CNBC รายงานว่า Perplexity AI บริษัทผู้พัฒนาระบบค้นหาข้อมูลด้วย AI ได้ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ TikTok ในอเมริกาต่อ ByteDance โดยจะรวมกิจการ Perplexity กับ TikTok U.S. เพื่อทำให้ผู้ถือหุ้น ByteDance ยังคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ได้เหมือนเดิม
อีกเหตุผลที่ทำให้ Perplexity สนใจรวมกิจการกับ TikTok เพราะทำให้เข้าถึงเนื้อหาวิดีโอจำนวนมหาศาลสำหรับการพัฒนาระบบค้นหานั่นเอง
อย่างไรก็ตามท่าทีของ ByteDance และ TikTok ที่ผ่านมาแสดงออกชัดเจนว่าไม่ต้องการขายธุรกิจนี้ โดยยอมให้แอปถูกแบนไม่สามารถใช้งานได้ในอเมริกาตามกำหนดวันที่ 19 มกราคมนี้
Getty Images และ Shutterstock สองบริการขายไลเซนส์รูปภาพสต็อกรายใหญ่ ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการกัน ตามที่ มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยประเมินมูลค่ากิจการหลังการควบรวมที่ราว 3.7 พันล้านดอลลาร์
ทั้งสองบริษัทอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยบริษัทใหม่หลังการควบรวมจะใช้ชื่อว่า Getty Images Holdings ตามชื่อบริษัทปัจจุบันของ Getty Images และใช้ตัวย่อในการซื้อขายหุ้น GETY ซึ่ง Craig Peters ซีอีโอ Getty Images จะเป็นซีอีโอของบริษัทหลังการควบรวม ส่วน Paul Hennessy ซีอีโอ Shutterstock จะมีตำแหน่งในบอร์ดของบริษัท
มีรายงานว่า Getty Images Holdings กำลังศึกษาแนวทางเพื่อควบรวมกิจการกับบริษัทคู่แข่ง Shutterstock โดยไอเดียนี้มาจากฝั่ง Getty Images ที่มีรายได้จากธุรกิจหลักขายไลเซนส์รูปภาพลดลงในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความนิยมของเครื่องมือสร้างรูปภาพด้วย AI ที่มากขึ้น
ตัวแทนของทั้ง Getty และ Shutterstock ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นในประเด็นนี้ และแหล่งข่าวก็บอกว่าสถานะตอนนี้ยังเป็นการศึกษาเท่านั้น จึงมีโอกาสที่ดีลจะไม่เกิดขึ้น
การรวมกิจการสองบริษัทนี้ยังมีความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบเรื่องการผูกขาดธุรกิจขายรูปภาพสต็อกด้วย
ที่มา: Bloomberg
Alibaba Group ได้ทำข้อตกลงกับ E-Mart เชนค้าปลีกรายใหญ่ในเกาหลีใต้ เพื่อควบรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้บริการในประเทศของสองบริษัทเข้าด้วยกัน
โดย AliExpress ที่เป็นบริษัทในเครือ Alibaba กับ Gmarket ของ E-Mart ได้ตั้งบริษัทร่วมทุน ถือหุ้นฝั่งละ 50% จากนั้นจะเปลี่ยนธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาเป็น Gmarket ทั้งหมด มูลค่ากิจการของบริษัทร่วมทุนใหม่นี้อยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์
Rebellions และ Sapeon Korea สองบริษัทผู้ผลิตชิปสำหรับงานปัญญาประดิษฐ์แบบ Fabless สองบริษัทในเกาหลี ประกาศว่าการควบรวมกิจการกันของสองบริษัทเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากสองบริษัท ประกาศแผนควบรวมกิจการ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
มูลค่ากิจการของสองบริษัทหลังการควบรวมอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านวอน และบริษัทจะรวมกันโดยใช้ชื่อ Rebellions มี Park Sung-hyun ซึ่งเป็นซีอีโอของ Rebellions เป็นซีอีโอของบริษัทควบรวมนี้
