OpenAI ประกาศเพิ่มโมเดล o1 สำหรับการเรียกใช้งานผ่าน API ของนักพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามในช่วงแรกการเรียกใช้ o1 ผ่าน API จะจำกัดเฉพาะนักพัฒนาบางกลุ่มเท่านั้นก่อน โดยต้องเป็นนักพัฒนาระดับ เทียร์ 5 หรือมีการจ่ายเงินให้แพลตฟอร์มมากกว่า 1,000 ดอลลาร์ รวมทั้งบัญชีที่ใช้งานจ่ายเงินมานานกว่า 30 วัน
โมเดล o1 ผ่าน API รองรับการใช้งานทั้ง เรียกใช้ Function, สร้างเอาท์พุตแบบ Structured, กำหนด Context ให้โมเดลได้, รองรับ Vision หรืออินพุทที่เป็นรูปภาพ และพารามิเตอร์ใหม่ reasoning_effort กำหนดเวลาที่โมเดลสามารถประมวลผลความคิดก่อนให้คำตอบได้
Meta ได้แจ้งนักพัฒนาแอปที่ใช้งาน API เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มเมื่อ เดือนกันยายน โดยปิดการทำงานของ Basic Display API มีผลตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2024 ที่ผ่านมา ซึ่ง API นี้สามารถดึงข้อมูลในหน้าโปรไฟล์ และโพสต์สาธารณะมาแสดงได้
ถึงแม้ Meta จะแจ้งนักพัฒนาล่วงหน้า 90 วัน และให้คำแนะนำสำหรับให้ย้ายไปใช้ Instagram API สำหรับบัญชีธุรกิจ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีช่องทางรองรับสำหรับบัญชีผู้ใช้งานทั่วไป จึงส่งผลกระทบต่อแอปที่มีฟีเจอร์ดึงข้อมูลจาก Instagram มาแสดงเสริม เช่นแอปเดทติ้ง Tinder หรือ Hinge ไม่สามารถแสดงข้อมูล Instagram ได้อีกต่อไป
Spotify ประกาศเปลี่ยนแปลงการใช้งาน Web API สำหรับนักพัฒนา โดยบอกว่าเพื่อทำให้แพลตฟอร์มมีความปลอดภัยมากขึ้น
ผลกระทบสำคัญจะเกิดกับนักพัฒนาแอป เป็นส่วนการใช้งานข้อมูลบางอย่างผ่าน API ของ Spotify โดยเฉพาะเพื่อนำมาใช้งานเทรนข้อมูล AI เช่น ระบบแนะนำเพลง, ระบบวิเคราะห์รูปแบบเพลง ที่สามารถนำมาพัฒนาเพลย์ลิสต์ขึ้นเองได้ในแอปต่าง ๆ
Spotify บอกว่าผลกระทบนี้มีเฉพาะนักพัฒนาที่ถูกจำกัดการใช้งาน API อยู่แล้ว ส่วนนักพัฒนาที่เข้าถึงแพลตฟอร์มผ่านการเป็นพาร์ตเนอร์พิเศษ จะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
ปัจจุบัน API ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งใน Web application , Mobile application และการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ API Security จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญอย่างมาก
การพัฒนา API ก็ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยจากภัยคุกคาม โดยเฉพาะเมื่อ API ขาดการบริหารจัดการ หรือ การกำหนดด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง รวมไปถึงการโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของ API ซึ่งเป็นวิธีการโจมตีอันดับต้นๆสำหรับ Web application ในขณะที่มี API gateway ,Web application firewall ที่ให้บริการด้านความปลอดภัยอยู่แล้วก็ตาม ทุกวันนี้หลายๆองค์กรจึงเริ่มที่จะมองหาเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยเหลือด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมที่ปรับให้เหมาะสมกับ API ของตนเอง เพื่อป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่หวังดี
