สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UNODC รายงานว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นศูนย์กลางของอาชญากรรมที่มีเป้าหมายเหยื่อทั่วโลก ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกลุ่มอาชญากรรมจีน และใช้คนทำงานที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์
ที่ผ่านมาพบว่ามีการซื้อขายข้อมูลที่ถูกแฮ็กอย่างเปิดเผย ทั้งรายละเอียดบัตรเครดิต รหัสผ่าน และประวัติการท่องเว็บ บน Telegram รวมถึงมีการซื้อขายเครื่องมือสำหรับอาชญากรรมทางไซเบอร์ เช่นโปรแกรม Deepfake และบริการฟอกเงิน
หนึ่งในบริการบน Telegram ที่รายงานของ UNODC กล่าวถึง คือการฟอกเงินผ่าน USDT โดยผู้ลงโฆษณาอ้างว่ามีขนาดธุรกรรมสูงถึงวันละ 3 ล้านดอลลาร์ โดยโฆษณาเขียนเป็นภาษาจีน
ตำรวจจังหวัดคย็องกีในเกาหลีใต้รายงานถึงการจับกุมชายอายุในช่วง 20-30 ปีจำนวน 3 ราย ฐานเป็นผู้ขายภาพ/วิดีโอโป๊ ที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี deepfake ในห้องแชต Telegram โดยเหยื่อของภาพเหล่านี้มีทั้งดาราและผู้เยาว์
ตำรวจระบุว่าชายทั้งสามเป็นผู้ดูแลห้องแชต Hapsabang ตั้งแต่พฤศจิกายน 2023 จนถึงมิถุนายน 2024 กระบวนการขายคือการจ่ายค่าสมาชิก 20,000-40,000 วอนเพื่อเข้าห้องแชต คาดว่ารายได้รวมจากการห้องแชตนี้เกิน 10 ล้านวอน โดยผู้ต้องสงสัยทั้งสามระบุว่าไม่ได้สร้างภาพขึ้นมาเอง แต่โหลดมาจากห้องแชตอื่นๆ มาขายต่ออีกที
Taylor Swift ประกาศตัวใน โพสต์บน Instagram ว่าเธอสนับสนุนรองประธานาธิบดี Kamala Harris ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐช่วงเดือนพฤศจิกายน 2024
การที่ดาราหรือคนดังประกาศสนับสนุนผู้สมัครคนใดไม่ใช่เรื่องแปลกของสหรัฐอเมริกา แต่กรณีของ Taylor นั้นเธออ้างถึง ปัญหาภาพปลอมที่สร้างด้วย AI นำรูปเธอไปสนับสนุน Donald Trump โดย ตัวของ Trump เองถึงขั้นโพสต์ภาพปลอมของเธอและชาว Swifties บนบัญชี @RealDonaldTrump บนเครือข่าย Truth Social ของเขาในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติกรุงโซลระบุว่าได้เริ่มต้นสืบสวน Telegram เนื่องจากเป็นช่องทางในการส่งต่อสื่อลามกจาก Deepfake โดยระบุอีกด้วยว่า Telegram ได้เพิกเฉยคำขอเข้าถึงข้อมูลบัญชีผู้ใช้ในการสืบสวนครั้งก่อน ๆ
การสืบสวนครั้งนี้เริ่มขึ้นหลัง Pavel Durov ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Telegram ถูก จับกุม ในฝรั่งเศสด้วยสาเหตุคล้าย ๆ กัน คือการละเลยให้เกิดการเผยแพร่เนื้อหาที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์ม ทางการเกาหลีใต้ระบุว่าจะประสานความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงหน่วยงานสืบสวนสอบสวนของฝรั่งเศส
