SiFive ผู้ออกแบบชิปในชุดคำสั่ง RISC-V ปลดพนักงานออก 20% จาก พนักงานเดิมที่มากกว่า 500 คน แม้ เพิ่งจะเปิดตัวซีพียูสองรุ่น แต่บริษัทยืนยันว่ายังมีทุนเพียงพอ
ตัวชุดคำสั่ง RISC-V นั้นเปิดให้ทุกคนสามารถพัฒนาชิปที่ชุดคำสั่งเข้ากันได้อย่างเสรี แต่ตัวพิมพ์เขียวซีพียูที่ทำตามคำสั่งนั้นได้มีผู้ผลิตหลายรายซึ่งอาจจะขายหรือเป็นโครงการโอเพนซอร์สก็ได้ ตัวสถาปัตยกรรม RISC-V นั้นได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชิปในกลุ่ม IoT ที่มีการใช้งานเป็นวงกว้างแล้ว แต่ชิปประสิทธิภาพสูงนั้นยังคงใช้งานกันในวงจำกัด
- Read more about SiFive ผู้ออกแบบชิป RISC-V ปลดพนักงาน 20%
- 4 comments
- Log in or register to post comments
SiFive บริษัทผู้ออกแบบชิป RISC-V เจ้าดัง เปิดตัวซีพียูใหม่สองรุ่นคือ Performance P870 และ Intelligence X390
SiFive Performance P870เป็นซีพียูระดับเรือธงรุ่นท็อปสุดของ SiFive ซึ่งเป็นการอัพเกรดใหญ่จาก P650 ของปี 2021 และ P670 ของปี 2022 โดยประสิทธิภาพสูงสุด (peak performance) แบบเธร็ดเดียวเพิ่มจากรุ่นก่อนถึง 50%
อินเทลประกาศลงทุนในบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ 3 บริษัท เป็นชุดแรกในการลงทุนพันล้านดอลลาร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมชิปที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยบริษัทหนึ่งในสามบริษัทคือ SiFive ผู้พัฒนาซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V
นอกจาก SiFive แล้ว อินเทลยังลงทุนในบริษัท Astera ผู้พัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับหน่วยความจำ ทำให้เร่งความเร็วงานบางประเภทเช่นงานปัญญาประดิษฐ์ และบริษัท Movellus ผู้พัฒนาระบบกระจายสัญญาณนาฬิกาในชิป ทำให้ชิปโดยรวมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประหยัดพลังงานลง
- Read more about อินเทลประกาศลงทุนใน SiFive ผู้พัฒนาซีพียู RISC-V
- 8 comments
- Log in or register to post comments
SiFive บริษัทผู้ผลิตซีพียู RISC-V ชื่อดัง เปิดเผยว่าซีพียูของตัวเองรุ่น SiFive Intelligence X280 ถูกนำไปใช้ในศูนย์ข้อมูลของกูเกิล เพื่อช่วยเร่งการประมวลผล AI/ML แล้ว
สิ่งที่กูเกิลทำคือนำ X280 ไปรันคู่กับ หน่วยประมวลผล Tensor Processing Unit (TPU) ของตัวเอง เพื่อแบ่งเบาภาระงานบางอย่างออกจากหน่วยประมวลผลหลัก
ซีพียู SiFive X280 มีส่วนขยายชุดคำสั่งแบบเวกเตอร์ และรองรับการรวมรีจิสเตอร์เวกเตอร์เข้าด้วยกัน (รีจิสเตอร์ 512-bit x 32 ตัว) เพื่อให้ได้เวกเตอร์ยาวขึ้น (สูงสุดเป็น 4096 บิต) รวมถึงมีชุดคำสั่งคัสตอมสำหรับงาน AI/ML โดยเฉพาะด้วย จึงช่วยให้งานประมวลผล AI/ML มีประสิทธิภาพดีขึ้น
NASA ประกาศเลือกชิป RISC-V จาก Microchip สำหรับโครงการ High Performance Spaceflight Computing (HPSC) คอมพิวเตอร์สำหรับภารกิจในอวกาศรุ่นต่อไป โดยเตรียมใช้คอร์ซีพียูเป็น SiFive X280 เป็นคอร์หลัก ส่วนตัวซีพียูจะออกแบบโดย Microchip
โครงการ HPSC เคยให้ Boeing ออกแบบคอมพิวเตอร์แบบเดียวกัน โดยใช้สถาปัตยกรรม Arm มาตั้งแต่ปี 2017 ในตอนนั้น Boeing เลือกใช้คอร์ Arm Cortex-A53 เป็นแกนหลัก
บริษัท SiFive ผู้ออกแบบซีพียู RISC-V เปิดตัวคอร์ประสิทธิภาพสูงตัวใหม่ SiFive Performance P650 อย่างเป็นทางการ หลังออกมาโชว์ตัวเลขไปรอบหนึ่งเมื่อเดือน ต.ค.