Strava แอปบันทึกข้อมูลการออกกำลังกาย ประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใช้งาน API สำหรับนักพัฒนาแอปต่าง ๆ ที่มาเชื่อมต่อข้อมูล โดยให้เหตุผลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญสามอย่างดังนี้
ต้องยอมรับว่ากูเกิลเปิดตัว Gemini หลัง ChatGPT เป็นเวลานานพอสมควร ทำให้ตลาด AI/LLM มุ่งไปที่ฝั่ง OpenAI กันหมด แอพที่เรียกใช้งาน LLM จึงมักเขียนเพื่อรองรับโมเดลของฝั่ง OpenAI โดยเรียกใช้ OpenAI Library (ทั้งที่เป็น official และ unofficial) กันซะเป็นส่วนใหญ่
ล่าสุดกูเกิลประกาศ "แฝงตัว" ให้รองรับการเรียกใช้ Gemini ผ่าน OpenAI Library ได้แล้ว ช่วยลดภาระการแก้โค้ดลง โดยโค้ดสามารถเรียกใช้ OpenAI Library ได้เหมือนเดิม แต่ในส่วนของโมเดลเปลี่ยนเป็นเรียก Gemini แทน ช่วยให้แก้โค้ดเพียงไม่กี่บรรทัดเท่านั้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจโทรคมนาคมในไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับแต่ยุคที่เคยใช้โทรศัพท์ได้อย่างเดียว มาสู่ยุคให้บริการข้อความ SMS และจนมาถึงทุกวันนี้ที่กลายเป็นช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเปิดโอกาสให้กับกับธุรกิจใหม่ หรือการใช้งานรูปแบบต่างๆ อย่างมากมาย แต่หลังจากนี้แนวทางการเปิด API เป็น OpenAPI ของ AIS ก็จะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกมาก
AIS OpenAPI เปิดทางให้องค์กรภายนอกเข้าถึงข้อมูลและฟีเจอร์ต่างๆ ที่เคยจำกัดอยู่ที่โครงข่ายโทรคมนาคมเท่านั้น โดยการเปิดให้องค์กรภายนอกเข้าใช้งานนี้ มีความปลอดภัย จำกัดเฉพาะข้อมูลที่ผู้เรียกดูได้รับอนุญาต และเป็นมาตรฐาน
AIS ประกาศการลงนามใน MOU ร่วมกับ Singtel และ Maxis โอเปอเรเตอร์จากสิงคโปร์และมาเลเซียตามลำดับ สำหรับความร่วมมือในการทำ Open API เพื่อตรวจสอบยืนยันผู้ใช้งานจากการทำธุรกรรมผ่านแอป กับตัวตนที่ลงทะเบียนเอาไว้กับโอเปอเรเตอรืผ่านเบอร์โทรศัพท์ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพและการฉ้อโกง
AIS Open API ได้รับการรับรองจาก GSMA เปิดให้นักพัฒนาแอปขององค์กร ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ ธุรกิจธนาคารและบริการทางการเงิน อีคอมเมิร์ซ เกมออนไลน์ สามารถทำ MFA ผ่าน Number Verification API หรือตรวจสอบการทำธุรกรรม มาจากเครื่องที่เพิ่งเปลี่ยนซิมหรือไม่ผ่าน SIM Swap API ซึ่งทั้งสองบริการ เปิดให้บริการแล้ว
Threads แพลตฟอร์มโซเชียลเน้นตัวหนังสือของ Meta เปิดตัว API สำหรับนักพัฒนาทุกคน ตามที่ ประกาศแผน ไปก่อนหน้านี้แล้ว
ในการใช้งาน API ของ Threads นั้น ทำได้ทั้งการโพสต์เนื้อหา, เรียกดูเนื้อหา ไปจนถึงการตอบข้อความหรือโควทข้อความ สามารถจัดการได้ทั้งการซ่อน-เลิกซ่อนข้อความที่ตอบได้ด้วย และสามารถเข้าถึง Insights ที่เป็นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของ โพสต์บัญชีนั้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนวิว, ไลค์, การตอบ, รีโพสต์, โควท ไปจนถึงสถิติรายละเอียดจำแนกกลุ่มผู้ติดตาม เป็นต้น
