แอปเปิลออกอัปเดตระบบปฏิบัติการ iOS 18.1.1, iPadOS 18.1.1 และ macOS Sequoia 15.1.1 ให้กับผู้ใช้งานในวันนี้ โดยบอกว่าเป็นการแก้ไขปรับปรุงด้านความปลอดภัย
รายละเอียดของช่องโหว่ที่แพตช์แก้ไขรอบนี้มีสองรายการคือ JavaScriptCore (CVE-2024-44308) และ WebKit (CVE-2024-44309) โดยบอกว่ามีรายงานการโจมตีโดยอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวแล้วกับ Mac ที่เป็นซีพียูอินเทล ผู้ใช้งานจึงควรอัปเดตแพตช์ที่แก้ไขช่องโหว่นี้ทันที
นอกจากนี้แอปเปิลยังอัปเดตความปลอดภัยให้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันก่อนหน้าด้วย รายละเอียดทั้งหมดเป็นดังนี้
แอปเปิลออกอัปเดตระบบปฏิบัติการทั้งหมดได้แก่ iOS 18.1, iPadOS 18.1, macOS Sequoia 15.1 ซึ่งสามตัวแรกนี้มีของใหม่สำคัญคือ Apple Intelligence นอกจากนี้ยังออกอัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์อื่นด้วย รายละเอียดดังนี้
- iOS 18.1มี Apple Intelligence ( เฉพาะรุ่นที่รองรับ ), นักพัฒนา เข้าถึง NFC ได้ (ในไทยยังไม่ได้), iPhone Mirror รองรับ Drag & Drop, Apple Music รองรับ TikTok, ปุ่ม Camera Control สลับไปกล้องหน้าได้, AirPods Pro 2 รองรับเครื่องช่วยฟัง , บันทึกเสียงสนทนาโทรศัพท์ได้ และแก้ไขบั๊กและความปลอดภัยหลายอย่าง รวมทั้ง ปัญหาเครื่องรีสตาร์ทเอง
นอกจาก อัปเดตระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ประจำปี อย่าง iOS 18, iPadOS 18, macOS Sequoia และอื่น ๆ แอปเปิลก็ออกอัปเดตความปลอดภัยให้อุปกรณ์รุ่นเก่าในแนวทางเดียวกับปีก่อน คือ รองรับอุปกรณ์เก่าที่อัปเดตไปไม่ได้ หรือคนมีอุปกรณ์ที่อัปเดตได้ แต่เลือกขออยู่กับระบบปฏิบัติการเวอร์ชันเดิมไปก่อน มีรายละเอียดดังนี้
แอปเปิลออกอัปเดตซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ โดยมี iOS 17.6.1 และ iPadOS 17.6.1 สำหรับ iPhone และ iPad ที่เป็นเวอร์ชันปรับปรุง เลข Build Number แก้ไขเป็น 21G101 เพิ่มจาก 21G93 ที่ ออกมาเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว รายละเอียดนั้นแอปเปิลใช้ข้อความเดิมเหมือนตอนแรก จึงไม่มีข้อมูลว่าเวอร์ชันนี้ปรับปรุงจากเวอร์ชันก่อนอย่างไร
นอกจากนี้แอปเปิลยังอัปเดต watchOS 10.6.1 สำหรับผู้ใช้ Apple Watch และ tvOS tvOS 17.6.1 สำหรับ Apple TV ซึ่งทั้งสองอัปเดตนี้บอกว่าแก้ไขบั๊กและช่องโหว่ความปลอดภัย
แอปเปิลออกอัปเดตย่อยให้กับระบบปฏิบัติการของ iPhone, iPad และ Mac โดยระบุว่ามีการแก้ไขบั๊กและช่องโหว่ความปลอดภัยที่สำคัญ รวมทั้งบั๊กที่ทำให้เปิดหรือปิดการใช้งานตัวเข้ารหัส iCloud แบบ end-to-end Advanced Data Protection ไม่ได้ โดยในตอนนี้ยังไม่ได้เผยแพร่รายละเอียดช่องโหว่ความปลอดภัย
อัปเดตนี้ยังรวมไปถึง iOS และ macOS เวอร์ชันเก่าสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่สามารถอัปเดตเป็นระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุดได้ด้วย มีรายละเอียดดังนี้