Rebellions เป็นบริษัทพัฒนาออกแบบชิปสำหรับงาน AI ก่อตั้งในปี 2020 ส่วน Sapeon Korea เป็นบริษัทที่ออกแบบชิปสำหรับ AI เช่นกัน โดยเป็นบริษัทในเครือ SK Telecom ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในเกาหลีใต้
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) ประกาศแผนควบรวมบริษัทกับ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (INTUCH) โดยจัดตั้งบริษัทใหม่ด้วยอัตราหุ้นจัดสรร 1 หุ้นเดิมใน GULF เป็น 1.02974 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้น INTUCH เป็น 1.69335 หุ้นบริษัทใหม่
ทั้งสองบริษัทให้เหตุผลของการควบรวมบริษัทเพื่อลดความซับซ้อนของโครงสร้างการถือหุ้น และลดความซ้ำซ้อนของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
LINE Pay ในประเทศญี่ปุ่นประกาศแผนหยุดให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2025 โดยบริการ LINE Pay ในไทยและไต้หวันยังใช้งานได้ตามปกติ
LINE Pay ในญี่ปุ่นเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2014 จำนวนผู้ใช้งานล่าสุดมีมากกว่า 44 ล้านคน ส่วนสาเหตุของการปิดให้บริการนั้นเริ่มมาจากการควบรวมบริษัทกับ Yahoo Japan เป็น LY Corporation ซึ่งมีแพลตฟอร์มจ่ายเงินอีกหนึ่งบริการคือ PayPay จึงมีการปรับโครงสร้างเพื่อลดความซ้ำซ้อน โดยบริการของ LINE Pay เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต จะไม่ถูกโอนย้ายไปด้วย มีเฉพาะเงินในบัญชีที่สามารถโอนไป PayPay ได้
บริษัทออกแบบชิปที่ไม่มีโรงงานหรือ Fabless สองบริษัทในเกาหลีใต้ได้แก่ Sapeon และ Rebellions ประกาศแผนควบรวมกิจการ โดยทั้งสองบริษัทต่างเน้นที่การพัฒนาชิปประมวลผลสำหรับงาน AI
ทั้งสองบริษัทผู้ออกแบบชิปนี้ต่างมีนักลงทุนรายสำคัญเป็นบริษัทใหญ่ในเกาหลีใต้ โดย Sapeon มี SK Telecom และ SK Hynix ส่วน Rebellions มี KT
ความท้าทายของบริษัทออกแบบชิป AI ในเกาหลีใต้ คือการแข่งขันกับตลาดใหญ่ในโลก ซึ่งปัจจุบัน NVIDIA ครองส่วนแบ่งมากกว่า 97% แต่สินค้ายังคงไม่พอต่อความต้องการทำให้มีราคาเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสของบริษัทออกแบบชิปรายอื่น ที่จะรองรับความต้องการนี้ จึงนำมาสู่การควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
Cohesity ผู้ให้บริการระบบจัดการความปลอดภัยข้อมูล ประกาศซื้อกิจการส่วนธุรกิจดูแลความปลอดภัยข้อมูลจาก Veritas โดยประเมินหลังการรวมธุรกิจเข้ามาแล้วจะมีมูลค่าประมาณ 7 พันล้านดอลลาร์
Sanjay Poonen ซีอีโอ Cohesity จะเป็นซีอีโอส่วนธุรกิจใหม่นี้หลังการควบรวม นอกจากนี้ Greg Hughes ซีอีโอ Veritas จะมาร่วมเป็นกรรมการบอร์ดของ Cohesity ด้วย
Cohesity กล่าวว่าดีลนี้เป็นการเสริมความแข็งแกร่งบริการจัดเก็บและดูแลความปลอดภัยข้อมูล โดยนำ AI มาช่วยในการจัดการให้กับลูกค้าองค์กรต่าง ๆ
ทั้งนี้ Cohesity ยังมีสถานะเป็นสตาร์ทอัพที่มีลูกค้าองค์กรใหญ่ระดับ Fortune 100 อยู่ 42 ราย มีผู้ลงทุนรายสำคัญ เช่น SoftBank
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Grab และ GoTo ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร ได้กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง โดยตอนนี้การหารือยังเป็นขั้นต้น เพื่อพิจารณารูปแบบการควบรวมที่เป็นไปได้