ข้อมูลจากตำรวจเกาหลีใต้ล่าสุดเผยว่า เกือบ 60% ของเหยื่ออาชญากรรมทางเพศจาก Deepfake เป็นผู้เยาว์ โดยจากคดี 527 คดีระหว่างปี 2021-2023 มีเหยื่อที่เป็นวัยรุ่น 315 ราย
ส่วนเหยื่ออาชญากรรมทางเพศจาก Deepfake ในวัยอื่นมีสัดส่วนดังนี้ เหยื่อในช่วงวัย 20 ปี 32.1% เหยื่อในช่วงวัย 30 ปี 5.3% เหยื่อในช่วงวัย 40 ปี 1.1%
Bloomberg รายงานว่าการหลอกลวงแบบ scam ที่ใช้ซอฟต์แวร์จำพวก deepfake ปลอมหน้าหรือเสียงของผู้บริหารยังระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยบริษัทขนาดใหญ่รายล่าสุดที่โดนโจมตีลักษณะนี้คือ Ferrari
ในเดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงของ Ferrari หลายคนได้รับข้อความทาง WhatsApp ที่แสดงตัวว่ามาจากซีอีโอ Benedetto Vigna พูดถึงดีลการซื้อกิจการใหม่ที่ยังเป็นความลับ ขอให้ผู้บริหารช่วยเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA) และเข้ามาช่วยงานซีอีโอในดีลลับนี้
ที่งาน Money 20/20 Asia ที่กรุงเทพฯ สัปดาห์ที่ผ่านมา Tony Petrov ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของบริษัท Sumsub ผู้ให้บริการยืนยันตัวตนลูกค้า (know-your-customer - KYC) ระบุถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทุกวันนี้ว่าก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แต่เทคโนโลยีการตรวจสอบก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน
Sumsub พยายามพัฒนาระบบตรวจจับภาพ Deepfake ของตัวเองโดยมีทีมสร้างภาพ Deepfake เพื่อมาหลอกระบบตรวจสอบไปพร้อมกัน โดยลูกค้าจำนวนมากเป็นกลุ่มบริการคริปโต เช่นตลาดคริปโตอย่าง Binance
LastPass รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัท จากการที่คนร้ายใช้โปรแกรมปลอมเสียง Deepfake โดยพนักงานคนหนึ่งของบริษัทได้รับการติดต่อทั้งในรูปแบบโทรศัพท์เสียง ข้อความ และวอยซ์เมล ผ่าน WhatsApp โดยทั้งหมดปลอมตัวเป็นซีอีโอของ LastPass
อย่างไรก็ตามพนักงานคนดังกล่าวก็ไม่ได้เชื่อว่าเป็นซีอีโอตัวจริง เนื่องจากมีลักษณะแปลกหลายอย่าง เช่น ติดต่อนอกเวลางาน ไม่ได้ใช้ช่องทางติดต่อทางการของบริษัท พยายามแจ้งสถานการณ์ที่มีความเร่งด่วนสูง เพื่อหวังใช้ Social Engineering สุดท้ายพนักงานก็ไม่ได้สนใจข้อความ และรายงานเหตุการณ์ให้กับฝ่ายความปลอดภัยของบริษัทตามขั้นตอน
Google Research เผยแพร่งานวิจัยหัวข้อ "VLOGGER: Multimodal Diffusion for Embodied Avatar Synthesis" เป็นโมเดล AI ที่ใช้อินพุทภาพบุคคล 1 ภาพ และไฟล์เสียง สามารถสร้างวิดีโอที่ขยับได้ตามเสียงทั้งปาก ใบหน้า ศีรษะ ตลอดจนมือ
