วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดข้อมูลสากล หรือ International Open Data Day เป็นวันที่กลุ่มคนที่สนใจระบบข้อมูลแบบเปิดทั่วโลกจะร่วมกันจัดกิจกรรม เช่น พัฒนาแอพพลิเคชั่นการเปิดข้อมูล, แฮกกาธอน จุดประสงค์ของการจัดงานคือสนับสนุนให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส และเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะที่แท้จริง
ด้านประเทศไทยก็มีจัดกิจกรรมเช่นกัน เป็นเวทีเสวนา Open Data และแฮกกาธอนสร้างชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง จัดขึ้นที่ TK Park เซนทรัลเวิลด์
องค์กรร่วมจัดงานคือ มูลนิธิฟรีดิช เนามัน, สถาบัตส่งเสริมประชาธิปไตย, สถาบันพระปกเกล้า, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน, เครือข่ายพลเมืองเน็ต, มูลนิธิอันเฟรล, มูลนิธิกองทุนไทย, สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม, สถาบัน Change Fusion และ Blognone
เสวนาหัวข้อ Open Data กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย TDRI โดย ดร.เดือนเด่น บอกว่าหลักการ Open Data มี 5 อย่างคือ
- ต้องเปิดเผยข้อมูลบนออนไลน์
- สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ติดลิขสิทธิ์
- ดาวน์โหลดข้อมูลได้ครบเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ ดาวน์โหลดได้เป็นข้อมูลชุดเดียว ไม่แยกเป็นหลายชุดสร้างความซับซ้อน
- นำข้อมูลไปประมวลผลต่อได้ ไม่อยู่ในรูปแบบ PDF
- ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการนำข้อมูลออกไปใช้ต่อ
ตัวอย่างข้อมูลที่ควรเปิด เช่น ตารางการเดินรถโดยสาร, สัญญาระหว่างภาครัฐและเอกชน, ข้อมูลแผนที่ โดยเฉพาะที่ตั้งของหน่วยงานราชการ สถานที่สาธารณะ
ดัชนีชี้วัดการเปิดข้อมูลสากล ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
ผลการประเมินดัชนีการเปิดเผยข้อมูลระดับสากล ในปี 2016 ระบุว่า ไทยได้คะแนนในแต่ละด้านน้อย
- ปริมาณและคุณภาพของชุดข้อมูล ได้คะแนน 31 เต็ม 100
- ความพร้อมของแต่ละภาคส่วนได้คะแนน 40 เต็ม 100 ในข้อนี้ประเมินความพร้อมของภาคเอกชน วิชาการ สื่อ และภาคสังคมด้วยว่า พร้อมจะนำข้อมูลออกไปใช้แต่ไหน ต่อให้รัฐเปิดข้อมูลมาก แต่ไม่มีภาคส่วนไหนนำไปใช้เลย ก็จะไม่เกิดผลกระทบในข้อถัดไป
- ผลกระทบของชุดข้อมูล ได้คะแนนเฉลี่ย 11 เต็ม 100 ข้อนี้ดูจากข้อมูลที่รัฐบาลเปิดไปแล้ว ช่วยสร้างผลกระทบให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพในด้านนั้นมากขึ้นหรือไม่
ผู้อ่านสามารถเข้าดูชาร์ตแบบละเอียดได้ ที่นี่
จะเห็นได้ว่า impact หรือผลกระทบของชุดข้อมูลได้คะแนนต่ำมาก ทั้งที่ปริมาณข้อมูลที่เปิดไม่ได้ต่ำเตี้ยเรี่ยดินขนาดนั้นเมื่อลองเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ฟิลิปปินส์ จะเห็นได้ชัดว่าคะแนนการเปิดข้อมูลด้านต่างๆ ของฟิลิปปินส์อยู่ในคะแนนที่ไม่ห่างชั้นกับไทยมาก แต่คะแนน impact (อยู่ตรงด้านล่างแถบสีม่วง) มีเยอะกว่าไทยหลายเท่า
หมายเหตุ : ดัชนีการเปิดเผยข้อมูลระดับสากล หรือ Open Data Barometer (ODB) เป็นโครงการที่ก่อตั้งโดย World Wide Web Foundation องค์กรไม่แสวงกำไรเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต จุดประสงค์ของโครงการคือ ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดเผยข้อมูล รวมทั้งวิเคราะห์แนวโน้มและนำเสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศ
ไทยเปิดข้อมูลอะไรแล้วบ้าง
ตามชาร์ตนี้มีข้อมูลที่รัฐควรเปิดเผยตามมาตรฐานสากล เช่นตารางการเดินรถ, สัญญาระหว่างรัฐ-เอกชนหรือ public contract, ข้อมูลแผนที่ ระบุที่อยู่หน่วยงานราชการ สถานที่สาธารณะทั้งหมด โดยมีระบุคะแนนของข้อมูลแต่ละประเภทไว้ว่าไทยได้คะแนนเท่าไร จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อใดได้คะแนนเต็ม นั่นหมายความว่าไม่มีข้อมูลใดเป็น open data โดยสมบูรณ์
ข้อมูลเปิดที่ไทยได้คะแนนสูงคือฐานข้อมูลบริษัทเอกชน และที่ได้คะแนนต่ำมากคือ สัญญาสัมปทานหรือ public contract ทั้งที่ใน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารระบุชัดเจนว่าต้องเปิดข้อมูลสัญญาสัมปทาน แต่เอาเข้าจริงมีหน่วยงานไม่กี่แห่งที่เปิดข้อมูลนี้
ข้อมูลการถือครองที่ดินไทยได้คะแนนต่ำเช่นกัน การถือครองที่ดินแสดงถึงแหล่งอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดข้อมูลที่ดินจึงแสดงถึงความโปร่งใส แต่ในกรณีประเทศไทยที่ยังไม่มี พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อมูลที่ควรเปิดเผยกับข้อมุส่วนบุคคลนั้นไม่ชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ หน่วยงานราชการไทยจึงไม่กล้าเปิดเผยเพราะกลัวถูกฟ้อง
สรุปปัญหาการเปิดเผยข้อมูลของประเทศไทย
ดร.เดือนเด่น สรุปปัญหามาดังนี้
- ไม่มีมาตรฐาน
- ไม่มีกฎหมาย
- ไม่มีการบังคับใช้
- รัฐบาล และหน่วยงานราชการไม่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ open data ไม่เกิดขึ้น
ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ TDRI เคยจัดสัมมนาการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะมาแล้ว สามารถอ่านย้อนหลังได้ ที่นี่
Comments
อยากได้ข้อมูลก็ควรไปจ้างบริษัททำสำรวจเอาเอง เอาแต่หวังลักไก่ฟรีจากภาครัฐ ใช้ไม่ได้เลยองค์กรไม่แสวงกำไรขับเคลื่อนด้วยผลกำไรขององค์กรอื่น เป็นแค่ facade
สัมปทานนี่เรื่องใหญ่ ประเทศตั้งอยู่กึ่งกลางเชื่อมตะวันออก อินเดีย
ผลประโยชน์ของแต่ละชาติที่มาลงทุน ต้องรักษาให้เท่ากัน
ลองเอียงไปนิดเดียวกลายเป็นพวกอีกฝั่ง ผลสุดท้ายเราเสียประโยชน์
ไม่เข้าใจนะว่าพวกข้อมูลที่อยากให้ open กันนี่ไปสำรวจกันเองก็ได้ จะมาโวยวายทำไม
ประเทศไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยคะแนนที่ใครคนหนึ่งตั้งมาตรฐานขึ้นมาเอง
55555555555555555
อ่า...อยากให้ลองลองไปดูประเทศอื่นที่เค้ามีการเปิดเผยข้อมูล มีมาตรฐาน มีการนำมาใช้จริงจัง จากทั้งภาคธุรกิจ สื่อ องค์กรเอกชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ไปจนถึงนักเรียนนักศึกษา นักวิจัย ที่ไม่ใช่ทุกคนจะมีทุนมาจ้าง และข้อมูลบางอย่างก็เป็นข้อมูลของหน่วยงานรัฐ ที่คนปกติจะเข้าถึงไม่ได้ ถ้าปกปิดกันหมดความโปร่งใสก็ไม่เกิน ก็เป็นต้นตอหนึ่งของเรื่องคอรัปชั่นที่แก้ไขกันไม่ได้ซักที นอกจากนี้พวกข้อมูลต่างๆที่หน่วยงานรัฐถืออยู่ หรือสำรวจมา มันก็มาจากภาษีประชาชน ซึ่งไหนๆก็ทำมาแล้วทำไมถึงจะไม่ควรเปิดให้ทุกคนใช้ประโยชน์ได้หล่ะ เราไม่ค่อยเข้าใจแนวคิดเลย
ดูให้รอบด้วย ว่าประเทศนั้นมี base อะไรรองรับ จึงทำอย่างนั้นได้
ประเทศเราไม่ได้มีเอกภาพสูงขนาดนั้น มีทั้งนักท่องเที่ยวเป็นล้าน เข้าออกทุกวัน แรงงานต่างชาติก็ เป็นล้าน
