Google Search ประกาศซัพพอร์ตไฟล์รูปภาพแบบ AVIF หรือ AV1 Image File Format ที่ใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 มาบีบอัดไฟล์ภาพนิ่ง
Arif Dikici สมาชิกในทีม Android Video and Image Codecs ของกูเกิล ประกาศข่าวว่า Android ย้ายมาใช้ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอ AV1 ตัวใหม่คือ dav1d ของโครงการ VideoLAN (เจ้าเดียวกับที่ทำ VLC) แทนไลบรารีตัวเดิม libgav1 ของกูเกิลเอง
การเปลี่ยนแปลงนี้จะอัพเดตให้ผ่าน Google Play ย้อนไปถึง Android 12 (Android S) ทำให้ฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ จะสามารถเล่นวิดีโอ AV1 ที่ความละเอียด 720p30 ด้วยซอฟต์แวร์ได้
Mishaal Rahman นักแกะข้อมูลสาย Android ชื่อดัง รายงานว่ากูเกิลเตรียมใช้ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอ AV1 ตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้มือถือรุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีชิปถอดรหัส AV1 ในตัวสามารถดูวิดีโอ AV1 ด้วยซีพียู แต่ประหยัดแบตเตอรี่กว่าเดิม
เดิมทีนั้น Android ใช้ไลบรารี libgav1 ของกูเกิลเองมาตั้งแต่ Android 10 แต่ไลบรารีถอดรหัสวิดีโอที่นิยมใช้กันในวงการคือ libdav1d ของ VideoLAN ซึ่งมีข้อดีกว่าตรงที่บางส่วนเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี ทำงานกับชิป ARMv8 โดยตรง ช่วยลด overhead ของซีพียูลงได้มาก เหมาะกับการถอดรหัส AV1 บนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ
Microsoft Edge ออกเวอร์ชัน 121 รุ่นเสถียร ของใหม่ที่สำคัญคือ รองรับฟอร์แมตวิดีโอ AV1 และ ฟอร์แมตรูปภาพ AVIF ที่บีบอัดแบบ AV1 ทำให้การใช้ Edge กับเว็บวิดีโอออนไลน์หลายๆ ตัว เช่น YouTube หรือ Twitch มีประสบการณ์ใช้งานดีขึ้น
ฟีเจอร์อื่นที่น่าสนใจเป็นฝั่งการใช้งานในองค์กร
Twitch ประกาศความร่วมมือกับ OBS Studio และ NVIDIA เปิดตัวฟีเจอร์ Twitch Enhanced Broadcasting ที่สามารถไลฟ์สตรีมวิดีโอความละเอียด 3 ระดับพร้อมกันได้
ปัญหาของสตรีมเมอร์ในยุคนี้คือ ควรเลือกสตรีมเกมที่ความละเอียดระดับไหนดี เพราะผู้ชมมีความต้องการหลากหลาย บางคนเน็ตเร็ว บางคนเน็ตช้า การสตรีมวิดีโอต้นฉบับแล้วแปลงความละเอียดที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็มีปัญหาเรื่องความล่าช้า ไม่ทันท่วงทีต่อการไลฟ์สด
ทางออกของ Twitch Enhanced Broadcasting คืออย่ากระนั้นเลย ฝั่งขาส่งก็ส่งวิดีโอที่หลายความละเอียดตั้งแต่แรกเลย (เหมือนเป็นส่งสตรีมออก 3 สตรีมพร้อมกัน แต่คอนเทนต์เดียวกัน) โดยสามารถทำได้ผ่านตัวเข้ารหัสวิดีโอ NVENC ของการ์ดจอ NVIDIA ทั้งการ์ดกลุ่ม GTX และ RTX
กลุ่มบริษัทไอที Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา codec AV1 เริ่มเดินหน้าพัฒนา codec AV2 รุ่นถัดไปแล้ว
ถึงแม้ตอนนี้ AOMedia ยังไม่ประกาศเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ แต่ทีมนักพัฒนาได้ทดลองสร้าง AV2 และมีข้อมูลปรากฏใน GitHub ของ AOMedia แล้วว่ากำลังพัฒนาให้ไลบรารีภาพ libavif รองรับการเข้ารหัสแบบ AV2
ซอฟต์แวร์ถ่ายทอดสด OBS Studio ออกเวอร์ชัน 29.1 มีของใหม่คือรองรับการสตรีมวิดีโอด้วย codec AV1 ที่ความละเอียด 4K 60 fps ตามที่ออกเวอร์ชัน Beta มาก่อนหน้านี้
