Oskar Dudycz นักพัฒนาด้านผู้สนับสนุนแนวทาง Event-Driven Architecture เปิดตัวไลบรารี Pongo สำหรับการจำลอง MongoDB โดยเชื่อมต่อเข้าไปยัง PostgreSQL แทน
แนวทางการใช้งาน PostgreSQL มาแทนที่ MongoDB นั้นมีมานานแล้ว เช่น FerretDB ที่จำลองการทำงานของ MongoDB ระดับ wire-protocol ทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถเชื่อมต่อกับ FerretDB โดยนึกว่าเป็น MongoDB ได้ แต่เอนจินเบื้องหลังจริงๆ เป็น PostgreSQL แต่แนวทางของ Pongo ต่างออกไป โดยไลบรารีจะเป็นฝั่งไคลเอนต์ที่จำลอง API ให้เหมือนไลบรารี MongoDB ในภาษาจาวาสคริปต์ขึ้นมา แต่การเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลนั้นสามารถเชื่อมต่อไปยัง PostgreSQL เดิมๆ ไม่ต้องการแก้ไขอะไร
Infisical โครงการแพลตฟอร์มเก็บความลับ (secret management platform) แบบโอเพนซอร์ส รายงานถึงการย้ายระบบฐานข้อมูลจาก MongoDB มาเป็น PostgreSQL ว่าประสบความสำเร็จดีและทำให้การเซ็ตอัพโครงการใช้งานเองทำได้ง่ายขึ้น
ทางโครงการระบุว่าเลือก MongoDB พร้อมกับ Mongoose ORM เพราะทีมงานเคยชินกับ stack นี้ที่สุด และตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะมีผู้ใช้พยายามติดตั้งแพลตฟอร์มใช้งานเองมากนัก แต่หลังจากโครงการได้รับความนิยม MongoDB กลับเป็นคอขวดเนื่องจากฟีเจอร์สำคัญคือการทำ transaction จำเป็นต้องติดตั้งแบบคลัสเตอร์แบบโปรดักชั่นและคนที่เชี่ยวชาญการเซ็ตอัพ MongoDB ก็หาได้ยากกว่า ขณะที่ฝั่งนักพัฒนาเองหลายครั้งก็อยากได้ฟีเจอร์ฝั่ง SQL เช่น CASCADE ที่สามารถลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไปพร้อมกันทีเดียวได้
MongoDB เพิ่มฟีเจอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์สองส่วน คือการแปลงคิวรีจากภาษา SQL เดิมมาเป็นคิวรีแบบ MongoDB ด้วย generative AI และ Vector Search
ฟีเจอร์เปิดใหม่ด้าน generative AI นั้นนำมาใช้ 4 ด้าน ได้แก่
FerretDB ระบบฐานข้อมูลที่ใช้งานแทน MongoDB ออกเวอร์ชั่น 1.0 พร้อมใช้งานจริง โดยโครงการสามารถใช้งานแทน MongoDB ได้เกือบเต็มรูปแบบแม้จะมีความต่างกันในจุดเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด
ตัว FerretDB เปิดตัวโครงการเมื่อปลายปี 2021 หลังจากทาง MongoDB เปลี่ยนไลเซนส์ จาก AGPLv3 ไปเป็น SSPL ซึ่งทำให้การใช้งานเพื่อบริการคลาวด์ทำแทบไม่ได้ ตัวโครงการเดิมของ FerretDB เคยใช้ชื่อ MangoDB แต่ก็มีเสียงเตือนกันหนักว่าเป็นการตั้งชื่อให้คนสับสน จึงเปลี่ยนมาเป็น FerretDB ในที่สุด
- Read more about FerretDB ฐานข้อมูลใช้แทน MongoDB ออกเวอร์ชั่น 1.0
- 1 comment
- Log in or register to post comments
MongoDB เปิดตัวฟีเจอร์ Queryable Encryption การคิวรีข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสอยู่ได้ โดยจะเป็นฟีเจอร์หนึ่งของ MongoDB 6.0 เวอร์ชันหน้า
กฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลทั่วโลกที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเก็บข้อมูลองค์กรจำเป็นต้องแยกส่วนข้อมูล (separation of data) เช่น แยกเก็บข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ไปไว้อีกส่วน รวมถึงต้องเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการเข้าถึงจากฐานข้อมูลโดยตรง
การเข้ารหัสข้อมูลในปัจจุบันเป็นการเข้ารหัสระหว่างส่ง (in-transit) และตอนนำไปพักเก็บไว้เฉยๆ (at-rest) แต่การเข้ารหัสขณะใช้งาน (in-use) ยังทำได้ยาก มีความซับซ้อนสูง และมีข้อจำกัดในการคิวรีค้นหาข้อมูล
MongoDB ผู้พัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ NoSQL ยอดนิยมเตรียมตัดบริการ MongoDB Atlas ที่เป็นบริการคลาวด์สำหรับบัญชีผู้ใช้จากรัสเซียและเบลารุส และอีเมลแจ้งเตือนให้ลูกค้ากลุ่มนี้รีบสำรองข้อมูลออกจาก MongoDB ทันทีไม่เช่นนั้นข้อมูลจะหาย
แนวทางนี้ของ MongoDB นับว่าร้ายแรงที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการคลาวด์ เช่น AWS ที่ประหยุดรับลูกค้าใหม่เพิ่มเติมเท่านั้น ( ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะหยุดขายเพิ่ม แต่ไม่ชี้แจงว่าจะทำอย่างไรกับลูกค้า Azure)
MongoDB ประกาศปล่อย MongoDB 4.2 หลังจาก ประกาศฟีเจอร์มาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือการทำ ACID ในระดับ shard หรือการเขียนหลายเครื่องพร้อมกัน
ที่ผ่านมา MongoDB ผันตัวจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มาเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ด้วยตัวเองไปพร้อมกัน และเปลี่ยนสัญญาอนุญาตจาก AGPL ไปเป็น Server Side Public License (SSPL) เพื่อบีบผู้ให้บริการคลาวด์อย่าง AWS ที่ให้บริการ DocumentDB ไม่สามารถนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานได้ จนกระทบไปถึง Red Hat ต้องตัดสินใจตัด MongoDB ออกจาก RHEL 8
ที่งาน MongoDB World ปีนี้ ทาง MongoDB ประกาศฟีเจอร์ของ MongoDB 4.2 ที่กำลังจะออกมา โดยมีฟีเจอร์สำคัญที่ยืนยันแล้ว 4 รายการ ได้แก่
MongoDB เปิดตัวบริการคลาวด์ Atlas Data Lake เป็นบริการล่าสุดในตระกูลบริคลาวด์ Atlas ของบริษัท จุดสำคัญคือการคิวรีข้อมูลตรงจาก AWS S3 ด้วย MongoDB Query Language เหมือนมีฐานข้อมูลอยู่
บริการนี้รองรับไฟล์ฟอร์แมต JSON, BSON, CSV, TSV, Avro, และ Parquet โดยผู้ใช้ต้องให้สิทธิอ่านไฟล์กับใน bucket หรือ directory ของ S3 กับทาง MongoDB
ระบบภายในของ Data Lake จะสร้างเซิร์ฟเวอร์สำหรับประมวลผล (compute node) ใน region เดียวกับที่ข้อมูลวางอยู่เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำสุด จากนั้นจะประมวลผลตามคำสั่งคิวรีที่ได้รับมาโดยอาจเปิดเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาหลายตัวเพื่อทำงานขนานกัน จากนั้นจะรวมเอาผลลัพธ์เข้าด้วยกัน
กูเกิลประกาศจับมือกับบริษัทฐานข้อมูลสายโอเพนซอร์ส 7 ราย นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สชื่อดังมารันบน Google Cloud Platform (GCP) แบบ fully managed
บริษัททั้ง 7 รายได้แก่
- Confluent (Apache Kafka)
- DataStax (Apache Cassandra)
