Tags:
Node Thumbnail

ยูสเซอร์ Developer-Y ได้สร้าง repository บน GitHub รวมคอร์สเรียนวิทย์คอมและโปรแกรมมิ่งออนไลน์แบบมีวิดีโอเป็นภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกมาไว้ในที่เดียว ตั้งแต่ปี 2016 ปัจจุบันมีคอร์สเรียนกว่า 800 คอร์ส จากผู้มีส่วนร่วม 49 คนที่ช่วยกันอัพเดต

วิชาที่รวมมา มีตั้งแต่บทนำสู่วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม, แมชชีนเลิร์นนิ่ง, ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงวิชาการเงินเชิงคำนวณ (Computational Finance), ชีวะวิทยาเชิงคำนวณ (Computational Biology), โรโบติกส์ วิชาการพัฒนาบล็อกเชน และอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ GitHub หรือถ้าสนใจด้านอื่นๆ Developer-Y ยังได้รวมคอร์สวิดีโอทั้งวิชา วิทย์-คณิต วิชา Java ไปจนถึง วิชาสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์แบบสเกลได้ (Scalable Software Architecture) ไว้ให้ใน GitHub อีกด้วย ถือเป็นคลังความรู้ที่น่าจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับวิศวกรซอฟต์แวร์และนักพัฒนาในปัจจุบัน

No Description

ที่มา - GitHub

Get latest news from Blognone

Comments

By: Hoo
Android Windows
on 27 January 2022 - 21:12 #1238803

ส่วนตัว อยากให้กระทรวงศึกษา หรือ หน่วยงานซักหน่วย
เอาคอร์สพวกนี้มาแปลไทย
จะแบบใส่ซับ หรือ พากษ์ไทยไปเลย ยิ่งดี

ไม่รู้ว่าต้นทุนจะแพงมั๊ย (ค่าลิขสิทธิ+ค่าแปล+ค่าพากษ์)แต่คิดว่าน่าจะคุ้ม

By: rattananen
Android Windows
on 27 January 2022 - 21:59 #1238809 Reply to:1238803

ไม่คุ้ม ไม่จำเป็นครับศัพท์เทคนิคทั้งนั้น อย่าแปลเป็นไทยจะเข้าใจง่ายกว่า

By: Azymik on 27 January 2022 - 23:22 #1238817 Reply to:1238809

+1ตอนผมเรียนคือหลับในห้องเรียนตลอดครับ แล้วไปอาศัยอ่าน text เอาเอง บวกกับติวให้เพื่อนอีกนิดหน่อย ดีกว่าเยอะครับ

By: wegang
Contributor Android
on 28 January 2022 - 11:03 #1238868 Reply to:1238809
wegang's picture

+1 อย่าแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยเลย

เคยอ่านตำราวิชา Data Structure ภาษาไทย เจอคำว่า "แถวคอยบุริมภาพ" ถึงกับมึนตึ๊บ ต้องไปอ่านโค้ดถึงจะเข้าใจว่าหมายถึง Priority Queue

By: BouncingBreasts
Android Ubuntu Windows
on 28 January 2022 - 16:03 #1238925 Reply to:1238868
BouncingBreasts's picture

ตัวแปรโครงสร้าง + ตัวชี้ + คณิตกร = เหวอ

By: panther
Contributor Android Ubuntu Windows
on 29 January 2022 - 00:10 #1238980 Reply to:1238868
panther's picture

น่าจะเล่มเดียวกัน ผมเจอตัวแปรแบบพลวัต

By: Ford AntiTrust
Contributor Android Blackberry Ubuntu
on 28 January 2022 - 20:57 #1238971 Reply to:1238809
Ford AntiTrust's picture

ผมทันยุคตำราคอมพิวเตอร์มีแปลไทยเต็มชั้นวางหนังสือใน se-ed ยุคนั้นเป็นสวรรค์มากสำหรับเด็กที่อยากศึกษาคอมพิวเตอร์ Microsoft press และตำรา Linux, Borland ฯลฯ เยอะแยะมาก เด็กๆ แบบผมที่ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษยังเอามานั่งอ่านลองทำได้

ผมคิดว่าหากเราไม่สนใจหรือไม่คุ้มค่าในมุมเราก็ได้แหละ

แต่ผมคิดว่าควรสนับสนุนในการแปลและทำออกมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้

By: rattananen
Android Windows
on 28 January 2022 - 22:05 #1238973 Reply to:1238971