เป็นประเทศที่อยู่ในสถานะ "open" แบบสุดขีด
ประเทศเรารอดพ้นจากหลายๆอย่างมาด้วยธรรมชาติสภาพของ "ความไม่สมบูรณ์แบบ"https://www.thairath.co.th/content/239228
ภาษีประชาชนย่อมไม่ได้ถูกจ่ายเพื่อให้พวกเขาถูกทำลายสเถียรภาพด้านความปลอดภัยลง
คุณกำลังนิยามความหมายของ "คอรัปชัน" ผิด
ผมขอยกตัวอย่าง โรงงานขนมปัง สองแห่ง มีสายพานลำเลียงขนมกลางโรงงาน
โรงงานทั้งสองแห่งเหมือนกันทุกอย่าง เว้นแต่โรงงานที่สอง มีท่อเหล็กครอบสายพาน
พนักงานของโรงงานแห่งแรกจะเห็นขนมเลื่อนผ่านสายพานทุกๆวัน
หากขนมในโรงงานไม่เคยหายทั้ง 2 แห่งเป็นเวลา 10 ปี
คุณสามารถสรุปได้ว่าพนักงานของโรงงานแรกไม่คอรัปชัน
ขนมปังของโรงงานที่สองไม่ถูกขโมย ไม่ใช่เพราะ "พนักงาน" ดีแต่เพราะมี "ท่อเหล็ก" ทำให้การกระทำไม่ "สัมฤทธ์ผล"
ไม่ว่าพนักงานโรงงานที่ 1 ย้ายไปทำโรงงานใด พวกเขาก็จะไม่แอบหยิบขนมไปกินหาก พนักงานโรงงานที่ 2 มีอุปกรณ์ที่ดัดแปลงท่อ ก็ไม่มีอะไรกีดขวางการคอรัปชันได้
คอรัปชันเป็นนิยามของฟังค์ชันในสมองของมนุษย์ -corruption()
และแก้ได้ด้วยการสร้างมนุษย์ที่ไม่มีฟังค์ชันนี้เท่านั้น
ท่อเหล็ก ไม่ได้สามารถแก้ไขอะไรได้
พนักงานโรงงาน ที่ 1 เมื่ออายุมากขึ้น ลูกหลานของเขาก็จะได้รับการอบรบว่าควรทำอย่างไรกับสายพานในขณะที่พนักงานโรงงานที่ 2 เขาอาจจะหิวและมองไปยังท่อเหล็กที่เต็มไปด้วยกลิ่นของขนมปัง และไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นกับ gen ถัดไป
มีหลากหลายประเทศในยุโรป ที่มีแค่กล่องรับเงินวางไว้กับสินค้า โดยไม่ต้องกังวลว่าใครจะขโมยสินค้าไปนั่นคือการแก้ไขที่ถูกต้อง
นั่นเพราะต้นทุนในการขโมยเงินจากกล่องนั้นสูงกว่าเงินที่ได้ในกล่องครับ
ต้นทุนที่ต้องเสียในการขโมยเงินนั้นมีตั้งแต่
- โอกาสที่จะโดนจับได้
- บทลงโทษที่จะได้รับ
- ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ
- หรือแม่กระทั่งเวลา
ส่วนเงินที่ได้ในกล่องมันไม่มากพอที่จะแลกกับต้นทุนด้านบนครับ ไม่งั้นคงได้เห็นของมูลค่าสูงๆขายแบบนั้นแล้ว
สรุปการแก้ไขคือ ทำต้นทุนในการทุจริตให้มากกว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับครับ(ผลประโยชน์เป็นเชิงเปรียบเทียบนะครับ เช่น บ้านเราคงไม่มีใครแย่งน้ำเปล่าจนฆ่ากันตาย แต่ถ้าเป็นในทะเลทรายก็ไม่แน่ ตรงนี้แก้โดยพัฒนาเศษฐกิจ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรขั้นพื้นฐาน)
ไม่ใช่ภาวนาคาดหวังว่าจะมีคนดีที่จะดีตลอดไปซึ่งแม้กระทั่งความดียังไม่มีนิยามที่ absolute เลย
ว่างๆลองอ่านเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมดูบ้างนะครับ
ก็แล้วถ้าโรงงานที่ 1 ดันใส่หนอนลงไปในระหว่างกระบวนการ กว่าจะรู้ก็ออกมาปลายสายพานโน่นแล้วครับ ชิบหายกันพอดี
อีกอย่าง ทำไมไม่ใช้ท่อพลาสติกหรือท่อตะแกรงล่ะครับถ้าจะกลัวขโมยขนาดนั้น อ้อ แล้วอย่ามาแถนะครับว่าเดี๋ยวท่อพัง ท่อเหล็กบทจะพังมันก็ทำได้คุณ
แล้วคุณจะมั่นใจได้ไงว่าขนมปังมันจะไม่โดนขโมยตั้งแต่ต้นสายพาน
การทุจริตก็เหมือนกันครับ ต่อให้เราปกปิดหรือเปิดเผย ถ้ามันจะทุจริตมันก็ทำได้ การปกปิดแทนที่จะช่วยลดมันะกลายเป็นว่าเราแทบหาทางรู้การเกิดทุจริตแทบไม่ได้เลย การเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่างหากที่จะช่วยลดได้ เพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีหลายตาหลายคนช่วยกันมอง แรงที่จะใช้ในการตรวจสอบก็น้อยลง ผิดกับการพยายามขโมยขนมปังที่จะต้องแนบเนียนขึ้น
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
การคอรัปชันในปัจจุบันถูกตรวจจับได้ เพราะเอกสาร และหลักฐาณ ที่อยู่คนละสถานที่ มีความไม่สอดคล้องกัน
การทำ OpenData นอกจากจะเป็นการสร้าง coupling ขนาดมหาศาล
มันยังทำให้การคอรัปชันสามารถกระทำได้โดยง่ายขึ้นไปอีกระดับ
และต้องการการตรวจสอบซึ่งต้องอาศัยเทคนิคที่เหนือกว่าระดับนั้นขึ้นไปอีก
ถ้าผมอยากจะคอรัปชันแบบ legit ผมก็แค่แก้ไขเอกสารที่ถูก รวบรวมมาให้ ไว้ ณ ที่เดียว(ขอบคุณที่ช่วยเหลือ)
ค่าตัวเลขใหนไม่สอดคล้องกัน ผมก็สามารถเห็นได้หมดจด
แก้ไขให้แนบเนียนได้หมดจด ทุกเอกสาร
ผมไม่ได้คอรัปชัน
เพราะเอกสารมันบอกแบบนั้นผมจะพูดว่า เอกสารที่ open แก่สาธารณะ ย่อมไม่โกหก
ทีนี้ถ้าคุณอยากจับคอรัปชัน คุณก็ต้องวุ่นวายถึงขั้นต้องบุกห้องเซิฟเวอร์ตรวจสอบค่า log ต่างๆที่ไฟล์นั้นถูก Edit
ถ้าบังเอิญ HDD ทีเก็บ log หายไปคุณก็แค่กล่าวหาผมลอยๆโดยไม่มีหลักฐาณ
ผมไม่ได้คอรัปชัน
ผมสรุปง่ายๆ การอ้าง opendata เพื่อปราบ คอรัปชัน เป็นคำพูดที่วิกลจริต
เปรียบเสมือนเกม ที่คุณเล่นเป็นตัวละครเลเวล 10 ตีมอนสเตอร์เลเวล 100
พอคุณเลเวล 100 คุณคิดว่าคุณคงไร้เทียมทาน แต่ทว่าสิ่งที่คุณจะเจอคือมอนสเตอร์เลเวล 1000
จะเห็นได้ว่าหากคุณแก้ปัญหาผิดจุด นอกจากจะไม่ได้แก้ปัญหา มันยังทำให้ระดับของปัญหาสูงขึ้นไปกว่าเดิม
ถ้า Log หาย ก็ตรวจสอบกันตั้งแต่ตอนนั้นแล้วนิครับ
นี้เป็นวาทะกรรมต่อต้าน Open Data ที่ผมไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อนปล้วก็โคตรตลกเลยครับ
เอกสารถูกแก้ไขตั้งแต่ยังไม่แปลงเป็น Digital --> ไม่มี Log แก้ไขปรากฎในฉบับ Original Digital
เอกสารต้นฉบับหายเพราะอุบัติเหตุ โชคดีที่พวกคุณได้ Open Data ไปตรวจสอบโดยทั่วกัน อย่างโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้
ผมไม่ได้คอรัปชัน
นี้คุณคิดว่าแค่เอกสารถูกต้องแล้วจะจบเหรอครับ การโกงยังไงก็คือการโกง ยังไงมันก็ต้องมีผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามที่มันควรจะเป็นอยู่ดี ยกตัวอย่างก็สำนักข่าวอิสราอะครับ
นั่นสิ อ่านแล้วไม่อยากจะตอบโต้เค้าเลย ไม่เคยได้ยินแบบนี้ และไม่เห็นด้วยจนไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนเลย
เห็นด้วยครับ open data เชื่อได้แค่ไหน
พูดอย่างนี้เหมือนกับพูดว่าคนทุกคนไม่ควรรู้กฎหมายทุกเรื่องเพราะจะทำให้ทุกคนกลายเป็นศรีธนญชัยอย่างนั้นเลยนะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมดูแล้ว คุณนี่น่าจะอาการหนัก
การที่จะป้องกันคนได้คือ การสร้างระบบตรวจสอบที่ดี
คุณบอกว่า ให้พยายามสร้างคนดี ปลูกฝังอะไรก็ว่ากันไป
มันก็ใช่ แต่สิ่งสำคัญกว่า คือ ระบบที่ตรวจสอบได้ ควบคุมพฤติกรรม
ปกป้องคนดี
คุณกลับพยายามบอกว่า การโปร่งใส ไม่ช่วยในการป้องกันการโกงแล้วบอกว่าให้หาเอง ค่อยทำให้มันหาง่าย มันช่วยได้มากกว่าไม่ใช่เหรอ
ยกตัวอย่างนะ คุณเป็นร้านขายเครื่องเขียนในตลาด
อยากจะส่งอุปกรณ์การเรียนไปขายในโรงเรียน ยื่นราคาไปก็หลายครั้ง ไม่ได้สักที
คุณสงสัยทำไมไม่ได้ ให้คุณต้องเดินเข้าไปหาเองที่หน่วยงานงี้เหรอ
ไปถามเขาว่า ทำไมอีกเจ้าได้งี้เหรอ ทำไมโรงเรียนไม่เปิดเว็ปไซด์บอกไปเลยหล่ะว่า
