ประเด็นเรื่อง Single Gateway กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทยในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสร้าง Single Gateway ด้วยเหตุผลเรื่อง "ความมั่นคง"
อินเทอร์เน็ต ถูกออกแบบมาด้วยสถาปัตยกรรมแบบกระจายศูนย์ ไม่มีจุดกลางมาตั้งแต่ต้น ทนทานต่อการถูกทำลายจุดใดจุดหนึ่งแล้วล่มไปทั้งระบบ (จริงๆ แล้วอินเทอร์เน็ตหรือ ARPANET ออกแบบมาให้ทนทานต่อสงครามนิวเคลียร์ ในกรณีสหรัฐเปิดสงครามกับโซเวียต และประเทศถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์)
ภาพประกอบ: แผนที่อินเทอร์เน็ตจากโครงการ Opte
สถาปัตยกรรมแบบโครงข่าย และวัฒนธรรมความเสรีของอินเทอร์เน็ต กลายเป็นโลกที่ซ้อนทับกับสภาพสังคมในโลกจริง (ที่อาจไม่เสรีเท่ากับในเน็ต) ผลจึงออกมาเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่ท่องไปอย่างเสรีในโลกไซเบอร์ และกลุ่มสภาพสังคมเดิม (status quo) ที่ดำรงมาตั้งแต่โลกก่อนมีไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันเชิงสังคมอย่างศาสนา วัฒนธรรม ไปจนถึง "รัฐ" ในฐานะผู้ปกครองสังคมนั้น
ตัวอย่างความขัดแย้งระหว่างโลกอินเทอร์เน็ตกับโลกความเป็นจริงมีให้เห็นมากมายนับไม่ถ้วน สิ่งที่อาจดูปกติบนเน็ตที่พรมแดนพร่าเลือน กลับกลายเป็นเรื่องต้องห้าม (taboo) ในบางสภาพสังคม
ความพยายามของรัฐในการควบคุมอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่ หน่วยงานภาครัฐทั่วโลกพยายามเข้ามา "คุม" อินเทอร์เน็ตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน เราจึงเห็นข่าวความพยายามลักษณะนี้ของรัฐบาลทั่วโลก การบล็อคหรือปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงอาจกลายเป็นสิ่งธรรมดาที่พบได้ทั่วไป แต่วิธีการควบคุมอื่นๆ ยังมีเรื่องการดักฟังหรือสกัดจับข้อมูล ดังที่เกิดมาแล้วในกรณี NSA ของสหรัฐ หรือ GCHQ ของสหราชอาณาจักร ที่ดักจับข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต "ที่เชื่อได้ว่า" เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐนั้น (รายละเอียดในบทความ ทำไมรัฐไทยถึงต้องทำ Single Gateway: มุมมองจากรัฐศาสตร์ โดย nrad6949)
ในกรณีของประเทศไทยเอง ความพยายามควบคุมอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เราคงจำกรณีการบล็อค YouTube ในปี 2007 ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกได้ หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีความพยายามด้านการบล็อค "เว็บไม่เหมาะสม" อีกนับไม่ถ้วน (ไม่เว้นแม้แต่ปริศนาดำมืดอย่างเว็บหนังสือพิมพ์ Daily Mail ว่าถูกบล็อคจากเหตุผลใด)
เราอาจมองว่า โครงการ Single Gateway ถือเป็นพัฒนาการขั้นล่าสุดของความพยายามควบคุมอินเทอร์เน็ตของรัฐไทยซึ่งในแง่การนำไปปฏิบัติได้จริง เรื่องนี้ยังเป็นที่น่ากังขา ว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน
คำอธิบายของรัฐไทยในการผลักดัน Single Gateway ครั้งนี้มีด้วยกัน 2 ข้อใหญ่ๆ
อย่างแรกคือ "ความมั่นคง"ซึ่งอธิบายด้วยเหตุผลทางรัฐศาสตร์ข้างต้น เหตุผลข้อนี้ถูกหักล้างได้อย่างง่ายดาย เพราะ "ความมั่นคงของรัฐ" ไม่เคยตรงกับ "ความมั่นคงของประชาชน" อยู่เสมอมา และในภาวะที่ไม่มีภัยคุกคามใดที่จับต้องได้ (อีกทั้งนิยามของ "ภัยคุกคาม" ในปัจจุบัน เปลี่ยนรูปไปมากจากภัยคุกคามในสมัยสงครามเย็น ที่ดูเหมือนว่ารัฐไทยยังติดกรอบวิธีคิดในยุคนั้นอยู่)