ผมเห็นด้วยตรงควรเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง
แต่วิธีที่ผมคิดต่างออกหน่อย คือจะทำได้ต้องมีอำนาจทางการเมืองครับ- ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เรียนกันให้ native แบบภาษาไทยไปเลย
- บรรจุวิชา IT เป็นวิชาสามัญ เริ่มสักม. 4 แบบเคมี ชีวะ ฟิสิกส์

ถ้าทำได้ไม่ต้องเสียเวลาแปลเลยครับ

เอาจริงๆ ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเรียน CS ไวยกรณ์มันง่ายว่าที่ใช้คุยกับคนอีกครับเพราะผมก็อังกฤษไม่คล่อง แต่พอไปอ่านอะไรที่เกี่ยวกับ programming ที่แปลไทยนี่จะไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ

By: Ford AntiTrust
Contributor Android Blackberry Ubuntu
on 28 January 2022 - 22:14 #1238974 Reply to:1238973
Ford AntiTrust's picture

แต่การกระทำแบบนั้น คือเราทิ้งคนที่ไม่ได้ภาษาไว้ข้างหลังก็อย่างน้อย 2-3 เจนเลยนะ

By: big50000
Android SUSE Ubuntu
on 29 January 2022 - 14:40 #1239018 Reply to:1238973
big50000's picture

มันต้องปูพื้นฐานตั้งแต่รุ่นลูกรุ่นหลาน และนี่พึ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น หลักสูตรใหม่ของระดับประถมศึกษาบรรจุวิชาวิทยาการคำนวณไว้เรียบร้อยแล้ว แต่มัธยมยังไม่กระเตื้องเท่าไร แล้วการศึกษาภาษาอังกฤษของบ้านเรามันเข้าขั้นวิกฤต (อาจจะยังไม่เท่าญี่ปุ่น แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง) แล้วรากของปัญหามันมาจากระบบการศึกษาเอง ยังต้องแก้ปัญหากันอีกยาวเลย

สำหรับผมเองที่ได้ภาษาอังกฤษนี่ต้องขอบคุณพ่อแม่ที่พยายามปูพื้นฐานให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ (ทั้งคู่ไม่ได้รู้เรื่องภาษาอังกฤษเลย) ทำให้สนใจเรียนทั้งในห้องเรียน (ที่ยังจัดว่าแย่) และนอกห้องเรียน (หนังสือวิชาการ + อินเทอร์เน็ต) แต่กับครอบครัวอื่น ๆ หลาย ๆ ครอบครัวไม่ได้มีโอกาสเช่นเดียวกับผม (พ่อแม่ขาดการเอาใจใส่, ไม่มีเวลา, ขาดความสนใจในเรื่องนี้) เด็กโดนปล่อยตามยถากรรมกันหลายครอบครัวเลย

By: Hoo
Android Windows
on 30 January 2022 - 18:25 #1239108 Reply to:1238971

ใช่ครับ
feel มันจะประมาณยุคตำราคอมฯ se-ed
คือ ศัพท์เฉพาะก็ทับศัพท์ไป แต่ส่วนเนื้อหาแปลอธิบายเป็นไทย

อย่าง ญี่ปุ่นหรือไต้หวัน ก็ใช้วิธีนี้
ทำให้สร้างคนสายเทคฯได้ โดยเฉพาะเด็ก-วัยรุ่นที่ยังไม่เก่งภาษา
ซึ่งระยะยาว เมื่อเข้ามหาลัย-วัยทำงาน ภาษาเขาาจะแข็งพอจะอ่าน text ได้พอดี

ไม่รวมถึงผู้ใหญ่ที่ต้องการเปลี่ยนสายอาชีพ
มีสมองด้านตรรกะและความเข้าใจที่ดี แต่อ่อนภาษาก็จะอัพความรู้ด้านนี้ควบคู่เรื่องภาษาได้
เพื่อให้เปลี่ยนงานได้เร็วกว่าต้องไปอัดภาษามาก่อน

By: whitebigbird
Contributor
on 28 January 2022 - 08:37 #1238836 Reply to:1238803
whitebigbird's picture

ถ้าแปล ไม่ควรแปลในส่วนศัพท์เทคนิค ให้ใช้ทับศัพท์ไปเลย

ถ้าต้องเรียนศัท์เทคนิค จะภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็พอกัน แต่ถ้าเรียนศัพท์เทคนิคภาษาไทยแล้วเอาไปศึกษาต่อยอดยาก ส่วนที่เป็นคำอธิบายนั่นแปลไปเลย

By: btoy
Contributor Android Windows
on 28 January 2022 - 05:41 #1238824
btoy's picture

ดีงามครับ


..: เรื่อยไป