International Space Station
NASA ประกาศเลื่อนกำหนดส่งยานอวกาศ SpaceX Dragon ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ออกไปเป็นเร็วที่สุดปลายเดือนมีนาคม 2025 โดยบอกว่าเพื่อให้ทีมงานทั้ง SpaceX และ NASA มีเวลามากขึ้นในการตรวจสอบและเตรียมความพร้อมขั้นตอนต่าง ๆ
การเลื่อนกำหนดของ SpaceX Dragon ทำให้ลูกเรือ Butch Wilmore และ Suni Williams ที่ยังอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ เพราะ ไม่สามารถ กลับสู่โลกด้วยยาน Boeing Starliner จาก ปัญหาฮีเลียมรั่วไหล ต้องเลื่อนกำหนดกลับสู่พื้นโลกออกไปอีกเล็กน้อย จาก แผนเดิม ที่เป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์
Vast Space สตาร์ตอัพสายอวกาศที่ก่อตั้งในปี 2021 เสนอแผนการทำสถานีอวกาศเอกชนชื่อ Haven-2 ที่จะมาใช้แทนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ที่กำลังจะหมดอายุใช้งานในปี 2030
แนวทางการสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่แทน ISS ถูกพูดคุยกันมานานแล้ว และ NASA เองก็เคยให้ทุนบริษัทเอกชน 3 แห่ง Blue Origin, Nanoracks, Northrop Grumman ไปพัฒนาแนวคิดสถานีอวกาศทดแทน
ยานอวกาศ Starliner ตียานเปล่า กลับถึงโลกเรียบร้อย โดยกลับมาลงจอดที่ท่าจอดยาน White Sands Space Harbor ในรัฐนิวเม็กซิโกเมื่อวานนี้ ถือเป็นการจบภารกิจของ Starliner ที่เดินทางไป-กลับสถานีอวกาศนานาชาติ
NASA แถลงว่าทดสอบการทำงานของเจ็ตบนยาน Starliner 27 จุดเรียบร้อยแล้ว และกำลังตรวจสอบผลอยู่ เพื่อยืนยันว่ายานพร้อมนำนักบินกลับสู่โลก
ยาน Starliner นำนักบินขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติในภารกิจ Crew Flight Test (CFT) ที่เดิมมีกำหนดต้องกลับโลกภายในเวลาไม่กี่วัน แต่หลังจากพบการรั่วไหลของก๊าซฮีเลียมก็ต้องยืนยันความปลอดภัยก่อนกลับ
การทดสอบครั้งนี้เปิดเจ็ตทำงานสั้นๆ เพื่อดูแรงขับว่ายังเพียงพอหรือไม่ ผลเบื้องต้นพบว่าอยู่ในระดับก่อนบิน แต่ทีมงานภาคพื้นดินยังคงพิจารณาผลเพื่อยืนยันว่าพร้อมนำนักบินกลับสู่โลก แล้วจะกำหนดวันบินอีกครั้ง
NASA ประกาศเลือก SpaceX เป็นคู่สัญญาพัฒนาวิธีนำสถานีอวกาศนานาชาติ International Space Station (ISS) ออกจากวงโคจรเดิม หลังหมดอายุใช้งานในปี 2030
สถานีอวกาศนานาชาติ เริ่มนำโมดูลแรกขึ้นบนวงโคจรในปี 1998 และทยอยเพิ่มชิ้นส่วนต่างๆ เรื่อยมา แต่เมื่อใช้งานไปนานๆ สถานีเริ่มเก่าและมีรอยแตกที่ต้องซ่อมบำรุง ก็เริ่มมีคำถามว่าจะจัดการกับตัวสถานีอย่างไร คำตอบที่ NASA สรุปได้คือสร้างยานอวกาศลำใหม่ U.S. Deorbit Vehicle มาพาสถานีออกจากวงโคจรอย่างปลอดภัย เพื่อเปิดที่ว่างตรงนี้ให้สถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ในอนาคต
วันนี้จรวด Atlas V ของ United Launch Alliance (ULA) นำส่งยาน Starliner ขึ้นสู่ระดับใต้วงโคจร (suborbit) สำเร็จ หลังจากนี้ตัวยาน Starliner จะส่งตัวเองขึ้นไปยังวงโคจรเพื่อเข้าเทียบกับสถานีอวกาศนานาชาติต่อไป
