สวิตเซอร์แลนด์ผ่านกฎหมายเมื่อปี 2023 ที่ว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ในการทำงานของภาครัฐ (การใช้งานอาจจะมีอยู่แล้ว แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ) ซึ่งในเนื้อหามีการกำหนดในซอฟต์แวร์ที่ภาครัฐพัฒนาเองหรือจัดซื้อจัดจ้างมา เปิดเผยเป็นโอเพสซอร์สทั้งหมด ยกเว้น หากมีเรื่องของความปลอดภัย หรือซอสโค้ดที่ใช้งาน มีเจ้าของเป็นบุคคลหรือบริษัทอื่นอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ในกฎหมายฉบับเดียวกันยังกำหนดให้รัฐบาลทำ Open Government Data เปิดเผยข้อมูล ที่ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่มีผลต่อความมั่นคง ให้เป็นสาธารณะด้วย
ส่วนของไทยปัจจุบันของมูลภาครัฐที่มีการเปิดเผยเป็นสาธารณะก็มี Open Data ของ DGA , รัฐสภา และ กรุงเทพ
ที่มา - dataenrencht.ch
Comments
opensource เป็นสิ่งดีแต่บังเอิญ dev ดันใส่ secret ไว้ใน source code
secret หมายถึง กุญแจ Semantic Keys หรือเปล่าครับ ถ้ากุญแจผมว่าไม่น่าห่วงอะไรเพราะมันมี algorithm ควบคุมอยู่แล้ว คนเอาไปใช้งานเขาเปลี่ยนกุญแจเองได้ หรือหน่วยงานถ้าแจ้งเขาให้ทราบเขาก็น่าจะให้บริษัทปรับให้ไม่ตรงกับเวอร์ชั่นเผยแพร่ หรือใส่คำอธิบายแทรกไว้แทนที่กุญแจ หรือพอ public ซักพัก ถ้ามีคนเห็นประโยชน์นำไปใช้งานเขาก็จะปรับปรุงแก้ไขให้
แต่ปัญหาน่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่ implement ไปแล้วให้หน่วยงานนั้นแหล่ะ ถ้าบริษัทไม่แก้ไขให้หน่วยงานก็ถือเป็นความบกพร่องของบริษัท หน่วยงานเขาน่าจะสามารถฟ้องกลับบริษัทได้ถ้ากรอบ tor เขียนไว้รัดกุมเพียงพอในความรับผิดชอบในผลงาน ส่วนหน่วยงานเป็นเจ้าของ source ถ้าตามข่าวเขาก็จะสามารถนำข้อมูลไปเผยแพร่ต่อได้อยู่แล้ว แต่ความรับผิดชอบในผลงานยังตกอยู่กับผู้รับงานไปตามระยะเวลารับประกัน ซึ่งอันนี้ต้องดูสัญญาเป็นโครงการไป
secret ของผมหมายถึง สิ่งที่เอาไว้่ใช้ยืนยันเพื่อ access resource น่ะครับ เป็นอะไรก็ได้ key, password, หรือ token ก็ได้
resource นี้ก็หมายถึง resource ที่ใช่หรือไม่ใช่ของ softwareผมยังเคยเผลอ commit user/pass ของ database test server ไปที่ repository เลย
ไม่ใช่เรื่องที่ควรเกิด แต่มันก็พบเห็นได้บ่อยครั้ง
แล้วรัฐซื้อ Windows มาใช้ ก็ open ไม่ได้สิ
Ooh
ซอส -> ซอร์ส
น มี -> นมี
จริง ๆ ควรเป็น
มากกว่าไหมครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
มาตราฐาน dev น่าจะสูงมากถึงกล้าออกกฏกมายนี้