ใครชนะประมูล มีรายละเอียดในสัญญาอะไรบ้าง คุณก็สามารถตรวจสอบได้
ถามว่าถ้าเปิดแบบนี้ มันไม่ทำให้การทุจริตเกิดยากขึ้นเหรอ
ผมบอกตรงๆเลย อ่านความคิดเห็นแนวใฝ่หาคนดี ปลูกฝังศีลธรรม
แทนที่จะเป็นระบบ หรือแนวคิดทางด้านรัฐศาสตร์แบบนี้
รู้เลยว่าจุดยืนทางการเมืองอยู่ตรงไหน
ธรรมชาติของระบบ digital "เป็นรูปแบบปิด"
ที่สมบูรณ์แบบในตัวเองครับ คุณอยากตรวจสอบอะไรต้องใช้พนักงาน "เลเวล 100" ซึ่งมีจำนวน "น้อย"
ซึ่งทำให้ธรรมชาติความโปร่งใสของระบบ "แคบ"ลงไปอีก
คนทั่วไปที่เลเวล "10" ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยข้อจำกัดด้านเทคนิค
และเมื่อระบบพัฒนาเป็นเลเวล "1000" คุณก็ต้องใช้พนักงานเลเวล "1001" ซึ่งอาจมีแค่ไม่กี่คน
ในขณะที่สถานะคนทั่วไปคือเลเวล "10" เท่าเดิม
จำนวนคนที่สามารถตรวจสอบได้ก็ยิ่ง "น้อย" ลงไปอีก ความโปร่งใสก็ "น้อยลงไปอีก"
ความคิดที่ว่าอะไรที่เป็นดิจิตอล = พลังจากสวรรค์ โปร่งใสเป็นความคิดที่ตรงกันข้ามกับธรรมชาติของตัวมันเองอย่างสิ้นเชิง
ถ้าคุณนั่งไทม์แมชชีน ย้อนเวลาไป 40 ปีที่แล้ว คุณแค่ตัดต่อวีดีเป็นหลักฐาณบ่งชี้ว่าคุณอยู่ที่บาร์ทั้งวัน
คุณก็สามารถใช้วีดีโอตัดต่อหยาบๆ หลอกคนในยุค 80 ได้ทั้งหมด รวมทั้งระบบกระบวนการยุติธรรมของยุคนั้น
ธรรมชาติของทุกสิ่งที่อิงกับเทคโนโลยี จะถูกกลืนไปเรื่อยๆ ด้วยตัวเทคโนโลยีเอง
และผมได้พูดไปแล้วเรื่องปัญหาการ coupling ของข้อมูล เมื่อคุณเอาข้อมูลที่ดำรงอย่าง"ปัจเจค" จากกัน มา "รวมกัน" เชื่อมโยงกัน ความปลอดภัยของการ validate ก็หายไปหมดสิ้น
ผมอธิบายทุกอย่างอย่างเป็นรูปธรรม และคุณควรอ่านหลายๆรอบ และคิดในเชิง pragmatic
คุณยกตัวอย่างโคตรปัญญาอ่อน เลเวลสิบ เลเวลพันอะไรของคุณ
การโพสในอินเตอร์เน็ตนี้แหละที่สะดวกที่สุดแล้ว นั่งอยู่บ้านคุณยังหาได้เลยจริงไม่จริง
หรือคุณต้องการแบบว่าไปกรอกแบบฟอร์ม ยื่นเอกสาร รออนุมัติว่าจะให้ดูหรือไม่ให้ดู
นี่มันยุคไหนแล้ว แค่กดอินเตอร์เน็ต ต้องเลเวล 1000 เลยเหรอ ทุกวันนี้คนวัยทำงาน อายุ 60 ปีลงมา คงเลเวลเกินพันไปหมดแล้วมั้งครับคุณ
ดิจิตอลไม่ใช่พลังจากสวรรค์ พลังจากสวรรค์คือ"การให้ตรวจสอบได้ง่าย" จะให้ตรวจสอบแบบไหนก็ได้ทั้งนั้น จะมาเข้าฝัน จะส่งเอกสารใส่ไปรษณีย์ หรืออะไรก็ได้
ขอให้การตรวจสอบทำได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนอะไร และคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ตรวจสอบ แค่นั้นแหละครับ ซึ่งอินเตอร์เน็ต มันก็ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ เข้าใจรึยัง หรือว่ามัน pragmatic ไม่พอ
ผมอ่านของคุณมาทุกความคิดเห็น รู้แหละว่าคุณคิดอะไร
เรื่องโรงงานขนมปังของคุณหน่ะ จะมาสร้างเครื่องทดสอบคนอะไรหล่ะครับ มีคนเขาตอบคุณไว้แล้ว
แล้วเรื่องการสร้างคัปปลิ้งด้วยอินเตอร์เน็ตหน่ะ องค์กรต่างๆของภาครัฐถ้าเปิดเผยให้หมด แล้วมันจะทำให้โกงง่ายขึ้นตรงไหน ยิ่งเปิดเผยมากก็ยิ่งโกงยาก เพราะ สเกลการโกหกจะใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ มีคนเกี่ยวข้องด้วยเยอะขึ้นเรื่อยๆ
คิดแค่นี้ก็ยังกลับหัวกลับหาง คิดแบบคุณแก้ปัญหาโกงร้อยชาติก็ไม่สำเร็จ มีที่ไหนเอาแต่พร่ำหาคนดี คนดีที่ตรวจสอบไม่ได้เนี้ยนะ ไม่สร้างระบบตรวจสอบ แทนที่จะสร้างระบบที่ให้คนโกงทำไม่ได้ง่าย ทำไปก็ไม่คุ้ม แล้วเมื่อไหร่การโกงมันจะลด รอพนักงานไม่ขโมยขนมปังออกลูกออกหลานงั้นสิ ว่าแต่คุณรู้ได้ไงว่าขนมปังไม่หายคุณตรวจนับนี่ แน่จริงก็ไม่ตรวจอะไรเลยดิ อย่าแค่ไม่ครอบสายพาน ดับไฟด้วย จะได้คนดีจริงๆอย่างที่คุณว่า หรือเอาอีกอย่าง เปลี่ยนขนมปังเป็นทองด้วย คนดีของคุณจะว่ายังไง
การแก้ปัญหาแบบคุณหน่ะ โคตรงี่เง่า เนี้ยอะนะ วิธีที่เรียกว่า pragmatic
เรื่องความยุติธรรม เรื่องกฎหมายมันต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมครับ ที่คุณยกตัวอย่างสุดโต่งมา ถ้าขนาดขึ้น time machine ไปหลอกคนในอดีตได้ อันนี้ก็คงต้องยกกระบวนการยุติธรรมอีกแบบที่ไม่ใช่แบบปกติในทุกวันนี้มาใช้แทน
เรื่อง level อะไรของคุณตรงนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร แต่การออกแบบข้อมูลพวกนี้คือการทำให้คนเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายครับ ซึ่งปัจจุบันมันยังมีปัญหาตรงนี้อยู่ และดูเหมือนเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้น
ที่คุณพยายามมาถกเถียงผมไม่เห็นวิธีแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมเลยนะครับ ว่าทำยังไงถึงจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ นอกจากการกล่าวแบบนามธรรมที่บอกแนวๆ ว่าทำให้คนเป็นคนดีมีจิตสำนึก
แค่ตั้งบริษัทก็เสียค่าธรรมเนียมให้รัฐแล้วนะ แล้วรัฐจะไม่อำนวยความสะดวกให้คนจ่ายภาษีหรอ ชีวิตต้องทำเองถามจริงจะเสียภาษีไปทำไม แล้วในเมื่อรัฐทำแล้วทำไมต้องทำให้ซับซ้อนละครับเปลืองเงินเปลืองเวลาใช่ไหม ข้อมูลมหาศาลขนาดนี้เอาให้นักวิจัยมาศึกษาพัฒนาต่อได้อีกเยอะดีกว่าอยู่ในกระดาษอย่างไรค่าหรือเปล่า
ส่วนเครื่องคอร์รัปชั่นก็อีกเรื่องการเปิดข้อมูลเพื่อความโปรงใส คุณคิดว่าต้องมีพลังระดับไหนละถึงจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่างกระทรวง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลมันกลายเป็นความโปรงใสแล้วเปิดออกมาได้อย่างที่คุณคิดนะ คุณคงจะใหญ่ระดับมี ม. โคตร 44 เลยละครับเพราะมันคงเป็นการคอร์รัปชั่นระดับที่แบงค์ชาติต้องเสกเงินมาทดแทนให้ จนประเทศล่มสลายเหมือนประเทศแถวแอฟริกาใต้ บอกเลยครับถ้าคุณทำได้ขนาดนั้นก็ไม่ต้องมีแล้วครับศาลองค์อิสระ ควรทำความเข้าใจระบบคอใพิวเตอร์อีกนิดนะครับ แล้วระบบเอกสารราชการต่อให้มันเป็นดิจิตอลก็ไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆนะครับ แต่ต่อให้ทำออกปลอมๆใส่ opendata แค่เทียบกับกระทรวงอื่นง่ายนิดเดียวครับเซียน excel ขอสองสามนาทีก็จับได้ละว่าตรงไหม
เป้าหมายของรัฐคือความอยู่รอดของประชากรเป็นหลักไม่ใช่เพื่อความสะดวกของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
คุณแค่ติดสินบนพนักงาน IT , รวบรวมสมัครพรรคพวกที่เก่งเรื่อง IT ส่งไปประจำตำแหน่งเหล่านั้น , คุณก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร คนปรกติไม่มีปัญญาเข้าไปตรวจสอบของพวกนี้อยู่แล้ว ต่อให้เปิดห้องอ้าซ่า พวกนี้ก็ดูอะไรไม่รู้เรื่องอยู่วันยังค่ำ
การตัดสินว่าใครคอรัปชันหรือไม่ ต้องผ่านศาล
ศาล ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พยานผู้เชี่ยวชาญหากพยานผู้เชียวชาญฝักใฝ่พรรคที่โฆษณาผ่านโซเชียลเนตเวิร์คเป็นประจำ และพรรคนั้นเป็นรัฐบาล
คุณคิดว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ จะให้การไปในทางใด ?????