ภารกิจครั้งนี้ชื่อว่า Crew Flight Test (CFT) เป็นภารกิจทดสอบการทำงานของยาน Starliner และจรวดนำส่ง Atlas V โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Commercial Crew ที่นาซ่าจะซื้อ "ที่นั่ง" แทนที่จะจ้างทำยานโดยจ่ายตามต้นทุนจริง (cost-plus) โดยภารกิจสาธิตแบบมีนักบินจริงขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติจริงนี้น่าจะเทียบเท่ากับ ภารกิจ Crew Demo-2 ของ SpaceX เมื่อปี 2020
ยาน CST-100 Starliner ของโบอิ้งจอดเทียบกับสถานีอวกาศสำเร็จหลังขึ้นสู่วงโคจรมาแล้ว 26 ชั่วโมง พร้อมกับเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและข้อมูลเข้ากับสถานีเป็นที่เรียบร้อย
ทีมงานจะรออีกหนึ่งวันก่อนจะเปิดประดูยาน และให้นักบินอวกาศเข้าไปใช้งาน ระหว่างนี้อุปกรณ์ใน Starliner เกือบทั้งหมดจะปิดไว้จนกว่าจะเตรียมกลับสู่โลก
หากภารกิจ OFT-2 ครั้งนี้ประสบความสำเร็จครบถ้วน ทางนาซ่าเตรียมทดสอบยานพร้อมนักบินอวกาศภายในปีนี้ ด้วยภารกิจ CFT (crew flight test) ต่อไป หากสำเร็จสหรัฐฯ ก็จะมีบริษัทให้บริการนำส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรเป็นบริษัทที่สองต่อจาก SpaceX
ที่มา - Starliner Updates
- Read more about Starliner เชื่อมต่อสถานีอวกาศนานาชาติสำเร็จ
- 5 comments
- Log in or register to post comments
United Launch Alliance (ULA) นำส่งยาน Starliner ของ Boeing ขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวด Atlas V สำเร็จ เตรียมเทียบท่าเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติเป็นครั้งแรก หลังจากกำหนดการเดิมยาน Starliner ต้องทดสอบเทียบท่าแบบไม่มีผู้โดยสารตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2019
โครงการ Starliner เป็นโครงการคู่ขนานที่ถูกเลือกภายใต้โครงการ Commercial Crew ของนาซ่าคู่กับโครงการยาน Dragon ของ SpaceX แต่ Starliner ประสบปัญหาล่าช้าหลายครั้ง ความล่าช้าสำคัญคือภารกิจ OFT อันแรกไม่สามารถขึ้นสู่วงโคจร
ที่มา - ULA
Dmitry Rogozin ผู้อำนวยการ Roscosmos องค์กรอวกาศของรัสเซีย ยืนยันผ่านสื่อรัสเซียว่าจะถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) หลังประเทศรัสเซียโดนแซงค์ชันด้านเศรษฐกิจ
Roscosmos ยังไม่กำหนดเวลาถอนตัวอย่างชัดเจน เพราะต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลรัสเซีย แต่ก็ให้ข้อมูลว่าจะแจ้งประเทศอื่นๆ ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และรัสเซียจะยังปฏิบัติงานร่วมกับสถานีอวกาศนานาชาติไปถึงสิ้นปี 2024 เป็นอย่างน้อย
ในช่อง Telegram ของ Roskosmos องค์การอวกาศรัสเซีย ปล่อยวิดีโอตัดต่อเป็นคลิปมีม ที่มีโลโก้ RIA Novosti สื่อของฝั่งรัฐบาลรัสเซีย พร้อมแคปชั่นว่าทีม Roskosmos TV ทำคลิปล้อเลียนขำๆ ว่าเตรียมแยกโมดูลรัสเซียออกจากสถานีอวกาศ และส่วนของสหรัฐฯ ก็จะใช้งานต่อไม่ได้เมื่อขาดโมดูลรัสเซียไป
ในคลิปมีทั้งภาพนักบินอวกาศรัสเซียโบกมือลานักบินอวกาศอเมริกัน และมีภาพเรนเดอร์ การแยกส่วนโมดูลของรัสเซีย ตั้งแต่ Zarya ออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งแม้จะเป็นคลิปขำๆ แต่รัสเซียเองก็มีแผนถอนตัวออกจากโครงการสถานีอวกาศนานาชาติในปี 2025 อยู่แล้ว และจะ ตั้งสถานีอวกาศ ROSS ของตัวเองจริงในปี 2024