อย่างที่สองคือ "ช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการ"เหตุผลข้อนี้อาจดูน่าฟังกว่า แต่ถ้านำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายแล้ว การลดต้นทุนที่ดีที่สุดคือเปิดให้ตลาดมีสภาพการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Laissez-faire ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์) ต่างหาก ซึ่งในปัจจุบันสภาพตลาดอินเทอร์เน็ตไทย ถือว่ามีสภาพการแข่งขันที่ดีในระดับหนึ่ง บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชนมีการแข่งขันอย่างสูง ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตไทยพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ในแง่อัตราการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น และราคาที่ลดลงมากในรอบ 20 กว่าปีที่ผ่านมา (รายละเอียดในบทความ พัฒนาการการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตไทย โดย @icez)
หลักการ "เหมาโหลถูกกว่า" เป็นเรื่องจริง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการแชร์เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ของโอเปอเรเตอร์หลายค่ายในไทย ที่ช่วยลดต้นทุนซ้ำซ้อนลงได้
แต่เราต้องไม่ลืมว่าหลักการนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า เอกชนต้องมีสิทธิเลือกรวมตัวกันเพื่อลดต้นทุน (consolidation) อย่างเสรีด้วย ไม่ใช่ถูกบีบบังคับให้รวมตัวกันด้วยเหตุผลอื่น แล้วใช้ข้ออ้างเรื่องลดต้นทุน
เราทราบกันดีว่าหน่วยงานรัฐทั่วโลกไม่สามารถดำเนินธุรกิจหรือบริการได้มีประสิทธิภาพเท่ากับเอกชน ดังนั้นถ้าเอกชนถูกบีบให้รวมกันเช่าช่องสัญญาณเพื่อลดต้นทุนเข้าจริงๆ เราก็สามารถคาดเดาได้ไม่ยากว่า คุณภาพของบริการจะลดลงกว่าต้นทุนอีกหลายเท่า
โดยสรุปแล้ว การนำช่องทางเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกลับมารวมศูนย์ ตามแนวคิด Single Gateway จึงขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต ทั้งในแง่เทคนิคและการแข่งขันเชิงธุรกิจ
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคนิคจำนวนมากจะมองว่าโครงการนี้ทำให้เกิดจริงได้ยาก แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นมาก คือ วิธีคิด (mindset) ของรัฐไทยต่ออินเทอร์เน็ต ที่ไม่ว่ารัฐบาลยุคสมัยใด (รวมถึงรัฐบาลจากการเลือกตั้ง) หรือมุมมองระดับข้าราชการประจำ ต่างก็มีมุมมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็น "ภัย" ต่อสังคมที่ต้องถูกควบคุมด้วยกันทั้งสิ้น
ต่อให้โครงการ Single Gateway ถูกยกเลิกไป ด้วย mindset ลักษณะนี้ ในอีกไม่ช้า เราสามารถพยากรณ์ได้เลยว่ารัฐไทยจะต้องมี "ไอเดียใหม่" ในการควบคุมอินเทอร์เน็ตโผล่มาอีกเรื่อยๆ
ซึ่งเรารู้ๆ กันอยู่ว่ามันไม่เวิร์คหรอก
คำถามต่อมาคือเราควรรับมือกับอินเทอร์เน็ตอย่างไร?
ยอมรับ และสร้างประโยชน์จากมันครับ
อินเทอร์เน็ตกลายเป็นโครงข่ายระดับโลกที่อยู่เหนือสภาพการควบคุมของรัฐใด (แม้แต่สหรัฐอเมริกาก็ตามที) พลังของอินเทอร์เน็ตยิ่งใหญ่เกินกว่าที่โครงสร้างสังคมใดจะเปลี่ยนแปลงมันได้
สังคมไม่เสรี พยายามควบคุมอินเทอร์เน็ต
แต่สุดท้ายแล้ว
อินเทอร์เน็ตต่างหาก ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้เสรี
Comments
เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ เข้าใจง่ายดี ขอบคุณมากครับ
Get ready to work from now on.