รัฐคือตัวแทนของประชาชน ข้อมูลที่ถูกผลิตออกจากรัฐทั้งหมดคือข้อมูลของประชาชนครับ ผมไม่เข้าใจว่าจะเป็นของคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อย่างไร
ถ้าคุณเชื่อว่าต้องเป็นคนเก่ง IT ถึงมีปัญญาตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ งั้นไม่ต้องให้ข้อมูลมันเกี่ยวกับ IT คุณก็แค่ติดสินบนคนที่ไม่ต้องเก่งอะไรเลยไปประจำตำแหน่งเหล่านั้น... ง่ายกว่าหาคนเก่ง IT อีกครับ
แต่ในความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีพัฒนาให้ความจำเป็นในการใช้ความรู้เฉพาะด้านเพื่อเข้าถึงข้อมูล น้อยลงเรื่อยๆอยู่แล้วครับ ทุกวันนี้คุณสามารถพิมพ์สนทนากับผมได้ง่ายกว่าสมัยก่อนมากๆ ดังนั้นถ้ารัฐเปิดให้เข้าถึงข้อมูลแบบเต็มที่แล้ว ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีคนตรวจสอบเลยครับ จะมีคนเอาข้อมูลมาจัดเป็น visualize สวยๆดูง่ายๆอย่างแน่นอน อยากดูง่ายๆก็ดู visualize หรือไม่ไว้ใจคนทำ visualize ก็ยังดูข้อมูลดิบได้
ดังนั้นเราไม่ควรพัฒนาอะไรที่เกินความรู้ศาล ไม่เช่นนั้นศาลต้องใช้พยานผู้เชี่ยวชาญ แล้วอาจไม่ยุติธรรมได้ แบบนั้นรึเปล่าครับ? ถ้าอย่างนั้นเราควรห้ามการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญเลยรึเปล่าครับ? ปัญหานี้มันมีคอนเซปการคานอำนาจคอยจัดการอยู่แล้วครับ มันจะเป็นปัญหาก็เพราะไป interrupt ระบบมันเท่านั้น...
ดูเหมือนคุณพยายามทำให้คนอื่นรู้สึก"กลัว"ในสิ่งที่ไม่เข้าใจนะครับ หรืออาจจะเป็นคุณเองด้วยซ้ำที่"กลัว"ในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ
เอ่อ กลุ่มเล็ก ๆ ที่ว่านี่คือ คนทั้งประเทศเลยอ่ะครับ การมีข้อมูลภาครัฐจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถทำงานร่วมกับภาครัฐได้มากขึ้น สามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากขึ้นในบริเวณที่ภาครัฐเองมีข้อจำกัดในการทำงาน (เช่น การกระจายข้อมูลสาธารณูปโภค อย่างระบบแจ้งเวลารถเมล์มาถึงป้ายรถเมล์ เป็นต้น ... )
ณ.จุดนี้ผมกำลังคิดว่าคุณตั้งแง่กับฝ่ายเอกชนอยู่นะครับ ?
อันนี้เป็นปัญหาด้านการปั้นบุคลากร ซึ่งเรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ด้วยระบบการศึกษาในปัจจุบันมันทำให้คนไม่มีความสามารถมากพอในการเรียนรู้ด้าน IT ซึ่งเป็นแค่เครื่องมือธรรมดาตัวนึง การศึกษาในอนาคตเราจะต้องลดปริมาณคนสายคอมพิวเตอร์ลง แต่กระจายความรู้ด้านนี้ไปยังสายความรู้อื่นให้มากขึ้น (สายคอมพิวเตอร์แท้ ๆ เหลือแค่ computer science, software engineering, computer engineering แล้วก็บรรดาสายเทคนิคแท้ ๆ อย่างเดียวก็พอ)
เราต้องดันความรู้ด้าน Computer Science ให้เข้าไปอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถม คนที่เรียนจบมัธยมต้นมาควรจะเขียนโปรแกรมง่าย ๆ ได้ และมีความรู้ทั่วไปด้านไอทีระดับหนึ่ง
ส่วนคนเก่า ๆ ก็ควรกลับไปเรียนให้มีความรู้ทัดเทียมกับเด็ก ๆ ที่เพิ่งเรียนจบมาเหมือนกัน อันนี้อย่าอ้างว่าแก่แล้วเรียนไปก็ไม่รู้ การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนทุกคนที่ต้องทำไปตลอดชีวิตครับ
ภาครัฐเองก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ หลายปีที่ผ่านมา การเรียนในห้องเรียนในบ้านเราระดับหนึ่งมันก็ดูคล้าย ๆ การล้างสมองกลาย ๆ ซึ่งมันทำให้คนปฎิเสธการเรียนรู้ด้วยประสพการณ์และการค้นคว้าด้วยตัวเอง ซึ่งตรงนี่้เป็นจุดที่เราต้องเปลี่ยนให้ได้ครับ
ผมว่า คุณพูดแบบนี้ถือว่าดูหมิ่นศาลอยู่นะครับ :) ศาลไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลยเนี่ยนะ
เรื่องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ศาลเองมีหน้าที่ให้น้ำหนักตามความน่าเชื่อถือในฐานะพยาน ถ้าเห็นว่ามีการโน้มน้าวไปในทางที่เอ้อแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เดี๋ยวท่านก็พิจารณาไม่ให้น้ำหนักตามปากคำของผู้เชี่ยวชาญเองแหละครับ อีกอย่าง ไม่จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญแค่ฝ่ายเดียว ว่ามั้ย?
ผมได้ยินว่ามีผู้พิพากษาบางท่านที่ศึกษางานด้านนี้อยู่เหมือนกันนะครับ
การเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่ความสะดวกของใครคนใดคนหนึ่งครับมันคือข้อมูลที่คนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียม แต่คุณจะนำไปใช้ทำอะไรเป็นสิทธิอันชอบธรรมของแต่ละบุคคล องค์กรโดยสิทธินั้นไม่ละเมิดผู้อื่นครับ คุณตรรกะผิดแล้วครับ แล้วไม่เปิดข้อมูลจะทำให้ประชาชนอยู่รอดอย่างไรช่วยอธิบายด้วยครับ
ติดสินบนพนักงานไอทีบ้าอะครับ คนตรวจสอบข้อมูลงบดุลหรือทำบัญชีเพื่อเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่ไอทีนะครับ พนักงานบัญชีทั้งนั้น โง่ที่สุดในโลกแล้วครับถ้าคุณจะคอรัปชั่นด้วยการติดสินบนไอที คิดว่าเปลี่ยนข้อมูลบัญชีมันง่ายเหมือนจิ้มเครื่องคิดเลขเลยหรอครับ กี่กระทรวงที่ต้องทำ กี่เอกสารที่ต้องแก้ แล้วที่บอกว่ารับสมัครพรรคพวกอะไรของคุณอะต้องมีพาวเวอร์ระดับแต่งตั้งใครก็ได้ทำงาน