โมเดลนี้มีจุดเด่นคือไม่ต้องอาศัยการเทรนข้อมูลบุคคลนั้นมาก่อน ไม่ต้องระบุตำแหน่งใบหน้าและส่วนต่าง ๆ ก็สามารถสร้างการเคลื่อนไหวในทุกจุดในภาพ โมเดลนี้จึงมีโอกาสนำไปต่อยอดใช้ในการนำเสนอผลงาน งานประกอบการสอน หรืองานที่เดิมมีข้อมูลเฉพาะตัวหนังสือ ให้เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงในการนำไปใช้งานอย่างไม่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
พนักงานบริษัทในฮ่องกงถูกหลอกให้โอนเงินไปยังคนร้าย 15 รายการ รวมความเสียหาย 200 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงหรือประมาณ 900 ล้านบาท
คนร้ายอาศัยการส่งลิงก์ประชุมออนไลน์ให้กับเหยื่อ และเหยื่อก็พบว่าห้องประชุมมีคนอยู่ในห้องหลายคน ทุกคนล้วนเหมือนจริงและเป็นพนักงานบริษัทด้วยกัน คนที่ปลอมเป็น CFO ระบุว่าต้องทำธุรกรรมลับจึงขอให้โอนเงินให้
ตำรวจฮ่องกงแถลงข่าวคดีนี้เพราะที่ผ่านมา คนร้ายมักปลอมตัวเป็นคนใดคนหนึ่งในบริษัท และพนักงานมักจะไหวตัวทันหากถูกเรียกเข้าประชุมตัวต่อตัวกับคนร้าย แต่ตอนนี้คนร้ายก็เพิ่มเทคนิคด้วยการปลอมตัวเป็นพนักงานหลายๆ คนสร้างความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม
X หรือ Twitter เดิม ได้บล็อกการค้นหาโพสต์จากคีย์เวิร์ด Taylor Swift ศิลปินชื่อดังชั่วคราว หลังจากมีรายงานปัญหาภาพปลอมสร้างด้วย AI ที่ไม่เหมาะสม ถูกโพสต์ลง X จำนวนมาก โดยหากเสิร์ชคำว่า "Taylor Swift" หรือ "Taylor Swift AI" จะได้ผลลัพธ์ว่ายังโหลดโพสต์ไม่ได้ในขณะนี้
ก่อนหน้านี้ X ได้ ชี้แจงปัญหา จากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยย้ำว่าการโพสต์ภาพเปลือยที่ไม่ได้รับการยินยอมเป็นการละเมิดเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม ซึ่งทีมได้ทำการลบและระงับบัญชีที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้ก็ยังคงตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ซ้ำอีก
Tom Hanks โพสต์ Instagram ชี้แจงว่า มีวิดีโอโปรโมตแผนทันตกรรมสร้างด้วย AI ที่หน้าตาเหมือนเขาทุกอย่าง และเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมันเลย ซึ่งภาพในวิดีโอโฆษณามีความต่างเล็กน้อยตรงดูเด็กกว่าแต่ยังไม่แน่ชัดว่าโฆษณามีจุดประสงค์อะไรหรือบริษัทใดเป็นคนทำ
เมื่อเดือนพฤษภาคม Tom Hanks เคยให้สัมภาษณ์ในรายการพอดแคสต์ The Adam Buxton พูดถึงเรื่อง AI อาจถูกใช้แสดงแทนนักแสดงที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาพูดถึงว่าพรุ่งนี้เขาอาจจะถูกรถบัสชน แต่การแสดงสามารถดำเนินต่อได้เรื่อยๆ และพูดเสริมถึง นอกเหนือจากความเข้าใจเรื่อง AI และ Deepfake ในอนาคตมันจะมีคุณภาพเหมือนจริง นั่นเป็นเรื่องความท้าทายทางศิลปะ แต่ก็เป็นความท้าทายทางกฎหมายเช่นกัน