NASA เซ็นสัญญากับบริษัทอเมริกัน 3 แห่งคือ Blue Origin, Nanoracks, Northrop Grumman ออกแบบสถานีอวกาศในอนาคต ที่จะใช้แทนสถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ถูกยิงขึ้นวงโคจรโลกมาตั้งแต่ปี 1998 และมีอายุการใช้งานไปจนถึงปี 2030 เป็นอย่างน้อย
NASA ระบุว่าตอนนี้ได้เวลาเตรียมสถานีอวกาศใหม่ๆ ในระดับวงโคจรต่ำ (low-Earth orbit) มาทดแทน ISS โดยแนวทางของ NASA คือกระตุ้นให้บริษัทเอกชนสร้างสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ขึ้นมารองรับลูกค้าทั้งรัฐบาลและเอกชน ผ่านการให้ทุนสนับสนุนในครั้งนี้ มูลค่ารวม 415.6 ล้านดอลลาร์
เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ตามเวลาสหรัฐฯ หรือคืนวันจันทร์บ้านเรา เกิดเหตุการณ์ที่นักบินอวกาศทั้ง 7 คนบนสถานีอวกาศนานาชาติถูกสั่งให้ย้ายไปประจำที่ในยานอวกาศทั้ง Soyuz และ Crew Dragon เพื่อเตรียมพร้อมอพยพ หลังสถานีอวกาศนานาชาติตรวจพบการชนกับกลุ่มขยะอวกาศจำนวนมากกระทันหัน
เคราะห์ดีที่การชนกับขยะอวกาศไม่รุนแรงจนเกิดเหตุอะไร และนักบินอวกาศก็ได้กลับไปนอน โดยได้คำแนะนำจากศูนย์บังคับการในฮิวสตันว่าให้ปิดฝาส่วนเชื่อมต่อของสถานีอวกาศไว้ให้มากที่สุดก่อนในช่วงนี้ เผื่อมีการชนอื่นเกิดตามมา
วานนี้เวลา 16.49 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX และ NASA ได้ยิงจรวด Falcon 9 พานักบินอวกาศ 4 คนเดินทางออกสู่อวกาศ ภายใต้ภารกิจ Crew-2
หลังยิงจรวดออกไป บูสเตอร์ขั้นที่หนึ่งก็แยกตัวออกมาลงจอดที่โดรนลอยน้ำ และหลังจากนั้นบูสเตอร์ขั้นที่สองก็แยกตัวออกจากแคปซูล Dragon โดยแคปซูล Dragon ได้พานักบินอวกาศทั้ง 4 คนเดินทางต่ออีกราว 23 ชั่วโมงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS
ล่าสุดเมื่อเวลา 16.08 น. ที่ผ่านมา แคปซูล Dragon ได้เชื่อมต่อแบบหลวม (soft capture) เข้ากับ ISS และเชื่อมต่อเต็มรูปแบบ (hard capture) ในไม่กี่นาทีต่อมาได้สำเร็จ
วันนี้เมื่อเวลา 16.49 น. ตามเวลาประเทศไทย SpaceX และ NASA ได้ยิงจรวด Falcon 9 เริ่มภารกิจ Crew-2 พานักบินอวกาศ 4 คนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS โดยความพิเศษของภารกิจนี้คือการใช้แคปซูล Dragon ซ้ำจากภารกิจ Demo-2 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2020 ซึ่งคราวนั้นมีนักบินอวกาศ 2 นาย และเป็นการส่งนักบินอวกาศจากแผ่นดินสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี
นอกจากนี้ตัวบูสเตอร์ Falcon 9 ที่ใช้ในภารกิจนี้ ยังเป็นบูสเตอร์ตัวเดียวกับที่ใช้ในภารกิจ Crew-1 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2020 อีกด้วย
HPE เคยจับมือกับ NASA ส่งคอมพิวเตอร์ขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อปี 2017 ใช้ชื่อโครงการว่า Spaceborne Computer มีกำหนดทดสอบเป็นเวลา 1 ปี เพื่อดูว่าคอมพิวเตอร์ใช้งานบนอวกาศได้ดีแค่ไหน
ปีนี้ HPE สานต่อด้วยโครงการ Spaceborne Computer-2 (SBC-2) ส่งเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ขึ้น ISS อีกรอบ รอบนี้จะอยู่นาน 2-3 ปี ตัวระบบเป็นเครื่องรุ่น HPE Edgeline Converged Edge EL4000 และ HPE ProLiant DL360
