กูเกิลออก Material Design Lite (MDL) ชุดไลบรารีสำหรับสร้างเว็บแบบ Material Design ได้อย่างง่ายดาย
MDL สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web Components โดยพัฒนาต่อจาก Polymer ของกูเกิลเอง สามารถใช้งานกับเบราว์เซอร์ยุคใหม่ได้ทุกตัว ทำงานแบบ responsive ได้บนทุกขนาดหน้าจอ มันถูกออกแบบมาให้เรียกใช้แบบดาวน์โหลดผ่าน CDN ด้วยขนาดที่เล็กเพียง 27KB เมื่อบีบอัดแล้ว (แต่ใครจะเอาไฟล์มาโฮสต์เองก็ได้เช่นกัน)
ที่งาน Google I/O 2015 กูเกิลออกไลบรารี Polymer เวอร์ชัน 1.0 เรียบร้อยแล้ว
Polymer เป็นไลบรารีสำหรับสร้าง UI บนเว็บด้วยแนวคิด Web Components มันเปิดตัวครั้งแรกในงาน I/O ปี 2013 และถูกพูดถึงอย่างจริงจังใน I/O 2014 (อ่านบทความ รู้จัก Web Components - ปฏิวัติการเขียน UI บน HTML ด้วยการสร้างคอมโพเนนต์ และ รู้จัก Polymer ไลบรารีสำหรับสร้าง Web UI ด้วย Web Components ประกอบ)
- Read more about [Google I/O] ไลบรารี Polymer ออกเวอร์ชัน 1.0
- Log in or register to post comments
บทความนี้เป็นตอนต่อจาก รู้จัก Web Components - ปฏิวัติการเขียน UI บน HTML ด้วยการสร้างคอมโพเนนต์ ต้องอ่านตอนแรกก่อนนะครับ
สำหรับตอนนี้เราจะพูดถึงตัว Polymer กันจริงๆ หลังจากเกริ่นนำแนวคิดของ Web Components ในฐานะ "เอกสารสเปก" ไปเมื่อตอนก่อน คราวนี้เป็นคิวของ Polymer ที่เป็นตัวซอฟต์แวร์ (implementation ตามสเปก) ที่พัฒนาโดยทีมงานกูเกิลนั่นเอง
Polymer เปิดตัวต่อโลกครั้งแรกในงาน Google I/O 2013 แต่ช่วงนั้นยังไม่มีข้อมูลออกมาเยอะมากนัก เมื่อเวลาผ่านมา 1 ปี มันถูกกล่าวถึงอีกครั้งในงาน Google I/O 2014 และถูกเน้นมากเป็นพิเศษผ่านเซสชันในงานรอบล่าสุดนี้
คนที่ติดตามงาน Google I/O 2014 คงได้ยินชื่อ โครงการ Polymer ของกูเกิลกันมาบ้าง มันคือ " ไลบรารีสำหรับสร้าง UI ด้วยเทคโนโลยีเว็บ" ที่พัฒนาขึ้นบน มาตรฐานเว็บตัวใหม่ Web Components ที่ว่ากันว่าจะปฏิวัติแนวคิดของการเขียนเว็บแบบเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง
บทความนี้จะแนะนำแนวคิดของ Web Components ในฐานะมาตรฐานที่กำลังพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานของ W3C ก่อนจะกล่าวถึง Polymer ในตอนต่อไป (ผู้อ่านควรมีพื้นฐานด้านการพัฒนาเว็บมาบ้างพอสมควร)