รัฐบาลสหรัฐฯ ออกเอกสารเตือนถึงความเสี่ยงของการโจมตีด้วยเทคโนโลยี Deepfake ที่เริ่มสมจริงขึ้นเรื่อยๆ โดยคนร้ายอาจโจมตีทั้งการหลอกลวงคนในองค์กรเองเพื่อเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ไปจนถึงการสร้างข่าวปลอมเพื่อทำลายชื่อเสียงขององค์กร
รายงานอ้างถึงการโจมตีในปีนี้ที่คนร้ายใช้วิดีโอ Deepfake ปลอมตัวเป็นผู้บริหารบริษัทแล้วหลายครั้ง เพื่อติดต่อพนักงานเพื่อขอให้โอนเงินให้ โดยอาจจะปรับคุณภาพให้แย่ลงแล้วอ้างว่าการเชื่อมต่อไม่ดีกลบเกลื่อนร่องรอยการทำ Deepfake ในสงครามยูเครนเองก็มีการทำ Deepfake ปลอมตัวเป็นทั้งประธานาธิบดียูเครนและรัสเซีย
รายงานแนะนำให้องค์กรรับมือกับการโจมตีรูปแบบนี้ ฝึกพนักงานสังเกตวิดีโอปลอมหรือเสียงปลอม และเตรียมขั้นตอนการยืนยันตัวตนให้รัดกุม
Tencent Cloud เปิดบริการสร้างตัวตนสามมิติเสมือนจริง โดยผู้ใช้สามารถใส่วิดีโอของตัวเองความยาวสามนาที เสียงพูดอีก 100 ประโยค จากนั้นระบบจะสามารถสร้างวิดีโอแทนตัวจริงออกมาให้ภายใน 24 ชั่วโมง
บริการนี้มุ่งเป้าไปที่บริการอีคอมเมิร์ชในจีนที่ผู้ใช้มักชินกับการพูดคุยกับคนในไลฟ์สตรีม โดยตัวแทนของเซเลบริตี้จะสามารถตอบคำถามผ่านข้อความแต่ลูกค้าสามารถพูดคุยเหมือนคุยกับตัวจริง โมเดลที่ได้สามารถสร้างตัวแทน ได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ แบบสามมิติเหมือนจริง, สามมิติกึ่งเสมือนจริง, สามมิติแบบการ์ตูน, สองมิติเหมือนจริง, หรือสองมิติแบบการ์ตูน ค่าสร้างโมเดลแทนตัวจริงประมาณ 145 ดอลลาร์ หรือ 5,000 บาท
ตัวแทนของ Bruce Willis นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง ออกมาปฏิเสธ ข่าวที่ระบุว่า เขาได้ตัดสินใจขายสิทธิตัวตนดิจิทัลให้กับบริษัทผู้พัฒนา Deepfake สำหรับใช้ในงานวิดีโอต่าง ๆ ในอนาคต โดยบอกว่าบริษัทไม่มีการทำข้อตกลงหรือเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท Deepcake แต่อย่างใด
ด้านตัวแทนของ Deepcake ออกมาให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะตัวตนเสมือนในรูปแบบดิจิทัลของ Bruce Willis นั้นทำการซื้อขายไม่ได้อยู่แล้ว ที่ผ่านมาบริษัท เคยสร้างตัวตนดิจิทัล ของเขาเพื่อใช้กับงานโฆษณา และหากจะมีโครงการใหม่อีกในอนาคตก็ขึ้นอยู่กับ Willis เอง
Bruce Willis นักแสดงชื่อดัง ประกาศขายสิทธิ Digital Twin หรือฝาแฝดดิจิทัล สำหรับใช้ในงานวิดีโอภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้กับบริษัท Deepcake บริษัทที่เชี่ยวชาญเทคนิคพิเศษในการทำ Deepfake ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำ ใบหน้า Bruce Willis ให้กับหนังโฆษณา ในรัสเซีย
