้งานเอนจิน Unity 6 รุ่นเสถียรอย่างเป็นทางการ ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะกลับมาใช้วิธีคิดค่าไลเซนส์แบบเดิม ยกเลิก Runtime Fee พร้อมประกาศปรับวิธีการออก Unity รุ่นย่อยใหม่
จากนี้ไป Unity Engine จะแบ่งอัพเดตออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- Major = เวอร์ชันใหญ่ เช่นกรณีนี้คือ Unity 6
- Patch = แพตช์แก้บั๊ก แต่ไม่เพิ่มฟีเจอร์
- Updates = เพิ่มฟีเจอร์ แต่ไม่บังคับใช้งาน และจะเข้ากันได้กับเอนจินเวอร์ชันหลัก เรียกเวอร์ชันเป็น 6.x เป็นของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบใหม่
Unity 6 จะออก Update ตัวแรกคือ Unity 6.1 ในเดือนเมษายน 2025
Unity ประกาศปล่อยอัพเดตเอนจินเวอร์ชันใหม่ Unity 6 รุ่นเสถียรและซัพพอร์ตระยะยาว 2 ปี ในวันที่ 17 ตุลาคม 2024
Unity 6 เปลี่ยนกลับมาใช้ระบบไลเซนส์แบบดั้งเดิม (จ่ายตามจำนวนนักพัฒนา) แทนการคิด Runtime Fee ตามจำนวนการติดตั้งที่ก่อดราม่ามากมายกับบริษัท
ของใหม่ใน Unity 6 มีจำนวนมาก เอาแค่ส่วนกราฟิกได้แก่ Render Graph เฟรมเวิร์คการเรนเดอร์แบบใหม่ ช่วยลดการใช้แรมบนเกมมือถือ, GPU Resident Drawer และ Split Graphics Jobs เพื่อให้เรนเดอร์ได้เร็วขึ้น, Spatial-Temporal Post-Processing (STP) การเรนเดอร์เฟรมที่ความละเอียดต่ำก่อนไปอัพสเกล เป็นต้น
Matthew Bromberg ซีอีโอคนใหม่ของ Unity ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ประกาศถอยทัพ ยกเลิก วิธีการคิดเงินค่าใช้งานเอนจินแบบ Runtime Fee นับตามจำนวนการติดตั้ง ที่กลายเป็นดราม่าใหญ่ในปี 2023 และ เป็นผลให้ซีอีโอคนเก่าต้องลาออก เปลี่ยนกลับมาใช้วิธีคิดเงินตามจำนวนไลเซนส์นักพัฒนา (per seat) แบบดั้งเดิม
ปีที่แล้วหลัง Unity ประกาศแผนการคิดเงินแบบใหม่แล้วโดนประท้วงหนัก ก็ถอยครึ่งก้าว โดยยอม ไม่เปลี่ยนวิธีคิดเงินกับเอนจินเวอร์ชันเก่า และให้นักพัฒนาเกมรายงานตัวเลขผู้เล่นกันเอง
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม Unity ออก Unity 6 Preview ซึ่งเป็นพรีวิวรุ่นแรกของ เอนจิน Unity 6 ที่เปิดตัวช่วงปลายปี 2023
นอกจากฟีเจอร์ด้านระบบกราฟิกและเครื่องมือช่วยสร้างเกมต่างๆ ในแง่ของแพลตฟอร์มที่รองรับเกม ยังมีของใหม่มากมาย ดังนี้
บริษัท Unity ประกาศตั้งซีอีโอคนใหม่มาแทน John Riccitiello ซีอีโอคนเก่าที่ลาออกไปเมื่อปี 2023 หลัง มหากาพย์การเปลี่ยนวิธีคิดเงินค่า Unity Engine แบบใหม่
ซีอีโอคนใหม่คือ Matthew Bromberg อดีตซีโอโอ (ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ) ของ Zynga ระหว่างปี 2016-2021 ก่อนหน้านั้นเขาเคยทำงานกับ EA และเคยเป็นผู้จัดการสตูดิโอ BioWare ถือว่ามีความเข้าใจธุรกิจเกมเป็นอย่างดี
ส่วน Jim Whitehurst อดีตซีอีโอของ Red Hat ที่มารับตำแหน่งซีอีโอรักษาการณ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จะไปรับตำแหน่งประธานบอร์ด และกลับไปทำงานกับบริษัทลงทุน Silver Lake ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Unity