จุดเด่นของ P650 คือมีประสิทธิภาพต่อรอบคล็อคเพิ่มขึ้น 40% จาก P550 รุ่นก่อน (จากปัจจัยความกว้างของการประมวลผลคำสั่งต่อรอบ) และมีประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น 50% (จากปัจจัยเพิ่มคล็อคสูงสุดขึ้นอีก) ทำให้ดันเพดานของ RISC-V ให้สูงขึ้นอีกในแง่ประสิทธิภาพ
P650 สามารถต่อกันได้สูงสุด 16 คอร์ และยังมีส่วนขยาย RISC-V hypervisor สำหรับ virtualization ด้วย
SiFive บริษัทออกแบบซีพียู RISC-V เผยข้อมูลกับ The Register ถึงคอร์ซีพียูรุ่นใหม่ที่ยังไม่มีชื่อ ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคอร์ P550 ตัวที่แรงที่สุดของบริษัทในปัจจุบันอีก 50% ทำให้ประสิทธิภาพขึ้นมาใกล้เคียงกับ Arm Cortex-A78 มากขึ้นเรื่อยๆ
คอร์ซีพียูตัวใหม่ยังใช้สถาปัตยกรรมคล้าย P550 แต่เพิ่มแคช L3 จาก 4MB เป็น 16MB และเพิ่มคล็อคสูงสุดเป็น 3.5GHz จากเดิม 2.4GHz, สามารถวางต่อกันได้สูงสุด 16 คอร์, รองรับแรม DDR5 และ PCIe 5.0 โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2021 ซึ่งต้องรอดูตัวเลขประสิทธิภาพจริงๆ กันอีกที
Canonical ประกาศว่า Ubuntu รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ โดยเริ่มจากบอร์ดของ SiFive บริษัทของทีมผู้ก่อตั้ง RISC-V
Canonical บอกว่าสถาปัตยกรรม RISC-V ที่เป็นสถาปัตยกรรมเปิด มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ จึงร่วมมือกับทีม SiFive พอร์ต Ubuntu มารันบนบอร์ดเหล่านี้ ที่ผ่านมาบอร์ด RISC-V สามารถรันลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ การันตีการแก้บั๊กและออกแพตช์ความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญให้นักพัฒนาเลือกใช้ RISC-V ในการสร้างผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
จากข่าวลือ อินเทลเสนอซื้อ SiFive บริษัทของผู้ออกแบบซีพียู RISC-V วันนี้ข่าวจริงมาแล้ว ไม่ได้เป็นการซื้อกิจการ แต่เป็น SiFive เลือกใช้บริการโรงงานผลิตชิปของอินเทลแทน
ข่าวนี้มาพร้อมกับการเปิดตัวคอร์ซีพียู RISC-V ซีรีส์ใหม่ชื่อ SiFive Performance ที่เน้นสมรรถนะสูงไปท้าชน Arm โดยคอร์ซีพียูรุ่นแรกใต้ซีรีส์นี้ชื่อ P550 ทำคะแนนเบนช์มาร์ค SPECInt 2006 ได้ 8.65 คะแนนต่อ GHz ถือเป็นคอร์ RISC-V ที่ประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน ตัวเลขของ SiFive ระบุว่าคอร์ P550 จำนวน 4 คอร์มีขนาดบนชิปเท่าๆ กับ Arm Cortex-A75 หนึ่งคอร์ โดยมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ (performance-per-area) เหนือกว่า
Bloomberg รายงานข่าวว่า SiFive บริษัทผู้ผลิตชิป RISC-V กำลังได้รับข้อเสนอซื้อกิจการจากอินเทล ในราคาประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์