ชอบประโยคสุดท้ายครับ.
ธรรมชาติสร้างให้เราเดินบนพื้นที่มีหญ้า มีดิน มีต้นไม้
แต่มนุษย์ สร้างกฏ และนำป้ายมาปัก และบอกว่า
" ห้ามเดินลัดสนามหญ้า "
ขออนุญาตออกความเห็นเฉพาะเรื่องสนามหญ้านะครับ ไม่เกี่ยวกับประเด็นอื่น
คือ หญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนี่ย ใครจะเหยียบก็คงไม่มีใครห้ามนะครับ
แต่ไอป้ายที่เขียนว่า "ห้ามเดินลัดสนามหญ้า" เนี่ย คือเค้าปลูกไว้ไงครับ เพื่อความสวยงาม ในพื้นที่ของเค้าซึ่งเค้ามาสิทธิ์ แล้วคือถ้าเค้าจะห้ามมันก็ไม่น่าจะผิดอะไรนะครับ
ย้ำอีกครั้ง ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นนะครับ
+10
มั่วกันไปหมดแล้วววววว
และสิ่งที่ยังคงเป็นจริงอยู่เสมอไม่ว่าในยุคสมัยใดๆก็คือ ผู้ปกครองทุกยุคสมัยมักจะเกรงกลัวสิ่งใดๆก็ตามที่จะมาโค่นล้มการมีอยู่ของตนเสมอ จึงรีบหยุดสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะเป็นสเกลเล็กแค่ไหนก็ตาม เนื่องจาก สิ่งเล็กๆเหล่านี้อาจจะรวมตัวกันเป็นขนาดที่ยิ่งใหญ่ได้และอาจเกินกำลังจะต้านทานในอนาคต
บ้างครั้งการกระทำง่ายจำนวนหนึ่งถูกมองว่าเป็นการขัดขวางเพราะ การคิดจะทำให้ง่ายในมุมของรัฐเพียงรัฐเดียว มันเปลี่ยนสิ่งที่มี กับที่ต้องเป็นให้แตกต่างออกไปไม่ได้
แต่เปลี่ยนโครงการการหรือเอาเท้าปิดมันไว้แตสุดท้ายเหมือนเอาใบบัวมาปิดช้างนั้นละ
สังคมไม่เสรี พยายามควบคุมอินเทอร์เน็ต
แต่สุดท้ายแล้ว
อินเทอร์เน็ตต่างหาก ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้เสรี
+1
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
+1024
+2^10
📸
ถ้าเขาเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็นชื่อที่ไม่สามารถต่อต้านได้หละ
ถ้าเปลี่ยนจริง คงต้องมานั่งดูรายละเอียดของโครงการนั้นละครับ ว่ามันสอดคล้องกับ Singal Gateway ไหม
แต่คงเปลี่ยนเป็นอีกชื่อที่คาดไม่ถึงแน่นอน ก็เล่นครีเอตคำได้แบบ.... ยาวเหยียด แต่ความหมายจริงๆมันสั้นมาก (บางครั้งอ่านโครงการแล้วยังงงๆว่า เอ๋? มันอะไรกันแน่)
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
Gatewayเฉลิม....
อ่านคอมเมนท์แรกสุด กะไว้ในใจ เลื่อนลงมาปุ๊บตรงตามที่กะไว้เลย
Gateway เฉลิม อยู่บำรุง? ผมไม่เอานะครัช :P
ทำเอาคนค้านโดนจับเข้าคุกได้เลยทีเดียว
พิซซ่า...
ต้องรอลุ้นว่าคนชอบกินกันป่าว อิอิ
📸
ซวยละถ้าเป็นแบบนั้น
The Last Wizard Of Century.
