กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ที่เป็นเจ้าของเอนจิน 3 ตัวหลัก Blink/V8, Gecko/SpiderMonkey, WebKit/JavaScriptCore ร่วมกันเปิดตัวเบนช์มาร์คเวอร์ชันใหม่ Speedometer 3
Speedometer เริ่มพัฒนาครั้งแรกในปี 2014 โดยทีม WebKit จากนั้นออกเวอร์ชัน 2 ในปี 2018 และใช้งานเรื่อยมา ในปี 2022 กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ประกาศร่วมกันทำ Speedometer 3 และวันนี้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างมาให้ใช้งานกันแล้ว
แอปเปิลประกาศนำความสามารถในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) กลับคืนมาใน iOS 17.4 สำหรับผู้ใช้งานกลุ่มประเทศ EU อีกครั้ง หลังจากมีนักพัฒนาพบว่าความสามารถถูกตัดออกไป และ แอปเปิลยืนยันว่าปิดไปจริง ๆ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยเพราะต้องรองรับเอ็นจินหลายเบราว์เซอร์ แต่นักพัฒนาจำนวนหนึ่งมองว่าแอปเปิลพยายามหาท่ากีดกันเบราว์เซอร์อื่น และ ร้องเรียนไปทาง EU ให้สอบสวน
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ออกอัพเดต iOS 17.4 เบต้า สำหรับนักพัฒนา ทำให้มีคนพบว่า แอปเปิลได้ปิดการทำงานในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็ ยืนยันการจำกัดความสามารถ นี้สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เนื่องจากมีข้อกำหนดของกฎหมาย DMA ที่ระบุว่าเบราว์เซอร์อื่นต้องใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช้ WebKit ได้
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขันของ EU รายงานว่ากำลังส่งคำถามไปยังนักพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินว่าการกระทำนี้ของแอปเปิลส่งผลกระทบมากแค่ไหน และพิจารณาในการสอบสวนต่อไป
ใน iOS 17.4 จะมีการ เปลี่ยนแปลงสำคัญ สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศ EU ที่สามารถเลือกเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นได้เอง และเลือกโหลดแอปจากสโตร์ภายนอกได้ อย่างไรก็ตามมีนักพัฒนาพบว่า มีฟีเจอร์หนึ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว คือการสร้างไอคอนเว็บแอปในหน้า Home (PWA - Progressive Web App)
Chrome, Safari/WebKit, Firefox ประกาศร่วมกันพัฒนาเบนช์มาร์ควัดประสิทธิภาพของเบราว์เซอร์ Speedometer เวอร์ชัน 3 เพื่อเบนช์มาร์คให้สะท้อนการใช้งานของผู้ใช้จริงมากขึ้น
Speedometer เป็นเบนช์มาร์คที่เริ่มพัฒนาโดยทีม WebKit แต่ภายหลังก็ได้รับความนิยมใช้ทดสอบกับเบราว์เซอร์ตัวอื่นด้วย เวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ 2.1 รูปแบบการทำงานคือสร้างเว็บแอพ TodoMVC ที่มีการเรียกใช้ DOM API ของเบราว์เซอร์ผ่าน ECMAScript 5/6 รวมถึงเฟรมเวิร์ค JavaScript ยอดนิยมหลายตัว เช่น Vue.js, jQuery, React, Ember เพื่อจำลองสถานการณ์เสมือนเป็นการใช้งานของผู้ใช้ที่พบในโลกจริงๆ
ต่อจากประเด็นที่ Mark Gurman แห่ง Bloomberg บอกว่า แอปเปิลเตรียมเปิดให้ผู้ใช้ iOS ดาวน์โหลดแอปผ่านสโตร์อื่นได้นอกจาก App Store สำหรับกลุ่มประเทศ EU เขายังรายงานเพิ่มเติมว่า ในข้อบังคับของ EU นั้น อาจทำให้แอปเปิลต้องยกเลิกข้อกำหนดเรื่อง WebKit ด้วย
ปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์อื่นที่ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้นั้น ข้อกำหนดหนึ่งของแอปเปิลคือต้องใช้ WebKit ที่เป็นเทคโนโลยีเดียวกับของ Safari เป็นเอ็นจิน แต่ตามข้อบังคับใหม่ EU นั้น แอปเปิลอาจต้องยกเลิกข้อกำหนดนี้เนื่องจากถูกมองว่าผูกขาดการแข่งขัน แม้ตัว WebKit จะเป็นโอเพนซอร์สก็ตาม
แอปเปิลประกาศย้ายโครงการซอร์สโค้ดของ WebKit จุดกำเนิดของเบราว์เซอร์ยุคใหม่ (ที่ใช้กับทั้ง Safari, Chromium และอื่นๆ แทบทุกตัวที่ไม่ใช่ Firefox) จากเดิมโฮสต์บนระบบ Subversion ของตัวเอง มาสู่ GitHub
ตัวโครงการ WebKit เปิดซอร์สมาตั้งแต่แรก เพียงแต่อยู่บน Subversion ระบบจัดการซอร์สโค้ดที่ถือกำเนิดมาก่อน Git เมื่อโลกเริ่มหมุนมาสู่ Git ด้วยจุดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาดีกว่า ทำให้แอปเปิลตัดสินใจเลือกย้ายจาก Subversion มายัง Git
แอปเปิลบอกว่ามีตัวเลือกโฮสต์ Git หลายทาง แต่สุดท้ายเลือก GitHub เพราะมีฐานชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่ และมี API ใช้ง่าย ปรับแต่งสคริปต์อัตโนมัติเดิมเพียงเล็กน้อยก็ใช้งานได้ทันที
- Read more about แอปเปิลย้ายโครงการ WebKit จาก Subversion ขึ้น GitHub
- 5 comments
- Log in or register to post comments
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 14.4.2 และ iPadOS 14.4.2 ในวันนี้ โดยเป็นการแก้ไขช่องโหว่ของ WebKit ที่อาจทำให้ถูกโจมตีแบบ Cross-Site ได้ ผู้ใช้งานจึงควรอัพเดตเพื่อความปลอดภัย
การอัพเดตทำได้โดยไปที่ Settings > General > Software Update
แอปเปิลยังออกอัพเดตเพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้สำหรับ watchOS ระบบปฏิบัติการบน Apple Watch และ iOS ของอุปกรณ์รุ่นเก่าที่อัพเดตเป็น iOS 14 ไม่ได้ รายละเอียดดังนี้
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการหลายรายการในวันนี้ โดยทั้งหมดเป็นการแก้ไขช่องโหว่ CVE-2021-1844 ใน Webkit ที่อาจโจมตีได้ทางเว็บ จึงแนะนำให้ผู้ใช้งานอัพเดตระบบปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัย
ซอฟต์แวร์ที่อัพเดตได้แก่ iOS 14.4.1, iPadOS 14.4.1, watchOS 7.3.2 และ macOS Big Sur 11.2.3
สำหรับ iOS และ iPadOS สามารถอัพเดตได้โดยไปที่ Settings > General > Software Update ส่วน watchOS อัพเดตได้ผ่านแอปบน iPhone และ macOS Big Sur อัพเดตผ่าน System Preferences
แอปเปิลถอด Adobe Flash ออกจาก Safari Technology Preview 99 รุ่นทดสอบล่าสุด นับเป็นการเตรียมอำลาเทคโนโลยีที่เคยครองเว็บอย่างเป็นทางการภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้ Adobe เคยประกาศมาก่อนแล้วว่าจะเลิกซัพพอร์ต Flash Player ทั้งหมดภายในปี 2020 ทำให้ผู้ผลิตเบราว์เซอร์มักปิดการทำงานเป็นค่าเริ่มต้นมานานแล้วแต่ผู้ใช้ก็ยังเปิดกลับมาใช้งานเองได้อยู่ การถอดส่วนเสริมออกทั้งหมดเช่นนี้ทำให้ผู้ใช้ไม่มีทางเลือกเปิด Flash กลับมาใช้งานอีกต่อไป