แอปเปิลออกอัปเดตระบบปฏิบัติการทั้งหมดในเครือ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป โดยทั้งหมดเป็นการแก้ไขบั๊กและปรับปรุงความปลอดภัยต่าง ๆ เนื่องจากมีการแก้ไขช่องโหว่หลายรายการรวมทั้งเคอร์เนล Siri และ WebKit ผู้ใช้งานจึงควรอัปเดต
รายละเอียดอัปเดตทั้งหมดมีดังนี้
- iOS 17.6 และ iPadOS 17.6
- iOS 16.7.9 และ iPadOS 16.7.9 สำหรับอุปกรณ์รุ่นเก่า
- iOS 15.8.3 and iPadOS 15.8.3 สำหรับอุปกรณ์รุ่นเก่า
แอปเปิล รายงาน ส่วนแบ่งผู้ใช้งาน iOS แต่ละเวอร์ชัน โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2024 ก่อนงานแถลงข่าว WWDC24 ที่เปิดตัว iOS 18 รุ่นล่าสุด
ภาพรวมนั้น iOS 17 มีส่วนแบ่งผู้ใช้งาน 77% ของ iPhone ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 66% ที่รายงานเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ ส่วน iOS 16 อยู่ที่ 11% ที่เหลือเป็นเวอร์ชันเก่ากว่านั้น หากดูเฉพาะ iPhone รุ่นที่ขายย้อนหลังไม่เกิน 4 ปี ตัวเลขอยู่ที่ 86%
ฟีเจอร์ที่ผู้ปกครองสามารถควบคุมการใช้งาน iPhone ของเด็กผ่าน Screen Time มีมาตั้งแต่ iOS 12 อย่างไรก็ตามมีรายงานมาตลอด ว่าฟีเจอร์นี้มีช่องโหว่ทำให้เด็กสามารถใช้งานได้นอกเหนือข้อกำหนด ซึ่งแอปเปิลก็บอกว่าได้แก้ไขแล้ว แต่ยังมีรายงานช่องโหว่มาเรื่อย ๆ
ล่าสุด The Wall Street Journal ซึ่ง รายงานปัญหานี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว เปิดเผยว่า Screen Time มีช่องโหว่ใหม่ที่ทำให้เด็กสามารถเข้าชมเว็บไซต์ไม่เหมาะสมได้ แม้ผู้ปกครองจะตั้งค่ากำหนดไปแล้ว โดยมีการแชร์วิธีการเข้าถึงช่องโหว่นี้ในโซเชียลหลายช่องทาง
จากปัญหาบั๊กใน iOS 17.5 ที่ผู้ใช้งานบางคนพบว่า รูปเก่าที่ลบไปนานหลายปี กลับมาปรากฏใน Photos และแอปเปิลก็แก้ปัญหานี้ด้วยการ ออกแพตช์ iOS 17.5.1 ระบุว่าสาเหตุเกิดจากกรณีที่ฐานข้อมูลผู้ใช้งานเสียหาย (Database corruption) จึงทำให้รูปเก่ากลับมาแสดง
9to5Mac ได้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอปเปิลในหลายประเด็น เช่น รูปที่กลับมาแสดงนั้นอุปกรณ์ไปดึงมาจากไหน, มีการเชื่อมต่อกับ iCloud หรือไม่, กรณีใน Reddit มีคนบอกว่ารูปเก่ากลับมาแสดงได้แม้ล้างเครื่อง iPad และขายให้คนอื่นไปแล้ว เป็นไปได้แค่ไหน ซึ่งแอปเปิลชี้แจงดังนี้
แอปเปิลออกอัปเดต iOS 17.5.1 และ iPadOS 17.5.1 ระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad ในวันนี้ ซึ่งเป็นอัปเดตต่อจาก 17.5 ที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้ใช้งานสามารถอัปเดตแบบ OTA ได้ที่ Settings > General > Software Update
ในอัปเดตนี้แอปเปิลระบุว่าได้แก้ไขบั๊กซึ่ง มีรายงานออกมา ที่ผู้ใช้งานพบว่ารูปภาพซึ่งเคยลบไปแล้วกลับมาปรากฎใน Photos อีกครั้ง โดยบอกว่าพบในกรณีที่ฐานข้อมูลเสียหาย (Database corruption) ทำให้รูปที่ลบไปกลับมาปรากฎอีกครั้ง โดยเป็นกรณีที่พบได้ยาก (Rare issue)
