ไมโครซอฟต์ออกแพตช์ KB4551762 เพื่อแก้ปัญหา CVE-2020-0796 ที่เป็นช่องโหว่ของ SMBv3 ซึ่ง มีรายงาน ออกมาเมื่อวานนี้ โดยเป็นช่องโหว่ให้รันโค้ดระยะไกล มีระดับความร้ายแรงวิกฤติ
ระบบปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบคือ Windows เวอร์ชันใหม่ ๆ ได้แก่ Windows 10 เวอร์ชัน 1903 และ 1909 รวมทั้ง Windows Server 2019 เวอร์ชัน 1903 และ 1909 เช่นกัน
เดิมทีไมโครซอฟต์ไม่มีแผนออกแพตช์รายการนี้ในเดือนมีนาคม แต่เนื่องจากมีรายงานช่องโหว่เผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะก่อน แพตช์นี้จึงออกมาโดยเร็วที่สุด
ที่มา: ZDNet
เราเห็น ไมโครซอฟท์เริ่มทดสอบ OpenSSH บนวินโดวส์มาได้สักพัก ล่าสุดมันเข้าสถานะรุ่นจริงแล้ว ทั้งบน Windows 10 v1809 และ Windows Server 2019
OpenSSH ไม่ได้ถูกติดตั้งมาพร้อม Windows แต่มีสถานะเป็น Feature-on-Demand ที่ติดตั้งเองภายหลังได้ (เหมือนกับ Windows Subsystem for Linux) โดยเข้าไปที่หน้า Apps > Apps and Features > Manage Optional Features แล้วเลือกเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ได้ทั้ง OpenSSH server/client
Windows 10 v1803 เป็นระบบปฏิบัติการตัวแรกที่ใช้งาน OpenSSH ได้แบบออนดีมานด์ ส่วน Windows Server 2019 ถือเป็น Windows Server ตัวแรกที่ได้ฟีเจอร์นี้
หลังจากไมโครซอฟท์ หยุดปล่อยอัพเดต Windows Server 2019 ชั่วคราว เพราะบั๊กลบไฟล์ของ Windows 10 v1809 และทิ้งช่วงเกือบ 1 เดือนเพื่อแก้บั๊กและตรวจสอบคุณภาพ ก่อนกลับมา ปล่อยไฟล์อัพเดต v1809 รอบใหม่เมื่อวานนี้
ฝั่งของ Windows Server 2019 และ Windows Server v1809 ก็กลับมาเปิดอัพเดตให้อีกรอบเช่นกัน ลูกค้าของไมโครซอฟท์สามารถดาวน์โหลดได้ตามช่องทางต่างๆ เช่น Volume Licensing Service Center (VLSC) หรืออิมเมจบน Azure Marketplace
บั๊กลบไฟล์ของ Windows 10 v1809 ส่งผลให้ ไมโครซอฟท์ต้องระงับการปล่อยอัพเดตชั่วคราว เพื่อกลับมาแก้บั๊กก่อน สถานะตอนนี้คือไมโครซอฟท์กลับมาปล่อยอัพเดตให้กลุ่ม Insider แต่ยังไม่ปล่อยให้บุคคลทั่วไป
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 ตัวจริงที่เข้าสถานะ GA (general availability) เรียบร้อยแล้ว
ลูกค้าไมโครซอฟท์ที่ซื้อไลเซนส์แบบ Software Assurance สามารถดาวน์โหลด Windows Server 2019 ได้แล้ว ส่วนลูกค้าที่รันบน Azure ก็สามารถใช้งานได้จาก Azure Marketplace และไมโครซอฟท์ยังมีรุ่นทดลองใช้ฟรี 180 วันให้คนทั่วไปดาวน์โหลดจาก Evaluation Center
ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows Server 2019 แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
- Read more about Windows Server 2019 ออกตัวจริงแล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
Windows Server ในช่วงหลัง (อ้างอิงจากเวอร์ชัน 2016) แบ่งออกเป็น 3 edition ได้แก่ Essentials, Standard, Datacenter ตามฟีเจอร์จากน้อยไปหามาก โดย Essentials ถือเป็นรุ่นเล็กสุดที่ใช้กับธุรกิจ SME ขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 25 คนหรือพีซีไม่เกิน 50 เครื่อง และขายในราคาถูกกว่ารุ่นย่อยอื่นๆ
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศว่า Windows Server 2019 ที่จะออกในปีนี้ จะยังมีรุ่นย่อย Essentials เหมือนเดิม และมีคุณสมบัติทางเทคนิค-เงื่อนไขการใช้งานเหมือนกับ 2016 Essentials เช่นเดิม
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 รุ่นทดสอบ Insider Preview Build 17744 ของใหม่โฟกัสที่ Hyper-V
Microsoft ได้ออกประกาศล่าสุดในเรื่องการปรับปรุงความแม่นยำของเวลาบนระบบ Windows ทั้ง Windows 10 และ Windows Server 2019 โดยมีจุดสำคัญคือรองรับ Precision Time Protocol, leap seconds และอื่น ๆ โดยเตรียมอัพเดตให้ระบบปฏิบัติการในการอัพเดตใหญ่ครั้งหน้าซึ่งคาดว่าจะออกในเดือนตุลาคมนี้
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 Insider Preview Build 17677 รุ่นทดสอบ มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือลดขนาดของอิมเมจไฟล์ลงไปอีก
ไมโครซอฟท์มี Windows Server Core รุ่นเล็กมาได้สักพักแล้ว ความต่างของ Server Core กับรุ่นปกติคือไม่มีเดสก์ท็อปและไม่มีเสียง ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ พยายามลดขนาดของอิมเมจลงเรื่อยๆ เพื่อให้รันใน container อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้สตอเรจและแรมลง
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Server 2019 ระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นถัดไป (ต่อจาก Windows Server 2016) โดยมีกำหนดการออกในครึ่งหลังของปี 2018
ช่วงกลางปี 2017 ไมโครซอฟท์ปรับวิธีการออกรุ่นของ Windows Server ใหม่ โดยแยกเป็นรุ่นอัพเดตบ่อยทุก 6 เดือน มีระยะซัพพอร์ตแค่ 18 เดือน (ล่าสุดออกมาหนึ่งตัวคือ 1709 ) และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Long-Term Servicing Channel (LTSC) โดยกรณีของ Windows Server 2019 จะนับเป็น LTSC ครับ