Unity รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2023 รายได้เพิ่มขึ้น 35% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 609 ล้านดอลลาร์ โดยมีรายการพิเศษ 99 ล้านดอลลาร์ จากการทำข้อตกลงไลเซนส์ใหม่กับ Wētā FX ในการใช้เครื่องมือของ Wētā เนื่องจากปัจจุบัน Wētā เป็นบริษัทในเครือ Unity แต่ Wētā FX ยังเป็นของ Peter Jackson ซึ่งหากไม่รวมรายการนี้ Unity จะมีรายได้ลดลง
ในไตรมาสที่ผ่านมา Unity ขาดทุนตามบัญชี GAAP ที่ 254 ล้านดอลลาร์ และบริษัทแจ้งปรับการให้คาดการณ์รายได้ในไตรมาสปัจจุบัน มาเป็นเฉพาะส่วนธุรกิจที่เป็นกลยุทธ์เติบโตบริษัทเท่านั้น ทำให้ราคาหุ้น Unity ปรับลดลงถึง 17% หลังรายงานผลประกอบการ
Unity ออกเครื่องมือพัฒนาสภาพแวดล้อมแบบ spatial ( จงอย่าเรียกว่า VR ) มาต้อนรับการวางขายแว่น Apple Vision Pro หลังจากเปิดทดสอบแบบ Beta มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023
การใช้งานจำเป็นต้องมี Unity 2022 LTS เป็นพื้นฐาน แล้วติดตั้ง visionOS build target โดยรองรับเฉพาะบน Mac ที่เป็นชิป Apple Silicon เท่านั้น
Unity ระบุว่าการสร้าง "ประสบการณ์ spatial" (จงอย่าเรียกว่าแอพ) สำหรับ visionOS มีความเป็นไปได้ 3 แบบคือ
Unity ยื่นเอกสารต่อ SEC หรือสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐ ว่าบริษัทเตรียมปลดพนักงานเพิ่มเติมอีกประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด คิดเป็นจำนวนประมาณ 1,800 คน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Unity ปลดพนักงานไปแล้ว 3 ครั้ง คือเมื่อเดือน มิถุนายน 2022 , พฤษภาคม 2023 และล่าสุด พฤศจิกายน 2023 คิดเป็นจำนวนพนักงานร่วมประมาณ 1,100 คน
Unity บอกว่าการปลดพนักงานนี้ เป็นไปตามเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ส่งผลกระทบ ทำให้บริษัทต้องควบคุมค่าใช้จ่าย
- Read more about Unity ปลดพนักงานเพิ่มอีก 25% คิดเป็นจำนวน 1,800 คน
- 8 comments
- Log in or register to post comments
Unity ประกาศปลดพนักงาน 265 คน คิดเป็น 3.8% ของพนักงานทั้งหมดราว 7,000 คนทั่วโลก โดยรอบนี้เป็นการปลดพนักงานใน ทีมวิชวลเอฟเฟคต์ Weta Digital ของผู้กำกับ Peter Jackson ที่ซื้อมาในปี 2021 ด้วยราคา 1.63 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ Unity ยังปิดสำนักงาน 14 แห่งทั่วโลกเพื่อลดค่าใช้จ่าย พนักงานบางส่วนที่ทำงานในสำนักงานเหล่านี้จะได้สิทธิทำงานจากที่บ้าน ไม่ต้องกลับเข้าออฟฟิศ (เพราะไม่มีที่ให้นั่งอีก)
หลังจาก ประสบวิกฤตศรัทธาครั้งใหญ่ในปีนี้ ถึงขั้นซีอีโอต้องลาออก บริษัท Unity ได้เปิดตัวเอนจินเกมเวอร์ชันใหม่ Unity 6ที่เปลี่ยนกลับมาใช้เลขรุ่นแบบดั้งเดิม จากที่ก่อนหน้านี้ใช้ระบบเลขรุ่นอิงตามปี
Unity 6 มีกำหนดออกปีหน้า 2024 โดยเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS มีจุดเด่นเรื่องปรับปรุงประสิทธิภาพ, สร้างเกมมัลติเพลเยอร์ได้ง่ายและเร็วขึ้น, รองรับ WebGPU สร้างเกมด้วย Unity แล้วแสดงผลในเบราว์เซอร์โดยตรง, รองรับอุปกรณ์กลุ่ม XR ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนรายละเอียดจะแถลงให้ทราบอีกทีในปีหน้า