มีรายงานจากผู้ใช้งาน iPhone ที่อัปเดตระบบปฏิบัติการเป็น เวอร์ชันล่าสุด iOS 17.5 ซึ่งออกมาเมื่อวันอังคาร พบปัญหา รูปภาพที่เคยลบไปหลายปีก่อน กลับมาปรากฎใน Photos อีกครั้งหลังจากอัปเดต และพบรูปเหล่านี้กลับมาปรากฎใน iPad ด้วยเช่นกัน
แอปเปิลออกอัปเดต iOS 17.5 และ iPadOS 17.5 ระบบปฏิบัติการสำหรับ iPhone และ iPad เวอร์ชันล่าสุด สองเดือนหลังจากอัปเดตใหญ่เวอร์ชัน 17.4 ออกมาในเดือนมีนาคม ผู้ใช้งานสามารถอัปเดตแบบ OTA ได้โดยไปที่ Settings > General > Software Update
ในอัปเดตนี้แอปเปิลได้เพิ่มการแจ้งเตือนหากพบอุปกรณ์แทร็กเกอร์บลูทูธที่ติดตามตัว แม้จะลงทะเบียนด้วยระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งเป็น ความร่วมมือ ระหว่างแอปเปิลและกูเกิลที่ประกาศเมื่อปีที่แล้ว
แอปเปิลเริ่มทดสอบระบบติดตั้งแอปโดยตรงผ่านหน้าเว็บสำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศ EU โดยไม่ต้องทำผ่าน App Store แล้ว ซึ่งแอปเปิล ประกาศแนวทาง ไปเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งในอัปเดต iOS 17.5 เบต้า 2 สำหรับนักพัฒนา ได้เพิ่มความสามารถนี้เข้ามา
ระบบดังกล่าวแอปเปิลเรียกชื่อว่า Web Distribution ซึ่งนักพัฒนาต้องลงทะเบียนเพื่อยืนยันโดเมนกับ App Store Connect ในกระบวนการติดตั้งแอปผ่านเว็บ ต้องเชื่อมต่อกับ API ของแอปเปิลด้วย เพื่อให้การทำงานครบทุกขั้นตอน รองรับการแบ็กอัปและรีสโตร์แอปให้ผู้ใช้งานด้วย
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 17.4.1 สำหรับ iPhone, iPadOS 17.4.1 สำหรับ iPad และ visionOS 1.1.1 สำหรับ Vision Pro ซึ่งเป็นอัพเดตย่อย สองสัปดาห์หลังจากแอปเปิลออก อัพเดต iOS 17.4
ในอัพเดตนี้แอปเปิลไม่ได้ระบุรายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ บอกเพียงเป็นการแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัย และแก้ไขบั๊กทั่วไป โดยมี iPadOS 17.4.1 ที่แอปเปิล อธิบายเพิ่มเติม ว่าผู้ใช้ iPad 7th Gen, iPad 6th Gen, iPad Pro 12.9 นิ้ว 2nd Gen และ iPad Pro 10.5 นิ้ว ที่พบปัญหาแอปกล้องไม่สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดได้ ปัญหานี้ได้แก้ไขแล้วใน iPadOS 17.4.1
เบราว์เซอร์ Brave เปิดเผยตัวเลขจำนวนการติดตั้งบน iPhone ที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในภูมิภาคยุโรป หลังจาก iOS 17.4 ของแอปเปิลเปิดให้อัพเดตสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งมาพร้อม คุณสมบัติ ให้ผู้ใช้งานตั้งค่าเบราว์เซอร์เริ่มต้นได้ง่ายขึ้น ตามกฎหมายดิจิทัล DMA ของสหภาพยุโรป
ใน iOS 17.4 ผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศยุโรปจะได้หน้าจอแสดงรายการเบราว์เซอร์ให้เลือกเป็นค่าเริ่มต้น เมื่อเริ่มใช้งานครั้งแรก ซึ่ง Brave ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกนั้น
กราฟของ Brave แสดงให้เห็นว่ามีจำนวนดาวน์โหลดเพิ่มมาถึงกว่า 5,000 ครั้ง เฉพาะใน App Store ภูมิภาคยุโรป
