BioNTech ผู้พัฒนาวัคซีน mRNA ที่ใช้ป้องกัน COVID-19 ร่วมกับ Pfizer ประกาศตั้งโรงงานผลิตวัคซีน mRNA ในสิงคโปร์ หลังได้รับการสนับสนุนจากกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board - EDB)
โรงงานแห่งนี้จะก่อสร้างหลังจาก BioNTech ตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในสิงคโปร์ภายในปีนี้ และเริ่มยื่นขออนุญาตก่อสร้างต่อไป โดยคาดว่าโรงงานแห่งใหม่นี้จะเริ่มผลิตวัคซีนได้จริงในปี 2023 และมีกำลังผลิตหลายร้อยล้านโดสต่อปี โดยปริมาณวัคซีนไม่แน่นอนขึ้นกับชนิดวัคซีนที่จะผลิต
ที่มา - BioNTech
ภาพวัคซีน BNT162b2 จาก BioNTech
Comments
ถึงตอนนั้น ChulaCov19 น่าจะเสร็จพอดี อาจจะได้จ้างโรงงานใกล้ๆ บ้านผลิต
รอเลยตัวนี้ ^^
ผมว่าโอกาส fail สูง ไม่ใช่เพราะวัคซีนไม่ดี แต่เราหา hotspot ของการระบาดเพื่อที่จะทำการวิจัยไม่ได้ ในไทยไม่ใช่แน่ๆ ถึงตอนนี้จะระบาดเยอะ แต่ยังเทียบเมืองนอกไม่ได้เลย ส่วนเมืองนอกก็มีงานวิจัยของวัคซีนยี่ห้ออื่นเต็มไปหมดอยู่แล้ว ทางเดียวที่จะสำเร็จคือไทยต้องติดเชื้อเยอะกว่านี้ ซึ่งก็ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ดี และถึงจะผ่านจนจบเฟส 3 โรงงานประเทศอื่นๆก็คงโควต้าการผลิตเต็มหมดแล้ว ในระหว่างนี้เราต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อตั้งโรงงานในไทย ซึ่งถึงจะไม่ได้ผลิต chulacov หากมัน fail ก็อาจรับผลิตของยี่ห้ออื่นไปแทน
ไม่อยากคาดหวังสูง....
มีวัคซีนcovidอย่างน้อยสี่ตัวที่ไม่ได้ไปต่อ เพราะทดสอบเฟส1แล้วไม่ผ่าน ทั้งๆที่งบประมาณวิจัยมหาศาล เช่น Merk
เห็นด้วยครับ นั่งดูข่าวขนาด Sanofi ของฝรั่งเศส
ที่ทำวัคซีนไม่สำเร็จแล้วคือมันมีปัจจัยหลายอย่างมากๆ ทั้งเงิน ทั้งเทคโนโลยีในมือ
ที่สำคัญคือ ถ้าต้องลงเงินเพิ่มแล้ว มันไม่น่าจะดีกว่าของที่สำเร็จแล้ว ก็ไม่ควรทู่ซี้ไปต่อนี่แหละ
ิเกรงว่าไม่น่าจะสำเร็จน่ะสิครับ การทำวัคซีนนี้ใช้ทุนเยอะต้องมี Sample Size เยอะมาก การ Coordinate สำคัญมาก ผมว่าของมหิดลยังดูได้ลุ้นกว่า เพราะร่วมกับมหาลัยอเมริกา ลองใน 5 ประเทศแล้วตอนนี้
ของจุฬาก็ร่วมกับเมกาครับ
ร่วมกับสถาบันอะไรหรอครับ ผมหามาหลายข่าวแล้วไม่เจอแฮะ ส่วนวัคซีนของมหิดลใช้ Viral Vector
วัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือสนับสนุนโดยคุณหมอนักวิทยาศาสตร์ผู้คิดคนเทคโนโลยีนี้คือ Prof.Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
เท่าที่อ่าน ไม่มีตรงไหนที่บอกว่าได้รับการทดลองในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่นะครับ
https://www.chula.ac.th/news/43752/ ตามนี้ครับ
"...จากความร่วมมือสนับสนุนโดยคุณหมอนักวิทยาศาสตร์ผู้คิดคนเทคโนโลยีนี้คือ Prof.Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย.."
