หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง D-Wave นำหน้าไปหนึ่งก้าวด้วย การเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 2,000 คิวบิต ก็ถึงทีของ IBM ที่จะออกมาเผยถึงโครงการด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเองถึง 2 หัวข้อด้วยกัน
IBM Q — ได้เวลานำคอมพิวเตอร์ควอนตัมลงสู่ตลาด
IBM เปิดโปรเจคน้องใหม่ IBM Q วางแผนสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบ universal ขนาด 50 คิวบิต (ดีกว่าของ D-Wave ที่เป็น quantum annealing ใช้งานได้เฉพาะด้าน optimization) เพื่อรองรับการให้บริการเชิงพาณิชย์ผ่านทางแพลตฟอร์ม IBM Cloud ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์ว่าหากสร้างเสร็จ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะประมวลผลปัญหาบางประเภทได้เร็วกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีอยู่บนโลก และอาจจะรวมถึงคอมพิวเตอร์ควอนตัมเครื่องอื่นๆ ด้วย
ห้องปฏิบัติการณ์ IBM Q ที่ T.K. Watson Research Center รัฐนิวยอร์ก (ที่มาภาพ - บล็อกของ IBM )
IBM Quantum Experience — เปิด API สำหรับนักพัฒนา, เปิดใช้งาน simulator ขนาด 20 คิวบิต
นับตั้งแต่ปี 2016 ที่ IBM ให้บริการคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 5 คิวบิตผ่านคลาวด์ฟรีผ่านโครงการ Quantum Experience ถึงตอนนี้ IBM ก็เผยสถิติที่น่าสนใจว่า มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 40,000 คน รันโปรแกรมทดลองไปแล้วกว่า 250,000 ครั้ง และมี เปเปอร์ของ third-party ที่ทำการทดลองผ่านโครงการและได้รับการตีพิมพ์บน arXiv ถึง 15 ฉบับ
ผ่านมาเกือบปี IBM ก็ได้ฤกษ์สานต่อโครงการ Quantum Experience
- เปิด API สำหรับโครงการให้นักพัฒนาเขียนโปรแกรมเชื่อมต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดย IBM ได้อัพโหลด API ขึ้นบน Github แล้ว พร้อมทั้ง ตัวอย่างเพื่อสาธิตการใช้งาน
- เปิดให้ใช้งานเครื่อง simulator สำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 20 คิวบิต และมีแผนจะพัฒนา SDK ของระบบก่อนเดือนกรกฎาคมปีนี้
ทาง IBM ยังออกมาเผยอีกว่าตอนนี้ได้เปิดโครงการ IBM Research Frontier Institute เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการพัฒนาการใช้งานคอมพิวเตอร์ควอนตัม โดยมีองค์กรที่เข้าร่วมโครงการบ้างแล้ว อย่างเช่น Samsung, Honda, Hitachi Metals, และ Canon และเปิดรับให้องค์กรอื่นๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมได้อีกด้วย
ที่มา - IBM [ 1 , 2 ], Digital Trends , TechCrunch
Comments
นำขึ้นบนไปไว้บน ?
แก้แล้วครับ