แอปเปิลอัพเดต iOS 17.4 โดยมี การเปลี่ยนแปลงสำคัญ สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU นั่นคือสามารถดาวน์โหลดแอปจากสโตร์อื่นนอกเหนือจาก App Store ได้ ซึ่งหลายคนคงมีคำถามว่าฟีเจอร์นี้ครอบคลุมแค่ไหน ผู้ใช้งาน EU สามารถทำแบบนี้นอกพื้นที่ได้หรือไม่ คนนอกพื้นที่ตั้งค่าเป็น EU จะทำได้หรือไม่? แอปเปิลอธิบายรายละเอียดไว้แล้ว
แอปเปิลออกอัพเดตระบบปฏิบัติการ iOS 17.4 สำหรับคนใช้ iPhone และ iPadOS 17.4 สำหรับคนใช้ iPad วันนี้ โดยเป็นอัพเดตใหญ่ หลังจาก iOS 17.3 เมื่อปลายเดือนมกราคม สามารถอัพเดตแบบ OTA โดยไปที่ Settings > General > Software Update
ในอัพเดตนี้มีของใหม่หลายรายการดังนี้
แอปเปิล ออกรายงานเรื่องการปรับปรุง iOS ให้เป็นไปตามกฎหมาย DMA (Digital Markets Act) ของ EU ซึ่งคาดว่าจะออกอัพเดตมาใน iOS 17.4 สัปดาห์หน้า มีประเด็นสำคัญคือ ต้องเปิดให้สามารถดาวน์โหลดแอปจากสโตร์ภายนอกได้ และมีรายละเอียดอื่นเพิ่มเติม
ในรายงานนี้แอปเปิลพยายามย้ำประเด็นหลักคือ แม้มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดของ EU แต่แอปเปิลก็พยายามทุกทางเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งานในกลุ่ม EU อย่างไรก็ตามด้วยข้อกำหนดที่ออกมา ระดับความปลอดภัยที่เกิดขึ้นของผู้ใช้งานใน EU ก็จะน้อยกว่าผู้ใช้งานอื่นในโลก
แอปเปิลประกาศนำความสามารถในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) กลับคืนมาใน iOS 17.4 สำหรับผู้ใช้งานกลุ่มประเทศ EU อีกครั้ง หลังจากมีนักพัฒนาพบว่าความสามารถถูกตัดออกไป และ แอปเปิลยืนยันว่าปิดไปจริง ๆ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยเพราะต้องรองรับเอ็นจินหลายเบราว์เซอร์ แต่นักพัฒนาจำนวนหนึ่งมองว่าแอปเปิลพยายามหาท่ากีดกันเบราว์เซอร์อื่น และ ร้องเรียนไปทาง EU ให้สอบสวน
ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ออกอัพเดต iOS 17.4 เบต้า สำหรับนักพัฒนา ทำให้มีคนพบว่า แอปเปิลได้ปิดการทำงานในการสร้างไอคอนเว็บแอปบน iOS (PWA - Progressive Web App) ซึ่งต่อมาแอปเปิลก็ ยืนยันการจำกัดความสามารถ นี้สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เนื่องจากมีข้อกำหนดของกฎหมาย DMA ที่ระบุว่าเบราว์เซอร์อื่นต้องใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช้ WebKit ได้
คณะกรรมการกำกับดูแลการแข่งขันของ EU รายงานว่ากำลังส่งคำถามไปยังนักพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินว่าการกระทำนี้ของแอปเปิลส่งผลกระทบมากแค่ไหน และพิจารณาในการสอบสวนต่อไป
ใน iOS 17.4 จะมีการ เปลี่ยนแปลงสำคัญ สำหรับผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศ EU ที่สามารถเลือกเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นได้เอง และเลือกโหลดแอปจากสโตร์ภายนอกได้ อย่างไรก็ตามมีนักพัฒนาพบว่า มีฟีเจอร์หนึ่งที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว คือการสร้างไอคอนเว็บแอปในหน้า Home (PWA - Progressive Web App)
