NASA ประกาศเลื่อนกำหนดส่งยานอวกาศ SpaceX Dragon ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ออกไปเป็นเร็วที่สุดปลายเดือนมีนาคม 2025 โดยบอกว่าเพื่อให้ทีมงานทั้ง SpaceX และ NASA มีเวลามากขึ้นในการตรวจสอบและเตรียมความพร้อมขั้นตอนต่าง ๆ
การเลื่อนกำหนดของ SpaceX Dragon ทำให้ลูกเรือ Butch Wilmore และ Suni Williams ที่ยังอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพราะ ไม่สามารถ กลับสู่โลกด้วยยาน Boeing Starliner จาก ปัญหาฮีเลียมรั่วไหล ต้องเลื่อนกำหนดกลับสู่พื้นโลกออกไปอีกเล็กน้อย จาก แผนเดิม ที่เป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ยานอวกาศ Starliner ตียานเปล่า กลับถึงโลกเรียบร้อย โดยกลับมาลงจอดที่ท่าจอดยาน White Sands Space Harbor ในรัฐนิวเม็กซิโกเมื่อวานนี้ ถือเป็นการจบภารกิจของ Starliner ที่เดินทางไป-กลับสถานีอวกาศนานาชาติ
NASA ประกาศกำหนดการณ์นำยาน Boeing Starliner กลับโลกโดยไร้ผู้โดยสารในช่วงเช้าวันที่ 7 กันยายนตามเวลาประเทศไทย และใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนจะลงสู่โลก
NASA ระบุว่าเริ่มรู้ว่ามีปัญหาการควบคุมตั้งแต่ระหว่างการเข้าเทียบสถานีอวกาศนานาชาติ จึงตัดสินใจให้นักบินทั้งสองคนกลับโลกด้วยยาน SpaceX แทน
ทางนาซ่าจะถ่ายทอดสดทั้งการถอนยานออกจากสถานีอวกาศนานาชาติและการกลับสู่โลก
ที่มา - NASA
NASA ประกาศผลการแผนการนำนักบินยาน Boeing Starliner สองคนคือ Butch Wilmore และ Suni Williams กลับสู่โลกว่าจะพากลับมาด้วยยาน SapceX Dragon ในปีหน้า ส่วนยาน Starliner จะกลับสู่โลกแบบอัตโนมัติ พร้อมกับเก็บข้อมูลทดสอบไปด้วย
ปัญหาหลักที่ไม่สามารถให้นักบินกลับด้วย Starliner ได้เนื่องจากเกิดฮีเลียมรั่วไหล และยานตอบสนองต่อการควบคุมผิดปกติในช่วงนำยานเข้าเทียบกับสถานีอวกาศนานาชาติ แม้จะพยายามทดสอบยานเพิ่มเติมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยพอ จึงตัดสินนำนักบินทั้งสองกลับด้วยาน Dragon แทน
วิศวกรนาซ่าเห็นไม่ตรงกันว่า Starliner พานักบินกลับโลกได้ไหม อาจจะต้องกลับกับยาน SpaceX Dragon ปีหน้า
นาซ่าแถลงข่าวถึงกระบวนการนำนักบินของยาน Boeing Starliner สองคน คือ Butch Wilmore และ Suni Williams กลับสู่โลก หลังจากยาน Starliner มีความผิดพลาดจนต้องทดสอบการทำงานของเจ็ตบนยานว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่ และตอนนี้วิศวกรของนาซ่าเองก็มีความเห็นไม่ลงรอยกันว่าควรใช้ยาน Starliner พานักบินทั้งสองกลับบ้านหรือไม่ หรือจะให้รอกลับกับยาน Dragon ทีเดียวปีหน้า
ยาน Dragon มีกำหนดภารกิจ Crew-9 นำนักบินอวกาศสี่คนขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนนี้ แต่ตอนนี้ภารกิจถูกเลื่อนไปเป็นเดือนกันยายน โดยทางเลือกหนึ่งคือลดนักบิน Crew-9 เหลือ 2 คนและนำนักบิน 2 คนจาก Starliner กลับมาด้วยในปีหน้า
