Google Search ประกาศเปลี่ยนวิธีแสดงผล URL ในหน้าผลการค้นหาบนมือถือ (mobile search results) ที่เดิมทีแสดง breadcrumb หรือพาธต่อท้าย URL เหมือนกับเวอร์ชันเดสก์ท็อป (ภาพบน) จะลดเหลือการแสดงผลเฉพาะโดเมนเนมเพียงอย่างเดียว (ภาพล่าง)
กูเกิลให้เหตุผลว่าการแสดงผล breadcrumb บนมือถือไม่มีประโยชน์มากนัก เพราะพื้นที่หน้าจอมีขนาดจำกัด จึงเลือกตัด breadcrumb ออกเพื่อให้มีพื้นที่แสดงโดเมนเนมเด่นชัดขึ้นแทน ส่วนเวอร์ชันเดสก์ท็อปยังแสดง breadcrumb ตามปกติ
การเปลี่ยนแปลงเริ่มมีผลแล้ววันนี้กับ Google Search ในทุกภาษาและทุกภูมิภาค
ที่มา - Google Search Central
Perplexity เปิดตัวบริการ API ในชื่อ Sonarเพื่อให้ลูกค้าองค์และนักพัฒนาสามารถสร้างเครื่องมือบนระบบค้นหาที่ทำงานด้วย Generative AI ของ Perplexity ได้
Perplexity บอกว่าบริการ Generative AI ตอนนี้ส่วนมากจะให้คำตอบจากชุดข้อมูลที่ถูกเทรนไว้แล้ว ทำให้ความสามารถถูกจำกัด ขณะที่ Sonar API จะใช้การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเรียลไทม์จากแหล่งที่เชื่อถือได้มาเป็นคำตอบ
มีรายงานจากผู้ใช้กูเกิลที่ปิด JavaScript บนเบราว์เซอร์ พบข้อความเตือนว่าไม่สามารถใช้งานระบบค้นหาหรือ Google Search ได้ ซึ่งกูเกิลยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้จริง
กูเกิลบอกว่าผู้ใช้งาน Google Search ต้องเปิด JavaScript เพื่อการป้องกันที่ดีขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่น บอต สแปม และทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีมากขึ้นด้วย
กูเกิลยังบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ผู้ใช้งานที่กระทบมีไม่มาก เพราะการใช้งานระบบค้นหามีน้อยกว่า 0.1% ที่ปิด JavaScript จากจำนวนการค้นหากว่า 8,500 ล้านครั้งต่อวัน (ซึ่งคิดกลับแล้วก็เป็นหลักล้านอยู่ดี)
ไมโครซอฟท์อัปเดตการแสดงผลการค้นหาที่น่าสนใจ โดยเมื่อผู้ใช้งาน "ค้นหาผ่าน Bing" ด้วยคำว่า Google หรือ Google.com ผลลัพธ์ที่แสดงออกมา เป็นรูปภาพตรงกลางขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนหลายคน และมีกล่องค้นหาขนาดใหญ่อยู่ด้านล่าง พร้อมข้อความประกอบ ซึ่งหากมองเผิน ๆ รูปแบบการจัดวางนั้นก็เหมือนกับหน้าแรกของ Google ซึ่งกล่องค้นหานี้ก็ยังเป็น Bing ส่วนลิงก์ที่ไปเว็บ Google อยู่ที่ด้านล่างอีกที
เดิมหากค้นหาคำว่า Google ใน Bing ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการแสดงรายชื่อเว็บไซต์ตามปกติ และ Google.com ก็อยู่ด้านบนสุดในหน้าผลค้นหา
มีรายงานจาก The Information ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search จะเพิ่มตัวเลือก "AI Mode" ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลด้วย AI ในลักษณะเดียวกับ ChatGPT Search ของ OpenAI ที่เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้ได้แล้ว