ใช่ครับศาลมีหน้าที่ตัดสินว่าใครผิด แต่ใครจะร้องให้ศาลตัดสินครับ ไม่ใช่พวกเราหรอกหรือ? หรือคุณจะหวังองค์อิสระที่แต่งตั้งโดยคนที่มีอำนาจบริหารในขณะนี้? ส่วนการใช้ผู้เชียวชาญถ้าศาลตั้งใจใจผู้ที่อยู่ข้างฝ่ายตรวจโดยไม่สนคำร้องของฝ่ายร้องเลย มันเป็นปัญหาที่กระบวนการยุติธรรมครับไม่ใช่ระบบไอทีหรือการเปิดข้อมูล เพราะต่อให้ไม่ใช่ผู้เชียวชาญศาลก็อาจตัดสินโดยไม่สนใจผู้ร้องอยู่แล้วยิ่งมีผู้เชียวชาญยิ่งดูง่าย
ปล.ตอนนี้ข้าราชการเยอะ ข้าราชการหลายแผนกที่ทำงานสบายเช้าชามเย็นชามกลับสี่โมงครึ่งเข้าทำงานเมื่อไหร่ก็ตามแต่ใจ ก็หางานให้เขาทำบ้างครับ เพื่อนผมหลายคนบ่นๆว่าง ก็เอางานให้มันทำเอาข้อมูลมาให้ผมหรือคุณอื่นช่วยสร้างประเทศบ้างก็ได้
มันไม่ใช่ทุกคนจะเข้าถึงหรือความสามารถจะเข้าถึงหรือไป "จ้างบริษัททำสำรวจเอาเอง" ได้ขนาดนั้นนะครับ
ขนาดผมจะหาข้อมูลปริมาณการขนส่งสินค้ามาสนับสนุนโครงงานยังแทบไม่ได้เลยคุณ ทั้งที่เป็นข้อมูลที่ควรจะเปิดเผยแท้ๆ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมว่าปล่อยให้เค้าอยู่ในโลกแฟนตาซีต่อไปเถอะ อ่านแล้วงงตรรกะ
ข้อมูลการถือครองที่ดิน มันเรื่องส่วนตัวไม่ใช่เหรอ ขอดูง่ายๆได้ไงนี่ ถ้าเป็นนักการเมืองหรือข้าราชกาลตำแหน่งใหญ่ๆเขาก็ต้องเปิดเผยทรัพย์ตามกฏหมาย แต่คนธรรมดาต้องเปิดเผยด้วยเหรอ เห็นไทยเน็ตซิติเซ่นชอบพูดเรื่องสิทธิ์ส่วนตัวแต่คราวนี้จะละเมิดเองเหรอ
ผมก็งง ๆ เหมือนกันว่าถ้าเปิดเผยข้อมูลที่ดินแล้วมันจะมีประโยชน์อะไรนอกจากการไปคุกคามผู้ถือครองที่ดินเพื่อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
อย่างสมมุติอยากได้ที่ดินใกล้แนวรถไฟฟ้าในอนาคตไปทำคอนโด ไปหาตาม Open Data ว่าใครถือเจ้าของอยู่ ทีนี้แหละ หวานปากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เลยแหละ
ส่วนตัว คลางแคลงใจ กับ แนวคิด Open Data มากๆ
มันคล้ายๆวาทกรรม Good Government เมื่อหลายปีก่อน
ที่ให้ บ.ต่างๆเปิดเผยตัวเลข อ้างความโปร่งใส โน่นนั่นนี่
แต่กลายเป็นการแจกข้อมูลให้ Hedge fund ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลคือ Hedge fund ได้กำไรบาน แต่ความโปร่งใสไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่เปลี่ยนรูปแบบไปเช่น ตกแต่งบัญชี
การ Open Data ในวันที่ Big Data กำลังมาก็มองได้ว่ามีแต่จะสร้างความเสียเปรียบฝรั่งแบบใส่พานถวายให้เขาฟรีๆ
คิดว่า ถ้าเป็นการกระจายข้อมูลอย่างทั่วถึงกัน ประชาชนทุกคนก็ได้รับข้อมูลอย่างเสมอภาค ส่วนใครจะเอาไปใช้ทำอะไรก็เป็นการแข่งขันตามกลไกตลาด
ส่วนเรื่องเสียเปรียบฝรั่ง ผมมองว่า ก็ ถ้าเราเน้นปิดหูปิดตาคนในบ้านเราไปเรื่อย ๆ พอถึงจุดนึงถ้าฝรั่งเขาสามารถหาวิธีเข้าถึงข้อมูลบางอย่างได้ด้วยกลไกบางอย่าง เราก็จะยิ่งหมดโอกาสแข่งขันมากขึ้นไปอีกครับ
ที่พูดดูเหมือน Open Data ต้องแยกประเด็น 2 ส่วนละคือ
-ส่วนการทำ Digitalize ให้เป็นรูปแบบที่เครื่องจักรทำงานได้
-ส่วนการเปิดสู่สาธารณะแบบฟรีๆ
ส่วนแรกควรทำ แต่ส่วนที่ 2 ไม่ควรทำ
เอกสารราชการยังไงๆก็ต้องมี level of classifiedและถ้าอยากได้ข้อมูล ปกติต้องจ้างบ.จัดหาข้อมูล
การที่อยู่ดีๆ ก็ตั้งองค์กรมาบอกให้รัฐต่างๆทั่วโลกต้องทำให้ฟรีๆจากภาษีประชาชนประเทศนั้นๆ แล้วให้ฝรั่งเอาไปต่อยอดทำกำไรได้ตามสะดวกไม่งั้นประเทศยู ไม่ชิคไม่คูล มันไม่สมเหตุสมผล
ถ้าอ้างว่า ก็เป็นแข่งขันตามกลไกตลาดมันจะจบในรูป ฝรั่ง-ไทย ข้อมูลเท่ากัน แต่ฝรั่งมีเงิน+เทคฯดีกว่า นี่คือ ฆ่าตัวตายเห็นๆ (แต่ตอนทำจะรู้สึกชิคๆคูลๆ ตามที่ฝรั่งปอปั้น)
การอยู่ในรูป ฝรั่ง เงิน+เทคฯดีกว่า แต่เรามีข้อมูลที่ดีกว่าถ้าฝรั่งอยากได้ข้อมูล ต้องจ่ายเพิ่มเอา จะเป็นอะไรที่สมเหตุสมผลและเอื้อให้เราอยู่รอดได้มากกว่า
ผมเห็นด้วยที่ว่าการเปิดเผยต้องมีชั้นความลับ ไม่ใช่จะเปิดเผยหมด ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าถึงได้ทุกเรื่อง
data open มา เชื่อได้แค่ไหนว่าไม่มีการตกแต่งตัวเลข เปิดมาก็เท่านั้น garbage in garbage out ละอีกปัญหาหนึ่งคือ ใส่มาเป็น report format ปวดใจเบา ๆ
อันนั้นมันไม่เกี่ยวกันมั้งคุณ เรื่องการตกแต่งตัวเลขมันก็มีวิธีตรวจสอบอยู่แล้ว ดูอย่างที่สำนักข่าวอิศราทำนั่นสิครับ มันกลับช่วยให้ตรวจสอบการทุจริตได้ง่ายกว่าอีก
แต่เรื่อง format นี่ผมเห็นด้วยนะ เจอเอกสารพิมพ์แล้วเอาขึ้นเว็บจากเอกสารสแกนนี่มันชวนให้อารมณ์เสียจริงๆ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมคงระแวงเกินไป คิดว่าคนตรวจสอบก็ถูกซื้อไปแล้ว ฮ่าๆ
ผมสนับสนุน opendata โดยเฉพาะจากภาครัฐ แม่ว่ามันจะตกแต่งข้อมูลก็ตาม และเมื่อมัน open มากพอ ข้อมูลพวกนี้มันจะเริ่มตรวจสอบกันเอง มันอาจจะขัดกันเอง (เช่นจาก สองกรมที่ขัดกัน) และเมื่อมันเป็นเช่นนั้น มันจะเริ่มส่งผลต่อพฤคิกรรม ของผู้เสพ ว่าไม่ควรเชื่อถือ data จะต้องตรวจสอบจากหลายๆแหล่ง
การ opendata มันคือจุดเริ่ม ช่วงต้นๆ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เมื่อประชาชนสนใจ เรื่องใดใด ประะชาชนควรจะหาข้อมมูลนั้นได้เลย เชื่อมโยงข้อมูลได้ทันที พอประชาชนเริ่มตรวจสอบ มันจะเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
ลองนึกถึงวันที่ เกิดกระแส ไวรัลเรื่อง เสือดำถ้าประชาชนอยากรู้ว่า ประเทศไทยมีป่ากี่แสนไร่ มีเจ้าหน้าที่กี่คน มีงบดูแลเท่าไร ตอนนี้ประชาชนทำได้แค่เสริจ กูเกิ้ล...