NASA แถลงว่าทดสอบการทำงานของเจ็ตบนยาน Starliner 27 จุดเรียบร้อยแล้ว และกำลังตรวจสอบผลอยู่ เพื่อยืนยันว่ายานพร้อมนำนักบินกลับสู่โลก
ยาน Starliner นำนักบินขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติในภารกิจ Crew Flight Test (CFT) ที่เดิมมีกำหนดต้องกลับโลกภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หลังจากพบการรั่วไหลของก๊าซฮีเลียมก็ต้องยืนยันความปลอดภัยก่อนกลับ
การทดสอบครั้งนี้เปิดเจ็ตทำงานสั้นๆ เพื่อดูแรงขับว่ายังเพียงพอหรือไม่ ผลเบื้องต้นพบว่าอยู่ในระดับก่อนบิน แต่ทีมงานภาคพื้นดินยังคงพิจารณาผลเพื่อยืนยันว่าพร้อมนำนักบินกลับสู่โลก แล้วจะกำหนดวันบินอีกครั้ง
Boeing ยอมความกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ในคดีบริษัทละเลยความปลอดภัย ปิดบังการใส่ซอฟต์แวร์ MCAS จาก FAA จนเครื่องบิน 737 Max ตกสองลำในปี 2018 และ 2019 โดยยอมจ่ายค่าปรับ 243.6 ล้านดอลลาร์หรือ 8,900 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ Boeing เคยจ่ายค่าปรับมาแล้วถึง 2,500 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2021
นอกจากการจ่ายค่าปรับแล้ว Boeing ยังต้องลงทุนสร้างระบบควบคุมภายในมูลค่า 455 ล้านดอลลาร์ พร้อมกับเปิดให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ส่งตัวแทนเข้าไปควบคุมการทำงานและตรวจสอบว่าปรับปรุงความปลอดภัยจนเป็นไปตามมาตรฐาน
ข้อตกลงนี้บังคับให้ผู้บริหารต้องไปพบกับญาติผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามญาติบางส่วนแสดงความไม่พอใจว่าข้อตกลงนี้เบาไปสำหรับบริษัท และเรียกร้องให้สั่งปรับถึง 25,000 ล้านดอลลาร์
ยาน Starliner ของ Boeing กำลังอยู่ระหว่างการบินสาธิต Crew Flight Test (CFT) แต่ปรากฎว่าหลังจากยานเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติแล้วทีมงานพบการรั่วไหลของก๊าซฮีเลียม และประสิทธิภาพของระบบขับเคลื่อนทำให้นาซ่าต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนปล่อยให้ยานกลับสู่โลก
เดิม Starliner มีกำหนดกลับโลกตั้งแต่วันนี้ (26 มิถุนายน) แต่ความไม่พร้อมก็ทำให้ต้องเลื่อนออกไป และต้องหลบตารางการทำ spacewalk ระหว่างนี้นักบินทั้งสองที่ขึ้นไปกับ Starliner จะมีโอกาสทำภารกิจเพิ่มเติมตามที่ได้รับมอบหมาย และหากมีเหตุฉุกเฉินทางนาซ่ายังอนุญาตให้ใช้ยาน Starliner สำหรับอพยพได้อยู่
วันนี้จรวด Atlas V ของ United Launch Alliance (ULA) นำส่งยาน Starliner ขึ้นสู่ระดับใต้วงโคจร (suborbit) สำเร็จ หลังจากนี้ตัวยาน Starliner จะส่งตัวเองขึ้นไปยังวงโคจรเพื่อเข้าเทียบกับสถานีอวกาศนานาชาติต่อไป
ภารกิจครั้งนี้ชื่อว่า Crew Flight Test (CFT) เป็นภารกิจทดสอบการทำงานของยาน Starliner และจรวดนำส่ง Atlas V โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Commercial Crew ที่นาซ่าจะซื้อ "ที่นั่ง" แทนที่จะจ้างทำยานโดยจ่ายตามต้นทุนจริง (cost-plus) โดยภารกิจสาธิตแบบมีนักบินจริงขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติจริงนี้น่าจะเทียบเท่ากับ ภารกิจ Crew Demo-2 ของ SpaceX เมื่อปี 2020