เคล็ดลับของความสามารถสตรีม 4K 60 fps เกิดจากคุณสมบัติการบีบอัดของ AV1 ที่เหนือกว่า codec รุ่นเก่าๆ ร่วมกับโปรโตคอลใหม่ Enhanced RTMP ที่พัฒนาโดยกลุ่มนักพัฒนาไม่หวังผลกำไรชื่อ Veovera Software Organization (VSO) ที่มีตัวแทนจากกูเกิล, Adobe, OBS, Intel เข้าร่วม
OBS Studio ซอฟต์แวร์สตรีมวิดีโอชื่อดัง รองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 มาสักระยะหนึ่งแล้ว
ล่าสุดใน OBS Studio 29.1 Beta รองรับการสตรีมวิดีโอ AV1/HEVC (H.265) ผ่านโปรโตคอล Real-Time Messaging Protocol (RTMP) ทำให้สามารถสตรีมขึ้นเผยแพร่บน YouTube ได้แล้ว การสตรีมวิดีโอแบบ AV1 ที่ใช้การเข้ารหัสมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่ายุคก่อนราว 60% ส่งผลให้การสตรีม 4K 60fps เกิดขึ้นได้จริง
OBS Studio รองรับ AV1 กับจีพียูทั้ง 3 ค่ายใหญ่ แต่ NVIDIA ก็ระบุว่าทำงานอย่างใกล้ชิดกับ OBS และ YouTube เพื่อให้การ์ดจอ GeForce RTX ซีรีส์ 40 สามารถสตรีม AV1 ได้อย่างราบรื่น
ตอนนี้ฟีเจอร์สตรีม AV1 ยังมีสถานะเป็น Beta ทั้งฝั่ง OBS และ YouTube
AMD เปิดตัวการ์ดประมวลผลวิดีโอฝั่งเซิร์ฟเวอร์ Alveo MA35D มีจุดเด่นคือรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 และการเข้ารหัสวิดีโอพร้อมกัน 32 สตรีม (1080p60) ต่อการ์ด
การ์ดเร่งความเร็วการประมวผล (accelerator) ตระกูล Alveo เป็นการ์ดแบบ ASICS ที่ AMD ได้มาจากการซื้อกิจการ Xilinx ตั้งแต่ปี 2020 โดยการ์ดรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ปลดแบรนด์ Xilinx และเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ AMD เต็มตัว
ข่าวดีส่งท้ายปี HandBrake โปรแกรมเข้ารหัสวิดีโอยอดนิยมอีกตัว รองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวอร์ชันล่าสุด Handbrake 1.6.0
ตอนนี้การเข้ารหัส AV1 ของ HandBrake ยังรองรับเฉพาะการเข้ารหัสด้วยซอฟต์แวร์ (SVT-AV1) และการเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์อินเทล (Intel QSV AV1 ที่ใช้ใน Intel Arc) ที่ผลักดันเรื่อง AV1 มาก่อนใคร ส่วนจีพียูของค่าย NVIDIA และ AMD ที่เริ่มรองรับ AV1 แล้วด้วยกัน ยังไม่รองรับในเวอร์ชันนี้
ของใหม่อีกอย่างที่น่าสนใจคือการเริ่มถอดการเข้ารหัสแบบ VP8 ที่ล้าสมัยแล้ว ปรับสถานะเป็น deprecated, รองรับการเข้ารหัสวิดีโอ VP9 แบบ 10-bit เป็นต้น
OBS Studio ซอฟต์แวร์บันทึกและสตรีมวิดีโอชื่อดัง ออกเวอร์ชัน 29 Beta มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ AV1 ด้วยจีพียู Intel Arc และ AMD Radeon 7000 แล้ว
ก่อนหน้านี้ OBS Studio รองรับการเข้ารหัส AV1 ด้วยจีพียู NVIDIA (GeForce RTX 40 Series) แล้ว เท่ากับว่าตอนนี้ OBS Studio รองรับการเข้ารหัส AV1 ด้วยจีพียูครบทั้งสามค่ายเรียบร้อยแล้ว
นอกจาก AV1 แล้ว OBS Studio 29 Beta ยังรองรับการเข้ารหัสวิดีโอแบบ HEVC (H.265) บนจีพียู Intel Arc เพิ่มอีกอย่างด้วย
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 8 Gen 2 ชิปเรือธงรุ่นใหม่ประจำปี
ช่วงหลังๆ Qualcomm ไม่ค่อยเผยรายละเอียดสเปกซีพียู-จีพียูแล้ว รอบนี้บอกแค่ว่าซีพียู Kryo สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 3.2GHz ประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 40% (เทียบกับ 8 Gen 1) และจีพียู Adreno ประสิทธิภาพดีขึ้น 25% รองรับ Vulkan 1.3