Unity ประกาศว่า John Riccitiello จะเกษียณจากตำแหน่งซีอีโอ ประธานบริษัท ตลอดจนตำแหน่งในบอร์ดบริหาร มีผลทันที โดยแต่งตั้ง James M. Whitehurst ขึ้นเป็นซีอีโอชั่วคราว และแทนที่ตำแหน่งในบอร์ดของ Riccitiello ส่วน Roelof Botha ประธานบอร์ดอิสระ จะเป็นประธานบอร์ดคนใหม่ ทั้งนี้ Riccitiello จะยังอยู่เพื่อส่งมอบงานให้ผู้บริหารคนอื่นต่อ
John Riccitiello ร่วมงานกับ Unity มาตั้งแต่ 2013 เริ่มจากเป็นกรรมการบอร์ด และขึ้นเป็นซีอีโอในปี 2014 มีผลงานเด่นทั้งการเปลี่ยนระบบขายไลเซนส์เป็น Subscription ซึ่งช่วยให้ Unity เติบโตสูงในช่วงที่ผ่านมา, นำบริษัท ไอพีโอ เข้าตลาดหุ้น
Unity ออกมาขอโทษชุมชนนักพัฒนาเกมอย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศแนวทางใหม่ของการคิดเงินค่าใช้งาน Unity Engine ดังนี้
ผู้ใช้เอนจิน Unity Personalตัวฟรี จะไม่ถูกคิดเงินค่า Runtime Fee ใดๆ, ขยายเพดานรายได้จากเกมที่มีสิทธิใช้ Unity Personal จากเดิม 100,000 ดอลลาร์เป็น 200,000 ดอลลาร์, ยกเลิกเงื่อนไขบังคับแสดงหน้าจอ Made with Unity ออกให้ด้วย
ผู้ใช้เอนจิน Unity Proและ Unity Enterpriseมีเงื่อนไขการคิดเงินใหม่ดังนี้
จากกรณี Unity ยอมถอยหลังนักพัฒนาเกมประท้วงโมเดลการคิดเงินแบบใหม่ แม้ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของแผนการใหม่ประกาศออกมา แต่ Jason Schreier นักข่าวสายเกมของ Bloomberg ก็อ้างแหล่งข่าวภายในบริษัทว่า โอกาสยกเลิกแผนคิดเงินทั้งหมด ถอยกลับไปแบบเดิมนั้นแทบเป็นไปไม่ได้
แนวทางใหม่ของ Unity จะยังคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกมเหมือนเดิม แต่ปรับวิธีการนับจำนวนจากระบบการนับของ Unity เอง (ที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไร) มาเป็นให้นักพัฒนาเกมรายงานตัวเลขเอง (self-report), ไม่นับตัวเลขย้อนหลังในอดีต และจำกัดเพดานเงินที่ต้องจ่ายให้ Unity ที่ 4% ของรายได้เกม (เฉพาะเกมที่มีรายได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์เท่านั้นด้วย)
หลังจาก Unity เปลี่ยนวิธีคิดเงินค่าเอนจินเกม จนโดนวิจารณ์อย่างหนัก ถึง ขั้นโดนขู่ฆ่าจนต้องปิดสำนักงาน
ล่าสุด Unity ออกมาขอโทษผ่านทางโซเชียลแล้ว บอกว่าได้ยินเสียงวิจารณ์ของลูกค้า และเตรียมเปลี่ยนนโยบายที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ โดยรายละเอียดจะแถลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
บริษัท Unity Technologies Inc. ต้องปิดสำนักงานบางแห่งชั่วคราว หลังได้รับคำขู่ฆ่าจากผู้ที่ไม่พอใจ การเปลี่ยนแปลงไลเซนส์เอนจินเกมของบริษัท
ตัวแทนของ Unity ให้ข่าวว่าได้รับคำขู่ จึงต้องปิดสำนักงานก่อนเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ตามข่าวบอกว่าสำนักงานที่ปิดคือซานฟรานซิสโก และออสติน โดย ข้อมูลจากหน้าสมัครงานของ Unity ระบุว่าบริษัทมีสำนักงานมากถึง 27 แห่งทั่วโลก ในทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ โคลอมเบีย
Unity ประกาศวิธีการคิดเงินค่าใช้งานเอนจินเกมใหม่ เปลี่ยนมาคิดเงินตามจำนวนการติดตั้งเกม (installs) สร้างเสียงวิจารณ์จากนักพัฒนาเกมจำนวนมาก