โครงการนำส่งนักบินอวกาศด้วยจรวดเอกชนของนาซ่าหรือ Commercial Crew Program นั้นมีสองรายที่ชนะการประมูลคือ Starliner ของ Boeing และ Dragon ของ SpaceX แม้ว่า SpaceX จะทำภารกิจสำเร็จไปแล้วหลายครั้ง แต่ Starliner ก็ยังทำได้เพียงขนส่งสัมภาระเท่านั้น ยังไม่พร้อมนำส่งนักบินจริง ล่าสุด Boeing ก็ประกาศว่าภารกิจแรกน่าจะเร็วที่สุดคือเดือนมีนาคม 2024
ตอนนี้ SpaceX นำส่งนักบินไปสถานีอวกาศนานาชาติแล้ว 6 รอบ และกำลังเตรียมภารกิจที่ 7 วันที่ 25 สิงหาคมนี้ ตามกำหนดเดิม Starliner เองก็มีกำหนดนำส่งนักบินในปีนี้ แต่ก่อนวันยิงจริงทางนาซ่าก็พบปัญหาในร่มชูชีพและมีเทปติดไฟอยู่ในตัวยานทำให้ต้องแก้ไขก่อน ตัวร่มต้องเปลี่ยนวัสดุที่ใช้และทดสอบใหม่อีกรอบปลายปีนี้
- Read more about Starliner เลื่อนยาว นำส่งนักบินเร็วสุดมีนาคม 2024
- 6 comments
- Log in or register to post comments
ยาน CST-100 Starliner ของโบอิ้งจอดเทียบกับสถานีอวกาศสำเร็จหลังขึ้นสู่วงโคจรมาแล้ว 26 ชั่วโมง พร้อมกับเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและข้อมูลเข้ากับสถานีเป็นที่เรียบร้อย
ทีมงานจะรออีกหนึ่งวันก่อนจะเปิดประดูยาน และให้นักบินอวกาศเข้าไปใช้งาน ระหว่างนี้อุปกรณ์ใน Starliner เกือบทั้งหมดจะปิดไว้จนกว่าจะเตรียมกลับสู่โลก
หากภารกิจ OFT-2 ครั้งนี้ประสบความสำเร็จครบถ้วน ทางนาซ่าเตรียมทดสอบยานพร้อมนักบินอวกาศภายในปีนี้ ด้วยภารกิจ CFT (crew flight test) ต่อไป หากสำเร็จสหรัฐฯ ก็จะมีบริษัทให้บริการนำส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรเป็นบริษัทที่สองต่อจาก SpaceX
ที่มา - Starliner Updates
- Read more about Starliner เชื่อมต่อสถานีอวกาศนานาชาติสำเร็จ
- 5 comments
- Log in or register to post comments
United Launch Alliance (ULA) นำส่งยาน Starliner ของ Boeing ขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวด Atlas V สำเร็จ เตรียมเทียบท่าเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติเป็นครั้งแรก หลังจากกำหนดการเดิมยาน Starliner ต้องทดสอบเทียบท่าแบบไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2019
โครงการ Starliner เป็นโครงการคู่ขนานที่ถูกเลือกภายใต้โครงการ Commercial Crew ของนาซ่าคู่กับโครงการยาน Dragon ของ SpaceX แต่ Starliner ประสบปัญหาล่าช้าหลายครั้ง ความล่าช้าสำคัญคือภารกิจ OFT อันแรกไม่สามารถขึ้นสู่วงโคจร
ที่มา - ULA
Boeing ยกยาน Starliner ออกจากจรวด Atlas V เพื่อส่งยานกลับไปตรวจสอบในโรงงาน หลังทดสอบแล้วพบว่าวาล์วระบบขับดันสี่ตัวไม่ทำงาน