แค่เรื่องกล้องยังไม่มีปัญญาติดดให้ครบเลย
ยกตัวอย่างตามนี้ครับ : ครูสอนหนังสือปัจจุบันอายุ 50 ปี(เกิดปี พ.ศ.2508) เริ่มเรียนตอนอายุ 7 ปี(พ.ศ.2515) จบปริญญาตรีตอนอายุ 22 ปี(พ.ศ.2530) แล้วเริ่มทำงานสอนนักเรียนตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา ปัจจุบันปี พ.ศ.2558 ครูคนนี้สอนหนังสือนักเรียนชั้น ม.3 (อายุ 15 ปี)..............ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับว่า ถ้าครูคนนี้ไม่อัปเดทความคิดตัวเอง ไม่รับหลักวิชาความรู้ใหม่ๆที่เปลี่ยนผันไปตามโลกในปัจจุบัน แล้วพร่ำสอนนักเรียน ม.3 ด้วยความรู้ที่ตัวเองเรียนมาเมื่อปี 2515-2530 ในวันนี้ที่เป็น พ.ศ.2558 ซึ่งจริงแล้วกว่านักเรียนเหล่านี้จะออกไปใช้ชีวิตหลังโรงเรียนต้องปาเข้าไปอย่างน้อยอีก 7 ปี (พ.ศ.2565) !!!!จะเกิดอะไรขึ้น นั้นคือ นักเรียนพวกนี้จะได้วิชาความรู้เมื่อปี 2515-2530 มาใช้ในปี 2565 ต่างกันเกือบห้าสิบปี อย่างนี้แล้วจะทันโลกอยู่ไหม อะไรที่มันเป็นพลวัตของโลก เราต้านทานมันไม่ไหวหรอกครับ อย่าเอาความคิดล้าหลังของคนรุ่นก่อน(ที่บอกว่าดีกว่าความคิดของคนรุ่นนี้) มากำหนดให้อนาคตคนรุ่นใหม่อีกเลยครับ !!!หยุด Single Gateway ก่อนที่อนาคตจะไล่ล่าพวกคุณเอง
ผมนี่... รีบ Login เพื่อมาโหวตให้เม้นท์นี้โดยเฉพาะเลย เอาไลค์ รัวๆๆๆ ไปเลยครับ
ขนาดมีปังตอยังมี2ด้าน ด้านแรกใช้สับได้ อีกด้านใช้เคาะกระโหลกได้
นับอะไรกับ เสรีบนอินเตอร์เน็ต ย่อมมีคนใช้ประโยช์นจากมัน ไม่ว่าด้านดี หรือ ไม่ดี
เมื่อมีคนใช้อะไรซักอย่างไปในทางที่ไม่ดีมากๆ ก็จะมีคนเริ่มคิดจะควบคุม มันจะเป็นแบบนี้เสมอไม่ว่ากับสิ่งใดๆ
แต่ว่ามันถึงเวลาที่ต้องควบคุมแล้วจริงๆหรอ? เพราะสิ่งชั่วร้ายที่รัฐบาล(ทั้งจากเลือกตั้งและไม่ได้เลือกมา)มองอินเตอร์เน็ตว่าเป็นช่องทางในการกระจายข้อมูลที่รัฐไม่อยากให้รู้ หากเป็นยุคก่อนๆก็ปิดช่องทีวี ปิดสื่อก็เรียบร้อยแล้ว(หรืออีกนัยหนึ่งคือข้อความร่วมมือ) แต่เมื่ออินเตอร์เน็ตมันกลายเป็นอีกช่องทางหนึ่ง พวกคนเหล่านั้นย่อมหาทางปิดอินเตอร์เน็ตให้ได้
+1000 ครับ
บทความทรงคุณค่า......เป็นบทความที่ดีมากๆเลยครับ ขอบคุณที่เขียนบทความดีๆบทความนี้มาให้อ่านครับ
อยากให้ลุงตู่กับ ICT มาอ่านจัง..
ปัญหาของสังคมตอนนี้อยู่ที่ตัวรัฐบาลเองนั่นหล่ะ
+++1000
อยากให้คณะทั่นทั้งหลายได้อ่าน
The Dream hacker..