โครงการ WebKit ที่เป็นโครงการต้นน้ำของเบราว์เซอร์ Safari ประกาศนโยบายต่อต้านการติดตามตัวผู้ใช้ (tracking prevention policy) โดยระบุว่าเป็นแนวทางการพัฒนาของเบราว์เซอร์ต่อไปในอนาคต และจะมีการตรวจสอบฟีเจอร์เดิมให้เข้ากับนโยบายนี้
นโยบายใหม่ ระบุว่าจะต่อต้านการติดตามผู้ใช้สองแบบ คือ การติดตามโดยไม่เปิดเผย(covert tracking) เช่น อาศัยข้อมูลซีพียู, จีพียู, ฟอนต์ในเครื่อง, หรือเทคนิคอื่นเช่น HSTS และการติดตามโดยบริการภายนอก (cross-site tracking)
Apple ได้ปล่อย Safari Technology Preview 71 โดยมีฟีเจอร์หนึ่งที่สำคัญคือรองรับ WebAuthentication หรือ WebAuthn ซึ่งเป็น API สำหรับการล็อกอินด้วยกุญแจความปลอดภัยแบบ USB
WebAuthn นั้นเป็นมาตรฐานล็อกอินจาก W3C ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยสำหรับ Safari นั้นจะรองรับการล็อกอินด้วยโปรโตคอล Client to Authenticator Protocol หรือ CTAP เวอร์ชันที่ 2 ซึ่งเบราว์เซอร์หลักเจ้าอื่นอย่าง Firefox และ Chrome นั้นรองรับฟีเจอร์นี้ไปแล้ว
ข่าวสำคัญเมื่อวานนี้คือ Microsoft เปิดตัว Edge บน iOS และ Android แต่ถ้าดูในรายละเอียดแล้ว มันคือการสร้างเบราว์เซอร์ครอบบนเอนจินตัวอื่นที่ไม่ใช่ EdgeHTML ของไมโครซอฟท์เอง (ไม่ได้เป็นการพอร์ต EdgeHTML มาลงทั้งสอง OS)
ฝั่ง iOS ค่อนข้างชัดเจนเพราะเป็นข้อกำหนดของแอปเปิลอยู่แล้ว ทำให้ Edge ต้องอิงเอนจิน WebKit ผ่าน WKWebView อีกที ในแง่การเรนเดอร์เว็บเพจจึงได้ผลเหมือนกับ Safari เวอร์ชันที่อยู่บน iOS ทุกประการ
จากข่าว Adobe ประกาศหยุดพัฒนาและสนับสนุน Flash ในปี 2020 กูเกิล และ ไมโครซอฟท์ ก็ต่างออกมาประกาศแผนปิดการใช้งาน คราวนี้ก็เป็นประกาศจากฝั่งแอปเปิลครับ
โดยแอปเปิลได้ประกาศผ่านโครงการ WebKit ว่ากำลังร่วมมือกับ Adobe และพาร์ทเนอร์ในการเปลี่ยนผ่านจาก Flash ไปสู่เทคโนโลยีเปิดมาตรฐาน
เป็นที่รู้กันดีว่าช่วงหลังมานี้ Safari เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับมาตรฐานเว็บแบบใหม่ๆ น้อยมาก (Safari is the new IE) แต่ล่าสุดหลังจากงาน WWDC 2017 ก็มีข่าวดีว่า แอปเปิลประกาศรองรับเทคโนโลยี WebRTC สำหรับคุยด้วยเสียงและวิดีโอผ่านเว็บแล้ว
โครงการ WebKit เลือกใช้งานเฟรมเวิร์คโอเพนซอร์ส LibWebRTC จัดการเครือข่าย, รองรับตัวเข้ารหัสเสียง Opus และวิดีโอ H.264, เรียกใช้ไมโครโฟนและกล้องผ่าน Media Capture and Streams API ของ W3C
การที่เอนจิน WebKit รองรับ WebRTC จะส่งผลให้ Safari ใน macOS High Sierra และ iOS 11 สามารถใช้คุยวิดีโอผ่านเว็บได้ ตอนนี้มีผู้ให้บริการบางราย เช่น TokBox และ BlueJeans รองรับแล้ว
ที่มา - WebKit
โครงการช่วงหลังเริ่มหันมาใช้ Git กันมากขึ้นแต่โครงการจำนวนมากก็ยังคงใช้ Subversion กันเป็นปกติ ปรากฎว่า การโจมตี SHAttered ที่สร้างไฟล์ที่ค่าแฮชตรงกันสร้างความเสียหายได้มากกว่าที่คิด เมื่อมันสามารถทำฐานข้อมูล Subversion พังได้ทันทีเพียงแค่เช็คอินสองไฟล์ที่ค่าแฮชตรงกันเข้าไป
เหยื่อรายแรกๆ ของช่องโหว่นี้คือโครงการ Webkit ที่เป็นฐานของเบราว์เซอร์จำนวนมาก โดยนักพัฒนา เช็คอินไฟล์ทั้งสอง เพื่อทดสอบว่าระบบแคชของ Webkit ยังคงทำงานได้ถูกต้อง แต่เมื่อเช็คอินแล้วปรากฎว่า Subversion เสียหายไปและทำงานต่อทั้ง เช็คอินและเช็คเอาท์โค้ดต่อไม่ได้