เห็นข้อสรุปแล้วตกใจ ผมว่ามันเป็นวิกฤตจริงๆ แต่อยากให้ช่วยๆกันมองหาว่าจะแก้ไขได้อย่างไร ไม่ใช่ด่าๆแล้วสุดท้ายก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ส่วนหนึ่งผมมองว่าน่าจะเกิดจากการที่เราไม่รู้ว่าข้อมูลที่เปิดเผยนั้น มันอยู่ที่ไหน จะเอามาได้อย่างไร เห็นหลายหน่วยงานเปิดเผยข้อมูล แต่วิธีการเข้าถึงค่อนข้างยากและซับซ้อน
ข้อมูลพวกประมูลเขาก็เปิดเผยอยู่แล้วไม่ไช่เหลอครับ การโกงในปัจจุบันมันเลยจุดนี้ไปแล้ว ข่าวล่าสุดคือโกงโดยให้คนในโทรบอกคนนอกเรื่องราคา หรือการโกงทางด้านโปรแกรม เห็นข่าวเมื่อปีก่อน
ผมว่าเรื่องบางเรื่องมันก็เปิดเผยไม่ได้หลอก สมมุดเช่นเรื่องสัมทานต่างๆของต่างชาติ ทุกคนก็รู้ว่ามันไม่ถูกต้องแต่หลายๆประเทศก็เป็นแบบนี้ไม่งั้นคงหาความสงบยาก บางอย่างก็ไม่อยากซื้อก็ต้องซื้อไม่อยากทำก็ต้องทำ โลกไม่ได้สวยงามแบบในหนังบางเรื่อง ทั้งโดนกดดันโนนนี้ หรือหนักก็โดนปั่นจนเกิดสงคราม ในปัจจุบันก็เห็นๆกันอยู่ ประเทศแตก คนตายเป็นสิบๆล้านก็เพราะมันไม่สำคัญเท่าสิ่งที่ได้คืนมา เป็นเหตุผลให้โครงการนี้เกิดยาก
ส่วนข้อมูลอื่นๆเขาก็มีขายหมดอะอยากได้ข้อมูลอะไรลองนึกถึงคนที่เขาทำมาเพื่อขายอยู่ดีๆบอกว่าให้รัฐทำแล้วแจกฟรีก็คงไม่แฟร์กับพวกเขา
ความคิดเห็นส่วนตัวคือคนได้ประโยชน์จริงๆมีน้อยเพราะน่าจะเป็นพวกที่อยากได้ข้อมูลที่ไม่มีลิขสิทไปไช้หาเงินต่อเพราะคนทั่วไปคงหาข้อมูลต่างๆจาก google ตั่งแต่แผนที่จนเอกสารสัญญาการประมูลที่อยู่ตามเวปองกรรัฐต่างๆที่เขาเปิดประมูล ส่วนรัฐต้องแบกพาระการดูแลฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่จำเป็นต่อรัฐหรือไม่สุดท้ายรัฐก็ต้องจ้างบริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆอีกทีอยู่ดี
ประเด็นคือไม่ใช่ทุกคนที่เข้าถึงข้อมูลได้นะครับ ยิ่งสัมปทานที่มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ของชาตินั่นยิ่งสำคัญเลย
และที่สำคัญคือข้อมูลของรัฐที่ได้มาด้วยเงินจากภาษีของประชาชนทำไมต้องขายครับ (ยกเว้นว่าเอกชนจะเอาข้อมูลมายำต่อ อันนี้พอเข้าใจ) ถ้าข้อมูลถูกกีดกันไว้แล้วต้องวิ่งเข้าวิ่งออกให้กรรมการข้อมูลข่าวสารมานั่งตัดสินร่วมปีแบบที่เป็นอยู่มันก็ไม่ควรนะครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ประเดนแรกตอบไปข้างบนแล้วครับมันเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่มีอำนาจแทรกแทรงในโลกเพื่อผลประโยชน์
ขัดเขาเมื่อใหลความชิบหายมาเยือนตัวอย่างก็เห็นออกข่าวบ่อยๆ
ประเด็นที่สองคือ ข้อมูลทั่วไปที่รัฐเปิดเผยแต่ไม่ได้รวบรวมไว้ให้ทั้งหมดมีขายทั้งนั้นแล้วพวกเขาก็ลงทุนกันมามากอยู่ดีๆจะให้รัฐรวบรวมมาให้ในรูปแบบที่เหมือนกับหรือดีกว่าที่เขาขายกันใครจะเป็นคนทำรวบรวมและจัดเก็บจากรูปแบบเดิมไม่ว่าทั้งเอกสารหรือไฟลสุดท้ายก็ต้องจ้างทำอยู่ดียกตัวอย่างที่ข้างบนบอก เช่นที่ตั่งสถานที่ แผนที่ หรือ เอกสารสัญญางานประมูล
ส่วนที่สองรัฐไม่เปิดเผยแต่สามารถยื่นเรื่องขอตรวจสอบได้ ตรงนี้ก็จะเกียวกับสัญญาจ้างโครงการซึ้งถ้าขอยากเลยต้องเป็นแบบopendata ก็ควรตั้งเป็นกลุ่มตรวจสอบจะได้มีอำนวจต่อรอง และทำแจกจ่ายผ่านกลุ่มบุกคนที่เป็นอาสาลงเวปจะดีกว่าทำตรงจุดเพราะค่าใช้จายจะได้น้อยลงมีความเป็นไปได้สูงกว่า ซึ่งก็สามารถทำได้เลย ดีกว่าจะมารอทำ bigdata ทั้งประเทศแบบนี้ เพราะผลประโชนแอบแผงมันมีอย่างที่บอก และไม่มีคนทำ ใครจะอาสาวางระบบ ใครจะเป็นคนแปลงข้อมูล ใครจะจ่ายค่าเซอเวอ ใครจะออกแบฟอม ใครจะบนิหารจัดการ ค่าใช้จ่ายเท่าใหล่ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับรุ่นเราที่องกรรัฐยังมีระบบยริหารจัดการข้อมูลบนอิเลกโทรนิกในช่วงเริ่มต้นและเน้นเอกสารกระดาษลายเซ็นแบบนี้
แค่ช่วงเวลานี้ยังไม่เหมาะถ้าอนคตระบบใหม่คนรุ่นไหม่ก็เป็นไปได้
ผมไม่มองเรื่องการทุจริตคอรัปชันอะไรเทือก ๆ นั้นนะครับ เพราะว่ามันก็ไม่ได้ถึงกับไม่มีใครรู้เรื่องอะไร
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ข้อมูลที่มีเปิดมาแต่ใช้งานไม่ได้ (ไม่ต่างอะไรกับไม่มี) อันนี้น่าจะเกิดการไม่มีรูปแบบข้อมูลที่ตายตัวและสามารถเข้าถึงจากเครื่องจักรได้ ตรงนี้ผมเดาเอาเองว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานก็น่าจะมีปัญหาลักษณะเดียวกัน ทำให้มันล่าช้า
เท่าที่ทราบ พวก regulator ของสถาบันการเงินในบ้านเราก็มีการบังคับเรื่องการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีโครงสร้างตายตัว เป็นมาตรฐานที่ใครก็สามารถดึงไปใช้งานได้ ผมไม่รู้ว่าข้อมูลภาครัฐมีข้อบังคับลักษณะนี้มั้ย เพราะเอาจริง ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งเองก็เพิ่งมีกฎหมายลักษณะนี้ออกมาไม่นานนี้เอง ผมว่าการไม่มีข้อบังคับตรงนี้นี่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาของทางภาครัฐเอง ถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่มีโครงสร้าง (csv ก็ยังดี สายแบงค์ก็ยังใช้อยู่) การนำไปประมวลให้เป็นสารสนเทศก็ทำได้โดยเวลาอันสั้นและมีค่าใช้จ่ายต่ำ มันเป็นประโยชน์ต่อตัวภาครัฐเอง
ทั้งนี้ ไอ้ระบบประเภท เข้าถึงเว็บแอพ แล้วดึงออกมาเป็น html นี่ ผมว่าไม่น่าจะนับเป็น machnie readable นะครับ ... มันไม่มีโครงสร้างตายตัวน่ะครับ
ผมเข้าใจความคิดคุณ coupen นะครับ
โดยเฉพาะเรื่องเลเวลดิจิตอลและเรื่องอื่นๆ ที่พยายามยกตัวอย่างมา แต่อันนี้บอร์ดไอทีนะครับ กลุ่มคนเหล่านี้เชื่อมั่นในระบบมาก ยากจะเปลี่ยนความคิด ต้องอายุมากขึ้นกว่านี้ ถึงจะเข้าใจสัจธรรมว่าสัญชาติญาณการล่าอานานิคมของซีกโลกตะวันตกนั้นไม่ได้หายไป แค่เปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ ก็แค่นั้นเอง
ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี คือถ้าแบ่งเป็นสองประเด็น
อย่างแรกคือ ข้อมูลที่ควรเป็นความลับจริงๆ ไม่ควรให้ใครรู้ อันนี้ก็อาจจะคิดตามเหตุผลนี้พอได้ ซึ่งข้อมูลพวกนั้นจะปิดบ้างอะไรบ้างก็ไม่ว่ากัน แต่ปิดแล้วก็ต้องปิดจริงๆนะ ไม่ใช่ใครมีเงินมีคอนเนคชั่นก็เอาออกมาได้ ใครไม่มีก็ไม่สมควรรู้ต่อไป ไม่งั้นมันก็จะไปเข้าข้อสอง