เห็นด้วยกับบทความครับ
ผมว่า ความจริงก็คือ เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต มันมาพร้อมกับ ภัย ครับ ซึ่งมันก็ตรงกับเสรีภาพในด้านอื่น ๆ ที่มักจะมาพร้อมภัยคุกคามอะไรซักอย่างหรือหลายอย่างเสมอ
ดังนั้นผมว่าทั้งสองฝ่าย คือประชาชน และ รัฐ (ทั้งไทยและเทศ) ก็เห็นตรงกันอยู่แล้ว แต่มองจากคนละด้าน
รัฐเขาก็รู้ว่าอินเตอร์เน็ตนั้น เสรี และก็พ่วง ภัย มาด้วย จึงทำให้ "วิธีคิด (mindset) ของรัฐไทยต่ออินเทอร์เน็ต ที่ไม่ว่ารัฐบาลยุคสมัยใด (รวมถึงรัฐบาลจากการเลือกตั้ง) หรือมุมมองระดับข้าราชการประจำ ต่างก็มีมุมมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็น "ภัย" ต่อสังคมที่ต้องถูกควบคุมด้วยกันทั้งสิ้น"
ประเด็นก็คือ ภัยของรัฐ กับ ภัยของประชาชน อาจจะไม่ใช่อย่างเดียวกัน ประมาณเดียวกับที่ผู้เขียนกล่าวไว้ (""ความมั่นคงของรัฐ" ไม่เคยตรงกับ "ความมั่นคงของประชาชน"")
ผมว่าถ้าจะให้จบสวย รัฐต้องเอาสิ่งที่คิดว่าเป็น ภัย มาแบให้ดูกัน, list เป็นข้อ ๆ แล้วคนทางเทคนิคเช่นอย่างใน blognone นี้ จะช่วยคิดหรือเสนอแนะให้ว่าจะทำได้อย่างไรบ้างเพื่อจะหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาภัยนั้น โดยใช้วิธีที่ไม่กระทบกับเสรีภาพของอินเทอร์เน็ต (มากเกินไปนัก)
ถ้าสมมติว่าคุยกันได้แนว ๆ นี้ อย่างน้อยก็น่าจะเข้าใจกันและกันมากขึ้นกว่านี้
ประเด็นสำคัญคือ "ความมั่นคงของชาติ" ที่รัฐบาลทหารชอบอ้าง ไม่ใช่"รัฐชาติ"ของประชาชนครับ แต่เป็น"ตัวรัฐบาลทหาร"เอง หรือตัวบุคคล/หน่วยงาน ที่รัฐบาลทหารคิดว่าสำคัญ โดยไม่สนใจว่า การปกป้องความมั่นคงนั้น จะละเมิดประชาชน ที่เป็นส่วนประกอบของรัฐชาติเลยก็ตาม
ตราบใดที่รัฐบาลทหาร ไม่มองว่าประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ เป็นความมั่นคงที่ต้องปกป้อง ก็คงได้เห็นโครงการนโยบายแปลกๆที่ละเมิดประชาชนอยู่เสมอ โดยอ้างความมั่นคง(ของใครก็ไม่รู้?)
mindset ของรบ.ทหารที่มาจากการรัฐประหาร ไม่มีวันเหมือนรบ.ที่มาจากตัวแทนของประชาชนคนส่วนใหญ่ครับ
ผมมองว่าทหารหลายๆคนยังมอง"ประชาชน"ในลักษณะแบบเดียวกับแนวคิดช่วงยุคก่อน"รัฐชาติ"น่ะครับ คือประชาชนถือเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของรัฐ และรัฐคือสิ่งที่ต้องปกป้อง ดังนั้นต้องทำทุกอย่างให้รัฐอยู่ในสภาพปลอดภัย
ความมั่นคงปลอดภัย อีกนัยหนึ่งก็คือความเสถียรไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ทหาร(หรือใครก็ตาม)ที่ยังมีแนวคิดแบบนี้พยายามยับยั้งความเปลี่ยนแปลงที่ควบคุมไม่ได้