ในรายงานบอกว่าแนวทางที่เสนอตอนนี้ เช่น Grab ซื้อกิจการ GoTo โดยจ่ายเป็นเงินสด, จ่ายเป็นหุ้น หรืออาจเป็นการรวมสองบริษัทเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการทำข้อตกลงแยกแบรนด์ทำตลาดแต่ละประเทศ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ GoTo ได้ปิดดีลให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อย Tokopedia เพื่อให้บริการอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ทำให้ GoTo มีธุรกิจที่ยังเป็นเจ้าของหลักคือ บริการทางการเงิน GoTo Financial และบริการเรียกรถ-ส่งอาหาร Gojek
- Read more about [ลือ] Grab และ GoTo กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง
- Log in or register to post comments
ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ลงมติอนุญาต ดีลควบรวมกิจการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ระหว่างบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ AIS กับบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB โดยบอร์ด กสทช. 4 เสียง อนุญาตให้ควบรวมกิจการ 1 เสียง งดออกเสียง และอีก 2 เสียง แสดงความเห็นรับทราบเท่านั้น
ขั้นตอนถัดไปคือการกำหนดมาตรการกำกับดูแลการควบรวมกิจการ รวมทั้งห้ามรวมเป็นแบรนด์เดียวกันในระยะเวลา 3 ปี ลดราคาขั้นต่ำลง 12% และเพิ่มมาตรการดูแลผู้บริโภคหลังการควบรวม
ผลจากการควบรวมนี้จะทำให้ AIS มีฐานลูกค้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์รวมกับ 3BB เป็น 4.69 ล้านครัวเรือน ขึ้นมามีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 1 จากเดิมเป็นของ True ซึ่งมี 3.8 ล้านครัวเรือน
ในวันนี้ผู้ใช้งาน LINE อาจได้รับข้อความแจ้งประกาศเปลี่ยนชื่อผู้ดำเนินการบัญชีทางการของ LINE จากเดิม LINE Corporation เป็นบริษัทใหม่ LY Corporation
อย่างไรก็ตามประกาศนี้ไม่ใช่ประกาศเปลี่ยนชื่อแอปจาก LINE เป็น LY แต่อย่างใด โดยก่อนหน้านี้ Z Holdings ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นเจ้าของทั้ง LINE และ Yahoo Japan ได้ประกาศ ควบรวมกิจการ สองบริษัทมาตั้งแต่ปี 2021 ใช้ชื่อบริษัทใหม่ว่า LY Corporation มีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2023 เป็นต้นไป รวมทั้ง Z Holdings ก็จะเปลี่ยนชื่อในการซื้อขายหุ้นเป็น LY ด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริการของ LINE เปลี่ยนชื่อบริษัทผู้ดูแลมาเป็น LY จึงต้องชี้แจงและอัพเดตข้อมูลเงื่อนไขการให้บริการนั่นเอง
True และ dtac ประกาศว่าการควบรวมบริษัทเสร็จสมบูรณ์แล้วในทางกฎหมาย พร้อมจดชื่อบริษัทใหม่กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอย่างเป็นทางการในชื่อ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”
ผู้บริหารของ ทรู คอร์ปอเรเชั่น ใหม่คือคุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) กลุ่มทรูฯ มานั่งเก้าอี้ประธานคณะผู้บริหาร และคุณชารัด เมห์โรทรา อดีตซีอีโอ dtac ประจำประเทศไทย นั่งเก้าอี้รองประธานคณะผู้บริหาร
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
Evernote แอปจดบันทึก ที่เคยเป็นที่นิยมในช่วงเวลาหนึ่ง ประกาศว่า Bending Spoons บริษัทผู้พัฒนาแอปแต่งวิดีโอ-รูปภาพจากอิตาลี ตกลงเข้าซื้อกิจการทั้งหมด โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีล ทั้งนี้ Evernote บอกว่าข้อมูลผู้ใช้งานทั้งหมดยังคงเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย และให้บริการต่อไปตามเดิม