ตามรายงานบอกว่าแนวทางของกูเกิลจะไม่บังคับให้ทุกคนมาใช้เครื่องมือค้นหาด้วย AI ทั้งหมด แต่มาในรูปแบบทางเลือกในแถบผลลัพธ์การค้นหาร่วมกับ All, Images, Videos ที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ต้องการผลลัพธ์จาก AI เลือกได้ โดยการแสดงข้อมูลจะเหมือนกับเวลาใช้งาน Gemini ที่ให้รายละเอียด พร้อมลิงก์ไปยังปลายทางที่เกี่ยวข้อง
OpenAI ประกาศว่า ChatGPT Search บริการค้นหาข้อมูลพลัง AI เริ่มทยอยเปิดให้ใช้งานสำหรับผู้ใช้งานฟรีแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังจากบริการ ChatGPT Search เปิดตัวเป็นทางการกับผู้ใช้งานเสียเงินเมื่อ ต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งปรับมาจาก SearchGPT ที่เปิดตัวในตอนแรก
ChatGPT Search สำหรับผู้ใช้งานฟรีจะรองรับทั้งผ่านเว็บไซต์ chatgpt.com และแอปบนมือถือกับเดสก์ท็อป โดยผู้ใช้งานต้องล็อกอินเท่านั้น
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษา สั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ใน คดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
ไมโครซอฟท์ยังไม่ยอมแพ้กับ Bing และจัดกิจกรรม "ใช้ Bing ลุ้นโชค" รับเงิน 1 ล้านดอลลาร์
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสะสมแต้ม Microsoft Rewards ที่ดำเนินมาหลายปีแล้ว รูปแบบของกิจกรรมรอบนี้คือต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการลุ้นโชค แล้วทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ระบุไว้ เช่น ติดตั้ง Microsoft Edge, ใช้ Bing ติดต่อกันทุกวัน, ตั้งค่า Bing เป็นดีฟอลต์ในเบราว์เซอร์ ฯลฯ เพื่อรับสิทธิลุ้นโชค และเมื่อจบกิจกรรมแล้วจะมีผู้โชคดี 1 รายรับเงินไปเลย 1 ล้านดอลลาร์
แน่นอนว่า โครงการดีๆ แบบนี้รับเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
OpenAI เปิดตัวบริการใหม่ ChatGPT Searchเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ รองรับข้อมูลที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดอย่าง ผลการแข่งขันกีฬา, ข่าวสาร หรือราคาหุ้น ด้วยรูปแบบการโต้ตอบของแชทบอตผ่านกล่อง ChatGPT
ในการทำงาน ChatGPT จะเลือกค้นหาข้อมูลผ่านเว็บตามลักษณะคำถาม หรือผู้ใช้งานจะเลือกปุ่ม Web Search เพื่อให้ ChatGPT ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ก็ได้ ในผลคำตอบจะมีลิงก์แนบท้ายเพื่อให้ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้นทางด้วย
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า Google Flights บริการค้นหาตั๋วเครื่องบินของกูเกิลเปิดมาตั้งแต่ปี 2011 แต่ไม่สามารถค้นหาตั๋วเครื่องบินโดยเรียงตามราคาถูกที่สุด (cheapest) ได้แบบเดี๋ยวกับเว็บค้นหาตั๋วเครื่องบินรายอื่นๆ โดย Google Flights ใช้วิธีนำเสนอ "best options" ที่ผสมผสานระหว่างราคากับความสะดวกให้แทน (เช่น ต่อเครื่องน้อยกว่า เวลาดีกว่า)
กูเกิลเริ่มทดสอบฟีเจอร์ Generative AI ช่วยสรุปคำตอบใน Search มาตั้งแต่ปี 2023 ภายหลัง เปลี่ยนชื่อมาเป็น AI Overviews และ ทยอยเปิดใช้งานในบางประเทศ (ยังไม่มีไทย)