ซึ่งมุมมองทั้งหมดก็ยังคงเป็น"เพื่อรัฐ" หากแต่รัฐที่ว่าไม่ใช่รัฐที่ประชาชนเป็นเจ้าของ จึงไม่ต้องตะขิดตะขวงใจที่จะละเมิดสิทธิ์ของประชาชนแนวคิดแบบนี้ไม่ได้เป็นแค่ในไทย แม้แต่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาก็ไม่ต่างกัน
ทั้งหมดนี่พูดถึงเฉพาะทหารที่"ตั้งใจจะปกป้องรัฐ"จริงๆนะครับ ประเภทอยากเถลิงอำนาจคงไม่ต้องพูดถึงกัน
ปล.ผมขอเถียงย่อหน้าสุดท้ายครับ ถ้าวันไหนเกิดปาฏิหารย์ให้บางพรรคได้เสียงส่วนใหญ่ขึ้นมาเป็นรัฐบาลได้ ก็น่าจะมี mindset คล้ายๆกันนะ :P
ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ ตรงไปตรงมาดี เท่าที่อ่านความเห็นไม่มีใครใช้คำว่า "ฮับ" เลยแฮะ เขาอุตส่าเปลี่ยนชื่อให้ดูดี ไร้พิษภัย เอาเข้าจริงโครงการ Single Gateway ตามที่รัฐมนตรีอ้างว่าจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ลดต้นทุน bla bla bla บอกว่าเป็นทางเลือก แต่ถ้าไม่มีใครเอาด้วย(ซึ่งก็คงจะเป็นอย่างนั้น) ก็เท่ากับว่ารัฐลงทุนสูญเปล่า .. น่าผิดหวังจริง ๆ ถ้าลุงตู่และคนของท่านพยายามเข็นโครงการที่ไม่ถูกต้องแบบนี้
ผมว่าก็เกินไปนะที่มองรัฐในแง่ร้ายขนาดนั้น ดู ๆ แล้วเหมือนว่าจะต้องการเสรีแบบอย่ามาควบคุมอะไร เพราะคิดไปแล้วว่ารัฐมาควบคุมก็เพราะผลประโยชน์ของรัฐเอง
เราต้องอย่าลืมนะครับว่าถ้าเรามีเสรีและความเป็นส่วนตัว อาชญากรก็มีเหมือนกันครับ เราอาจจะไม่ได้ทำอะไรไม่ดี แต่คนอื่นล่ะ
ผมว่า พรบ. คอมพ์ตอนนี้มันก็แทบให้อำนาจการควบคุมที่ล้นฟ้าจนคนอึดอัดแทบจะหายใจกันไม่ออกอยู่แล้วครับ
ทุกอย่างมีได้มีเสียครับ คิดเหรอครับว่าซิงเกิลเกทเวย์สามารถควบคุมอาชญากรรมออนไลน์ได้เบ็ดเสร็จ ทำยากครับและผลเสียนั้นเยอะกว่ามาก ถ้าผลดีค่าใช้จ่ายและผลเสียมันสมเหตุผลกันผมว่าก็น่าสนับสนุนครับ แต่ผมว่าไม่น่าจะคุ้มเลย ทำจริงงบก็บานปลายเอาภาษีปชช.มาเผาเล่นเป็นกงเต๊ก การลดอาชญากรรมก็ไม่น่าจะทำได้มากเท่าไหร่ แถมความเชื่อมันในระบบธุรกรรมออนไลน์จะยิ่งดิ่งเหวจนธุรกิจด้านนี้โตยากไม่มีคนลงทุน
อ่านการ์ตูนแล้วสังเวชใจ
เสียใจด้วยครับ หมดทางเยียวยา
ผมไม่เห็นด้วยกับการ์ตูนเลยครับ
ที่ รบ. ยอมเพราะการเรียกร้องของประชาชนแบบปกติมากกว่าครับ
ส่วนการโจมตีเว็บของ รบ. ไม่ใช่เรื่องที่ดีและไม่น่าชื่นชมเลย ถ้า รบ. ตั้งแง่ก็คงยกเอาเรื่องนี้มาสนับสนุนโครงการ single gateway มากกว่า ลองนึกว่าเป็นตัวเราเองก็ได้ครับ ว่าถ้าใครมาทำกับเราอย่างนี้ แล้วถ้าเราเลือดร้อนใช้อารมณ์เราจะตัดสินใจยังไง
ที่แล้วมาเนี่ย อย่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คนค้านแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายสั่งเดินเรื่องต่อ รบ.เคยฟังอะไรบ้างไหม?
ผมอยากรู้จริงๆว่าคุณกำลังหลอกตัวเองหรือโดนจูงจมูกครับ?