เว็บไซต์ Times of London เปิดเผยข้อมูลว่าอัฐิของ James Doohan ผู้รับบท Montgomery Scott หรือ Scotty หัวหน้าวิศวกรประจำยาน Enterprise จากซีรีส์ Star Trek ภาคแรก ถูกแอบนำขึ้นไปไว้บนสถานีอวกาศนานาชาติตั้งแต่ปี 2008 โดยเพิ่งมีการเปิดเผยข้อมูลเป็นครั้งแรกต่อสาธารณะในปีนี้
NASA ประกาศเลื่อนกำหนดวันยิงจรวดในภารกิจ Crew-1 จากเดิม 31 ตุลาคม ออกไปเป็นช่วงต้นถึงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยระบุว่าเพื่อให้เวลา SpaceX แก้ไขปัญหา ทดสอบฮาร์ดแวร์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในจรวด Falcon 9 ที่ถูกค้นพบปัญหาก่อนหน้านี้
Crew-1 เป็นภารกิจนำนักบินอวกาศ 4 คน ไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นโครงการส่งนักบินอวกาศของ SpaceX ถัดจากภารกิจ Demo-2 เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำการ 2 คน และ กลับสู่โลก ในเดือนสิงหาคม ด้วยยาน Dragon
นาซ่าประกาศอนุมัติให้ SpaceX นำส่งนักบินอวกาศ 4 คนขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติโดยกำหนดวันยิงจรวดวันที่ 31 ตุลาคมนี้ โดยภารกิจ Crew-1 จะนำนักบินอวกาศ 4 คนขึ้นไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยนาซ่าวางแผนใช้จรวด Falcon 9 โดยจะให้ลงจอดบนโดรน Of Course I Still Love You และหลังจากจบภารกิจแล้ว ยาน Dragon จะลงจอดในน้ำเหมือนเดิม
หลังจากยาน Dragon เชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติสำเร็จ สองนักบิน Robert Behnken และ Douglas Hurley ต้องรอกระบวนการปรับความดันอีกนับชั่วโมงตามแผนจนกระทั่งสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปยังสถานีอวกาศได้ เมื่อเวลาเที่ยงคืน 2 นาทีที่ผ่านมา
กระบวนการทั้งหมดเรียบร้อยดี ระหว่างการทดสอบระบบมีปัญหาเสียงจากสถานีฐานไปยังยาน Dragon ไม่ชัดเจนบ้าง
เมื่อเวลา 21:16 น. ที่ผ่านมา ยาน Crew Dragon ของ SpaceX ได้เชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ได้สำเร็จแล้ว หลังจาก ทะยานออกจากแผ่นดินสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 2:22 น. ของวันที่ 31 พฤษภาคม ตามเวลาประเทศไทย โดยไปถึง ISS เร็วกว่ากำหนดเล็กน้อย
การเดินทางจากโลกถึง ISS ใช้เวลาเกือบ 19 ชั่วโมง โดยไม่นานก่อนถึง ISS นักบินอวกาศทั้งสองคนคือ Robert Behnken และ Douglas Hurley ได้ทดลองควบคุมยาน Dragon ด้วยมือ ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจที่ต้องทำ เพราะปกติยานจะทำงานแบบอัตโนมัติทุกอย่าง แต่การควบคุมด้วยมือก็ยังจำเป็นหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน นอกจากนี้ทั้งสองคนก็ได้นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลา 8 ชั่วโมง รวมถึงกินอาหารด้วย
NASA และ SpaceX เตรียมเดินหน้าภารกิจ Demo-2 นำนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติจากฐานยิงในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกนับแต่สหรัฐฯ ยกเลิกโครงการกระสวยอวกาศไปเมื่อปี 2011 ทำให้สหรัฐฯ สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศได้อีกครั้งในรอบ 9 ปี
