ปัจจุบันโมเดล LLM เก่งๆ มีหลากหลายโมเดล แต่ส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากกรอบของภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่เป็นภาษาหลักของโลก รวมถึงชุดข้อมูลและการปรับแต่ง ก็ถูกตีกรอบด้วยอิทธิพลและมุมมองจากตะวันตกเป็นหลัก ทำให้ในหลายๆ ประเทศ หลายๆ ภูมิภาค ที่มีภาษาและบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะ ไม่สามารถเข้าถึง LLM ได้ ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ ก็คงไม่เน้นพัฒนาให้ หรือประเทศนั้นๆ จะพัฒนาเอง ก็ไม่ได้มีทรัพยากรเพียงพอ
รายงานประจำปีเศรษฐกิจดิจิทัลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ e-Conomy SEA 2024ประจำปีนี้ออกมาแล้ว ซึ่งจัดทำโดยความร่วมมือของกูเกิล, Temasek และ Bain & Company เพื่อนำเสนอทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลของหนึ่งในภูมิภาคที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องหลายปีในโลก โดยรายงานยังคงจัดทำเนื้อหาใน 6 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
มูลค่าเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV ปีนี้เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2023 เป็น 2.63 แสนล้านดอลลาร์ (ไม่รวมธุรกิจฟินเทค) คิดเป็นรายได้ของธุรกิจ 8.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% และรายงานปีนี้เริ่มวัดผลการทำกำไรของธุรกิจดิจิทัลเป็นปีแรกพบว่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็น 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์
OpenAI ประกาศเปิดสำนักงานสาขาเพิ่มในอีกหลายเมือง โดยในทวีปเอเชียเพิ่มสาขาอีกแห่งที่สิงคโปร์ จากก่อนหน้านี้มีสาขาที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนสาขาอื่นที่อยู่ในประกาศนี้ได้แก่ นิวยอร์ก, ซีแอตเทิล, ปารีส และบรัสเซลส์
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI กล่าวว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มานานเรื่องผู้นำเทคโนโลยี รวมทั้งด้านปัญญาประดิษฐ์ สำนักงานในสิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มเปิดภายในปี 2024 นี้ โดยเป็นฐานหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความต้องการด้านปัญญาประดิษฐ์เติบโตสูง ตำแหน่งงานเบื้องต้นมีประมาณ 5-10 ตำแหน่ง ทั้งงานเทคนิค งานนโยบายสาธารณะ และสื่อสารองค์กร
GoTo บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ประกาศปิดส่วนธุรกิจในเวียดนาม มีผลตั้งแต่ 16 กันยายน 2024 เป็นต้นไป โดยจะโฟกัสเฉพาะตลาดที่บริษัทยังรักษาการเติบโตได้คืออินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนธุรกิจของ GoTo ให้มีกำไรภายในปีการเงิน 2024
ทั้งนี้ GoTo เป็นบริษัทที่เกิดการรวมกิจการของ Gojek และ Tokopedia ซึ่ง Gojek นั้นเคย ให้บริการในไทย ช่วงหนึ่งในชื่อ GET ก่อนจะ ขายธุรกิจให้แอร์เอเชีย
PropertyGuru บริษัทให้บริการข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศบรรลุข้อตกลงให้บริษัทการลงทุน EQT Private Capital Asia เข้ามาซื้อกิจการทั้งหมด มูลค่าดีล 1,100 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
PropertyGuru เป็นบริษัทในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ซึ่ง เข้าตลาดหุ้นด้วยวิธี SPAC ในปี 2022 โดยหลังจาก EQT ซื้อกิจการเสร็จสิ้น บริษัทจะถอนออกจากตลาดหุ้นต่อไป
Janice Leow พาร์ตเนอร์ของ EQT Private Capital Asia บอกว่าจากประสบการณ์ด้านการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี และระบบลงโฆษณาสินค้าออนไลน์ จึงมองว่าสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้ PropertyGuru ได้