ตัวเอนจิน Unity แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Unity Editor ที่ใช้สร้างเกม และ Unity Runtime เป็นเอนจินที่ผนวกไปกับไฟล์ของเกม การเปลี่ยนแปลงนี้คือ Unity คิดเงินค่า Unity Runtime Fee ต่อเมื่อเกมเข้าเงื่อนไขครบ 2 ข้อคือ
- รายได้เกิน 200,000 ดอลลาร์ในรอบ 12 เดือนล่าสุด
- จำนวนการติดตั้งเกิน 200,000 ครั้ง (นับตั้งแต่เริ่มต้น)
Unity เริ่มเปิดให้นักพัฒนาเข้าใช้เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับ visionOS ระบบปฏิบัติการโลก 3D ของแอปเปิล ตามที่ประกาศไว้ในงาน WWDC23
การทดสอบยังไม่เปิดทั่วไป ต้องสมัครเข้าร่วม โครงการ Beta ของ Unity และได้รับการคัดเลือกก่อน
Unity ประกาศออกตัวรันไทม์ของเอนจินที่ทำงานบน Windows on Arm แบบเนทีฟ ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศไว้ในงาน Build 2023 เท่ากับว่าตอนนี้เกมหรือแอพต่างๆ ที่สร้างด้วย Unity จะสามารถรันบนอุปกรณ์ Windows ที่ใช้ชิป ARM64 ได้แบบเนทีฟ ได้ประสิทธิภาพเต็มรูปแบบ เพราะไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์
ตอนนี้ Unity ยังรองรับ Windows on Arm เฉพาะตอนรันเท่านั้น ส่วนตอนสร้างและคอมไพล์บน Unity Editor ยังต้องใช้เครื่องที่เป็น x86 ซึ่ง Unity สัญญาว่ากำลังพัฒนาตัว Editor ให้รันบน Windows on Arm
ในงาน WWDC23 เมื่อคืน แอปเปิลให้รายละเอียดของแว่นตาผสมผสานโลกเสมือน Apple Vision Pro โดยบอกว่าทำงานด้วยระบบปฏิบัติการใหม่ visionOS ที่มีพื้นฐานมาจาก iOS มีส่วนติดต่อผู้ใช้งานเป็นแบบ 3D
อย่างไรก็ตามสิ่งท้าทายของแอปเปิลคือทำอย่างไรให้มีแอปมารันในแพลตฟอร์มใหม่มากพอ แบบที่เกิดขึ้นแล้วใน iOS, iPadOS แอปเปิลจึงประกาศความร่วมมือกับ Unity เพื่อนำเทคโนโลยีอย่าง PolySpatial มาช่วย เพื่อให้แอป 3D ที่พัฒนาบนพื้นฐานของ Unity อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแอปใช้งานหรือเกม สามารถพอร์ตมารองรับให้ทำงานบน visionOS ได้ รวมถึงให้แอปอื่นมาปรับรูปแบบเป็น 3D ได้ง่ายขึ้นด้วย
Unity เตรียมปลดคนระลอกใหม่อีก 600 คน คิดเป็นราว 8% จากพนักงานทั้งหมด 7,000 คน โดยซีอีโอ John Riccitiello ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการลดขนาดของบริษัทลง ให้ทำงานคล่องตัวกว่าเดิม รวมถึงมีแผนจะลดจำนวนสำนักงานลงจาก 58 แห่งทั่วโลก เหลือประมาณ 30 แห่ง
ก่อนหน้านี้ Unity เคยปลดคนมาแล้ว 2 รอบ คือ เดือนมิถุนายน 2022 ราว 200 คน และเดือนมกราคม 2023 อีกราว 300 คน
บริษัทเอนจินเกม Unity เสร็จสิ้นการควบรวมกับบริษัทโฆษณามือถือ ironSource จากอิสราเอล ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022
เป้าหมายของดีลนี้คือการสร้างแพลตฟอร์มเกมมือถือแบบครบวงจร ตั้งแต่การสร้าง (build), เผยแพร่ (publishing) และทำเงินจากการโฆษณา ก่อนหน้านี้ Unity มีแพลตฟอร์ม Unity Ads สำหรับโฆษณาอยู่แล้ว แต่การได้แพลตฟอร์มของ ironSource มาร่วมด้วยก็ช่วยให้การหารายได้แข็งแกร่งมากขึ้น
ก่อนหน้านี้เคยมี แพลตฟอร์มโฆษณาอีกรายคือ AppLovin สนใจมาควบรวมกับ Unity ด้วยเช่นกัน แต่สุดท้าย Unity ปฏิเสธและเลือกไปแต่งงานกับ ironSource