การยกยานกลับไปตรวจสอบในโรงงานทำให้ Boeing ไม่สามารถนำส่งยานได้ในช่วงนี้อีกแล้วเนื่องจากแท่นยิงต้องใช้กับภารกิจอื่นๆ ต่อไป
ยาน Starliner ในภารกิจ OFT-2 นี้มีกำหนดส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ระหว่างการทดสอบและนับถอยหลังไปจนถึงเวลา 2 ชั่วโมงครึ่งก่อนยิง ทาง Boeing ก็ยกเลิกภารกิจออกไป และไม่สามารถเดินหน้าภารกิจได้จนตัดสินใจถอดยานกลับไปทดสอบครั้งนี้
ที่มา - Boeing
Boeing เลื่อนยิงตรวด Atlas-5 เพื่อนำส่งยาน Starliner ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ แม้ว่าจะนับถอยหลังเหลือเพียง 2 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แต่จะเตรียมยิงอีกครั้งในวันพรุ่งนี้
ภารกิจยิงยาน Starliner แบบไร้คนขับเพื่อทดสอบยานของ Boeing เริ่มยิงครั้งแรกตั้งแต่ปลายปี 2019 แต่ภารกิจล้มเหลวโดยยานไม่สามารถขึ้นไปถึงวงโคจรได้ ทำให้ Boeing ต้องทำ ภารกิจทดสอบ OFT-2 ครั้งนี้ให้นาซ่าฟรี กระทบไปถึงตารางภารกิจนำส่งยานแบบมีมนุษย์อวกาศขึ้นไปด้วย จนกระทั่งนักบินลาออกจากตำแหน่งนักบินไปทำงานจัดการโครงการแทน
FAA หน่วยงานควบคุมการบินสหรัฐฯ สั่งให้สายการบินหยุดใช้เครื่องบิน Boeing 777 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ Pratt & Whitney 4000-112 จากเหตุเครื่องยนต์ของเที่ยวบิน UA 328 ไฟไหม้ระหว่างบินเมื่อวานนี้ เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม ขณะที่กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นก็ออกคำสั่งแบบเดียวกัน
ในสหรัฐฯ มีเพียง United Airlines เท่านั้นที่ใช้เครื่องยนต์รุ่นนี้ แต่ยังมีสายการบินในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นใช้งานด้วย ทาง Boeing ออกมาสนับสนุนการสอบสวนเพิ่มเติม พร้อมกับระบุว่าตอนนี้มีเครื่อง 777 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ Pratt & Whitney 4000-112 ที่เกิดเหตุนี้จำนวน 128 ลำ ใช้งานแล้ว 69 ลำและยังเก็บอยู่ในโกดัง 59 ลำ
ภายหลังเครื่อง Boeing 737 Max ถูกสั่งห้ามบินไปทั่วโลกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019 เมื่อวันพุธที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Steve Dickson ผู้อำนวยการ US Federal Aviation Administration (FAA) ได้ประกาศอนุญาตให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวกลับมาให้บริการได้อีกครั้งและได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าตัวเขาเองได้ทดลองขับเครื่องบินรุ่นดังกล่าวแล้วและมีความมั่นใจเต็มร้อยที่จะให้ครอบครัวของเขาขึ้นบินด้วยเครื่องบินรุ่นนี้
Patrick Ky ผู้อำนวยการ European Union Aviation Safety Agency (EASA) ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวแสดงท่าทีพอใจต่อแพตช์ซอฟต์แวร์ของ Boeing 737 Max ว่าปลอดภัยเพียงพอ และทาง Boeing สัญญาว่าจะพัฒนาเซ็นเซอร์ตัวที่สามติดตั้งเพิ่มเติมในปี 2022 ซึ่งหากไม่มีความผิดพลาดอะไรทาง Boeing ก็จะได้ใบรับรองให้กลับมาบินในยุโรปได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้