SiFive เป็นสตาร์ตอัพสายออกแบบซีพียูสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งในปี 2015 โดยทีมนักวิจัยจาก University of California Berkeley ซึ่งเป็นผู้คิดค้นซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V นั่นเอง (แกนนำคือ Krste Asanović ที่ริเริ่มโครงการ RISC-V ในปี 2010)
RISC-V (อ่านว่า ริสก์ไฟว์) เป็นสถาปัตยกรรมซีพียู (ISA) แบบเปิดให้ใครนำไปใช้ก็ได้ ตัวชุดคำสั่งเป็นโอเพนซอร์ส ส่วนเอกสารเทคนิคเป็น Creative Commons ทำให้ RISC-V ได้รับความสนใจมากขึ้นมากในยุคที่ NVIDIA ซื้อ Arm ไปแล้ว ปัจจุบันมีองค์กรไม่หวังผลกำไรคือ RISC-V International ทำหน้าที่ดูแลพัฒนาสเปกและเอกสารต่างๆ
SiFive ผู้ผลิตชิป RISC-V รายสำคัญออกบอร์ดพัฒนา SiFive HiFive Unmatched บอร์ดขนาด Mini-ITX พร้อมซีพียู SiFive U740 SoC ที่ภายในมีคอร์หลัก U74 จำนวน 5 คอร์และคอร์เล็ก SiFive S7 สำหรับงานเรียลไทม์อีกหนึ่งคอร์
ตัวบอร์ดออกแบบมาเป็นพีซีเต็มรูปแบบ โดยขนาดบอร์ดเป็น mini ITX และการรับไฟฟ้าใช้มาตรฐาน ATX เหมือนพีซีปกติ สามารถใส่การ์ด PCIe ขนาด 8 เลน, มีแลนกิกะบิต, หน่วยความจำ 8GB, สตอเรจ 32GB แบบ QSPI flash, ช่อง micro SD, M.2 แบบ PCIe x4 สำหรับใส่ NVMe 2280, M.2 PCIe x1 สำหรับใส่การ์ด Wi-Fi
โลกโอเพนซอร์สในช่วงสิบปีก่อนมักพูดกันเฉพาะซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างเดียว ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราเริ่มเห็นฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สจำนวนมากที่เปิดไฟล์ออกแบบบอร์ด แต่บอร์ด HiFive1 น่าจะเป็นบอร์ดแรกๆ ที่ใกล้เคียงการโอเพนซอร์สทั้งระบบมากที่สุด เพราะมันใช้ซีพียู SiFive E310 ซีพียู RISC-V โอเพนซอร์สไฟลออกแบบ
ตัวบอร์ด HiFive1 ใช้บอร์ดร่วมกับบอร์ด Arduino ได้ และตัวซอฟต์แวร์ก็รองรับ Arduino IDE แม้จะต้องเซ็ตอัพ SDK ของ SiFive ก่อนก็ตาม
ตัวชิป E310 ไม่มีพอร์ตอนาล็อกในตัว และไม่มีหน่วยความจำแฟลชในตัวชิป แต่บอร์ด HiFve ก็ใส่ชิปหน่วยความจำแฟลชขนาด 128 Mbit มาไว้บนตัวบอร์ดแล้ว
SiFive ผู้พัฒนาซีพียูออกซีพียูโอเพนซอร์สสองรุ่นบนสถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง RISC-V ทั้งสองรุ่นได้แก่
Freedom U500 ซีพียู 64 บิตรองรับการทำงานแบบมัลติคอร์ เชื่อมต่อความเร็วสูง PCIe 3.0, USB 3.0, แลนกิกะบิต, DDR3/4 ผลิตด้วยเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร ตัว U500 จะสามารถพัฒนาบนบอร์ด FPGA อย่าง Xilinx Vertex-7 หรือ Microsemi SF2+ ได้ ราคาบอร์ดเริ่มที่ 125 ดอลลาร์ รองรับลินุกซ์
Freedom E300 ซีพียู 32 บิตขนาดเล็กสำหรับอุปกรณ์ IoT ผลิตด้วยเทคโลยี 180 นาโนเมตร มีหน่วยความจำแฟลชและแรมในตัว การพัฒนาใช้บอร์ด Digilent Arty ราคาบอร์ด 99 ดอลลาร์ รองรับ FreeRTOS
- Read more about SiFive เปิดตัวซีพียูโอเพนซอร์สสองรุ่น
- 1 comment
- Log in or register to post comments