Bending Spoons เป็นผู้พัฒนาแอปตัดต่อวิดีโอ Splice และแอปแต่งรูปภาพ Remini ซึ่งแม้ดูแล้วอาจไม่ตรงกับบริการของ Evernote นัก แต่ทาง Evernote ก็บอกว่า Bending Spoons มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาแอปสำหรับใช้งานผ่านมือถือ มีฐานผู้ใช้งานกว่า 100 ล้านคน และมีสถานะการเงินที่ดี ซึ่งสามารถช่วยเหลือ Evernote ได้
ศาสตราจารย์พิรงรอง รามสูต หนึ่งใน กสทช. เสียงข้างน้อย ในกรณีควบรวม DTAC/True โพสต์แสดงความเห็นของตัวเองผ่าน Facebook โดยให้เหตุผล 7 ข้อที่ยืนยันว่าไม่ควรอนุญาตให้เกิดการควบรวม
เหตุผลหลักๆ คือการแข่งขันในตลาดจะลดลง เหลือผู้เล่นรายใหญ่แค่ 2 ราย และเงื่อนไขการบรรเทาผลกระทบที่ออกมา ไม่น่าจะช่วยเพิ่มระดับของการแข่งขันในตลาดได้
ที่มา - Facebook Pirongrong Ramasoota
พัฒนาการล่าสุดของศึกแย่งชิง Unity โดยบอร์ดของ Unity ปฏิเสธ ข้อเสนอการควบรวมกิจการกับบริษัทโฆษณา AppLovin มูลค่า 17.5 พันล้านดอลลาร์
เราอาจรู้จัก Unity ในฐานะเอนจินเกม แต่รายได้ของ Unity มีทั้งจากไลเซนส์เอนจินเกม (ภาษาภายในเรียก Create) และจากบริการสำหรับนักพัฒนาเกม เช่น เซิร์ฟเวอร์ โฆษณา (Operate) ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนรายได้พอๆ กันแล้ว
Unity พยายามแก้ปัญหาเรื่องรายได้น้อยกว่าที่ควร โดย จะควบรวมกับ ironSource บริษัทโฆษณาออนไลน์จากอิสราเอล หลังการควบรวม Unity จะถือหุ้น 73.5% ของบริษัทใหม่
AppLovin บริษัทแพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือและเกม ประกาศยื่นข้อเสนอขอควบรวมกิจการกับ Unity ผู้พัฒนาเอนจินเกมชื่อดัง โดยเสนอแลกหุ้นเดิมของ Unity เป็นหุ้นของ AppLovin คิดเป็นมูลค่าหุ้นที่เสนอรวม 17,540 ล้านดอลลาร์
หากดีลควบรวมนี้เสร็จสิ้นผู้ถือหุ้น Unity เดิม จะมีหุ้นในบริษัทควบรวมใหม่ที่ 55% ของหุ้นทั้งหมด และมีอำนาจการโหวตรวม 49% เนื่องจากมีหุ้นหลายคลาส
Adam Foroughi ซีอีโอ AppLovin มองว่าการควบรวมกิจการนี้ จะเสริมจุดแข็งทางธุรกิจร่วมกัน และทำให้บริษัทเติบโตได้มากขึ้น เป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นทั้งสองฝ่าย โดย AppLovin เชี่ยวชาญด้านการตลาดแอปมือถือ และมีโซลูชันต่อยอด ส่วน Unity ก็มีเครื่องมือทรงพลังสำหรับผู้สร้างสรรค์เนื้อหา
บอร์ด กสทช. ประกาศมีมติขอประเมินผลกระทบการควบรวมกิจการของ True-dtac เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการรวมธุรกิจของบริษัทใหม่ ผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด การถือครองคลื่นความถี่ การลดอัตราค่าบริการ และการส่งเสริม MVNO อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนจะลงมติต่อไปและยืนยันว่าจะพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ
Unity บริษัทเอนจินเกมชื่อดัง ประกาศควบกิจการกับ ironSource แพลตฟอร์มการหารายได้ผ่านโฆษณาของแอพมือถือ โดยใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด
ironSource เป็นบริษัทจากอิสราเอล แต่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริการของ ironSource มีสำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอพมือถือ ที่ต้องการระบบวิเคราะห์การใช้งาน เพิ่มจำนวนผู้ใช้เข้าแอพ และหารายได้ (monetization) ผ่านการโฆษณา โดย ironSource เป็นทั้งเครือข่ายโฆษณา (ad network) เองและดึงโฆษณาจากเครือข่ายอื่นๆ มาแสดงผลในแอพด้วย