เมื่อต้นปี Bruce Willis ออกมาแถลงยุติอาชีพนักแสดง เนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรค Aphasia หรือภาวะเสียการสื่อความ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานในฐานะนักแสดง โดยเขาพูดถึงการขายสิทธิดิจิทัลนี้ว่า เป็นโอกาสให้เขาได้กลับมาโลดแล่นด้วยคาแรกเตอร์ที่มี แม้ตัวจะอยู่อีกที่หนึ่ง
ธนาคารกสิกรไทย เตือนภัยมุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ใช้ DeepFake ปลอมใบหน้า เสียง และท่าทาง หลอกว่าเป็นตำรวจ วิดีโอคอลกับผู้ใช้ เผยมีผู้ถูกหลอกให้โอนเงินโดยใช้เทคนิคนี้ สูญไปแล้วกว่า 6 แสนบาท
ผู้ใช้รายนี้ได้รับสายเบอร์โทรจากต่างประเทศ อ้างตนเป็นพนักงานของบริษัทขนส่งเอกชนแจ้งเรื่องพัสดุมีของผิดกฎหมาย และขอให้เปิดวิดีโอคอล เพื่อพูดคุยกับตำรวจ แต่ในวิดีโอเป็นตำรวจปลอมที่ใช้เทคโนโลยี DeepFake ให้ภาพขยับแค่ปากและใส่เสียงพูดเชิงข่มขู่ว่าพัสดุที่ส่งเป็นสมุดบัญชีซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นการฟอกเงิน
Meta รายงานว่าทางบริษัทสั่งตรวจสอบและลบวิดีโอ Deepfake ของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky บนแพลตฟอร์ม Facebook แล้ว เป็นไปตามกฎของ Facebook ที่ไม่อนุญาตให้มีวิดีโอประเภทนี้บนแพลตฟอร์ม
วิดีโอปลอมของประธานาธิบดี Zelensky นี้ออกแถลงการณ์ในลักษณะขอให้ประชาชนวางอาวุธเลิกต่อต้านทหารรัสเซีย และมีรายงานว่าวิดีโอนี้เผยแพร่ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ของสำนักข่าว Ukraine 24 ที่มีรายงานว่าโดนแฮกด้วย
ค่ายมือถือรัสเซีย MegaFon เตรียมทำโฆษณาโดยมี Bruce Willis นำแสดง แต่คราวนี้ Bruce Willis ไม่ต้องบินไปเล่นเองไกลถึงรัสเซีย เพราะบริษัทใช้นักแสดงคนอื่นเล่น แล้วซื้อลิขสิทธิ์ใบหน้าไปทำ DeepFake ใส่เป็นหน้า Bruce Willis แทน
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี หรือ KAIST (The Korea Advanced Institute of Science and Technology) เปิดตัวแอปพลิเคชั่นตรวจจับ Deepfake โดยซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า KaiCatch จะใช้ AI ตรวจจับความผิดปกติ หรือความบิดเบือดบนใบหน้า ผู้ใช้งานสามารถอัพโหลดรูปภาพหรือวิดีโอเข้ามาในแอปเพื่อให้ระบบช่วยตรวจสอบ โดยมีการคิดค่าใช้งานที่ 2,000 วอน หรือประมาณรูปละ 55 บาท
Raffaela Spone คุณแม่ในเมืองชาลฟอนต์ รัฐเพนซิลเวเนีย ถูกตำรวจจับกุม เพราะทำภาพและวิดีโอคู่แข่งทีมเชียร์ลีดเดอร์ของลูกสาว เป็นภาพกำลังสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และภาพอนาจาร โดยใช้ AI ช่วยปรับแต่งหรือ DeepFake จากนั้นส่งไปให้โค้ชที่คุมทีมอยู่ เพื่อหวังให้คู่แข่งลูกสาวถูกไล่ออกจากทีมเชียร์ลีดเดอร์ไป