บริษัทวิจัยตลาดเทคโนโลยี Momentum Works เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับตลาดอีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) โดยยอดขายสุทธิ (GMV) นับเฉพาะ 8 แพลตฟอร์มรายใหญ่ มีมูลค่ารวม 1.146 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2023 เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2022
Shopee เป็นแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด 48% ด้วย GMV มูลค่า 5.51 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามด้วย Lazada ที่ 1.88 หมื่นล้านดอลลาร์ และ Tokopedia ที่ 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อต้นปี Tokopedia ได้ทำข้อตกลงให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้จากนี้ TikTok Shop ที่รวม Tokopedia ด้วย จะมีส่วนแบ่งตลาดขึ้นเป็นอันดับ 2
ข้อมูลอื่นในรายงานที่น่าสนใจมีดังนี้
HD บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) ของไทย ประกาศรับเงินลงทุนเพิ่มเติม 5.6 ล้านดอลลาร์ ในซีรีส์ A นำโดยกองทุน SBI Ven Capital จากญี่ปุ่น ร่วมด้วย Kyobo Securities จากเกาหลีใต้ และ NTUitive หน่วยงานการลงทุนของ Nanyang Technological University สิงคโปร์ เพิ่มเติมจากเดือนมกราคมที่ได้รับเงินลงทุน 6 ล้านดอลลาร์
บริษัทบอกว่าเงินลงทุนรอบใหม่นี้จะนำไปขยายตลาดในประเทศเวียดนาม
HD ก่อตั้งในปี 2019 เน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มรวมบริการด้านสุขภาพ ทั้งศัลยกรรม ความงาม และทันตกรรม รวมทั้งพัฒนาแชทบอตที่ให้บริการด้านการถามตอบคำถามสุขภาพโดยเฉพาะ
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารจากเยอรมนี รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีประเด็นน่าสนใจคือซีอีโอ Niklas Ostberg ได้พูดถึงประเด็นที่ก่อนหน้านี้บริษัทบอก กำลังพิจารณา ขายกิจการ Foodpanda ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Ostberg บอกว่าเขายังมีความสุขดีที่เป็นเจ้าของ Foodpanda ในภูมิภาคนี้ต่อไป ตัวธุรกิจก็เริ่มมีกำไรแล้ว ทำให้ไม่ฉุดความสามารถการทำกำไรในภาพรวมของบริษัทแม่ Delivery Hero ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า Grab และ GoTo ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสาร ได้กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง โดยตอนนี้การหารือยังเป็นขั้นต้น เพื่อพิจารณารูปแบบการควบรวมที่เป็นไปได้
ในรายงานบอกว่าแนวทางที่เสนอตอนนี้ เช่น Grab ซื้อกิจการ GoTo โดยจ่ายเป็นเงินสด, จ่ายเป็นหุ้น หรืออาจเป็นการรวมสองบริษัทเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการทำข้อตกลงแยกแบรนด์ทำตลาดแต่ละประเทศ เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ GoTo ได้ปิดดีลให้ TikTok เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทย่อย Tokopedia เพื่อให้บริการอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ทำให้ GoTo มีธุรกิจที่ยังเป็นเจ้าของหลักคือ บริการทางการเงิน GoTo Financial และบริการเรียกรถ-ส่งอาหาร Gojek
- Read more about [ลือ] Grab และ GoTo กลับมาเจรจาควบรวมกิจการกันอีกครั้ง
- Log in or register to post comments
กูเกิล, Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงาน e-Conomy SEA ประจำปี 2023 โดยปีนี้หัวข้อคือ Reaching new heights: navigating the path to profitable growth เพื่อฉายภาพของอุตสาหกรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภาพรวมเฉพาะส่วนที่เป็นรายได้ของธุรกิจดิจิทัลจะแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ ในปีนี้ ขณะที่ปริมาณเงินในธุรกิจรวมหรือ GMV จะเพิ่มเป็น 2.18 แสนล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือส่วนที่เป็นรายได้นั้นเติบโต 1.7 เท่าของ GMV สะท้อนภาพธุรกิจที่มั่นคงขึ้น
Delivery Hero บริษัทให้บริการส่งอาหารจากเยอรมนี ยืนยันแผนการขายกิจการธุรกิจเดลิเวอรีในเอเชียบางส่วน โดยมูลค่าของดีลยังอยู่ในขั้นตอนเจรจา
