วรภัทร บุญญฤทธิพงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับ รางวัล Grand Prize จากโครงการ Google Highly Open Participation Contest จากการร่วมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ Moodle ที่เป็นซอฟต์แวร์ Course Management System
- Read more about นักเรียนไทยได้รางวัล Grand Prize จาก GHOP
- 47 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อประมาณสัปดาห์ก่อน นักวิจัยด้านความปลอดภัยชาวสวีเดน Dan Egerstad ได้เปิดเผยชื่อและรหัสผ่านของกว่า 100 บัญชีจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ เขาได้เปิดเผยว่าได้ข้อมูลเหล่านี้มาจากการดักฟังทางโหนดปลายทาง (exit node) ของ Tor 5 เครื่องที่เขาได้กระจายติดตั้งไว้ในที่ต่างกันบนอินเทอร์เน็ต ระบบของ Tor จะใช้เครื่องสามเครื่องส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอด ๆ เพื่อป้องกันการติดตามที่มา การส่ง-รับข้อมูลระหว่างโหนดต่าง ๆ จะถูกเข้ารหัสไว้ อย่างไรก็ตามที่โหนดสุดท้าย ข้อมูลจะต้องถูกถอดรหัสก่อนส่งไปยังเครื่องภายนอกซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีดักฟังได้
- Read more about ดักฟังที่โหนดปลายทางของ Tor
- 2 comments
- Log in or register to post comments
จิม เกรย์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ รางวัลทัวริง และหัวหน้าศูนย์วิจัยไมโครซอฟต์เบย์แอเรีย หายสาบสูญระหว่างล่องเรือโดยลำพังเพื่อลอยอังคารมารดา เขาออกเรือจากซานฟรานซิสโกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แม้จะมีการค้นหาจนถึงวันนี้ก็ยังไม่พบร่องรอยของเขาและเรือ ความช่วยเหลือหลั่งไหลมาจากทางซิลิกอนวาเลย์เพื่อสนับสนุนให้มีการค้นหานี้ต่อ
จิม เกรย์ ได้รับรางวัลทัวริงในปี 1998 จากงานวิจัยด้าน database และ transaction processing เขามีส่วนในการออกแบบ database ของระบบ ATM และการซื้อขายของออนไลน์ ขณะนี้เกรย์และทีมกำลังพัฒนาระบบ database สำหรับงานด้านดาราศาสตร์
ในทางทฤษฎีเรายังไม่ทราบวิธีที่จะแยกตัวประกอบของจำนวนขนาดใหญ่ (1024 บิต) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้หลาย ๆ คนเชื่อว่าการแคร็กการเข้ารหัสด้วย RSA นั้นทำได้ยากเย็นด้วยเช่นกัน
- Read more about แคร็ก RSA ด้วยการวิเคราะห์การทำงานของซีพียู
- 1 comment
- Log in or register to post comments
มีบทความในเว็บข่าวออนไลน์ ประชาไท สองบทความที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์และการทำงานของกระทรวงไอซีที
-
วิสัยทัศน์ ยักษ์เขียวตาเดียว
จม.เปิดผนึกถึงรมต.ไอซีที: “แม้จะไม่สนับสนุน แต่ก็หวังว่าจะไม่รบกวนการทำงาน”
อันหลังนี่เป็นการกล่าวถึงและสรุปความจดหมายที่อยู่ที่ blognone นี่เอง
- Read more about ข่าวเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของรมว. ICT ในประชาไท
- 3 comments
- Log in or register to post comments
เควิน โรส ผู้ก่อตั้ง Digg ได้กล่าวในงาน Web 2.0 Summit ว่าเวลาที่ใช้ในการ digg (เวลาตั้งแต่มีผู้ส่งเข้ามาที่ระบบจนถึงเวลาที่ข่าวได้ปรากฏบนหน้าแรก) สำหรับข่าวรัมส์เฟลด์ลาออก คือ 3 นาที ซึ่งกลายเป็นสถิติใหม่ของระบบ ในขณะที่ Google News ต้องใช้เวลาอีก 20 นาทีกว่าที่ข่าวจะขึ้น
เขาสรุปว่า: "People can break news faster than machines"
ที่มา --- คอลัมน์ Monkey Bites จาก Wired Blogs
- Read more about คนเร็วกว่าเครื่อง? Digg เร็วกว่า Google News
- 4 comments
- Log in or register to post comments
เทคโนโลยีแบตเตอรี่เพื่อสิ่งแวดล้อม --- ข่าวไล่ตามกันติด ๆ
วันที่ 9 พ.ย. 49 นักคิดค้นชาวญี่ปุ่น ซูซูมิ ซูซุกิ ได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่ใช้พลังน้ำ