จะบอกว่าไงดี ที่ร่วมผมหมายถึงมีการวิจัยเป็นทีม แต่เท่าที่อ่านของจุฬาคือร่วมมือกับ Drew Weissman ที่เชี่ยวชาญด้าน RNA ไม่ได้เซ็นกับสถาบัน(อาจจะเป็นการให้ Patent กับจุฬาไปวิจัย)
ในจีนเอง BioNTech ก็ร่วมมือกับ Fosun Pharma เพื่อผลิตวัคซีนให้ได้ปีละพันล้านโดส
ส่วนไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี viral vector ให้กับโรงงานเอกชนแห่งหนึ่งที่ยังทำชุดตรวจโควิดให้ผ่าน อย ไม่ได้ (แต่เชิญนักข่าวไปทำข่าวเรื่องบริจาคชุดตรวจให้รัฐแล้ว)
เค้าผลิตน้ำยาตรวจมาให้ตั้งแต่ปีที่แล้วครับ สมัยที่มีข่าวว่าขาดแคลน
ชุดตรวจที่ออกข่าวนั่นคือน้ำยาตรวจหรือไม่ครับ ตามข่าวนี้คือชุดตรวจ RT-PCR ตามข่าว
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2115524
ซึ่งจริงๆ เริ่มผลิตตั้งแต่ปีที่แล้วหละ
ใช่ มันคือชุดตรวจตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ผ่าน อย จนในการประชุมคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร พูดถึงเมื่อ 4 กุมภา 2564 ว่า มีผู้ผลิตรายเล็กในไทย ชื่อ After Lab ผ่าน อย แต่ของสยามไบโอกลับยังไม่ผ่าน (ก้าวไกลเอาประเด็นนี้ไปเล่นในการซักฟอกด้วย)
วันที่ทำข่าวบริจาค 2 เมษา 2563 ตอนนั้นมีชุดตรวจ RT-PCT ที่ผ่าน อย แล้ว 9 ตัว จนถึงรายชื่อล่าสุด 30 เมษา 2564 มีทั้งหมด 90 ตัว ชุดตรวจที่สยามไบโอมอบให้ตั้งแต่ปีที่แล้ว คงใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมีการพัฒนาจากแบบ Duplex เป็น Triplex และสยามไบโอได้เสนอจะเปลี่ยนเป็นชุดน้ำยา Triplex แทนให้ และได้แบรนด์ชุดตรวจใหม่คือ Covitect ซึ่งตอนนี้เวอร์ชั่น 1.72 กำลังเข้าสู่ช่วงประเมินน้ำยารอบที่ 3 อัพเดทล่าสุด 2 มีนา 2564 ก่อนที่จะเงียบหายไปอีก
อ้างอิง
https://twitter.com/mfpthailand/status/1361931280166756353
https://www.plandmsc.com/images/2020/TM_23_กพ 64/3.1.2__น้ำยา_SBS_23Feb2021.pdf
https://www.plandmsc.com/images/2021/TM_02 มีค 64/3.1.2 น้ำยา_SBS_2Mar2021.pdf
https://qrgo.page.link/e47Dc
Vaccine Tourism in Singapore ?
แต่ดันเสร็จ 2023 เนี่ยสิครับ เดาว่ารัฐบาลสิงคโปร์น่าจะอยากดึง BioNTech มาทำโปรเจคอย่างอื่นด้วย โดยเฉพาะรักษามะเร็ง
ถ้ามันยังกลายพันธุ์ และการแพร่ระบาดยังมีอัตราสูงแบบนี้ แป็บๆ อาจจะ 2023 ก็ได้นะ แถมอาจจะมีรุ่นอัพเดทเพิ่มเติมให้ประสิทธิภาพดีขึ้นไปอีก
นาทีนี้เทคโนโลยีมันมีอนาคตมาก เขาก็อยากดึงให้มาอยู่กับเขาก่อนล่ะครับ
ถ้าบอร์ดลงทุนจะเสนอข้อเสนอดีจัดๆ พวกปลอดภาษีสิบปีอะไรแบบนั้นก็จะไม่แปลกใจเลย
lewcpe.com , @wasonliw
สมกับประเทศพ่อค้าจริงๆ
ไม่ใช่พ่อค้า อย่างเดียวนะครับ พ่อลงทุน และพ่อวิสัยทัศย์ด้วย
ยังมียาเม็ดแบบรับประทานสำหรับรักษาของ pfizer ที่กำลังจะเข้า phase 2 อีกนะครับเป็นการแข่งขันที่น่าดูจริง ๆ ว่าเกณฑ์จะเลิกใช้วัคซีนแล้วเปลี่ยนมารับประทานเพื่อรักษาแทนรึเปล่า
ต่อให้มียารักษา มันก็ต้องมีวัคซีนอยู่ดี
ก็เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่มี Tamiflu แต่ก็มีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีน
ที่ผมอ่านมาคือตัวที่เป็นแบบเม็ดกินของไฟเซอร์มันคือวัคซีนเลยนะครับ ไม่ใช่ยารักษาแล้วไม่ใช่มีแต่แบบเม็ด มันมีแบบสเปรย์ฉีดพ่นทางจมูกด้วย
แต่วัคซีนกลุ่มนี้จะมีผลกับแค่พวกไว้รัสที่ติดต่อในระบบทางเดินหายใจเท่านั้นไวรัสกลุ่มอื่นยังต้องใช้วัคซีนแบบฉีดอยู่
ข้างบนเค้าบอกว่า "เกณฑ์จะเลิกใช้วัคซีนแล้วเปลี่ยนมารับประทานเพื่อรักษาแทน" ซึ่งมันไม่ใช่น่ะ
มีถ่ายทอดเทคโนโลยีไหมหรือแค่มาตั้งก็คุ้มแล้วแบบวันดีคืนดี TSMC/Intel/Samsung เลือกไทยเป็นฐานผลิตชิพต่อให้ไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีเลยก็คุ้มไหม?