Wirtschaftswoche สื่อของเยอรมนีระบุว่าผู้ที่อาจจะซื้อกิจการนี้คือ Grab โดยซื้อกิจการ Foodpanda ในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และไทย ด้วยมูลค่าเบื้องต้น 1 พันล้านยูโร หรือประมาณ 3.86 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Grab ยังไม่ได้ให้ความเห็นต่อข้อมูลนี้
ทั้งนี้พื้นที่ซึ่ง Foodpanda ให้บริการอยู่ แต่ไม่ถูกระบุในดีลการขายนี้คือ ไต้หวัน ฮ่องกง ปากีสถาน บังกลาเทศ
ที่มา: Reuters
Shou Zi Chew ซีอีโอ TikTok เปิดเผยในงานสัมมนาที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่าบริษัทเตรียมลงทุนเป็นวงเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในอีกหลายปีข้างหน้า ทั้งในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นหนึ่งตลาดใหญ่ที่สุดของ TikTok ในแง่จำนวนผู้ใช้งาน
อย่างไรก็ตาม TikTok ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าเงินลงทุนนี้มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่บอกว่าเป็นการลงทุนทั้งด้านการฝึกอบรม โฆษณา และโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ให้เข้าร่วมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ซึ่งตอนนี้เฉพาะอินโดนีเซียมีมากกว่า 2 ล้านร้านค้าที่อยู่ในแพลตฟอร์ม
Venture Builder บริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพและวิจัยตลาด รายงานภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2022 ยังคงเติบโตในอัตราสูง มูลค่าการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มรวม (GMV - Gross merchandise value) เพิ่มขึ้นเป็น 9.95 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.8 เท่าตัว เทียบกับปี 2020 ถึงแม้มีความท้าทายหลายปัจจัยทั้งสถานการณ์หลังโควิด เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย
GMV ถึง 52% ของทั้งภูมิภาคอยู่ในอินโดนีเซีย ขณะที่หากวัดด้วย GMV ต่อประชากร ตัวเลขของสิงคโปร์และมาเลเซียจะสูงสุดที่สุด
กูเกิลเปิดรับสมัครสตาร์ตอัพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมไทย) เข้าร่วมโครงการ Google for Startups Accelerator for Southeast Asia บ่มเพาะสตาร์ตอัพเป็นเวลา 3 เดือน โดยวิทยากรจากกูเกิลและเครือข่ายพันธมิตร
สตาร์ตอัพที่มีสิทธิสมัครเข้าร่วมต้องเป็นระดับ seed ถึง Series A จากประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, ปากีสถาน เน้นที่สตาร์ตอัพด้านอีคอมเมิร์ซ, การเงิน, สุขภาพ, โซลูชัน B2B สำหรับ SME, การศึกษา, การเกษตร, ลอจิสติกส์
โครงการจะเปิดรับจำนวน 10-15 บริษัท เริ่มช่วงบ่มเพาะช่วงต้นปี 2023 สมัครได้ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2022
กูเกิลร่วมกับ Temasek และ Bain & Company เผยแพร่รายงานการศึกษาวิจัย e-Conomy SEA ประจำปี 2021 ซึ่งนำเสนอภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 6 ประเทศ คือ เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ในภาพรวม ประชากรอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคมีจำนวน 440 ล้านคน เพิ่มขึ้น 40 ล้านคน จากปี 2020 ทำให้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 75% ผลการศึกษาพบว่า 8 ใน 10 คนของประชากรอินเทอร์เน็ต เคยซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง (ตัวเลขนี้ของไทยคือ 9 ใน 10) ในกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการช่องทางดิจิทัล ในไทยมีจำนวนถึง 18% ที่เพิ่งเริ่มใช้บริการช่วงปี 2020 ถึงครึ่งแรกปี 2021 ซึ่งเริ่มมีการระบาดของโควิด 19 ผลักดันให้คนมาออนไลน์มากขึ้น
TechCrunch รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Jeff Bezos อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนใน Ula สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย ในการระดมทุนรอบใหม่ที่จะมีเงินลงทุนเพิ่มจากนักลงทุนทั้งหมดราว 80 ล้านดอลลาร์
Ula เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ได้เงินทุนไปแล้วรวม 30 ล้านดอลลาร์ มีกองทุนดังร่วมลงทุนอาทิ B Capital Group, Sequoia Capital India, Lightspeed Venture Partners และ Quona Capital โดยเป็นอีคอมเมิร์ซเน้นการขายส่งสินค้าสำหรับผู้ประกอบรายย่อย (B2B) เพื่อช่วยบริการจัดการซัพพลายเชน สินค้าคงคลัง และเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Ninja Van สตาร์ทอัพให้บริการขนส่งพัสดุจากสิงคโปร์ ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ E 578 ล้านดอลลาร์ จากกลุ่มนักลงทุนอาทิ Geopost/DPDgroup, B Capital Group, Monk’s Hill Ventures, Zamrud และ Alibaba
บริษัทบอกว่าเงินทุนใหม่รอบนี้ จะนำไปใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารต้นทุนในระยะยาว รวมถึงใช้ในการบริหารจัดการทั่วไป
Lai Chang Wen ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Ninja Van กล่าวว่ารายชื่อนักลงทุนที่ร่วมลงทุนในรอบนี้ เป็นการส่งสัญญาณชัดเจน ว่าธุรกิจขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเติบโตอีกมาก ปัจจุบัน Ninja Van ดำเนินงานในสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม จัดส่งพัสดุมากกว่า 2 ล้านชิ้นต่อวันในภูมิภาค
Bukalapak อีคอมเมิร์ซจากอินโดนีเซีย ได้นำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ปิดการซื้อขายที่ราคาสูงสุดที่สามารถซื้อขายได้ระหว่างวัน (ซิลลิ่ง) ที่ 25% เป็น 1,060 รูเปียต่อหุ้น
บริษัทขายหุ้นไอพีโอได้เงินทุนเพิ่มประมาณ 1,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการไอพีโอที่มูลค่าสูงสุดของตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และมีมูลค่ากิจการที่ประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์ มีผู้ลงทุนหลักอาทิ Ant Group , Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในอินโดนีเซีย, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
PropertyGuru บริษัทด้านข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศเตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นที่อเมริกาด้วยวิธี SPAC โดยบริษัทที่จะเข้ามาซื้อกิจการคือ Bridgetown 2 Holdings ซึ่งมีผู้ลงทุนหลักคือ Richard Li ผ่าน Pacific Century Group และ Peter Thiel ผ่าน Thiel Capital มูลค่ากิจการเบื้องต้นอยู่ที่ราว 1,780 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน PropertyGuru ให้บริการธุรกิจมาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย มีข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 2.8 ล้านแห่งต่อเดือน ผู้ใช้งานค้นหามากกว่า 37 ล้านคนต่อเดือน และมีตัวแทนมากกว่า 49,000 ราย
มีรายงานว่า Bukalapak สตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินโดนีเซีย เตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นในประเทศ โดยขายหุ้นไอพีโอเพิ่ม 2.577 หมื่นล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 850 รูเปีย (ประมาณ 1.92 บาท) ซึ่งทำให้เป็นการไอพีโอมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย
ทั้งนี้ประเมินว่ามูลค่ากิจการ Bukalapak หลังเข้าตลาดหุ้นจะอยู่ที่ราว 6 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังน้อยกว่า GoTo สตาร์ทอัพมูลค่ากิจการสูงสุดของอินโดนีเซีย (ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) ที่มีแผนเข้าตลาดหุ้นในประเทศเช่นกัน
Bukalapak มีผู้ลงทุนรายสำคัญ อาทิ Ant Group ธุรกิจการเงินของ Jack Ma, Emtek ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ในประเทศ, GIC กองทุนของประเทศสิงคโปร์ และไมโครซอฟท์