ตำรวจรับเรื่องหลังจากเหยื่อรายหนึ่งได้รับข้อความขู่จากเบอร์ที่ไม่ระบุตัวตน ก่อนจะมีเหยื่อรายอื่นตามมาแจ้งตำรวจด้วย ตำรวจจึงสืบข้อมูลโดยการนำเบอร์โทรมาค้นหาจนพบว่ามาจากเว็บขายของทางโทรศัพท์
Sensity บริษัทด้านความปลอดภัยเผยพบเครือข่าย bot ใน Telegram สร้างภาพเปลือยผู้หญิงเป็นลักษณะ deepfakes ขึ้นมาตามคำขอ พบว่าในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีการสร้างภาพเปลือยของผู้หญิงไปแล้ว 104,000 ราย
เมื่อนับย้อนหลังไปสามเดือนที่แล้ว พบว่ามีการสร้างภาพเปลือยเพิ่มขึ้น 200% โดยเป็นการเอารูปผู้หญิงที่ผู้ใช้งานรู้จักไปให้ bots สร้างเป็นภาพเปลือยให้ และคาดว่าตัวเหยื่อก็ไม่รู้ว่าภาพปลอมของตัวเองถูกแชร์ว่อนในอินเทอร์เน็ต ทางบริษัท Sensity ยังพบด้วยว่ามีรูปของเหยื่อที่ยังเป็นเยาวชนด้วย
วิดีโอ DeepFake กำลังสร้างความกังวลให้หลายภาคส่วน โดยเฉพาะเรื่องการข่าวปลอม ข้อมูลปลอมและการเลือกตั้งในสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Video Authenticator เครื่องมือตรวจสอบและตรวจจับวิดีโอหรือภาพนิ่งที่ผ่าน DeekFake โดยเป็นความร่วมมือระหว่างทีม Microsoft Research, ทีม Responsible AI และคณะกรรมการ AI, Ethics and Effects in Engineering and Research (AETHER) ของไมโครซอฟท์
Deepfake อาจกลายเป็นทางออกของวงการโฆษณา เพราะในช่วงปิดเมืองที่ทำให้การถ่ายทำโฆษณาต้องหยุดชะงัก ESPN ช่องทีวีในสหรัฐฯจึงแก้เกมด้วยการร่วมมือกับเอเจนซี่ Optimum Sports and Translation ทำโฆษณาสารคดีของช่องโดยใช้เทคโนโลยี Deepfake
ตัวโฆษณามีตัวแสดงคือพิธีกรกีฬาที่มีชื่อเสียงมายาวนานคือ Kenny Mayne เป็นฟุตเทจของเขาบนโต๊ะประกาศข่าวสมัยปี 1988 ที่ยังดูหนุ่ม (ปัจจุบันเขาอายุ 60 ปี) แต่ใช้ DeepFake ขยับปากพิธีกรวัยหนุ่มให้พูดโฆษณาสารคดีไมเคิล จอร์แดน The Last Dance ที่ลงฉายสิบตอนในปี 2020 ตัวสารคดีพูดถึงความสำเร็จของจอร์แดนและทีมชิคาโกบลูส์ รวมฟุตเทจการแข่งขันในยุค 90 มีฉายเป็นรายสัปดาห์ใน Netflix ด้วย
Bharatiya Janata Party (BJP) พรรคการเมืองในกรุงเดลี ประเทศอินเดีย สร้างวิดีโอหาเสียงสำหรับ Manoj Tiwari โดยเป็นวิดีโอที่เขากำลังหาเสียงเป็นภาษาอังกฤษ แต่วิดีโอสร้างมาจากวิดีโออีกชุดที่พูดภาษาท้องถิ่น
ทาง BJP สร้างวิดีโอโดยร่วมกับบริษัทสื่อสารทางการเมือง The Ideaz Factory เพื่อสื่อสารกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่พูดภาษาถิ่นแม้ว่าตัวผู้สมัครจะพูดภาษาถิ่นไม่ได้ก็ตาม
ทาง BJP คาดว่าวิดีโอถูกส่งต่อไปตามกลุ่มต่างๆ ประมาณ 5,800 กลุ่ม เข้าถึงผู้ชม 15 ล้านคน