Engprax บริษัทให้คำปรึกษาตรวจสอบซอฟต์แวร์ออกรายงานสำรวจวิศวกรซอฟต์แวร์ 600 คนในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ผลสำรวจพบว่าแนวทางของ Agile Manifesto หลายข้อทำให้โครงการซอฟต์แวร์มีโอกาสล้มเหลวสูงขึ้น โดยรวมแล้วโครงการที่ทำตามแนวทาง Agile มีโอกาสล้มเหลวสูงกว่าโครงการที่ไม่ใช้ถึง 268%
รายงานระบุถึงแนวทางหลายประการใน Agile Manifesto เช่น การทำให้ซอฟต์แวร์ใช้งานได้ก่อนทำเอกสารเสร็จ, การร่วมมือกับลูกค้ามากกว่าเน้นเจรจาสัญญา, การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงมากกว่าการทำตามแผนการ โดยพบว่าโครงการที่ทำตามแนวทางเหล่านี้มีโอกาสล้มเหลวสูงขึ้น เช่น การมีเอกสาร requirement ชัดเจนช่วยให้โอกาสโครงการสำเร็จเพิ่มขึ้น 50% และหาก requirements ชัดเจนก่อนเริ่มโครงการจะเพิ่มโอกาสสำเร็จถึง 97%
แนวทางการทำงาน Agile ได้รับความสนใจอย่างมากจากองค์กรทั่วโลกที่ต้องการปรับตัวให้รองรับความเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้นและสามารถสร้างคุณค่า (value) จากงานที่ทำในช่วงเวลาที่สั้นลง ล่าสุด บริษัทในเครือ ExxonMobil ในประเทศไทยได้จัดงาน Agile Exxperience - Power Up Your Agility งานสัมมนาออนไลน์ที่ทาง ExxonMobil พร้อมวิทยากรระดับโลก Arie Van Bennekum ผู้ร่วมเขียน Agile Manifesto มาแบ่งปันประสบการณ์การทรานส์ฟอร์มองค์กรให้กับ Agile community ในประเทศไทย
ช่วงหลังแนวคิด Agile เริ่มได้รับความนิยมในโลกธุรกิจมากขึ้น ถึงแม้ Agile จะเริ่มเกิดขึ้นจากโลกของซอฟต์แวร์ แต่ตัวมันเองเป็นแนวคิดและวิธีการทำงานที่ใช้ได้กับทุกระดับขององค์กร
KBTG (Kasikorn Business Technology Group) บริษัทด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย จึงจัดงานสัมมนา Beyond Agile ขึ้น โดยเชิญวิทยากรชื่อดังระดับโลก เข้ามาชี้ให้เห็นตัวอย่างและแนวทางการใช้ Agile ในองค์กร
วันนี้ที่งานสัมมนา Beyond Agile โดย KBTG (Kasikorn Business Technology Group) ประกาศเปิดตัวโครงการ Project Apolloอันเป็นโครงการภายในของแผนก เพื่อให้โครงการอื่นๆ สามารถเกิดขึ้นได้จริงและรวดเร็ว
ตัวโครงการเป็น Innovation Platform ที่จะเปิดให้พนักงานของธนาคารสามารถเข้ามาใช้ได้เป็นแบบ API ซึ่งในอนาคตจะมีการเปิดให้หน่วยงานอื่นเข้ามาใช้งานด้วย สาเหตุที่ต้องทำโครงการดังกล่าวเนื่องจากว่าในปัจจุบัน องค์กรต้องเจอกับปัญหาในการสร้างผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบที่ซับซ้อน การทำให้ Prototype เป็นผลิตภัณฑ์จริงๆ และกฎเกณฑ์การกำกับดูแลต่างๆ
รัฐนิวเซาท์เวลส์ในออสเตรเลียเตรียมปรับรูปแบบการจัดซื้อระบบไอทีเสียใหม่ทั้งการจ่ายเงินและการใช้งานให้เข้ากับระบบไอทีในปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยใช้แผนแม่บทใหม่ที่ร่างกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
หัวใจสำคัญคือโมเดลการจ่ายเงิน ที่อนุญาตให้เจ้าของโครงการสามารถกำหนดชิ้นงานเล็กๆ แล้วจ่ายเงินผู้รับจ้างตามรอบการพัฒนา แทนที่จะประมูลโครงการใหญ่ๆ ทีเดียว ทำให้สามารถพัฒนาโครงการในโมเดล Agile ได้
นอกจากการมองโครงการไอทีเป็นโครงการใหญ่ๆ แล้ว แผนแม่บทใหม่ยังระบุให้เลิกมองระบบไอทีเป็นส่วนๆ (Cluster ICT) แต่ให้พยายามสร้างชิ้นส่วนที่ใช้งานร่วมกันได้, สร้างระบบแชร์ข้อมูลกลาง, แล้วค่อยสร้างระบบไอทีที่ให้บริการจากชิ้นส่วนเหล่านั้น
กระบวนการพัฒนาแบบ Agile ที่เน้นความรวดเร็วและตอบสนองต่อผู้ใช้ ได้รับความสนใจอย่างสูงในหลายโครงการ แต่บริษัทขนาดใหญ่อย่างกูเกิลกลับไม่สนใจแนวทางการพัฒนานี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน David Jeske อดีตหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม (Google Engineer Director) ก็ออกมาตอบคำถามบน Quora ว่าทำไมกูเกิลไม่ใช้แนวทางพัฒนานี้
Jeske ระบุว่า แนวทางการพัฒนาของกูเกิลนั้นตรงกับแนวทางของ Agile อยู่บ้าง เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์สำคัญกว่าการเขียนเอกสาร, เน้นการทำงานร่วมกับผู้ใช้, หรือตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงมากกว่าการยึดตามแผนการ แต่นอกจากแนวทางในภาพใหญ่เช่นนี้ แนวทาง Agile ที่นำไปสู่การพัฒนาแบบ Scrum กลับไม่ตรงกับการพัฒนาของกูเกิลหลายอย่าง