เมื่อคืนนี้ AMD เปิดตัวจีพียู Radeon RX 7000 Series ที่ใช้สถาปัตยกรรม RDNA 3 ตามสัญญา โดยเปิดตัวการ์ดรุ่นท็อปสุดออกมา 2 ตัวคือ Radeon RX 7900 XTXและ Radeon RX 7900 XT(ตามธรรมเนียมปฏิบัติคือ ผ่านไปสักพักใหญ่ๆ ถึงจะออกรุ่นอัพเกรดที่แรงขึ้นเป็น X950 ตามมา )
Cloudflare ประกาศรองรับการเข้ารหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 แบบเรียลไทม์ เท่ากับว่าเราสามารถถ่ายทอดวิดีโอแบบไลฟ์เป็นไฟล์อะไรก็ได้ ส่งขึ้นบริการสตรีมวิดีโอ Cloudflare Stream แล้วปลายทางจะได้เป็น AV1 ถ้าอุปกรณ์รองรับ
Cloudflare บอกว่าไฟล์วิดีโอแบบ AV1 มีข้อดีตรงที่ใช้แบนด์วิดท์น้อยกว่า H.264 ถึง 46% ช่วยให้โหลดเร็วขึ้น ประหยัดปริมาณเน็ต และตอนนี้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนจำนวนมากก็รองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ (decoder) ทำให้ไม่เปลืองพลังซีพียูและแบตเตอรี่เลย
NVIDIA เปิดตัวจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 40 ตามนัดหมาย ใช้โค้ดเนม Ada Lovelace ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ และถือเป็นครั้งแรกที่ NVIDIA ใช้โค้ดเนมทั้งชื่อ-นามสกุลของนักวิทยาศาสตร์ จากเดิมที่ใช้แต่นามสกุลอย่างเดียว
GeForce RTX ซีรีส์ 40 ยังคงสถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผล 3 ชนิด แบบเดียวกับที่ใช้มาตั้งแต่ซีรีส์ 20 ได้แก่
- จีพียูหลัก (shader)
- RT core3rd Gen สำหรับประมวลผล raytracing
- Tensor Core4th Gen สำหรับประมวลผล AI แต่ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็น ตัวเดียวกับที่ใช้ในจีพียูเซิร์ฟเวอร์ Hopper
อินเทล เปิดตัวจีพียู Intel Arc รุ่นแรก A-Series สำหรับคอนซูเมอร์มาตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ ประสบปัญหาสินค้าวางจำหน่ายล่าช้า จนตอนนี้ก็ยังไม่สามารถขายได้ในวงกว้าง
แต่ดูท่าอินเทลไม่สนใจเรื่องการวางขายแต่อย่างใด และเดินหน้าเปิดตัว Intel Arc Pro A-Series สำหรับกลุ่มคนทำงานสายกราฟิกและเวิร์คสเตชันต่อทันที
อินเทลเพิ่งเปิดตัวจีพียู Intel Arc โดยเริ่มจาก Arc 3 สำหรับโน้ตบุ๊ก และยังไม่มีผลทดสอบประสิทธิภาพกราฟิกจากสำนักที่เป็นกลางออกมา
ระหว่างที่กำลังรอผลกัน อินเทลก็อาศัยจังหวะนี้โชว์ฟีเจอร์ของ Arc ในฐานะจีพียูตัวแรกที่สามารถเข้ารหัส (encoding) และถอดรหัส (decoding) วิดีโอแบบ AV1 ได้ในตัว (จีพียู NVIDIA/AMD สามารถถอดรหัสได้อย่างเดียว) ทำให้งานตัดต่อวิดีโอ หรือสตรีมวิดีโอมีประสิทธิภาพมากขึ้น
dav1d ซอฟต์แวร์ถอดรหัสวิดีโอ AV1 ของกลุ่ม VideoLAN ที่เปิดตัวในปี 2018 ออกเวอร์ชัน 1.0 แล้ว
dav1d (ชื่อย่อมาจาก av1 + decoder) เป็นไลบรารีโอเพนซอร์สที่ใช้ถอดรหัสวิดีโอแบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิลและกลุ่ม AOpen Media ปัจจุบันเริ่มใช้งานแล้วทั้งบน YouTube และ Netflix
ทีมพัฒนา dav1d บอกว่าตอนนี้มันเป็นไลบรารีที่ถอด AV1 ได้เร็วที่สุดในท้องตลาด รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM รวมถึงสามารถใช้ชุดคำสั่งเฉพาะทางอย่าง SSE3, AVX2, AVX-512 เพื่อเร่งความเร็วการถอดรหัสไฟล์วิดีโอได้แล้ว
โลกวิดีโอกำลังหมุนไปยัง ตัวเข้ารหัสไฟล์แบบ AV1 ที่ผลักดันโดยกูเกิล โดยเริ่มใช้งานแล้วบนแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมทั้ง YouTube , Facebook และ Netflix
อินเทลเปิดตัวจีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ชื่อ Arctic Sound-M เน้นใช้แปลงไฟล์วิดีโอสำหรับทำสตรีมมิ่ง รองรับการเข้ารหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์
อินเทลบอกว่าตลาดวิดีโอออนไลน์ใหญ่มาก ทราฟฟิก 80% ของอินเทอร์เน็ตคือวิดีโอ จึงออก Arctic Sound-M มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ตัวจีพียูถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สายวิดีโอ เช่น FFmpeg, GStreamer, OpenVINO (ผ่าน oneAPI ของอินเทลเอง) แต่ก็ยังสามารถนำไปใช้งานสตรีมเกม หรือให้บริการ virtual desktop infrastructure (VDI) ได้ด้วย
Arctic Sound-M จะเริ่มส่งสินค้าจริงในช่วงกลางปี 2022
วิดีโอแบบ AV1 ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และปลายปีนี้ เราจะเห็นจีพียูที่มีตัวถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ออกวางขาย ทั้ง GeForce RTX 30 , Intel Xe และ Radeon RX 6000
ไมโครซอฟท์ถือเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่ม Alliance for Open Media (AOMedia) ผู้พัฒนา AV1 จึงไม่น่าแปลกใจที่ไมโครซอฟท์ออกมารับลูกเรื่องนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 10 จะรองรับการถอดรหัส AV1 ที่ระดับฮาร์ดแวร์ หากใช้งานบนจีพียูที่รองรับ (ทั้ง 3 ยี่ห้อข้างต้น)
GIMP ออกเวอร์ชัน 2.10.22 ซึ่งเป็นรุ่นอัพเดตย่อยต่อจาก 2.10.20 ที่เพิ่งออกไม่นานนี้
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
- รองรับไฟล์ AVIF ซึ่งเป็นไฟล์แบบเดียวกับ HEIF แต่ใช้อัลกอริทึม AV1 บีบอัดแทน HEVC ทำให้ไม่มีปัญหาสิทธิบัตร (อธิบายง่ายๆ ว่าเป็นขั้นกว่าของ WebP และเป็นคู่แข่งของ HEIF) ตอนนี้ AVIF รองรับแล้วใน Firefox, Chrome, Opera
- ปรับปรุงการเปิดไฟล์แบบ PSP (Paint Shop Pro)
- จัดการ metadata Exif Orientation ให้ดีขึ้น
ตอนนี้เรายังไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ AMD Radeon RX 6000 Series นอกจากการใช้สถาปัตยกรรม RDNA 2, รองรับ ray tracing และ ภาพตัวการ์ดที่ AMD นำมาโชว์ ก่อน งานแถลงข่าว 28 ตุลาคม
แต่จากแพตช์ล่าสุดในไดรเวอร์จีพียูโอเพนซอร์ส ก็พบข้อมูลชัดเจนว่า Radeon RX 6000 (โค้ดเนมในไฟล์คือ Sienna Cichlid) มีตัวถอดรหัสไฟล์วิดีโอแบบ AV1 เช่นเดียวกับ คู่แข่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 ที่เปิดตัวไปแล้ว
เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์ที่รองรับตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 ออกสู่ตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น MediaTek Dimensity 1000 ) ฝั่งของจีพียูก็มี NVIDIA ประกาศว่า GeForce RTX ซีรีส์ 30 สถาปัตยกรรม Ampere รองรับ AV1 แล้วเช่นกัน
นอกจากการใช้ฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วการถอดรหัส AV1 ตามปกติแล้ว NVIDIA ระบุว่าการรองรับ AV1 จะช่วยปิดช่องว่างเรื่องการถ่ายทอดเกม เพราะสตรีมเมอร์มักเล่นเกมที่ความละเอียด 1440p @ 144 FPS แต่การถ่ายทอดสดยังเป็น 720p/1080p @ 60 FPS ซะเป็นส่วนใหญ่ การที่จีพียูรองรับ codec รุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ช่วยผลักดันวงการสตรีมเกมไปได้อีก ซึ่ง GeForce RTX ซีรีส์ 30 สามารถดันไปได้ถึงการสตรีม 8K HDR ด้วยซ้ำ