ต่อให้ไม่ถ่ายทอดโดยตรง แต่คนงานที่ทำงานก็คนในประเทศนั้นๆแหละครับ ก็มีโอกาสได้เข้าถึงเทคโนโลยีเองนั่นแหละ
แต่ปัญหาที่ไทยเคยเจอคือ ส่งเสริมองค์ความรู้เด็กจบปริญญา ไปทำงานสายนั้นไม่ทันครับ แทนที่จะใช้วิศวกรในประเทศได้ 80-90% แต่ดันกลายเป็นว่าต้องนำเข้าวิศวกรจากสิงคโปร์ มาเลย์ ฮ่องกง มาประจำการในโรงงานไทย และมักมีหน้าที่ดูแลส่วนR&Dหรือองค์ความรู้ชั้นสูง เราก็เลยเหมือนต่อยอดอะไรไม่ค่อยได้ เพราะตำแหน่งสำคัญโดน expat ทำหมด
ที่ว่ามาคือจากที่เจอมาในโรงงานข้ามชาติ 10กว่าปีก่อนนะครับ ยุคที่อุตสาหกรรมelectronic ส่งออกรุ่งเรืองที่สุด(อันดับ1ของGDPส่งออก ซึ่งตอนนี้sunsetกลายเป็นยานยนต์ขึ้นมาแทน) ขนาดที่บ.ไปให้ทุนการศึกษาที่มหาลัยโดยตรง จนถึงขั้นส่งพนักงานที่มีแววไปเรียนต่อป.โท ป.เอก ก็ยังสร้างเด็กที่เรียนมาตรงสายงานได้น้อยมากๆ สุดท้ายก็ต้องนำเข้าวิศวกรต่างชาติ ซึ่งกลายเป็นว่าต้นทุนสูงกว่าไปตั้งประเทศที่มีแรงงานมีทักษะรองรับมากกว่า
อีกอย่างก็เรื่องกำแพงภาษาอังกฤษด้วย สมัยนี้อาจจะดีขึ้นเยอะ
นึกถึงโรงงาน Storage แห่งนึง ผมไม่เคยทำที่นั่นแต่มีน้องเล่าให้ฟัง R&D เป็น มาเล ซะเยอะ
อันนี้เราเก็บเกี่ยวไม่ได้นี่เป็นความผิดพลาดของเราเองครับ ผมเห็นกว่าทุนจะมาก็หลังๆ มากๆ แล้ว (โรงงานมันเยอะไปแล้ว อุตสาหกรรมมันถึงจุดสูงสุดแล้ว) พวกนี้มันคือการลงทุนระยะยาว นาทีนี้เจรจามาได้ โรงงานแรกใช้แค่ 80 คน อาจจะต้องเตรียมให้ทุนสายนี้ไปเลย 10-20 คน แล้วไม่ต้องไปงกดูดคนเข้ารัฐบาลหมด ให้ทุนอาจจะมีเงื่อนไขหลวมๆ ทำงานในประเทศ 2-3 ปีอะไรแค่นั้นพอ
โรงงานแรกๆ มาถ้าสำเร็จมา 3, 4, 5 โรงงานจะได้มีคนไว้พร้อม
lewcpe.com , @wasonliw