โครงการ Open Compute เป็นโครงการที่เริ่มจากเฟซบุ๊กเปิดพิมพ์เขียวของเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองให้แก่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ปีนี้โครงการ Open Compute ก็สามารถรวบรวมผู้ผลิตทั้งหลายมารวมตัวออกบูตงานประชุมของตัวเองได้แล้ว
เรื่องสำคัญที่สุดคงเป็นชิป X-Gene โดยบริษัท Applied Micro ชิป ARMv8 ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.5 GHz 8 คอร์ ผลิตที่เทคโนโลยี 40 นาโนเมตร รองรับแรมได้ 256 GB จะเริ่มส่งมอบภายในปีนี้ และภายในปลายปีนี้จะออกรุ่นที่สอง ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3 GHz และใช้กระบวนการผลิต 28 นาโนเมตร
ทางฝั่งผู้ผลิต เดลล์ก็แสดงเครื่องต้นแบบของเครื่อง X-Gene ของตัวเองเป็นโมดูลชื่อรหัสว่า Iron (เลียนแบบชื่อบอร์ด ARMv7 ที่ชื่อ Copper) เพื่อติดตั้งเข้ากับตัวถึงเครื่อง Dell C5000 ที่เปิดตัวไปตั้งแต่กลางปีที่แล้วโดยยังไม่มีรายละเอียด
ทางฝั่งเฟซบุ๊กเอกก็แสดงบอร์ด X-Gene รุ่นที่พัฒนาเอง โดยไม่มีตัวถังใดๆ แต่สามารถเสียบเข้ากับสล็อต "Group Hug" สล็อตมาตรฐานใหม่ของ Open Compute ที่ออกแบบให้ศูนย์ข้อมูลสามารถใช้ I/O ร่วมกันเมื่อเปลี่ยนรุ่นซีพียูไปได้ ในการเปิดตัวครั้งนี้ เฟซบุ๊กสาธิตด้วยการโชว์บอร์ดที่มีโมดูลซีพียูทั้ง X-Gene และ Atom Avoton ของอินเทลทำงานร่วมกันบนบอร์ดหลักบอร์ดเดียวกัน
สัญญาณเช่นนี้คงแสดงให้เห็นว่าเฟชบุ๊กเองก็กำลังสำรวจความเป็นไปได้ที่จะใช้งานชิป ARM อย่างจริงจัง ในอีกทางหนึ่งสถาปัตยกรรมแบบใหม่ก็ทำให้เฟซบุ๊กสามารถเปลี่ยนชิปได้ง่ายขึ้น ชิปที่ทำประสิทธิภาพได้ไม่ดีเท่าคู่แข่งสามารถถูกถอดออกแล้วเปลี่ยนเป็นชิปอีกรุ่นได้โดยมีต้นทุนไม่แพงนัก
ที่มา - The Register , The Register , ArsTechnica , Open Compute
Comments
ทางฝั่งเฟซบุ๊กเอก --> ทางฝั่งเฟซบุ๊กเอง
กะหนีจาก intel เต็มที่ ขนาด mainboard ยัง open
ที่จริง applied micro เป็นเจ้าแรกๆเลยนะที่วางขาย ARM 64bits แต่ทำไมกระแสสู้ ARM 32bits จาก calxeda ไม่ได้ทั้งที่ตลาด server น่าจะใช้ 64bits มากกว่า
Intel X86 มีเสียวๆกับ ARMv8 แน่ๆ
ผมก็งงกับเทคโนโลยี intel เปลี่ยน CPU ใหม่ต้องเปลี่ยน socket ผลคือต้องเปลี่ยน main boardmain board เสร็จ ram เก่าใช้ไม่ได้อีก สรุปคือต้องเปลี่ยนเกือบทั้งเครื่ง ฮะๆ
Ton-Or
จริงๆแล้วเป็นเรื่องของผลประโยชน์การค้าครับ ต้องการให้ชิบอื่นๆขายได้ตามไปด้วยเพราะ ไม่งั้นทางอินเทลเค้าก็คงกะประมาณการผลิตชิบเซ็ตได้ยากและผลิตได้ในจำนวนที่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลขาดทุนได้ เลยใช้วิธีบังคับเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ของอินเทล แต่ผู้บริโภคซวย
ผลประกอบการก็ลดลงๆทุกวันๆ เพราะเขาหนีไปใช้อย่างอื่นที่ถูกกว่าแทนใช่ไหมครับ?
ประมาณว่ามองแต่ผลประโยชน์ที่อยู่ตรงหน้าอย่างเดียว จนลืมมองระยะยาว
ผมว่าหลักๆก็เพราะARM แอนดรอยด์มันฮิตต้องไปโทษไมโครซอฟท์ที่ชักช้า 555+
มันเป็นผลจาก intel ผูกขาดมานาน จนสร้างระบบที่ตัวเองได้กำไรสูงสุด เช่นการเปลี่ยน socket แต่เป็นผลเสียต่อผู้บริโภค ผมว่าตอนนี้ intel เคยตัว และอ่อนแอเกินกว่าจะแข่งขันได้ในตลาด cpu แล้วครับ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในบริษัท เช่น การปลดคนงานครั้งใหญ่ ไม่อย่างนั้นผมมองไม่เห็นหนทางแข่งขันได้เลย โดยเฉพาะเรื่องราคา
ทำไงกันดีพี่อินเทลอิอิ