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Documentation ของ Threads API ที่นี่
กูเกิลประกาศเปิดแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮม Smart Home ให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาใช้งานได้ผ่าน Home API โดยบอกว่าตอนนี้มีอุปกรณ์ใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มเกิน 600 ล้านชิ้น
Home API อิงอยู่บนโปรโตคอล Matter ที่เป็นมาตรฐานกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ บวกด้วยความสามารถในการควบคุมระดับสูงที่กูเกิลเพิ่มเข้ามาเอง โปรโตคอลในชุดได้แก่
ไมโครซอฟท์เปิดตัวภาษา TypeSpecไม่ได้เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งโดยตรง แต่เป็นภาษาระดับสูงสำหรับกำหนดนิยาม API (high-level API definition language) ที่ได้อิทธิพลมาจาก TypeScript และ C#
TypeSpec ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นภาษากลาง ทำ abstraction ของโมเดล แล้วนำไปแปลงเป็นภาษาหรือสเปกอื่นๆ (ที่ยาวและละเอียดกว่า) อีกที เช่น OpenAPI (YAML), JSON Schema, Protobuf ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เพราะตัว TypeSpec ออกแบบมาใช้สั้นกระชับ แต่ยังสามารถนิยามโครงสร้างข้อมูลหรือ API ที่ซับซ้อนได้ และเน้นการนำนิยามไปใช้ซ้ำ (reuse) ในโอกาสอื่นๆ ได้
Threads เพิ่มหน้ารายละเอียดของ API สำหรับนักพัฒนาในเว็บไซต์แล้ว หลังจาก ทดสอบแบบจำกัดกลุ่ม เมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีทั้งเอกสาร (Documentation) การใช้งาน API และหน้าสมัครใช้งาน API ซึ่งกำหนดเปิดให้ใช้งานทั่วไปในเดือนมิถุนายน
รายละเอียดสำคัญของ Threads API นั้น นักพัฒนาสามารถดึงข้อมูลได้ทั้ง จำนวนวิว, ไลค์, รีพลาย, รีโพสต์, โควท ไปจนถึงวิธีการโพสต์ข้อความ-รูปภาพผ่าน API และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อจำกัดในการใช้ API ตอนนี้อยู่ที่โพสต์ได้ 250 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง ตอบโพสต์ (รีพลาย) ได้ 1,000 ครั้ง เพื่อป้องกันการใช้ API ทำสแปม
X ออกแพ็คเกจใหม่สำหรับลูกค้านักพัฒนาที่ใช้งาน API เพื่อเข้าถึงข้อมูล โดยบอกว่าจากความเห็นของชุมชนนักพัฒนาที่ แพ็คเกจปัจจุบัน มีปัญหาหากใช้งานครบจำนวนที่กำหนด (ลิมิต) ต่อเดือนก่อน ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรอจนครบกำหนด หรือไปซื้อแพ็คเกจที่สูงขึ้นซึ่งแพงมาก จึงออกมาเป็นแพ็คเกจแบบเติมหรือ Top-Up
แพ็คเกจ Top-Up นี้ คิดราคาที่ 100 ดอลลาร์ ต่อ 10,000 โพสต์ จำกัดให้เฉพาะลูกค้า Basic (เพิ่มได้ 10 Top-Up ต่อรอบ) และ Pro (เพิ่มได้ 5 Top-Up ต่อรอบ) ซึ่งจะสามารถซื้อได้เมื่อจำนวนใช้งานใกล้ครบลิมิต
Stack Overflow เปิดบริการ API แบบเสียเงินชื่อ OverflowAPI เพื่อดูดคำถาม-คำตอบไปใช้เทรน AI โดยมี Google Cloud เป็นลูกค้ารายแรก