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 17.3.1 ระบบปฏิบัติการใน iPhone และ iPadOS 17.3.1 สำหรับ iPad โดยอัพเดตนี้ระบุว่าแก้ไขบั๊กที่ตัวอักษรอาจซ้อนทับ หรือซ้ำขณะพิมพ์ป้อนข้อมูล โดยไม่ได้ระบุว่ามีการแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยหรือบั๊กอื่นเพิ่มเติม
ผู้ใช้งานสามารถอัพเดตแบบ OTA ได้โดยไปที่ Settings > General > Software Update
แอปเปิลยังออกอัพเดตระบบปฏิบัติการอื่นด้วยเช่นกันได้แก่ watchOS 10.3.1 ของ Apple Watch ที่ระบุว่าแก้ไขบั๊กทั่วไป และ macOS Sonoma 14.3.1 ที่บอกว่าแก้ไขบั๊กขณะพิมพ์ตัวอักษรเช่นกัน
แอปเปิลประกาศจะออกอัพเดตใหญ่ iOS 17.4 ในเดือนมีนาคม ที่รองรับกฎหมาย DMA ของกลุ่มประเทศ EU
แอปเปิล อัพเดต ส่วนแบ่งผู้ใช้ iOS แต่ละเวอร์ชัน โดยเป็นการรายงานตัวเลขครั้งแรก หลังจาก iOS 17 ออกมาเมื่อ เดือนกันยายน ซึ่งข้อมูลนี้เป็นตัวเลขวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2024
iOS 17 มีส่วนแบ่งผู้ใช้งาน 76% ของผู้ใช้ iPhone ทั้งหมดที่ขายในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่วน iOS 16 มี 20% หากนับรวม iPhone ทั้งหมดทุกรุ่น iOS 17 คิดเป็น 66% ตัวเลขนี้น้อยกว่าตอน iOS 16 ที่มีส่วนแบ่งถึง 81% ในระยะเวลาเดียวกัน
มีประเด็นเล็ก ๆ เพิ่มเติม จากประกาศของแอปเปิล เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลง ใน App Store, iOS และ Safari เพื่อให้เป็นไปตาม กฎหมาย DMA ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เช่น สามารถโหลดแอปจากสโตร์อื่นได้ หรือเบราว์เซอร์สามารถใช้เอ็นจินอื่นที่ไม่ใช่ WebKit ได้ นั่นคือ บางอย่างมีผลกับทุกแพลตฟอร์มของแอปเปิล (ในสหภาพยุโรป) แต่บางอย่างมีผลแค่ iPhone เท่านั้น iPad ไม่ได้สิทธิ์นี้
สาเหตุก็เพราะตอนที่สหภาพยุโรปหรือ EU ระบุว่าแพลตฟอร์มใดบ้างที่ เข้าข่าย gatekeeper นั่นคือ ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่, มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และมีสถานะป้องกันการแข่งขันได้ดี ระบบปฏิบัติการของแอปเปิลที่เข้าข่ายคือ iOS สำหรับ iPhone ส่วน iPadOS ของ iPad ถือว่าเป็นคนละระบบปฏิบัติการ และยังไม่เข้าเกณฑ์ gatekeeper
แอปเปิลประกาศอัพเดตฟีเจอร์ในแอป Apple Podcasts มีผลตั้งแต่ iOS 17.4 เป็นต้นไป โดยเพื่อรองรับการเข้าถึงการใช้งานสำหรับทุกคน (Accessibility) แอปสามารถถอดเนื้อหารายการออกมาเป็นข้อความไว้อ่านแทนการฟังได้ (Transcript) หรือครีเอเตอร์จะอัปโหลดข้อความเองก็ทำได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามระบบถอดข้อความนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง แอปเปิลบอกว่าเมื่อคอนเทนต์ใหม่ถูกอัปโหลด การถอดข้อความจะใช้เวลาระยะหนึ่ง หากครีเอเตอร์ต้องการให้มีข้อความออกมาพร้อมกันด้วย ควรอัปโหลดไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และระบบอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเนื้อหาเป็นการสนทนาหลายคนหรือมีเพลงแทรกอยู่ ส่วนคอนเทนต์เก่าระบบจะทยอยถอดเนื้อหาให้เรื่อย ๆ