เครื่อง Boeing 737 Max ถูกสั่งห้ามบินไปทั่วโลกตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019 หลังเกิดเหตุเครื่องบินตกถึงสองรอบติดๆ กัน จน Boeing ต้อง หยุดสายการผลิตไปเมื่อปลายปีที่แล้ว หลังมีเครื่องบินค้างสต็อกกว่า 400 ลำส่งมอบไปยังสายการบินไม่ได้
โครงการ Crew Dragon ของ SpaceX นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Commercial Crew ของนาซ่าที่ยังมี Starliner เป็นคู่แข่งกันมา แต่โครงการของ Boeing ก็ประสบเหตุล่าช้าจนกระทั่งล่าสุด Christopher Ferguson นักบินหลักของเที่ยวบินแรกประกาศถอนตัวแล้ว โดยนักบินสำรอง Barry Butch Wilmore จะทำหน้าที่แทนต่อไป
Ferguson เป็นนักบินจากโครงการ Space Shuttle มาก่อนและเป็นนักบินในเที่ยวบินสุดท้ายเมื่อปี 2011 เขาเกษียนอายุจากนาซ่าหลังจบภารกิจ จากนั้นเข้าทำงานกับ Boeing ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย crew and mission systems จนกระทั่งได้รับมอบหมายให้เป็นนักบินของภารกิจแรกของยาน Starliner ในปี 2018 ถ้าเขาขึ้นบินก็จะเป็นพลเรือนคนแรกที่บินกับยานอวกาศเอกชน
เมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา SpaceX นำส่งนักบินอวกาศสองรายขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติสำเร็จ ภายใต้โครงการ Commercial Crew แต่โครงการนี้ยังมีผู้ร่วมอีกรายคือ Starliner ของโบอิ้งที่บินทดสอบแบบไร้นักบินไปเมื่อธันวาคมที่ผ่านมาแต่กลับไม่สามารถขึ้นไปยังวงโคจรที่กำหนดได้ ทำให้ต้องพาจรวดกลับลงสู่โลกก่อนกำหนด ตอนนี้ทางนาซ่าและโบอิ้งก็ตรวจสอบข้อมูลการบินและออกรายงานออกมาแล้ว โดยกำหนดให้ทางโบอิ้งแก้ไขถึง 80 รายการ
หลังรัฐบาลสหรัฐใส่ชื่อ Huawei เข้าไปใน Entity List บริษัทที่รัฐบาลกังวลในประเด็นด้านความมั่นคงและบริษัทสหรัฐจะต้องขอใบอนุญาตก่อนเพื่อทำธุรกิจด้วย ล่าสุด The Global Times รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า รัฐบาลจีนเตรียมจะทำแบบเดียวกับบริษัทสหรัฐแล้ว
บริษัทสหรัฐที่มีรายชื่อว่าน่าจะโดนมาตรการนี้คือ Apple, Cisco, Qualcomm และ Boeing ซึ่งอาจจะทั้งโดนสอบสวนและอยู่ในรายชื่อบริษัทที่ไม่น่าไว้ใจ (unreliable entity list)
ทั้งนี้ The Global Times อยู่ในเครือของ People's Daily ซึ่งเป็นสื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เครื่องบิน Boeing 747-400 ของสายการบิน British Airways เที่ยวบิน BA112 จากท่าอากาศยาน John F. Kennedy เมืองนิวยอร์กไปท่าอากาศยาน Heathrow เมืองลอนดอน ได้ทำสถิติบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเร็วที่สุดในย่านความเร็ว subsonic (ความเร็วต่ำกว่าเสียง) โดยทำความเร็วสูงสุดถึง 717 น็อต หรือราว 1,327 กม./ชม.