ตอนที่เปิดตัว กูเกิลได้รับคำถามมากมายว่า หากใช้ AI สรุปคำตอบ เราก็ไม่ต้องกดลิงก์เข้าเว็บกันแล้ว จะมีผลกระทบกับทราฟฟิกของเว็บไซต์ต่างๆ รวมถึงรายได้จากโฆษณาบนเว็บของกูเกิลหรือไม่ คำตอบที่ผ่านมาของกูเกิลก็อ้อมๆ แอ้มๆ คือบอกว่ารายการลิงก์และพื้นที่แสดงโฆษณายังมีอยู่เหมือนเดิม (แม้อยู่ในตำแหน่งต่ำลงไปจากเดิม เพราะ AI Overviews ถูกแสดงขึ้นมาก่อน)
วันนี้กูเกิลมีคำตอบเรื่องโฆษณาให้แล้ว เพราะ AI Overviews เริ่มแสดงโฆษณาแล้ว
ไมโครซอฟท์ยกระดับฟีเจอร์การค้นหาไฟล์ใน Windows Search ด้วยพลัง AI ให้สามารถค้นหารูปภาพ เอกสาร ตามลักษณะของคำค้นได้ เช่น ค้นด้วยคำว่า "BBQ party" จะได้ภาพที่เกี่ยวข้องกับบาร์บีคิว โดยไม่จำเป็นต้องมีชื่อไฟล์หรือคีย์เวิร์ดตรงเป๊ะๆ เลย
ผู้ใช้ Google Photos หรือบริการเก็บภาพยุคใหม่คงคุ้นเคยกับการค้นหาแบบนี้มานานแล้ว แต่ตอนนี้ Windows 11 เพิ่งทำได้ด้วยพลังของ NPU ในพีซี Copilot+ ที่แปลความวัตถุในรูปภาพได้แล้วนั่นเอง
ฟีเจอร์นี้มีเฉพาะบน Copilot+ PC และจะเริ่มเปิดทดสอบในเร็วๆ นี้ ใช้ได้ทั้งใน File Explorer และช่องค้นหา Windows Search Box
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Click to Do ให้กับ Windows 11 v24H2 รุ่นใหม่ล่าสุด แต่เฉพาะกับพีซีกลุ่ม Copilot+ PC เท่านั้น
คนที่เคยใช้ฟีเจอร์ Circle to Search ของฝั่ง Android น่าจะคุ้นเคยกับฟีเจอร์ลักษณะนี้ มันคือการคลิกที่ภาพใดๆ บนหน้าจอ ณ ตอนนั้น แล้วค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพนั้น (ของไมโครซอฟท์ผ่าน Bing Visual Search) หรือสั่งงานอื่นๆ เกี่ยวกับการแต่งภาพ เช่น ลบภาพพื้นหลัง ลบวัตถุ
วิธีใช้งาน Click to Do บน Windows 11 คือกดปุ่ม Windows บนคีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วเอาเมาส์คลิกที่ภาพใดๆ บนหน้าจอได้เลย หรือจะกดช็อตคัต Win+Q ก็ได้เช่นกัน (ใช้กับแอพอะไรก็ได้ เพราะเป็นการทำงานระดับวินโดวส์ มองภาพที่ปรากฏบนจอ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง หรือวิดีโอ)
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้ Circle to Search สามารถฟังเสียงเพลงรอบตัว แล้วค้นหาชื่อเพลงได้ ฟีเจอร์นี้ไม่จำเป็นต้องวาดหน้าจอส่วนที่ต้องการ เพียงแค่กดปุ่ม Home ค้างเพื่อเรียกหน้าจอ Circle to Search ขึ้นมา แล้วกดตรงไอคอนรูปโน้ตดนตรีได้เลย
ฟีเจอร์นี้มีใน Android มานานแล้ว แต่ต้องใช้ผ่าน widget Sound Search หรือไม่ก็กดตรงปุ่มไมโครโฟนในแถบ widget Google Search แล้วสั่ง "search a song" การที่กูเกิลผนวกมันเข้ามาใน Circle to Search ก็แสดงให้เห็นว่ากูเกิลต้องการเน้นให้ผู้ใช้มาที่ Circle to Search มากขึ้น
ที่มา - Google
Google Search ประกาศซัพพอร์ตไฟล์รูปภาพแบบ AVIF หรือ AV1 Image File Format ที่ใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 มาบีบอัดไฟล์ภาพนิ่ง