เรื่องภาษีที่ดินทำไมถึงว่าไม่ฟังล่ะครับ คนวิจารณ์เยอะเขาก็ยกเลิกเอากลับไปทบทวนนี่ครับ ภาษีที่ดินมันควรจะมีตั้งนานแล้วนะครับเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ คือต้องไม่กระทบกับคนจนหรือคนที่มีที่อยู่เพื่ออาศัยหรือทำประโยชน์ แต่จุดประสงค์เพื่อคนที่เก็บที่ดินเฉย ๆ ไว้เก็งกำไร
อย่าดูแต่สื่อแดงมากครับ
บอกไว้ก่อนเลยว่าผมไม่ดูทั้งสองสีครับ และล่าสุดเมื่อสองวันก่อนเนี่ย คลังออกมาให้ข่าวที่ช่องฟรีทีวีแล้วว่ากำลังศึกษาและจะเตรียมจัดเก็บอีกสองปี โรงงานย้ายหนีในช่วงเวลานี้ผมไม่แปลกใจอะไรเลย
อยากจะบอกว่า ช่วงรบ.เก่า ผมโวยเยอะกว่ารบ.ก่อนหน้านั้นอีก ถลุงเละเทะไม่มีชิ้นดี
ชีวิตนี้คุณมองแต่คนอื่นว่าเสพข่าวด้านเดียวหรือครับถ้าคุณไปกล่าวหาคนอื่นแบบนั้นความคิดของคุณคับแคบมากครับ
เพราะรบ.ทหาร ไม่เคยมองว่าประชาชนคือส่วนประกอบของรัฐชาติไงครับ
มองว่าประชาชนต้องทำตามเป็นเหมือนพลทหารเท่านั้น จะละเมิดอย่างไรก็ได้ เพื่อความมั่นคงของรบ.ทหาร
ถ้าคุณไม่ทราบ พรบ.คอมพิวเตอร์ออกโดยรบ.ทหารครั้งที่แล้ว โดยแก้ไขเพิ่มโทษจากร่างฯสมัยรบ.ประชาธิปไตยครับ เพื่อความมั่นคงของรบ.ทหารล้วนๆเลยก็ว่าได้
ปัญหาเรื่องเสรีภาพในอินเทอร์เน็ตมันก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากนะครับ
ทางออกที่ใช้กันในระดับสากลในการถกเถียงว่าใครควรมีบทบาทในอินเทอร์เน็ต เป็นไปในแนวทางประสานความร่วมมือกันโดยอยู่กันอย่างเข้าใจมากกว่า คือจะคิดแบบ Statists (นิยมรัฐ) มันก็ได้นะครับ แต่ก็มีปัญหาอีกร้อยแปดพันประการอีกที่จะต้องเจอ
ด้วยโครงสร้าง อินเทอร์เน็ตมันไม่เอื้อต่อการควบคุม ถ้าคุณไปถามคนออกแบบโปรโตคอลอย่าง Vin Cerf นี่เป็นเรื่องของความ "จงใจ" แต่แรกด้วยซ้ำ ปัญหาคือคุณจะแก้มันอย่างไร? พรมแดนไม่เหมือนกัน มันก็ต้องมีวิธีแก้ที่ต่างกันครับ รัฐก็ต้องการความมั่นคงให้ตัวมันเอง (อ่านเพิ่มใน "ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม: การครอบงำ" ของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา) เป็นเรื่องปกติ ไม่มีเกินไปหรอกครับ แต่ประชาชนภายใต้โครงสร้างแบบนี้ก็ต้องมีเสรีภาพเหมือนกัน
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
เหตุผลที่รัฐบอกว่าจะทำ single gateway เพราะจะแก้ปัญหาเด็กไทยติดเกมไม่ใช่เหรอครับเห็นอ่านออกสื่อทีไรก็บอกแบบนี้ อิอิอิ
สิ่งที่คิดจะควบคุมการเล่นเกมของเด็ก
สิ่งที่เห็น
-server เกมตั้งอยู่ในไทย
-เด็กต่อ vpn กันเอง
-ถ้าบล็อก เด็กก็ยังมีเครื่องมือทำการต่อออกไปข้างนอกได้อยู่ดี
-เด็กตั้งวง local เล่นกันเอง
-เด็กมี tablet/PC เล่นเกมแบบ single player
เลยงงว่ามันจะกันได้อย่างไร?