วันที่ 10 พ.ย. 49 ทีมวิจัยจากเกาหลี ได้ประกาศว่าได้คิดค้นแบตเตอรี่ที่ทำจากกระดาษ
Lawrence Lessig แห่ง cc ได้เอารูปของฟักทองฮาโลวีนที่จิมโบ เวลส์กับลูกสาวทำมาขึ้นที่ บล็อก ของเขา
ไม่ค่อยเห็นข่าว blognone จะใส่รูปเท่าใดนัก เลยให้ไปดูที่ Flicker เอาเองนะครับ มีวิธีทำด้วย
จาก --- lessig blog , Jimmy Wales's blog
- Read more about ฟักทอง Creative Commons ของ Jimmy Wales
- 1 comment
- Log in or register to post comments
หลังจากที่ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์กระดาษลดลงเรื่อย เพราะคนหันไปอ่านสื่อบนอินเทอร์เน็ตกันหมด บริษัทกานเน็ต (Gannett) ผู้พิมพ์นสพ. USA Today และหนังสือพิมพ์อื่น ๆ 90 ฉบับในอเมริกา เริ่มปรับตัว โดยหันหน้าหาพลังจากฝูงชน หรือคราวด์ซอสซิง ( crowdsourcing )
บริษัทกานเน็ตได้ปรับโครงสร้างของห้องข่าวใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นเนื้อหาที่ผู้ใช้ส่งเข้ามามากขึ้น และขอใช้พลังจากฝูงชน (ผู้อ่าน) ในการเป็นผู้ตรวจสอบหรือเป็นผู้แจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างที่ได้ผลได้แก่งานประเภทสืบเสาะปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อผู้อ่านได้เข้ามามีส่วนในการสืบเสาะข่าวแล้ว พวกเขาก็ยิ่งอยากอ่านข่าวที่เขียนขึ้นมามากขึ้นด้วย
- Read more about นสพ. USA Today ปรับโครงสร้าง เน้นคราวด์ซอสซิง
- 3 comments
- Log in or register to post comments
การประชุมเรื่องอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ หรือ The Internet Governance Forum จบลงเมื่อวานนี้ด้วยความหวัง และการพูดคุยถึงประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เรื่องของการปิดกั้นข่าวสารในอินเทอร์เน็ต ( ลิ่วได้พูดไว้บ้างแล้ว ) เรื่องของการทำให้อินเทอร์เน็ตใช้ได้สะดวกขึ้นกับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ และเรื่องของการบริหารจัดการอินเทอร์เน็ต
สำหรับประเด็นสุดท้ายมีคนตั้งคำถามถึงสหรัฐที่มีบทบาทและอำนาจอย่างสูงในการจัดการและดูแลอินเทอร์เน็ต ในองค์กรอย่างเช่น ICANN
- Read more about การประชุมอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ
- 13 comments
- Log in or register to post comments
ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกับ tech หรือเปล่า แต่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยอ่านการ์ตูนสั้นชุด Dilbert ที่เป็นโลกของพนักงานออฟฟิส
เมื่อประมาณ 18 เดือนก่อน Scott Adams คนเขียนการ์ตูนดังกล่าวมีปัญหาด้านสมองทำให้พูด (บางแบบ) ไม่ได้ เขาสามารถพูดต่อหน้าผู้ฟังได้ แต่พูดแบบกระซิบกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ พูดคุยไม่ได้ แต่ขับร้องได้ หมอบอกว่าเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และยังไม่มีใครเคยกลับมาพูดได้มาก่อน
อย่างไรก็ตาม Scott เป็นคนมองโลกในแง่ดี
- Read more about คนเขียนการ์ตูน Dilbert แฮ็คสมองตัวเอง
- 4 comments
- Log in or register to post comments
นักวิจัยด้านความปลอดภัย Christopher Soghoian จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงรูโหว่ด้านความปลอดภัยของระบบการบิน ด้วยการทำเว็บไซต์สำหรับพิมพ์บัตรขึ้นเครื่อง (boarding pass) ของสายการบินนอร์ทเวสให้ผู้โดยสารชื่ออะไรก็ได้ โดยปกติแล้วบัตรขึ้นเครื่องจะใช้รหัสบาร์โค้ดเพื่อยืนยันว่าเป็นบัตรจริง
หน่วยงานรัฐของอเมริกาได้ยินชัดเจน และสั่งปิดเว็บไซต์นี้ รวมถึงมีความพยายามจะสั่งจับกุม Soghoian แล้ว
ที่มา --- wired news
- Read more about ผลของการชี้โพรงในระบบพิมพ์บัตรขึ้นเครื่อง
- 10 comments
- Log in or register to post comments