กูเกิลมีเครื่องมือหลายอย่างที่เรียกขึ้นมาทันทีเมื่อค้นหาผ่าน Google Search ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ นาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) และ ตัวจับเวลา (Timer) ที่มีให้ใช้งานมานานแล้ว ล่าสุดกูเกิลปรับปรุงหน้าตาใช้งานให้สะดวกมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ OpenAI ได้ เปิดตัว SearchGPT ซึ่งเป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอินเทอร์เน็ตพลัง AI ที่หลายคนมองว่าทำให้การแข่งขันกับกูเกิลดูเข้าใกล้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม SearchGPT เป็นบริการสถานะต้นแบบ ที่ใครต้องการต้องลงชื่อ waitlist ก่อน
ล่าสุดคนที่สมัครรอใน waitlist แต่ยังไม่ได้คำเชิญทดสอบใช้งาน ต่างได้รับอีเมลจาก OpenAI โดยบอกว่าตอนนี้ผู้ใช้งานที่ยังไม่ได้รับคำเชิญ ก็จะต้องรอต่อไปก่อน ซึ่งหากบริการขยายจำนวนผู้ใช้งานก็จะแจ้งอีกครั้ง ใน หน้าสมัคร waitlist ตอนนี้ก็ปิดรับสมัครเพิ่มเติมด้วย
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินให้กูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด บริการระบบค้นหาหรือ Search ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องร้อง ถึงแม้กูเกิลจะเตรียมยื่นอุทธรณ์แต่สิ่งที่น่าสนใจคือคนที่เสียหายจากคำตัดสินนี้ อาจไม่ใช่กูเกิล
Fortune ให้ข้อสังเกตจากคำตัดสินที่ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบาย โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดเพราะใช้การทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟทั้งกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแพลตฟอร์ม เพื่อให้กูเกิลยังเป็นระบบค้นหาหลักต่อไป นั่นแปลว่ากูเกิลอาจถูกสั่งให้หยุดการทำข้อตกลงประเภทนี้ คนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ จึงอาจเป็นคนที่ได้รับเงินผลประโยชน์จากกูเกิล ซึ่งมีสองรายที่น่าสนใจคือ แอปเปิล และ Mozilla
ศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใน 38 รัฐ ฟ้องกูเกิล ข้อหาผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search) ซึ่งฟ้องไปตั้งแต่ปี 2020 โดยคำตัดสินคือกูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง
ผู้พิพากษา Amit Mehta อธิบายในคำตัดสินว่ากูเกิลนั้นผูกขาดตลาดระบบค้นหาอยู่แล้ว และยังมีพฤติกรรมที่พยายามรักษาการผูกขาดตลาด ด้วยการทำข้อตกลงเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนทั้ง Android และ iPhone, iPad ของแอปเปิล ซึ่งมองว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันและทำเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดระบบค้นหาต่อไป
OpenAI เปิดตัวบริการค้นหาหรือเสิร์ชพลัง AI ในชื่อ SearchGPTโดยระบุว่าเป็นเสิร์ชเอ็นจินที่ค้นหาและให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้จากบนอินเทอร์เน็ต สถานะของบริการตอนนี้เป็นต้นแบบ (Prototype) ทดสอบกับผู้ใช้งานจำนวนจำกัด หากสนใจต้อง ลงชื่อเป็น waitlist