ปกติแล้วไฟลท์ดังกล่าวจะใช้เวลาบินราว 6 ชั่วโมง 13 นาที แต่ไฟลท์นี้ใช้เวลาบินเพียง 4 ชั่วโมง 56 นาที โดยตามรายงานระบุว่าช่วงเวลาที่เครื่องบินมาถึงลอนดอนก็เป็นจังหวะเดียวกับที่พายุ Ciara เคลื่อนตัวเข้าเกาะอังกฤษพอดี เป็นเหตุให้เครื่องบินทำความเร็วได้สูงกว่าปกติจากกระแสลมของพายุ
กรรมาธิการขนส่งมวลชนและโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (House Transportation and Infrastructure Committee) เผยแพร่บันทึกแชต, อีเมล, และบันทึกข้อความภายในของบริษัท Boeing ระหว่างการขออนุญาตเครื่อง 737 MAX ( 1 , 2 , 3 ) แสดงให้เห็นว่าพนักงานของบริษัทพยายามต่อรองกับหน่วยงานกำกับดูแลอย่างหนัก เพื่อไม่ให้หน่วยงานกำกับดูแลสั่งให้นักบินต้องฝึกบินเพิ่มเติมในเครื่องจำลองก
Boeing เปลี่ยนคำแนะนำการฝึกนักบินก่อนขับเครื่องบิน 737 MAX โดยเพิ่มการฝึกในเครื่องจำลองการบิน (simulator) ก่อนกลับขึ้นบิน จากเดิมที่จุดขายของ 737 MAX คือการนักบินที่มีใบอนุญาตบินเครื่อง 737 อยู่แล้วไม่ต้องเข้าเครื่องจำลองการบินเพิ่ม
การฝึกนักบินในเครื่องจำลองการบินมีค่าใช้จ่ายสูง แต่นักบินที่มีใบอนุญาตขับเครื่อง 737 สามารถขับเครื่อง 737 MAX ได้ด้วยการเรียนจากแท็บแล็ตโดยใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ความสะดวกเช่นนี้ทำให้สายการบินจำนวนมากสนใจ เพราะมีนักบินที่มีใบอนุญาตเครื่อง 737 อยู่แล้วจำนวนมาก เช่นสายการบิน Southwest ในสหรัฐฯ มีนักบินมีใบอนุญาตเครื่อง 737 เกือบหมื่นคน
Boeing เตรียมหยุดสายการผลิตเครื่อง 737 Max ในเดือนมกราคม 2020 นี้ หลังจากไม่สามารถขออนุญาตหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกให้อนุญาตให้เครื่อง 737 Max ขึ้นบินได้ทันสิ้นปีนี้ ตรงตาม คำเตือนที่เคยแจ้งนักลงทุนไว้ล่วงหน้า
แม้ว่าเครื่อง 737 Max จะไม่ได้รับอนุญาตให้บินรับผู้โดยสารตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาจากเหตุการณ์ Ethiopian Airlines Flight 302 ตก แต่โรงงานของ Boeing ก็ยังเดินสายการผลิตต่อไปโดยหวังว่าหากได้รับอนุญาตให้ขึ้นบินก็จะส่งมอบเครื่องให้ลูกค้าได้ทันที โดยตอนนี้มีเครื่อง 737 Max ในสต็อกของบริษัทรอส่งมอบถึง 400 เครื่อง
เครื่องบิน Boeing 737 Max ถูกห้ามบินตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา จนตอนนี้กระบวนการออกแพตช์ซอฟต์แวร์และขอรับรองก็ยังไม่เสร็จสิ้น ทำให้เครื่องที่ผลิตออกมาแล้วต้องจอดอยู่ในลานจอดของบริษัท ล่าสุด Boeing เตือนนักลงทุนว่าอาจจะต้องลดกำลังผลิตหรือหยุดสายการผลิตเครื่อง 737 Max หากได้รับอนุญาตขึ้นบินช้ากว่าที่กำหนด
ทางบริษัทสามารถนำเสนอจุดแก้ไขต่อหน่วยงานกำกับดูแลการบินได้ภายในเดือนกันยายนนี้ ก่อนจะจัดเที่ยวบินทดสอบเพื่อขอรับรอง (certification flight) ภายในเดือนตุลาคม หลังจากนั้นน่าจะได้รับอนุญาตขึ้นบินภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์