ปัจจุบัน ตัวเอนจิน WebKit จะต้องให้มีการกระทำจากผู้ใช้ก่อน เช่น สัมผัส จึงจะมีการเล่นวิดีโอและเสียงที่อยู่ใน Safari บน iOS เพื่อเป็นการประหยัดแบนด์วิธและพลังงาน แต่ก็ทำให้หน้าเว็บบางหน้าที่มีวิดีโอเต็มไปหมดดูแปลกไป
ล่าสุด Jer Noble ได้ประกาศผ่านบล็อก WebKit ว่า ต่อไปนี้ นโยบายการเล่นวิดีโอใหม่ของ WebKit ตั้งแต่ Safari บน iOS 10 จะเริ่มอนุญาตให้วิดีโอเล่นอัตโนมัติได้ทันทีโดยไม่ต้องให้ผู้ใช้สั่ง ถ้าวิดีโอนั้นไม่มีเสียง หรือว่าถูกปิดเสียงเอาไว้อยู่ แต่ถ้าเกิดเสียงมีการเปิดเสียงขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ได้สั่ง หรือพบว่ามีเสียงในวิดีโอ ตัวเล่นวิดีโอจะสั่งพักการเล่นทันที
ด้วยข้อจำกัดทางเทคนิคหลายอย่างทำให้ Chrome for iOS อาจมีคุณภาพไม่ดีนักเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น จุดสำคัญคือระบบเรนเดอร์ที่ใช้ UIWebView ของ iOS ทำให้ไม่สามารถเรนเดอร์เว็บเพจแบบแยกโพรเซสได้
ข้อจำกัดนี้หมดไปตอน iOS 8 ที่มาพร้อมกับ WKWebView แต่ Chrome ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรในการย้ายจาก UIWebView มาเป็น WKWebView ซึ่งก็เสร็จสิ้นแล้วใน Chrome 48
ข้อดีที่สัมผัสได้ทันทีคือ Chrome for iOS แครชน้อยลงไป 70% (เพราะตอนเพจแครช เบราว์เซอร์ไม่แครชตามไปด้วย) ตามด้วยการรองรับ HTML5 ที่ดีขึ้นกว่าเดิม และประสิทธิภาพของ JavaScript เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
หลังกูเกิลเปิดตัวเอนจิน Blink ของตัวเองแยกมาจาก WebKit ของแอปเปิล ช่วงหลังเราเริ่มเห็นหน่วยงานหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้เอนจิน Blink กันมากขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Opera ที่ถึงขั้นเลิกใช้เอนจิน Presto เดิมมาเป็น Blink แทน
ซอฟต์แวร์ตัวล่าสุดที่เปลี่ยนจาก WebKit มาเป็น Blink คือ Qt Framework โดยเวอร์ชันล่าสุด 5.6 ถอดโมดูล Qt WebKit ออกแล้ว หลังพัฒนาโมดูลใหม่ Qt WebEngine ที่ใช้ Blink (อิงจาก Chromium 45) มาใช้ทดแทนทั้งหมดแล้ว
ความน่าสนใจของข่าวนี้คือโครงการ Qt/KDE เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาเอนจิน KHTML ที่แอปเปิลนำไปพัฒนาต่อเป็น WebKit (และกูเกิลแยกมาทำ Blink) ซึ่ง Qt/KDE เองก็เปลี่ยนจาก KHTML มาเป็น WebKit และ Blink ในท้ายที่สุด
- Read more about Qt 5.6 เลิกใช้เอนจิน WebKit เปลี่ยนมาเป็น Blink แทน
- Log in or register to post comments
องค์กรมาตรฐานเว็บ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events อย่างเป็นทางการ (ปรับสถานะเป็น W3C Recommendation จากเดิมที่เป็นฉบับร่าง) อย่างไรก็ตาม เส้นทางเบื้องหน้าของมาตรฐานนี้ก็ไม่ง่ายเพราะยังไม่มีวี่แววว่า Safari และ Chrome จะรองรับ
วงการเว็บยุคจอสัมผัสเริ่มใช้งาน Touch Events ที่เริ่มโดย Safari บน iPhone แต่ข้อจำกัดของมันคือถูกออกแบบมารองรับเฉพาะนิ้วสัมผัสเท่านั้น ภายหลังไมโครซอฟท์ได้สร้างมาตรฐาน Pointer Events ที่ครอบคลุมการชี้ตำแหน่งด้วยปากกาและเมาส์เพิ่มมา และเสนอมาตรฐานนี้ไปยัง W3C