อย่างที่สอง คำว่า อยากได้ก็ไปจ้างเอา แบบนี้ไม่ยิ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันของคนไทย โดยเฉพาะคนตัวเล็กๆ สู้ฝรั่งไม่ได้มากกว่าไหม เพราะ(ตามที่คุณว่า)พวกนี้เข้ามา เค้ามาพร้อมเงิน เทคโนโลยี จ้างบริษัทวิจัย บัญชี กฎหมาย ฯ ในระดับที่คนไทยยากที่จะจ้างไหว กลายเป็นว่า มัวแต่ปิดข้อมูลเพราะกลัวฝรั่งจะรู้ แต่เมื่อใช้เงินใช้คอนเนคชั่นหาได้ซื้อได้ คราวนี้ก็กลายเป็นว่า ฝรั่งหรือคนมีเงินเท่านั้นที่รู้ ส่วนคนตัวเล็กๆก็ไม่ต้องรู้อะไรกันต่อไป
ถ้าคุณจ้างคนเก็บข้อมูล คุณจะไม่ได้แค่เพียงข้อมูล คุณจะได้บุคลากรชำนาญการกลุ่มหนึ่ง
บุคลากรชำนาญการกลุ่มนี้ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเป็น mentor ในภาคการเก็บข้อมูล บางส่วนไปจัดตั้งบริษัทเก็บข้อมูล
จำนวนบุคลากรที่เก็บข้อมูล ความชำนาญการ องค์ความรู้ มีแต่จะเพิ่มพูน และเป็นผลดีกับทุกอย่างในประเทศ
อย่ามาอ้างความสามารถในการแข่งขันของคนไทย คุณอ่านภาษาไทยออก รู้จักที่ทางดีกว่าใครคุณใช้เวลาแทบทั้งชีวิตที่นี่ เท่านี้คุณก็ได้เปรียบไม่รู้กี่เท่า
ผมดู NHK ก็มีแต่ข่าวเด็กญี่ปุ่นทำการบ้านชั้นประถม ออกมาทุกๆปี
บางคนลงทุนไปอยู่บ้านญาติทั้งเดือนเพื่อศึกษาเรื่องที่มีข้อมูลดาษดื่นในหนังสือคู่มือแมลงอยู่แล้ว
จนค้นพบแมลงชนิดใหม่
คนญี่ปุ่นทุกคนเป็น pioneer ในตัวเอง แม้หนังสือหรือข้อมูลจะเขียนอะไร เขาจะไปตามหาของจริง และเรียบเรียงข้อมูลชุดที่ 2 ออกมา ด้วยตัวเอง เมื่อทุกคนทำพร้อมกันจนกลายเป็นข้อมูล 1 ล้านชุด สิ่งที่ตามมาคือองค์ความรู้ขนาดมหึมา และนั่นเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนชาติของเขามาตลอด คนนับล้านต่างอาสาเป็น "เสา" แบก แทนที่จะไปเกาะกิน "เสา" เพียงต้นเดียว
ในขณะที่คนไทยบางกลุ่มกลับพยายาม "ขอ" แม้กระทั่งเรื่องที่สามารถเดินออกไปสำรวจเองได้ด้วยตนเอง พยายามยึดเหนี่ยวเกาะกินกับข้อมูลเพียง 1 ชุด แทนที่จะค้นหาและเรียบเรียงข้อมูลด้วยตนเอง คุณจะเห็นได้ว่าไม่มีใครอยากเป็น "เสา" แบกหาม ดังนั้นอย่าแปลกใจว่าทำไมประเทศถึงไม่พัฒนา เพราะมนุษย์ = ประเทศ
ไม่ว่าจะมีสภาวะที่ได้เปรียบใครอย่างไร ความเกียจคร้านก็ทำให้คนตกต่ำลงไปได้เรื่อยๆไม่สิ้นสุด
ข้อมูลหนึ่งล้านชุดที่คุณบอกถ้ามันเรื่องเดิมๆซ้ำไปซ้ำมาถามว่าทำไมครับ มนุษย์พัฒนาเพราะนำข้อมูลมาแบ่งปัน เราเอาเวลาที่นั่งทำเองเอาข้อมูลมาต่อยอดมันถึงจะพัฒนาครับ คุณคิดว่าเราเอาข้อมูลจากรัฐไปทำอะไรครับ เพื่อสบายมันไม่ต้องขอไม่ต้องทำอะไรเลยครับ ข้อมูลจากรัฐเราทำมาเพิ่มมูลค่าของข้อมูลครับ เอาเวลาไปคิดสร้างใหม่ดีกว่าย้ำอยู่ที่เดิมไหม เอาไปพลังไปใช้อย่างไร้ประโยชน์ทำให้คนตกต่ำมากกว่า
ข้อมูลจากการวิจัยต่างแหล่งกันจะมี perspective ที่แตกต่างกันแม้แต่รายละเอียดเล็กๆ
และเป็นที่มาของการค้นพบสิ่งใหม่ในระดับ พื้นฐาณที่สุด ของที่สุดถ้าทุกคนเอาแต่ยึดกับข้อมูล 1 ชุดทุกวันนี้เราก็ยังคงมโนอยู่กับฟิสิกซ์นิวตันนั่นแหละครับ
คนที่นั่งอยู่กับที่ มัวแต่ขอ กับคนที่เดินออกไปแสวงหา ใครย่ำอยู่กับที่กันแน่ครับ
รู้ยังครับทำไมประเทศเราย่ำอยู่กับที่พวกอ้างตัวเป็นคนการศึกษาดี = ขี้เกียจ นั่งตากแอร์ แชร์เซลฟี่เป็นงานหลัก
ประเทศพัฒนาแล้วคนการศึกษาดี = ออกไปอาบเหงื่อ perform 120% เกิดจำนวนงานขึ้น
แล้วทำไมคุณถึง assume ไปแล้วว่า เมื่อได้ข้อมูล 1 ชุดนั้นมาแล้วจะไม่มีใครคิดอะไรต่ออีกแล้ว เทียบกับการเรียนก็แล้วกัน พวกองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมาเป็นตำราหรือหนังสือเรียนก็เป็นแบบเดียวกัน (มีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามยุคสมัย) แต่ว่าถึงแม้เราจะเรียนมาจากหนังสือแบบเดียวกัน สุดท้ายก็มีคนที่สามารถต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ได้อยู่
แทนที่จะมีคนกลุ่มนึงพัฒนาการเก็บข้อมูลแล้วคนอีกกลุ่มนึงเอาข้อมูลนั้นไปพัฒนาเพื่อต่อยอดอย่างอื่นต่อ กลายเป็นคนทั้งสองกลุ่มต้องมาช่วยกันพัฒนาการเก็บข้อมูลแล้วแทบไม่เหลือทรัพยากรไปพัฒนาอย่างอื่นต่อ ดีครับดีบางทีผมก็สงสัยนะครับว่าทำไมคุณถึงไม่พัฒนาระบบเกษตรกรรมเพื่อทำอาหารเองทั้งหมด ระบบ อะไรนะ สิ่งทอ ทำเสื้อผ้าใส่ ระบบคอมพิวเตอร์เอง ระบบอินเทอร์เน็ตเอง
อ๋อไม่ครับ ไม่มีใครย่ำอยู่กับที่ คนที่ขอความรู้จากฟิสิกส์นิวตันก็ต่อยอดไปได้ไกลกว่านิวตัน คนที่ทำจากแรกเริ่มเค้าก็ได้อย่างอื่นครับนอกจากคุณคิดตื้นมากๆ นั่นแหละครับ คุณก็ย่ำอยู่กับที่แสวงหาได้แค่ระดับต้นนั่นแหละ ของบางอย่างในชั่วชีวิตเดียวมันก็คิดไปจนถึงปลายไม่ได้ถ้าไม่ขอคนอื่นขึ้นมาก่อน อย่างตรงนี้
เอาแค่ตารางการเดินรถโดยสารคุณใช้เวลาเก็บข้อมูลนานขนาดไหนครับ โปรเจคทำคนเดียวนี่แหละ กลับมาเขียนแอปอีกสองสัปดาห์มีเปลี่ยนตารางแล้วออกไปเก็บใหม่อีกที?
ผมจะสรุปสั้นๆ เพราะยาวคงไม่อ่าน
คนประเทศ 1 ได้ข้อมูล - ปฎิบัติ - บันทึกข้อมูลชุดใหม่จากการปฎิบัติคนประเทศ 1 ไม่มีข้อมูล - ปฎิบัติ - ค้นหา - บันทึกข้อมูลชุดใหม่จากการปฎิบัติ
คนประเทศ 3 ได้ข้อมูล - ลอกข้อมูล - ลอกข้อมูล - ลอกข้อมูล -> มโนต่อยอด ->คนประเทศ 3 เข้าใจว่าตัวเองทำเหมือนประเทศ 1
คนประเทศ 3 บางครั้งอ้างคนประเทศ 1 โดยคิดว่าตน "ทำเหมือนกัน"
เรื่องนี้ต้องเทียบกับประเทศอื่นด้วยหรือครับ? แล้วมโนต่อยอดนี่มาจากไหน?
ผมเบื่อชุดความคิด "ไม่ควรทำ ไม่ควรทำ ไม่ควรทำ" ของคุณมากครับ ทั้งๆที่คุณเอาความเห็นส่วนตัวมายืนกรานบอกว่ามันไม่ดี คนไทย'โง่'ใช้ข้อมูลมาให้เป็นประโยชน์ไม่ได้จริง แต่ก็ไม่เคย'ชี้(point)'ข้อเสียว่าทำแล้ว'แย่ยังไง' ตรงไหนควรปรับแก้ได้ซักครั้ง ผมว่าตรงนี้แหละเป็นเหตุผลที่คนมาค้านคุณ อันนี้ผมคิดเหมือนคุณ mr_tawan นะว่าคุณกำลัง'ตั้งแง่'กับฝ่ายเอกชนอยู่
เทียบกับคุณ Hoo ที่ค่อนข้างคัดค้านเหมือนกัน แต่กล่าวถึงข้อเสียที่ valid ชี้สิ่งที่ควร-สิ่งที่ไม่ควรหรือต้องปรับปรุงได้ชัดเจนแล้วมันคนละเรื่องเลยครับ
การที่คุณ'ตั้งแง่'กับฝ่ายเอกชนแบบนี้ ผมก็สงสัยนะว่าคุณเป็นคนแบบไหน ทำงานด้าน data มามากพอที่จะมองทุกอย่างทะลุปรุโปร่งว่ามันแย่ยังไงแย่ขนาดไหน กับไม่เคยทำงานด้าน data เลยแต่ใช้'ความรู้สึก'ส่วนตัวมาตั้งแง่
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
sailed
ถ้ามันจะ sailed มันก็ sailed ตั้งแต่ comment แรกของคุณใน topic นี้แล้วหล่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
(กดเบิ้ล)
จริงๆ อันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องดิจิตอลและไอทีนะครับ
เปิดสัญญาสัมปทานกับการถือครองที่ดิน คนอยากรู้เป็นใคร กลุ่มชาวบ้านคนทั่วรู้ว่าใครรวยใครได้ มีให้เมาท์ในวงน้ำชา