จริงครับ ผมคุยกับลูกชายอายุ 15 เขาบอกไม่มีผลกับการเล่นเกมของเขา เพราะเขา vpn ก็ได้ เล่นแบบ local ก็ได้
เคยเห็นข่าวโดนบล็อค VPN ทั้งประเทศไหมครับ
น่าสงสานเค้านะครับคุณ
บทความดีครับ เห็นด้วยเห็นด้วยกับความเห็นข้างบนว่า แค่ พรบ คอมฯ ก็พอแล้ว จะมาเปลืองงบประมาณทำเรื่อง single gateway ทำไม
ขอบคุณสำหรับบทความป.ล. พรบ.คอมฯนี่มันก็ครอบคุมทั้งสามโลกแล้วนะ
Single Gateway คืนความสุขให้ประชาชน....
เสรี ที่ ทุกท่านต้องการ อยู่ตรงไหน ครับ
ถ้ามีแล้ว เราจะรักษาสิทธิมันไว้ไหม หรือ ไหวไหมที่จะรักษา
ควรเป็น Single Policy Gateway แทนดีกว่าครับ
เอกชนทุกๆ เจ้า เป็น Gateway/IX กันเหมือนเดิมแต่ apply Dynamic Single Policy Gateway เข้าไปในระบบแทน
ภัยคุกคามประชาชนใต้ยอดภูเขาน้ำแข็งอีกมากมาย
ผมเบื่อกับคำว่า "รัฐไทย" จริงๆ
รัฐไทยคิดอย่างโน้น รัฐไทยต้องการอย่างนั้น รัฐไทยทำอย่างนี้
รู้สึกเหมือนถูกเหมารวมไปด้วยยังไงไม่รู้ รัฐกับรัฐบาลมันคนละอย่างกันนี่นา
ทำไม Daily Mail ถึงต้องโดน block ...คำถามนี้ มันผุดขึ้นมาในหัวผม ตอนนั้นที่กระแสข่าวเรื่องนี้ดังมาก แถมนายกทหารตอนนั้นยังเดินทางไปอังกฤษอีก (หลังข่าวนี้ดัง) ด้วยเรื่องนี้โดยเฉพาะเลย
มันทำให้ผมสงสัยขึ้นไปอีก ว่า Daily Mail เกี่ยวอะไรกับสังคม Thai
ผมเลยใส่คำว่า Daily Mail แล้วต่อด้วยคำภาษาอังกฤษง่าย ๆ ที่ผมสงสัยเข้าไป แล้วมันก็อล่างฉ่างขึ้นมาเลยใน search result อันแรกเลย
เข้าใจเลยทันที ว่าทำไมต้องบินไปถึงอังกฤษ และ ban ยาว
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
ขอโทษทีครับ ไม่ได้ตามดูข้อมูลเชิงลึก
ไม่ทราบว่ามันเป็นมติ หรือมีนโยบายที่แถลงไว้ชัดเจนที่ไหนบ้างครับ
เขียนดีครับ
ต้องไปอธิบายให้ผู้สูงวัยที่บ้านฟัง ว่า single gateway คืออะไร และมันจะมีปัญหาอะไรบ้างตามมา
อ่านบทความนี้ไป บวกกับที่คุณMK ยกตัวอย่างเรื่อง block YouTube เมื่อปี 2007 ก็เอาเรื่องนี้ไปเล่าให้ฟัง
ว่าตอนนั้น อยากจะดู YouTube ที เหนื่อยมาก เพราะต้องทำหลายขั้นตอน แต่ก็ดูได้น่ะ แล้วคำถามคือ มัน blockได้จริงๆเหรอ
เลยตอบไปสรุปรวบยอดว่า การแก้ปัญหาไม่ใช่การblock แต่เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน (หรือทางพุทธเรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" ) นี่ต่างหาก ถึงจะเป็นทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนถาวร
+10
"อินเทอร์เน็ตต่างหาก ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้เสรี" เชื่อเช่นนั้นเหมือนกัน
แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นมาก คือ วิธีคิด (mindset) ของรัฐไทยต่ออินเทอร์เน็ต ที่ไม่ว่ารัฐบาลยุคสมัยใด (รวมถึงรัฐบาลจากการเลือกตั้ง) หรือมุมมองระดับข้าราชการประจำ ต่างก็มีมุมมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็น "ภัย" ต่อสังคมที่ต้องถูกควบคุมด้วยกันทั้งสิ้น
+1