จากกรณี Google บอกจะไม่แก้ไขช่องโหว่ WebView ใน Android เวอร์ชัน 4.3 หรือต่ำกว่า สร้างเสียงวิจารณ์อย่างมากว่าจะทำให้ผู้ใช้ Android จำนวนมากตกอยู่ใต้ความเสี่ยง
Adrian Ludwig วิศวกรของกูเกิลออกมาชี้แจงประเด็นนี้ผ่าน Google+ ดังนี้
ทีมงาน IE ของไมโครซอฟท์เผยว่า ได้ปรับปรุง Internet Explorer 11 Mobile บน Windows Phone 8.1 Update ที่บริษัทเพิ่งเปิดตัวไป ให้แสดงผลเว็บไซต์ได้เหมือนกับที่ปรากฏบน Android หรือ iOS ตามแนวคิดที่ว่า "เว็บควรทำงานได้ (just work) กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ นักพัฒนา หรือองค์กร" ถึงแม้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นบางส่วนจะไม่ถูกพัฒนาตามมาตรฐานกลางของ W3C ก็ตาม
จากการสำรวจเว็บไซต์สาหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ พบ 5 ประเด็นหลักที่ทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นแสดงผลบน WP ได้ไม่ถูกต้องเหมาะสม คือ
ก่อนหน้านี้ แอพบน iOS ที่ต้องการจะแสดงผลข้อมูลอื่นๆ ผ่านเบราว์เซอร์ในตัวที่มากับแอพจะต้องใช้งานเบราว์เซอร์ตัวที่ช้ากว่า เนื่องจากแอปเปิลจำกัดการใช้งานเอนจินจาวาสคริปต์ Nitro ไว้ใช้งานกับเบราว์เซอร์ Safari เท่านั้น
ให้หลังการเปิดตัว iOS 8 นักพัฒนาพบว่าแอปเปิลเปิดให้สามารถเข้าถึงเอนจิน Nitro ได้แล้ว ทำให้นักพัฒนาที่ใช้งานเบราว์เซอร์ในแอพ หรือแม้แต่รายที่พัฒนาเบราว์เซอร์ลงบน iOS ได้ประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น
Huib Kleinhout นักพัฒนาของ Opera Coast บอกว่า WKWebView ตัวใหม่บน iOS 8 นั้นดูมีแววดีมาก แต่ความต่างระหว่างรุ่นก่อน จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเจอเว็บที่ใช้งานจาวาสคริปต์หนักๆ เท่านั้น รวมถึงต้องมีการทดสอบความเสถียร เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้งานจริงอีกที
ช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราเห็นโครงการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการประมวลผล JavaScript ของเบราว์เซอร์ค่ายต่างๆ โดยโครงการที่โดดเด่นคือ asm.js ที่ริเริ่มจากฝั่ง Mozilla
ฝั่งของแอปเปิลที่สร้าง Safari อยู่บนโครงการ WebKit ก็มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นกัน โดยใช้ชื่อโครงการว่า FTLJIT ย่อมาจาก (Fourth Tier LLVM JIT)
- Read more about FTLJIT โครงการเร่งความเร็ว JavaScript ของแอปเปิล
- 3 comments
- Log in or register to post comments
Opera ได้เปิดตัวเบราว์เซอร์ใหม่ บนพื้นฐานของ WebKit ในชื่อว่า "Coast" บน iPad มาพร้อมกับสโลแกนว่า "the browser that should have come with the iPad"
Opera ได้สร้าง Coast ให้รองรับหน้าจอสัมผัส เอาแถบเครื่องมือต่าง ๆ ของเบราว์เซอร์ออก เพื่อให้ผู้ใช้โฟกัสไปกับหน้าเว็บมากขึ้น ไม่มีกล่อง URL, ไม่มีแท็บด้านบน การเปลี่ยนระหว่างหน้าเว็บก็เพียงปัดนิ้วไปซ้าย-ขวา ส่วนการเปลี่ยนแท็บก็เพียงแค่กดปุ่มล่างขวา และจะมีหน้าจอเปลี่ยนแท็บ ปัดนิ้วไป-มาคล้าย multitasking บน iOS 7
เยี่ยมชมได้ที่ หน้าเว็บ Coast ดาวน์โหลดได้ที่ App Store ตอนนี้มีเฉพาะ iPad เท่านั้น และชมวิดีโอแนะนำได้ท้ายเบรคครับ