ก่อนหน้านี้ Reddit ประกาศว่าจะบล็อกการดูดข้อมูลจากเว็บไซต์ ซึ่งคาดว่าเป็นประเด็นการนำข้อมูลไปเทรน AI โดยบริษัทได้ทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการบางรายไปแล้วเช่น กูเกิล ซึ่งมี รายงานตัวเลข คือ 60 ล้านดอลลาร์ต่อปี อย่างไรก็ตามหลายบริษัทก็ไม่ได้ทำข้อตกลงนี้จึงเข้าถึงข้อมูลไม่ได้
โดยมีการค้นพบว่าบริการเสิร์ชรายอื่น เช่น Bing ไม่มีผลลัพธ์การค้นหาที่เป็นเว็บไซต์ Reddit เลย หากฟิลเตอร์ผลลัพธ์เป็นช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (site:reddit.com) เช่นเดียวกับ DuckDuckGo ก็ไม่มีผลลัพธ์แสดงเช่นกัน ขณะที่กูเกิลยังแสดงผลลัพธ์ล่าสุดได้ตามปกติ
Bing ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใช้ AI ช่วยสรุปคำตอบลงในหน้าผลการค้นหา (search result page) แบบเดียวกับที่ Google Search มีฟีเจอร์ AI Overview มาก่อนหน้านี้
แนวทางของ Bing เป็นการนำโมเดลภาษา SLM และ LLM มาสรุปคำตอบให้ แบบเดียวกับที่เคยทำใน Bing Chat/Copilot มาก่อน เพียงแต่รอบนี้แทรกเข้ามาในหน้าผลการค้นหาเลย ไม่ต้องแยกเป็นคนละเพจ-แท็บ ( ตัวอย่างการค้นหาคำว่า what is a spaghetti western ) โดยเนื้อหาที่ได้จากการสรุปของ AI พร้อมลิงก์อ้างอิงจะแสดงในคอลัมน์หลักของหน้าผลการค้นหา
The Information มีรายงานถึงความพยายามของกูเกิล เพื่อลดการพึ่งพาทราฟิกและรายได้โฆษณาจากการค้นหาในกูเกิลผ่าน Safari บน iPhone ซึ่งเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เป็นจำนวนเงินต่อปีที่สูง แลกกับการถูกกำหนดเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น ซึ่ง ตัวเลขในปี 2022 นั้นสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคิดจาก ส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณา
มีรายงานปัญหา Bing เสิร์ชเอ็นจินของไมโครซอฟท์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และส่งผลกระทบกับ API ทำให้บริการที่เชื่อมต่อบริการเสิร์ชกับ Bing เช่น DuckDuckGo พบปัญหาในการใช้งานด้วย นอกจากนี้ Microsoft Copilot ก็ไม่สามารถโหลดหน้าใช้งานได้ตามปกติส่วนที่เป็นการค้นหาข้อมูลเว็บ
เว็บไซต์ Downdetector รายงานปัญหานี้ทั้งของ Bing และ DuckDuckGo โดยพบปัญหาจำนวนมากตั้งแต่เวลาประมาณ 13:20น. ตามเวลาในไทย จนถึงตอนนี้ยังคงมีปัญหาอยู่
Reuters รายงานข่าวลือว่า OpenAI เตรียมเปิดตัว Search Engine ของตัวเองในวันจันทร์หน้า (13 พ.ค.)
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือมาสักระยะแล้วว่า OpenAI กำลังซุ่มพัฒนา Search Engine เพื่อแข่งกับ Google Search และสตาร์ตอัพรายอื่นอย่าง Perplexity AI ที่ก่อตั้งโดยอดีตพนักงานของ OpenAI
คาดว่าบริการ Search ของ OpenAI จะเป็นส่วนต่อขยายจาก ChatGPT โดยเปิดให้ ChatGPT ดึงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต มีแหล่งอ้างอิงข้อมูล (ไม่ได้เรียกว่า Bing งั้นรึ?)