- Elastic (Elasticsearch)
- InfluxData (InfluxDB)
- MongoDB (MongoDB)
- Neo4j (Neo4j)
- Redis Lab (Redis)
GCP จะนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการแบบ fully managed (ดูแลระบบ-ปรับแต่งประสิทธิภาพให้) และคิดเงินรวมไปกับบิลปกติของ GCP, มีบริการซัพพอร์ตเป็นระบบเดียวกับของ GCP และสร้างอินเทอร์เฟซตัวเดียวในการจัดการแอพทุกตัวผ่าน GCP
นักวิจัยจาก Cyber Threat Intelligence รายงานการค้นพบดาต้าเบสอีเมลขนาดกว่า 150GB บน MongoDB ที่ไม่ล็อกและไม่เข้ารหัส ซึ่งมีทั้งอีเมลข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของอีเมล รวมถึงข้อมูลองค์กร รวมกว่า 800 ล้านรายการ
อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบว่าฐานข้อมูลอีเมลเหล่านี้เป็นของใครหรือมาจากไหน นักวิจัยคาดว่าอาจเป็นฐานข้อมูลของเว็บไซต์ Verification.io ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูลองค์กร อาจถูกใช้เป็นช่องทางของบริษัทมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ ในการตรวจสอบอีเมลเป้าหมายว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ด้วยการส่งอีเมลสแปมไป ก่อนจะส่งอีเมลโฆษณาตามไปอีกครั้ง
Red Hat ประกาศถอด MongoDB ออกจากโปรแกรมจัดการโครงสร้างพื้นฐาน Red Hat Satellite จากเดิมที่เคยใช้งานทั้ง PostgreSQL และ MongoDB หันมาใช้ PostgreSQL เท่านั้น
ทาง Red Hat ระบุเหตุผลว่าการใช้ฐานข้อมูลระบบเดียวทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น ทั้งการซัพพอร์ตและการสำรองระบบ สำหรับลูกค้าเดิมที่ใช้ Satellite 6.0 ทาง Red Hat จะซัพพอร์ตต่อไปโดยไม่มีการอัพเดตเวอร์ชั่นของ MongoDB อีก แต่จะสร้างแพตช์จาก Red Hat ให้เองหากมีปัญหาที่ต้องแก้ไข แม้จะระบุเหตุผลเรื่องการจัดการ แต่ MongoDB ก็ถูกใส่เข้ามาใน Satellite เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเป็นหลัก และ Red Hat ก็ระบุว่าต้องทำงานหนักเพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านประสิทธิภาพในเวอร์ชั่นต่อไป
- Read more about ตัดขาดความสัมพันธ์ Red Hat ถอด MongoDB ออกจาก Satellite
- Log in or register to post comments
หลังจาก AWS เปิดตัว Amazon DocumentDB ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยสร้างระบบฐานข้อมูลใหม่ที่มี API ตรงกับ MongoDB 3.6 ทาง Dev Ittycheria ซีอีโอของ MongoDB ก็ให้สัมภาษณ์กับทาง TechCrunch แสดงความไม่พอใจต่อการเปิดตัวครั้งนี้
Ittycheria ระบุว่า DocumentDB มาอาศัยความนิยมของ MongoDB เพื่อทำรายได้ และสิ่งที่ออกมาก็เป็นเพียง "การเลียนแบบที่น่าเศร้า" (poor imitation) และ API ของ MongoDB 3.6 ก็เก่าถึงสองปีแล้วทำให้ขาดฟีเจอร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะ ACID, global cluster, และการซิงก์จากอุปกรณ์เคลื่อนที่
AWS เปิดตัวบริการฐานข้อมูลใหม่ Amazon DocumentDB สำหรับงานด้าน NoSQL โดยมีจุดเด่นคือเข้ากันได้กับ MongoDB ด้วย
