โลกของลินุกซ์เดสก์ท็อปถูกพัฒนาขึ้นบนระบบกราฟิก X Window (หรือบางคนเรียก X11 ตามชื่อเวอร์ชัน) ที่เก่าแก่มาก ทำให้ลินุกซ์หลายตัวเริ่มหาทางฉีกหนีจาก X Window เดิมมาใช้ระบบแสดงผลรุ่นใหม่ๆ อย่าง Wayland หรือ Mir แทน
กรณีของ Chrome OS ที่เป็นลินุกซ์สายพันธุ์หนึ่งก็เฉกเช่นเดียวกัน โดย Chrome OS 41 เริ่มเปลี่ยนมาใช้ระบบกราฟิกของตัวเองที่เรียกว่า Ozone (หรืออีกชื่อคือ freon) แทนแล้ว
ภารกิจของ Ozone คือทำให้ Chrome OS ไม่ต้องพึ่ง X11 อีกต่อไป ช่วยให้ลดขนาดของระบบปฏิบัติการลง ประสิทธิภาพดีขึ้น และประหยัดพลังงานกว่าเดิม
ตอนนี้อุปกรณ์ที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้ Ozone/freon แล้วคือกลุ่มที่ใช้ซีพียูอินเทล ส่วนอุปกรณ์ฝั่ง ARM ต้องรอ Chrome OS 43 ครับ
ที่มา - Chrome Releases , +François Beaufort , Phoronix
Comments
Linux พยายามหนีจาก X11 มาตั้งนานยังไม่สำเร็จChrome OS มาแป๊บๆ เปลี่ยนแล้วเรียบร้อย
Ozone/freon สองชื่อนี่ต่างกันสิ้นเชิงเลย
Freon: Destroying the ozone layer?
จะมาเม้นต์แบบนี้เลย งงว่าไหงตั้งชื่อได้ตรงกันข้ามดีแท้
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ทำไมเขาถึงชอบตั้งชื่อผลิตภัณท์เป็นชื่อเป็นแก๊สที่ไม่สเถียร สลายตัวง่าย
และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่ระดับพื้นผิวโลกกันนะ (หมายถึง Ozone)
ฟังดูรู้สึกอันตรายพิลึก (กลัวใช้แล้วจะมีอาการเหมือนคนสูด Ozone เข้าไปมากๆ เช่น เวียนหัว เจ็บหน้าอก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก เป็นหอบหืด ปอดเสีย ฯลฯ)
ทำไมถึงไม่ใช้ Wayland หว่า
Google คงไม่อยากจะพึ่งพาใครมั้ง
เท่าที่อ่านมั่วๆ เอา oZone เน้นทำงานบน arm อะไรพวกนี้ครับ และเพิ่มความสามารถเฉพาะเกี่ยวกับ chrome os เอาไว้ แต่ยังมี oZone-wayland ที่ support wayland แต่เอาเข้าจริงๆ ChromeOS แทบจะไม่ค่อยมีประโยชน์กับ Desktop Environment ที่ใช้กันบน linux เท่าไร คือ GUI ของ Chrome OS เป็นสถาปัตกรรมแบบกึ่งปิด
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project