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลว่า Bukalapak อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 234 ล้านดอลลาร์ จากหลายนักลงทุน นำโดยไมโครซอฟท์, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และกลุ่มบริษัท Emtek ของอินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนใน Bukalapak ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการที่มีการรายงานอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์
การแข่งขันของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซียมีอยู่สูง ทั้งจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Tokopedia ที่มีข่าวจะควบรวมกิจการกับ Gojek และ Shopee ของกลุ่ม Sea ไปจนถึง Grab ที่ล่าสุดเตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่านวิธีการ SPAC
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Bukalapak สตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย โดยดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีตัวเลขรายงานออกมาว่าอยู่ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการของ Bukalapak อยู่ราว 2,500-3,500 ล้านดอลลาร์
ในความร่วมมือนี้ Bukalapak จะเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างพื้นฐานบน Azure และสร้างคอร์สอบรมความรู้ด้านดิจิทัล ให้กับทั้งพนักงานของบริษัท ตลอดจนร้านค้าในแพลตฟอร์มของ Bukalapak
Bukalapak ก่อตั้งในปี 2010 ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มมากกว่า 6 ล้านราย, เชื่อมต่อกับหน้าร้าน 6 ล้านแห่ง และมีผู้ใช้งาน 100 ล้านคน ผู้ลงทุนใน Bukalapak ก่อนหน้านี้มี Ant Group, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และ Emtek กลุ่มบริษัทใหญ่ของอินโดนีเซีย
Ninja Van สตาร์ทอัพผู้ให้บริการขนส่งพัสดุจากสิงคโปร์ ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ D อีก 279 ล้านดอลลาร์ หรือราว 9,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุน อาทิ GeoPost บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่ของยุโรป, B Capital Group กองทุนของ Eduardo Saverin ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook, Golden Gate Ventures, Intouch Holding และ Grab
ทั้งนี้ Ninja Van ไม่ได้ประกาศมูลค่ากิจการจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุด โดยบริษัทได้เงินเพิ่มทุนไปแล้วรวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์
Zhou Junjie หัวหน้าฝ่ายธุรกิจของ Shopee ให้สัมภาษณ์กับ South China Morning Post ถึงความสำเร็จของ Shopee ที่เป็นอีคอมเมิร์ซอันดับ 1 เมื่อวัดจากจำนวนทราฟิกผู้เข้าชม ตลอดจนแอปมียอดดาวน์โหลดสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Shopee เริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2015 เท่ากับอายุของอีคอมเมิร์ซรายนี้ยังไม่ครบ 4 ปี โดย Zhou บอกว่าเมื่อย้อนไปตอนนั้นบริษัทสนใจเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ เพราะเห็นโอกาสเติบโตหลายอย่าง รวมทั้งผู้เล่นในตลาดเดิมก็ยังไม่ได้ทำในสิ่งที่ Shopee เห็นว่าเป็นโอกาสในภูมิภาค ซึ่งคือการเน้นการขายผ่านแอปบนมือถือ
บริการสตรีมมิ่ง Disney+ เริ่ม ให้บริการในอเมริกา และอีกไม่กี่ประเทศไปแล้ว ( อ่านรีวิว ) โดยเตรียม ขยายจำนวนประเทศที่ให้บริการเพิ่มเติม ในวันที่ 31 มีนาคม ปีหน้า อย่างไรก็ตามคำถามที่หลายคนอยากทราบก็คือแล้วเมืองไทยจะมาเมื่อใด?
เว็บไซต์ TechCrunch อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง 2 ราย ระบุตรงกันว่าแผนเปิดตัว Disney+ ในต่างประเทศเพิ่มเติมนั้นวางไว้เป็น อินเดีย กับ บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มให้บริการได้เร็วที่สุดในช่วงครึ่งหลังปี 2020 หรือปีหน้า