ดีลนี้ใช้วิธีควบรวมและแลกหุ้น โดยผู้ถือหุ้น Unity จะมีสัดส่วนหุ้น 73.5% ในบริษัทใหม่ ส่วน ironSource ถือ 26.5% บริษัทคาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้
อุตสาหกรรมวิดีโอเกมอาจเข้าสู่การควบรวมกิจการมากขึ้นอีก ล่าสุดมีรายงานว่า EA หรือ Electronic Arts ได้เริ่มเจรจากับบริษัทรายใหญ่หลายแห่ง เพื่อขายกิจการให้หรือควบรวมกิจการ โดยบริษัทที่ระบุชื่อคือ NBCUniversal นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า EA ก็เจรจากับอีกหลายบริษัทรวมทั้ง Disney, Apple และ Amazon
รายงานระบุว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทสื่อขนาดใหญ่มีความสนใจจะเข้าสู่ธุรกิจวิดีโอเกม จึงทำให้เกิดการเจรจาซื้อ-ขายกิจการ พอเกิดดีล ไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ก็ยิ่งกระตุ้นให้การเจรจาเกิดมากขึ้น
ดีลใหญ่ของวงการสื่อสหรัฐเมื่อปี 2021 คือ WarnerMedia ควบรวมกับ Discovery กลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Warner Bros. Discovery (ตัวย่อ WBD) เสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
ทรูคอร์ปอเรชั่น หรือ ทรู แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่ามติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นในวันนี้ 4 เมษายน 2565 ได้อนุมัติให้มีการควบบริษัทกับ โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค โดยมีคะแนนเสียงเห็นด้วยคิดเป็น 99.3713%
ขั้นตอนถัดไปคือการจัดสรรหุ้นในบริษัทร่วมทุนใหม่ที่จัดตั้งขึ้น ซิทริน โกลบอล และให้บริษัทใหม่เป็นผู้ดำเนินการเกลี่ยและปัดเศษหุ้น ตามขั้นตอนการควบบริษัทให้แล้วเสร็จ
ในวันนี้ ดีแทคก็จัดประชุมผู้ถือหุ้น และที่ประชุมมีมติอนุมัติการควบรวมกิจการกับทรูเช่นกัน
ที่มา: ทรู
บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ประกาศว่า ผู้ถือหุ้นบริษัทอนุมัติข้อเสนอควบรวมกิจการกับทรู ถือเป็นก้าวสำคัญในการก่อตั้งบริษัท เทคโนโลยี-โทรคมนาคม นำเสนอบริการใหม่ให้ลูกค้า
ทั้งนี้ หลังจากการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น การควบควมกิจการต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ และแจ้งเจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
กระบวนการควบรวมกิจการนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ในระหว่างนี้ ลูกค้าของ ดีแทค จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ โดยลูกค้าคงยังสามารถซื้อสินค้า และบริการได้ปกติ
บริการสตรีมมิ่งสองตัวคือ HBO Max และ Discovery+ ประกาศควบรวมกันเป็นบริการเดียวในอนาคต
เหตุผลเป็นเพราะ บริษัทแม่ของทั้งสองกำลังจะควบรวมกัน นั่นคือ WarnerMedia (แม่ของ HBO) และ Discovery Inc. (แม่ของ Discovery+) เป็น บริษัทใหม่ชื่อ Warner Bros. Discovery ซึ่งกระบวนการจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปี 2022 นี้
เมื่อปีที่แล้ว เราเห็นกลุ่มทุน Symphony Technology Group (STG) เข้าซื้อบริษัทความปลอดภัย 2 แห่งคือ FireEye และ McAfee Enterprise พร้อมประกาศว่า จะควบรวมทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน