เมื่อวานนี้ วุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้ทำการลงมติผ่านร่างรัฐบัญญัติ Cybersecurity Information Sharing Act (CISA) ด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 21 ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากนักวิชาการและบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ อย่างหนักหน่วง ในช่วงที่ผ่านมา
ตามกฎหมายฉบับนี้ บริษัทมีหน้าที่แบบไม่ผูกพัน (voluntary) ในการส่งข้อมูลของผู้ใช้ตามที่หน่วยงานรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ต้องการและร้องขอ ซึ่งมีความกำกวมว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นคืออะไรกันแน่ และอาจขยายขอบเขตไปถึงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ แม้ว่าจะมีการระบุว่าข้อมูลเหล่านี้ต้องถูกทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ (anonymized) ก็ตาม
ด้าน Electronic Frontier Foundation (EFF) มูลนิธิด้านสิทธิบนโลกอินเทอร์เน็ต ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจผ่านร่างกฎหมายในครั้งนี้ ส่วน Edward Snowden ออกมาทวิตว่า การลงคะแนนเสียงให้กับกฎหมาย CISA ฉบับนี้คือการลงคะแนนต่อต้านอินเทอร์เน็ต และผู้คนควรจดจำว่าใครเป็นคนลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้
ที่มา - The Guardian , @Snowden , EFF
Comments
เมืองนอกเค้าจะเล่นงานเหล่าผู้เห็นด้วยเหมือนกับบ้านเราเล่นงานSGWไหมหนอ
น่ากังวลว่านี่อาจเป็นตัวอย่างให้รัฐบาลไทยนำมาใช้ต่อไป ความมั่นคงไซเบอร์
นับวันสหรัฐ จะกลายเป็นโชเวียตชะเอง - -
ผมว่าเป็นมานานแล้ว แค่ไม่ได้บอกเราตรงๆ เท่านั้นเอง
แล้วโซเวียตเป็นอเมริกันบ้างรึ?ก็ป่าว แสดงว่าจุดสมดุลย์ของเรื่องนี้มันค่อนมาทางนี้แต่แรกแล้วมั้ง
โซเวียตมาทางเมกัน มากกว่าเมกันมาทางโซเวียตอีก
ชอบตรง "ผู้คนควรจดจำว่าใครเป็นคนลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้" ครับเหมือนเห็นแนวทางออกจากลูปได้เลย... อยากให้คนไทยรู้จักแนวคิดนี้เยอะๆ
หมายความว่ารัฐบาลสามารถขอข้อมูลส่วนตัวของใครก็ได้งี้เหรอ ออกแนวจีนเลยอ่ะ