กลุ่มทุนต่างๆ รู้... ยิ้มสิครับ ทำไงได้บ้าง หรือเอาที่ตรงนั้นมาได้ยังไงจากใคร โหดกว่าก็ปั่นข่าวสร้างสถานการณ์ให้เกินบวกเกิดลบได้สบายๆ ที่เค้าบอกว่า Inside ไงละครับ อำนาจในการควบคุมตลาดจะอยู่ในมือคุณ ถ้าคุณมีเหมืองข้อมูลและเครื่องมือใช้ข้อมูลที่ดีพอ
ผมก็คนหนึ่งที่บ้า OpenData มากๆ เลย จนได้ไปสัมผัสถึงวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล เราต้องเข้าไปสัมผัสถึงการได้มาซึ้งข้อมูลใดๆ ที่สุดท้ายเราจะเอามาผ่านกล่องดำใบหนึ่ง แล้วเอาข้อมูลเผยแพร่ออกไป กล่องดำใบนั้นบางทีเราก็เปิดให้คนดูไส้ใน บางทีเราก็ต้องแก้ไขไส้ให้ไม่เหมือนที่ใช้จริงเพื่อประโยชน์บางอย่างของตัวเราหรือคณะทำงาน (เพื่ออะไรก็ชั่ง) แต่ข้อมูลก่อนเข้ากล่องเนี่ยสิ ถ้าไม่ได้ลงไปเคยสัมผัสจริงๆ ผมก็คงคิดว่าข้อมูลเนี่ยยังไงก็ต้องเปิดให้หมด จนได้เก็บจริงเราถึงรู้ว่าบางอย่างเนี่ย ให้มันเข้าถึงได้ยากๆ หรือต้อง Authorization เยอะๆ แต่สุดท้ายมันมีคนที่อินไซน์โคตรๆ อยู่ดี ฉะนั้นบางทีต้องแก้ปัญหาแบบลด Accuracy ลง หรือโหดๆ หน่อย ก็ใส่ Distortions ถามว่าเพื่อไร คนเอาไปใช้ไม่เกิดประโยชน์เลยนะ บางทีเราก็ทำเพราะว่าเราเห็นความจริงจากแหล่ข้อมูล หรือสังคมต้องการความจริงที่ไม่ใช่ความจริง
ส่วนตัวเลยผมเลยมองว่าถ้าอยากที่เอาความจริงๆ ไปนั่งคุยในวงน้ำชามาก (ทำ OpenData) ให้เราคิดก่อนว่าสังคมต้องการความจริงแบบไหน และที่สุด เราจะ Privacy Preserving แหล่ข้อมูลเราอย่างไรให้ได้มากที่สุด เพราะมันได้เกิดผลดีกับเจ้าของข้อมูลตัวจริงๆ ซักเท่าไหร่หรอก
ใช่เลยครับ
Open Data พยายามอ้างข้อดีด้วยการพูดไม่หมดว่า
"คนในประเทศจะได้ประโยชน์"
ซึ่ง สถานการณ์จริงของ Open Data ควรจะพูดเป็นประโยคเต็มๆ ว่า"คนในประเทศจะได้ประโยชน์ แต่บรรษัทข้ามชาติได้ประโยชน์มากกว่า"
ผมเห็นด้วยกับการเปิดเผยสัญญาสัมปทาน จะได้รู้ว่าบริษัทไหนมีผลประโยชน์อะไรกับรัฐประชาชนจะได้รู้ แต่การเปิดเผยการถือครองที่ดินเป็นเรื่องส่วนตัวมากๆจะมีมากมีน้อยก็เรื่องเขา ถ้าได้มาไม่สุจริตก็มีหน่วยงานคอยตรวจสอบอยู่แล้ว จะเปิดเผยไปทำไม แล้วถ้าเปิดเผยสังคมจะได้อะไร วันนี้เปิดเผยการถือครองที่ดิน วันหน้าจะเปิดเผยอะไรอีก
การครอบครองที่ดินมันก็ดีอย่างเสียอย่างครับ ถ้าใครจำคดีที่ดินวัดสวนแก้วของพระพยอมฯได้ล่ะก็จะรู้เลยว่า เอ้อ...ใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง
แต่ที่น่ากลัวกว่าคือ ถ้าเกิดใครมีที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์อะไรไว้แล้วมีคนเข้าไปครอบครองแบบปรปักษ์ล่ะก็งานเข้าครับ ฟ้องกันอีรุงตุงนังเลย
ผมไม่ได้ว่าการครอบครองดีหรือไม่ดี แต่พูดถึงการเผยการถือครองที่ดินว่าไม่เป็นประโยชน์อะไรเลยแถมยังเป็นการละเมิดสิทธิ์ประชาชนด้วย
ผมสมัครมาเพื่อคอมเม้นนี้ เนื่องจากเนื้อหามันมีประโยชน์มาก
แต่หลายๆอย่าง ค่อนข้างจะไปในแนวทางชี้นำ จนน่ากลัวมากว่าคนเขียนไม่เข้าใจในสาระสำคัญ
(และทำให้เกิดความเห็นที่อ่านแล้วแปลกๆหลายอย่าง) โดยมีความเห็น ตามด้านล่างดังนี้
หัวข้อเน้นถึง โดยเฉพาะสัมปทานและการถือครองที่ดิน
ซึ่งในเนื้อหาไม่ได้มีการเน้นถึงเรื่องนี้เลย มีบอกแค่
1.1 จุดประสงค์งาน,
1.2 ภาพรวมปัจจุบัน (หลักการที่ใช้วัด / เกณฑ์การวัด, ภาพรวมของความพร้อมแต่ละภาคส่วน/ Readiness, คุณภาพข้อมูลตามเกณฑ์ / Implementation, และผลกระทบของข้อมูล แต่ละส่วน / Impact ) ,
1.3 สรุป (ถ้าผู้เขียน เขียนตรงตามที่ผู้พูดสรุป)
ดัชนีชี้วัดการเปิดข้อมูลสากล ควรใช้ตาม slide คือ open data barometerเพราะผู้พูด อาจจะไม่สามารถแปลได้ตรงตามความหมายได้เช่นกัน (ผมพยายามหาคำแปลที่เหมาะสม ก็หาไม่ได้เช่นกัน )
หัวข้อ "ไทยเปิดข้อมูลอะไรแล้วบ้าง"
ผมลองอ่านหลายรอบพบว่า "ตามชาร์ต" ที่อ้างถึง คือ "เรามี Data แล้วหรือยัง" ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ "ไทยเปิดข้อมูลอะไรแล้วบ้าง" / ควรจะเป็น "ไทยมีข้อมูล (ที่มีคุณภาพ)หรือยัง"พอผมไปอ่านใน source link ที่ใช้เปรียบเทียบนั้น ทำให้พบว่า ประเทศไทย ไม่เปิดข้อมูลให้ใช้งานทุกกลุ่ม
ส่วนตัวเลขที่แสดงในภาพคือคุณภาพข้อมูลวัดตามเกณฑ์ของ open data barometer สามารถเปิดเทียบตาม link ในเนื้อหาได้ (หรือจะอ่านตามภาพข้างได้เช่นกัน โดยแถว Thailand เป็นสีแดงทั้งหมด แสดงถึง "Is the data set open? No" กรณีเป็นสีเขียว "Is the data set open? Yes" เช่น Philippine มีเขียว 1 ช่องในส่วน public contracts และภาพ icon ข้างบนแสดงถึงกลุ่มหน่วยงานที่แบ่งตามเกณฑ์ หลากหลายประเภท)
หวังว่าผู้เขียน จะพัฒนาตัวเองให้มีความเป็นสื่อกลาง และเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการสื่อออกมาให้ดียิ่งขึ้นนะครับ
สรุปความเห็นส่วนตัว
1. ส่วน Implementation เปรียบเทียบกับประเทศอย่างญี่ปุ่น หรือสิงคโปร แล้วพบว่า ประเทศเหล่านี้ก็ไม่ได้เปิดข้อมูลให้ใช้งานเช่นกัน แต่คะแนนของคุณภาพข้อมูลนั้น ส่วนใหญ่สูงอย่างมาก เข้าใจว่า เปิดให้ใช้งานได้เมื่อมีการร้องขอ โดยอยู่ในความดูแล,ควบคุมของรัฐ ถ้าไทยจะทำคงต้องพิจารณาตามกฎหมาย และประโยชน์ที่ได้รับก่อน (ผู้พูดสรุปไว้ ไม่มีกฎหมายรองรับ )
2. ส่วน readiness ความพร้อมของไทยที่จะให้ข้อมูล ในส่วน รัฐบาล , หน่วยงานราชการ , สังคม/ประชากร , ภาคเอกชน คะแนนต่ำกว่าที่คิด โดยเฉพาะภาคประชาชน จนสงสัยว่า เกณฑ์วัดจากอะไร
3. ส่วน impact คะแนนต่ำเรี่ยดิน ตามเนื้อหา ไม่ได้แปลกใจมากนัก ถ้าวัดจากข่าวที่ออกตามทีวี หนังสือพิมพ์มาช่วงนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลภาครัฐนี้ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4. ถ้ามีกฎหมายรองรับ หลายๆอย่างน่าจะมีรูปร่างให้เห็นและใช้งานได้มากขึ้น ภายใต้การควบคุม/ดูแลของรัฐ
รายละเอียดข่าว isranews น่าจะสื่อตรงกับผู้พูดมากกว่า
ว่าแต่ มีเว็บไหนที่รวบรวมกฏหมาย และ พรบ ต่างๆไว้ครบๆ และอัพเดทล่าสุดตลอด บ้างมั้ยครับ
ทุกวันนี้ไล่ต้องไล่หาดูเอาตามเว็บแต่ละหน่วยงาน ซึ่งแต่ละเว็บ UI มันไม่เหมือนกันเลย สืบค้นยากมาก บางหน่วยงาน พรบ. ที่เกี่ยวกับหน่วยงานตัวเองมีแค่ครึ่งเล่มก็มี(สารบัญมี50หน้าแต่เปิดอ่านจริงมีแค่30หน้า)
กรณีกฎหมายเฉพาะทาง เช่นเกี่ยวกับการก่อสร้าง เห็นมัีของสมาคมสถาปนิกสยามครับ รวบรวมไว้ค่อนข้างครบถ้วน เป็นระบบ และอัพเดทสม่ำเสมอครับ แต่เน้นเป็นไฟล์ PDF