Amazon DocumentDB ไม่ได้เป็นการนำ MongoDB มารันบนคลาวด์ แต่เป็นฐานข้อมูล NoSQL ที่ Amazon พัฒนาขึ้นเอง โดยรักษาความเข้ากันได้กับ MongoDB API เวอร์ชัน 3.6 (เวอร์ชันปัจจุบันคือ 4.0) เพื่อให้ฐานข้อมูลที่เป็น MongoDB อยู่แล้วย้ายมาใช้งานได้ทันที รวมถึงใช้งานเครื่องมือตัวอื่นๆ ในโลกของ MongoDB ได้ด้วย
Eliot Horowitz ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี หรือ ซีทีโอ ของ MongoDB ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล ที่ตอนนี้ บริษัทเข้าตลาดหุ้น แล้ว เปิดเผยว่า แม้วันนี้ตำแหน่งเขาคือผู้บริหาร และบริษัทก็เติบโตจนเข้าตลาดหุ้น แต่เขาก็ยังเขียนโค้ดร่วมกับทีมนักพัฒนาทุกวัน
ตัว Horowitz เองเป็นซีทีโอตั้งแต่ก่อตั้ง MongoDB เขายอมรับว่าการที่ยังเขียนโค้ดอยู่ทุกวันนั้น เป็นเรื่องแปลกสำหรับคนเป็นซีทีโอ ปัจจุบันทีมนักพัฒนาของ MongoDB มีกว่า 400 คน ซึ่งเหตุผลที่ Horowitz บอกว่ายังต้องเขียนโค้ด เพราะมองว่าเขาจะทำงานได้ดีถ้าหากได้มือเปื้อนลงมาเขียนโค้ดบ้าง (get hands dirty) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรของที่นี่
MongoDB บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล เตรียมนำหุ้นไอพีโอเข้าซื้อขายในตลาดหุ้น NASDAQ คืนนี้ด้วยตัวย่อ MDB ( ตามที่มีข่าวก่อนหน้า ) ที่ราคา 24 ดอลลาร์ต่อหุ้น ระดมทุนไปได้ 192 ล้านดอลลาร์ และมีมูลค่ากิจการ 1.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าราคาประเมินเบื้องต้นที่หุ้นละ 20-22 ดอลลาร์
รูปแบบรายได้ของ MongoDB นั้นคือการให้บริการฐานข้อมูลแบบโอเพ่นซอร์ส และหาเงินจากการขายเครื่องมือเสริมต่างๆ และบริการสนับสนุนสำหรับองค์กร ซึ่งรายได้และจำนวนลูกค้าของ MongoDB นั้นก็เติบโตต่อเนื่องทุกไตรมาส โดยไตรมาสล่าสุดมีรายได้ราว 35 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีผลการดำเนินงานขาดทุนทุกไตรมาสเช่นกัน
- Read more about MongoDB ไอพีโอเข้าตลาดหุ้น NASDAQ คืนนี้ ตัวย่อ MDB
- Log in or register to post comments
TechCrunch รายงานว่า MongoDB ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมเข้าตลาดหุ้นในช่วงปลายปีนี้ ด้วยวงเงินเพิ่มทุนและมูลค่าที่ยังไม่เปิดเผย
MongoDB มีผลิตภัณฑ์หลักสองอย่างคือ ฐานข้อมูล MongoDB และ Atlas ที่เป็นบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ (Database as a Service) มูลค่ากิจการล่าสุดที่มีรายงานคือ 1,600 ล้านดอลลาร์ เมื่อสองปีที่แล้ว โดยบริษัทได้รับเงินลงทุนรวม 300 ล้านดอลลาร์
ที่มา: TechCrucnh
- Read more about MongoDB ยื่นไฟลิ่งเตรียมเข้าตลาดหุ้นปลายปีนี้
- Log in or register to post comments
MongoDB อาจเป็นฐานข้อมูลสาย NoSQL ยอดนิยม แต่พอมาถึงยุคของคลาวด์ ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AWS ก็มีผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล NoSQL ของตัวเองในชื่อว่า DynamoDB
ล่าสุด AWS เพิ่มบริการย้ายฐานข้อมูล Database Migration Service (DMS) ให้เราสามารถย้ายข้อมูลจาก MongoDB ขึ้นมาเก็บบน DynamoDB ได้โดยตรงแล้ว