Stack Overflow เคยประกาศแนวทางนี้ไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2023 เพราะมองว่าคลังกระทู้ของตัวเองเป็นสิ่งที่มีมูลค่า หลังจากใช้เวลาพัฒนา API มาเกือบปี แนวทางของ Stack Overflow มีดังนี้
AIS เปิดบริการ AIS Open API เป็นบริการ API ให้ธุรกิจภายนอกเข้าถึง API ของ AIS ที่อิมพลีเมนต์ตาม มาตรฐาน CAMARA ซึ่งได้รับความยอมรับจากธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก
CAMARA มี API มาตรฐานจำนวน 24 รายการ ทาง AIS ระบุว่าจะเปิดออกมาชุดแรก 11 รายการ ได้แก่
GitHub ประกาศออก SDK สำหรับเชื่อมต่อ GitHub API ด้วยแนวทางใหม่คือ Generated SDK
เดิมที GitHub มี SDK สำหรับนักพัฒนา ใช้ชื่อว่า Octokit รองรับภาษา JavaScript/TypeScript, C#/.NET, Ruby โดยใช้วิธีการพัฒนาตัว SDK แบบดั้งเดิม คือใช้โปรแกรมเมอร์ของ GitHub สร้างขึ้นมา
ล่าสุด GitHub บอกว่าโลกเปลี่ยนไปแล้ว และต้องการใช้เครื่องมือ code generation สร้าง SDK ที่อิงกับ API ของ GitHub แทน เพื่อให้ได้ SDK ที่สอดคล้องกับ API เวอร์ชันล่าสุดเสมอ 100% ไม่ต้องใช้แรงมนุษย์มาปรับแก้ทุกครั้งไป ลดภาระทั้งการดูแลและการแก้บั๊กลง
Google Cloud เปิดตัว Air Quality API สำหรับเรียกดูข้อมูลคุณภาพอากาศแบบอัพเดตทุก 1 ชั่วโมง ในพื้นที่กว่า 100 ประเทศทั่วโลก (มีไทยด้วย รายชื่อประเทศทั้งหมด ) ข้อมูลบางจุดอาจแม่นยำระดับ 500 เมตร และมีข้อมูลรายชั่วโมงย้อนหลังให้ 30 วัน
กูเกิลบอกว่าปัญหาคุณภาพอากาศเป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นมาก ทุกวันนี้เราเช็คคุณภาพอากาศบ่อยพอๆ กับเช็คพยากรณ์อากาศแล้ว จึงพัฒนา Air Quality API ขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาแอพหรือฮาร์ดแวร์ต่างๆ เรียกใช้งานต่อได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องลงทุนติดเซ็นเซอร์วัดอากาศเพิ่มเอง เรียกใช้จาก API แทนได้
แอปเปิลประกาศมาตรการป้องกันการติดตามตัวผู้ใช้ด้วยดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (fingerprinting) ด้วยการบังคับให้ทุกแอปที่เรียก API ที่เข้าข่ายต้องประกาศเหตุผลที่ใช้ API เหล่านี้
API ที่อ่านข้อมูลที่เข้าข่ายต้องประกาศเหตุผล ได้แก่
- เวลาสร้าง/แก้ไขไฟล์
- เวลาบูตครั้งสุดท้าย (uptime)
- พื้นที่ว่างในเครื่อง
- คีย์บอร์ดที่ใช้งาน
- แอปเริ่มต้นสำหรับไฟล์
นักพัฒนาจะเริ่มได้รับอีเมลแจ้งเตือนการเข้าใช้งาน API เหล่านี้ภายในปีนี้ และหากไม่อัพเดตข้อมูลก็จะไม่สามารถส่งแอปขึ้นสโตร์ได้ โดยตอนนี้เส้นตายยังเป็นช่วงกว้างๆ ระหว่างมีนาคม-พฤษภาคม 2024
เมื่อวานนี้ 1 กรกฎาคม นอกจากเป็น วันระบบโอนเงิน ITMX ล่ม , Twitter จำกัดการเข้าถึง แล้วยังเป็นอีกวันสำคัญคือ Reddit ปิดการใช้งาน API ฟรีแบบเดิม
เว็บไซต์ Ars Technica รวบรวมรายชื่อไคลเอนต์ Reddit ที่ต้องปิดตัวลงเพราะ API ดังนี้
Canva เว็บแอพสร้างกราฟิกยอดนิยม ประกาศเปิด Apps SDK และ API สำหรับเชื่อมต่อแอพภายนอก นักพัฒนาสามารถเชื่อมต่อผ่าน API กับแพลตฟอร์ม Canva ได้โดยตรง