โครงการ Commercial Crew Program เป็นการเปิดให้ภาคเอกชนให้บริการนำส่งนักบินอวกาศ โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2010 โดยผู้ได้รับงานคือ SpaceX และ Boeing แต่ SpaceX สามารถดำเนินภารกิจสาธิตก่อนหน้านี้ได้สำเร็จ ขณะที่ Boeing ดำเนินภารกิจทดสอบนำส่งสัมภาระขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติไม่สำเร็จจนต้องเลื่อนการทดสอบกับนักบินออกไปจนปี 2021
หลังจากที่ SpaceX ได้ ทดสอบส่งแคปซูล Crew Dragon เป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะส่งนักบินอวกาศจริงขึ้นไป ทาง NASA ได้กำหนดวันให้ SpaceX เตรียมส่งนักบินอวกาศ 2 คนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ในวันที่ 27 พฤษภาคม นี้ ซึ่งจะนับเป็นครั้งแรกที่ได้ส่งนักบินอวกาศจากผืนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา หลังจากที่โครงการกระสวยอากาศยุติลงไปเมื่อปี 2011
ตั้งแต่ที่ NASA ได้เลือก SpaceX ให้เป็นเป็นผู้พัฒนายานอวกาศสำหรับเชิงพานิชย์ เพื่อต้องการลดค่าใช้จ่ายในการส่งลูกเรือไปสถานีอวกาศนานาชาติให้น้อยลง SpaceX ได้ทำการส่งยาน Dragon ที่ขนส่งไปแต่สัมภาระเท่านั้น และพัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าการส่งลูกเรือจะไม่มีปัญหา
โครงการ Crew Dragon เป็นโครงการของ SpaceX ร่วมกับ NASA มีเป้าหมายส่งมนุษย์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่เคยส่งนักบินอวกาศไปนอกโลกเองเลยมาตั้งแต่ปี 2011 และต้องใช้บริการจรวด Soyuz ของรัสเซียมาตลอด
ก่อนหน้านี้เราเห็นความคืบหน้าของโครงการนี้เรื่อยมา เช่นการทดสอบยิงจรวด Falcon 9 ส่งแคปซูล Crew Dragon ไปเชื่อมต่อกับ ISS พร้อมหุ่นจำลองนักบินอวกาศสำเร็จมาแล้ว และขั้นตอนต่อไปคือการทดสอบการยกเลิกภารกิจกลางอากาศ (in-flight abort test)
เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา SpaceX ได้ยิงจรวด Falcon 9 ที่ส่วนหัวเป็นแคปซูล Crew Dragon ขึ้นสู่วงโคจร ต่อมาแคปซูลได้ เชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ได้สำเร็จ และคงอยู่ที่ ISS มาอีกห้าวัน
ล่าสุดวันนี้ช่วงบ่ายตามเวลาประเทศไทย แคปซูล Crew Dragon ได้แยกตัวออกจาก ISS และเริ่มเดินทางกลับสู่โลก ใช้เวลาราว 5 ชั่วโมง โดยก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมันได้เร่งตัวผลักดัน หรือ thruster เป็นเวลา 15 นาที เพื่อดิ่งเข้าชั้นบรรยากาศ ซึ่งแคปซูลเดินทางเร็วกว่าเสียงและเผชิญกับความร้อนมหาศาล (Elon Musk ให้สัมภาษณ์ว่าเขากังวลกับจังหวะนี้มากที่สุด)
หลังจาก SpaceX ส่งยาน Crew Dragon ขึ้นไปยังวงโคจรโลกเมื่อวานนี้ วันนี้ยานก็เชื่อมต่อกับสถานีตามกำหนด โดยมนุษย์อวกาศบนสถานีได้รับตัวหุ่น Ripley ที่จำลองคนและตุ๊กตาลูกโลกเข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติเรียบร้อยแล้ว
หุ่น Ripley ไม่ได้เป็นเพียงหุ่นรูปเหมือนคนธรรมดา แต่ภายในบรรจุเซ็นเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลว่ามนุษย์จะรู้สึกอย่างไรเมื่อโดยสารไปกับยาน Crew Dragon
ก่อนหน้าการเชื่อมต่อ ตัวยาน Crew Dragon โคจรรอบโลกมาก่อนแล้ว 18 รอบ ส่งคำสั่งให้ยาน Crew Dragon เข้ามาเชื่อมต่อขณะที่สถานีกำลังลอยอยู่เหนือนิวซีแลนด์ จนกระทั่งสองเมตรสุดท้าย และเชื่อมเข้ากับ โมดูล Harmony