ที่ผ่านมา บริการย้ายฐานข้อมูล DMS ของ AWS รองรับเฉพาะการย้ายฐานข้อมูลแบบ relational database (เช่น Oracle, Microsoft SQL Server, MySQL, MariaDB, PostgreSQL) ไปยังฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันบนคลาวด์ หรือย้ายข้อมูลจาก data warehouse ยี่ห้อต่างๆ ไปยัง Amazon Redshift
มีรายงานว่าฐานข้อมูล MongoDB จำนวนมากบนอินเทอร์เน็ตถูกเจาะ โดยแฮ็กเกอร์ลบข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลเดิมออก และเรียกค่าไถ่ข้อมูลที่ขโมยออกไป
ตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดว่า ฐานข้อมูล MongoDB ที่ได้รับผลกระทบมีจำนวนเท่าไรกันแน่ แถมจำนวนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขล่าสุดคือ 2,000 แห่ง ผู้ที่เจาะฐานข้อมูลเป็นรายแรกใช้นามแฝงว่า “Harak1r1” โดยเรียกค่าไถ่จำนวน 0.2 BTC (ประมาณ 220 ดอลลาร์หรือ 8,000 บาท) แต่เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไป ก็มีแฮ็กเกอร์รายอื่นๆ มาร่วมเจาะ MongoDB อีกเช่นกัน
จากข่าว Parse ปิดตัว นักพัฒนาแอพที่ใช้ระบบหลังบ้านของ Parse จำเป็นต้องย้ายหาที่อยู่ใหม่
คู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ที่มีบริการแบบเดียวกัน Azure App Service (ชื่อเดิมคือ Azure Mobile Services ) ย่อมไม่พลาดโอกาสนี้ และชักชวนให้ลูกค้า Parse ย้ายมาใช้ระบบของตัวเองแทน
Azure App Service ใช้ระบบหลังบ้านที่เขียนด้วย Node.js เหมือนกับ Parse การย้ายจึงไม่ยากนัก สิ่งที่ขาดหายไปคือระบบส่งข้อความพุช ซึ่งไมโครซอฟท์ก็แนะนำให้ย้ายมาใช้ Azure Notification Hubs แทน
MongoDB เป็น NoSQL ประเภท Document-oriented database ที่ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาแอปพลิเคชันและบริษัทไอทีเป็นอย่างมาก ตอนนี้ได้ออกรุ่น 3.0 แล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านประสิทธิภาพหลักๆ ดังนี้
- Read more about MongoDB รุ่น 3.0 ออกแล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ไมโครซอฟท์ออก Windows Azure รุ่นอัพเดตเพิ่มเติม ซึ่งมีของใหม่เพิ่มมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการรองรับซอฟต์แวร์ฝั่งโอเพนซอร์สจำนวนมาก
ข่าวเก่าไปอาทิตย์นึงนะครับ แต่ยังใช้ได้อยู่สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง NoSQL
อย่างที่รู้กันว่าช่วงหลายปีหลังนี้ กระแสการออกแบบซอฟต์แวร์โดยใช้แนวทาง NoSQL ซึ่งเป็นอีกทิศทางหนึ่งนอกเหนือไปจาก relational database เริ่มมาแรง เนื่องจากความต้องการประสิทธิภาพในเว็บแอพขนาดใหญ่มีมากขึ้น และ relational database ไม่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ดีนัก
ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลแบบ NoSQL ได้แก่ BigTable ของกูเกิล , SimpleDB ของ Amazon , Apache CouchDB, Apache Cassandra และ MongoDB พระเอกของข่าวนี้
- Read more about MongoDB 2.0 ออกแล้ว
- 24 comments
- Log in or register to post comments