Canva Connect API เป็น REST API มีด้วยกัน 5 ตัว ได้แก่
ชุมชนผู้ใช้ Reddit บอร์ดต่างๆ (subreddit) เตรียมปิดบอร์ดเป็น private เพื่อประท้วง นโยบาย API ใหม่ของบริษัท Reddit ที่จำกัดการใช้งานมากกว่าเดิม
Twitter ประกาศเพิ่มตัวเลือกการใช้งาน API จากเดิม ที่มี 3 รูปแบบ โดยเพิ่มเทียร์ใหม่ Proราคา 5,000 ดอลลาร์ต่อเดือน
เงื่อนไขใช้งานในเทียร์ Pro นี้ สามารถเข้าถึงข้อมูลทวีตผ่าน v2 endpoints ได้ในอัตราที่จำกัด สามารถเรียกดูทวีตได้ 1 ล้านทวีตต่อเดือน และโพสต์ทวีตได้ 3 แสนทวีตต่อเดือน แอปใช้งานได้ 3 IDs
Twitter บอกว่าเทียร์ใช้งานนี้ เหมาะสำหรับสตาร์ทอัพที่ต้องการทดสอบ สร้าง และสเกลธุรกิจ จึงมีราคาและความสามารถที่เพิ่มมาจากเทียร์ Basic ที่คิดราคา 100 ดอลลาร์ต่อเดือน และเน้นการโพสต์ทวีตสูงสุด 5 หมื่นทวีตต่อเดือน
Chrome ออกเวอร์ชัน 113 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญสองอย่าง อย่างแรกคือ ใช้ไลบรารี libaom 3.6 เวอร์ชันใหม่ ทำให้เข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ด้วยซีพียูได้เร็วขึ้น มีประโยชน์เวลาวิดีโอคอลล์ผ่านเว็บ (เช่น Google Meet) บนเครื่องส่วนใหญ่ที่ยังไม่รองรับ AV1 ด้วยจีพียูกัน
อย่างที่สองคือเปิดใช้ WebGPU เป็นค่าดีฟอลต์ เทคโนโลยี WebGPU เป็น API กราฟิกตัวใหม่ของ W3C ที่เปิดทางให้เบราว์เซอร์สามารถเรียก API กราฟิกของระบบปฏิบัติการ (เช่น Vulkan, Direct3D, Metal) ได้โดยตรง มันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทน WebGL ของเดิมที่เป็นการพอร์ต OpenGL ES มาอยู่บนเว็บ เปิดทางให้เบราว์เซอร์เข้าถึงจีพียูได้เต็มรูปแบบ
หลังจาก Twitter ประกาศ ปรับเงื่อนไขการใช้งาน API ซึ่งมีราคาแพงขึ้น ทำให้บัญชีของบริการสาธารณะหลายแห่ง ประกาศหยุดการแจ้งข้อมูลผ่าน Twitter เนื่องจากไม่ต้องการจ่ายเงินส่วนนี้ ล่าสุด Twitter ก็ยอมให้กับบัญชีประเภทดังกล่าวแล้ว
โดย Twitter Dev ชี้แจงว่าการใช้งาน Twitter API รูปแบบหนึ่งที่สำคัญมากคือการแจ้งข้อมูลบริการสาธารณะ ซึ่ง Twitter จะเปิดให้บัญชีหน่วยงานรัฐที่ยืนยันตัวตน หรือบริการสาธารณะที่ทวีตรายงานข้อมูลสำคัญ เช่น สภาพอากาศ สภาพการจราจร หรือการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน ใช้งาน API เพื่อเหตุผลเหล่านี้ได้ฟรีต่อไป อย่างไรก็ตามรายละเอียดการเปิดใช้งานยังไม่ชัดเจนนัก และอาจต้องเป็นบัญชี Verified ที่เสียเงินรายเดือนด้วยหรือไม่
WordPress.com บริการโฮสต์เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ของบริษัท Automattic ประกาศหยุดรองรับฟีเจอร์แชร์โพสต์ลง Twitter โดยอัตโนมัติ (Twitter Auto-Sharing) หลังโดนบริษัท Twitter ปิดการเข้าถึง API รุ่นเก่า ตามนโยบาย API เวอร์ชันใหม่ที่คิดเงินแพงกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั้งเว็บที่ฝากโฮสต์ไว้บน WordPress.com และเว็บโฮสต์เองที่ติดตั้งปลั๊กอิน Jetpack Social ของ Automattic ด้วย เริ่มมีผลวันนี้ 1 พฤษภาคม