- Read more about Unity เสร็จสิ้นการควบรวมกับบริษัทโฆษณา ironSource
- Log in or register to post comments
เอนจินเกมชื่อดัง Unity ประกาศรองรับ Windows on Arm ที่ไมโครซอฟท์กำลังผลักดันเต็มที่ ด้วยการประกาศว่าจะนำเอนจิน Unity มารันแบบเนทีฟบน Windows on Arm ด้วย แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาว่าจะเห็นกันเมื่อไร
ประกาศของ Unity มาพร้อมกับ การวางขาย Windows Dev Kit 2023 ฮาร์ดแวร์ของไมโครซอฟท์สำหรับพัฒนา Windows on Arm ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไมโครซอฟท์เริ่มเอาจริงแล้ว (สักที)
การได้เอนจินเกมดังอย่าง Unity เพิ่มเข้ามา ก็น่าจะช่วยให้ ecosystem ของ Windows on Arm เข้มแข็งมากขึ้น ก่อนหน้านี้มี Spotify ที่ออกแอพเวอร์ชัน Arm มาให้แล้ว
- Read more about Unity ประกาศจะออกเอนจินเกมเวอร์ชัน Windows on Arm
- 7 comments
- Log in or register to post comments
พัฒนาการล่าสุดของศึกแย่งชิง Unity โดยบอร์ดของ Unity ปฏิเสธ ข้อเสนอการควบรวมกิจการกับบริษัทโฆษณา AppLovin มูลค่า 17.5 พันล้านดอลลาร์
เราอาจรู้จัก Unity ในฐานะเอนจินเกม แต่รายได้ของ Unity มีทั้งจากไลเซนส์เอนจินเกม (ภาษาภายในเรียก Create) และจากบริการสำหรับนักพัฒนาเกม เช่น เซิร์ฟเวอร์ โฆษณา (Operate) ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายได้พอๆ กันแล้ว
Unity พยายามแก้ปัญหาเรื่องรายได้น้อยกว่าที่ควร โดย จะควบรวมกับ ironSource บริษัทโฆษณาออนไลน์จากอิสราเอล หลังการควบรวม Unity จะถือหุ้น 73.5% ของบริษัทใหม่
AppLovin บริษัทแพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือและเกม ประกาศยื่นข้อเสนอขอควบรวมกิจการกับ Unity ผู้พัฒนาเอนจินเกมชื่อดัง โดยเสนอแลกหุ้นเดิมของ Unity เป็นหุ้นของ AppLovin คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่เสนอรวม 17,540 ล้านดอลลาร์
หากดีลควบรวมนี้เสร็จสิ้นผู้ถือหุ้น Unity เดิม จะมีหุ้นในบริษัทควบรวมใหม่ที่ 55% ของหุ้นทั้งหมด และมีอำนาจการโหวตรวม 49% เนื่องจากมีหุ้นหลายคลาส
Adam Foroughi ซีอีโอ AppLovin มองว่าการควบรวมกิจการนี้ จะเสริมจุดแข็งทางธุรกิจร่วมกัน และทำให้บริษัทเติบโตได้มากขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่าย โดย AppLovin เชี่ยวชาญด้านการตลาดแอปมือถือ และมีโซลูชันต่อยอด ส่วน Unity ก็มีเครื่องมือทรงพลังสำหรับผู้สร้างสรรค์เนื้อหา
Unity ประกาศเซ็นสัญญากับ Microsoft Azure เป็นพาร์ทเนอร์ด้านคลาวด์ เพื่อขยายโครงสร้างพื้นฐานของตัวเอง และนำซอฟต์แวร์ต่างๆ ในเครือที่มีเป็นจำนวนมาก (จากการซื้อกิจการรัวๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา) มารันบนคลาวด์ให้มากขึ้น
Unity บอกว่าที่ผ่านมาเครื่องมือฝั่งเอนจิน 3D ออกแบบมาเพื่อรันในเครื่อง local เป็นหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรมากกว่าการรันบนคลาวด์ ในภาพรวมบริษัทจึงต้องการขยายบริการไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้น
ตัวอย่างบริการในเครือที่จะใช้ประโยชน์จาก Azure ได้แก่